มรดกทางวัฒนธรรม
จังหวัดระนองมีพัฒนาการของการเป็นบ้านเมืองมาช้านาน จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบัน
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง
ตั้งอยู่ที่ตำบลพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ เป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่มีอายุมากกว่าหนึ่งพันปี
สมัยนั้นทิศเหนือ และทิศตะวันตกของภูเขาทองเป็นทะเล และคงมีเรือสำเภาของพ่อค้าจากอินเดีย
ลังกา และอาหรับ มาติดต่อค้าขายและพักบนภูเขานี้ เพราะเป็นภูเขาเตี้ยไม่ลาดชัน
บนภูเขามีที่ราบพอที่จะปลูกเพิงหรือกระท่อมที่พักได้ จึงทำเป็นท่าเรือชั่วคราว
เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองตะกั่วป่า พังงา กระบี่ สุราษฎรธานี และนครศรีธรรมราช
เพราะบนภูเขาทองแถบเชิงเขามี ลูกปัด เศษภาชนะ หม้อ โอ่ง ไหดินเผา ที่ชาวบ้านขุดพบอยู่
มากมาย เทียบลักษณะขนาดสี จะเหมือนกับที่ขุดพบที่ควนลูกปัด อำเภอตะกั่วป่า
และที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่
จากการบอกเล่าของชาวบ้านในเขตตำบลคำพวน มีอยู่ว่าในสมัยก่อน ปู่ย่า ตายายเคยเล่าให้ฟังว่า
ชาวมุสลิมในถิ่นนี้มีเชื้อสายมาจาก
แขกอาหรับ
เปอร์เซีย และ
อินเดีย
มีอาชีพค้าขาย ทำนา ทำสวนและทำการประมง สมัยนั้นบนภูเขาทองมีลูกปัด เศษเครื่องปั้นดินเผา
เครื่องประดับทองคำมากมาย ชาวบ้านจะไปขุดมาใช้มาขายก็ได้ ยังไม่มีการหวงห้าม
ลูกปัดมีหลายขนาด หลายสี แต่ละเม็ดแม้มีขนาดเล็กแต่ก็เจาะรูตรงกลาง ทุกเม็ดเป็นหินสี
แต่ส่วนใหญ่เป็นกรวดทรายหลอมเหลวผสมสีต่าง ๆ เพราะพบเศษลูกปัด ส่วนที่เหลือจากการหลอมเหลว
เป็นกลุ่มก้อนเหลืออยู่มากมาย ผลิตภัณฑ์ลูกปัดคงจะเป็นที่นิยมในละแวกนี้ในครั้งนั้น
และคงจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันกับทรัพย์สินอื่นได้ง่าย ชุมชนเจ้าของถิ่นเดิมคงจะผลิตไม่ได้
ชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดียซึ่งมีความรู้ความชำนาญในการผลิตลูกปัด คงเดินทางมาค้าขายและตั้งหลักแหล่งอยู่แถบนี้ติดต่อกันมานาน
ก่อนชุมชนใด ๆ ในจังหวัดระนอง และสันนิษฐานว่า อาจเดินทางมาทางบก ผ่านเขาชาตรี
- บางหิน - วังกุ่ม - เชี่ยวเหลียว - บ้านนา ข้ามเขาไปยังไชยา ท่าชนะ (เมืองครหิสในสมัยนั้น)
เพราะแถบไชยา ท่าชนะ ก็ได้ขุดพบโบราณวัตถุเช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา เทวรูป
สมัยเดียวกันมากมาย
นอกจากลูกปัดแล้ว ยังมีโบราณวัตถุจำพวกตะเกียงน้ำมันบูชาเทพเจ้า ลูกปัดที่เป็นเศษเหลือจากการหลอมเศษทองคำ
อุปกรณ์เครื่องมือและเหรียญโบราณบางชนิด
มีผู้ขุดพบลูกปัดขนาดจิ๋ว พบเม็ดใหญ่ขนาดเม็ดข้าวโพดเพียงเม็ดเดียว ขุดได้ทองคำและเศษทองรูปพรรณหลายชิ้น
พบขันน้ำมนต์หล่อด้วยทองเหลือง มีฝาด้านบนเป็นรูปพญานาคสามเศียร รอบนอกขันมีพระพุทธรูปเป็นแถวทั่วไป
ขุดพบถังสองใบลักษณะคล้ายกันทั้ง ๒ ใบ อาจจะเป็นขันน้ำมนต์สมัยอยุธยาตอนต้น
แหล่งประวัตศาสตร์
-
เนินประวัติศาสตร์
ตั้งอยุ่ในเขตตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง ฯ เดิมเป็นบริเวณที่ตั้งของ
พระที่นั่งรัตนรังสรรค์
มีประวัติความเป็นมาคือ ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จ ฯ เลียบแหลมมลายูโดยทางเรือพระที่นั่งสุริยมณฑลจากกรุงเทพ ฯ ถึงเมืองชุมพรแล้วเสด็จ
ฯ ทางสถลมารคจากเมืองชุมพรข้ามแหลมมลายูไปงเรือที่เมืองตระบุรี โดยมีเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ
ออกไปรับเสด็จ ฯ ที่เมืองระนอง
ครั้งนั้น พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) ได้จัดสร้างพลับพลาที่ประทับไว้บนยอดเขา
สูงประมาณ ร้อยสิบฟิต พลับพลาที่สร้างทำด้วยเสาไม้จริง และเครื่องไม้จริง
หลังคามุงด้วยไม้เกร็ดสองหลัง นอกจากนั้นมุงจากดาดสี ใช้สีน้ำเงิน ให้เหมือนหลังคาไม้ซึ่งทาสีไว้
มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่ข้างในหลังหนึ่ง ยกเป็นห้องนอนสูงขึ้นไปหลังหนึ่ง
มีคอนเซอเวเตอรียาวไปจนหลังแปดเหลี่ยมอีกหลังหนึ่ง ที่หลังเล็กซึ่งเป็นที่นอนและที่หลังแปดเหลี่ยม
แลดูเห็นเมืองระนองทั่วทั้งเมือง แลเห็นทุ่งป่าและบ้านเรือนคนสวยงามมาก การตบแต่งประดับประดา
และเครื่องที่จะใช้สอยมีพร้อมบริบูรณ์อย่างปีนัง ตามข้างทาง และชายเนิน มีเรือนเจ้านาย
และข้าราชการหลังโต ๆ มีโรงบิลเลียดโรงทหารพรักพร้อม บริเวณพลับพลาปลูกหญ้าขึ้นเขียวสดทั่วทุกแห่ง
พระยาระนองขอให้ตั้งชื่อพลับพลานี้เป็นพระที่นั่ง และจะรักษาไว้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒนสัจจา
และขอให้ตั้งชื่อถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ให้ชื่อพระที่นั่งว่า
รัตนรังสรรค์
เขาที่เป็นที่สร้างวังให้ชื่อว่า
นิเวศน์คีรี
เมื่อครั้งพระยาดำรงสุจริต ฯ (คอยู่หงี่ ณ ระนอง) เป็นเจ้าเมืองระนอง
ได้ร่วมกับสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ตดัดแปลงพระที่นั่งแห่งนี้ เป็นรูปเรือนตึกสองชั้น
สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วได้ใช้อาคารหลังนี้เป็นศาลากลางเมืองระนอง
ต่อมาได้รื้อถอนออกเพื่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗
พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ได้เคยใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์มาแล้วถึงสามพระองค์คือ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จ ฯ ประพาสแหลมมลายู พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ศิลาจารึกพระปรมภิไธยย่อ จ.ป.ร.
ประดิษฐาน ณ ตำบลปากจั่น บริเวณเขตติดต่อระหว่างจังหวัดระนองกับจังหวัดชุมพร
ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๕๒๕ ขนาดหินที่ใช้สลักมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
๒ เมตร ปัจจุบันมีหินสลักพระปรมาภิไธย สามก้อน สลักพระปราภิไธยย่อ จ.ป.ร.
ภ.ป.ร. และ สก. วางเรียงในศาลาสร้างใหม่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้นได้เสด็จ ฯ จากชุมพรไประนองโดยขบวนช้าง
๑๙๙ เชือก เพื่อไปประทับต่อที่เมืองกระบุรี ระหว่างเสด็จ ฯ ผ่านตำบลปากจั่นถึงลำห้วยเล็ก
ๆ ทอดพระเนตรพบหินก้อนใหญ่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เขียน จ.ป.ร. อย่างอัฐ การเสด็จ
ฯ ครั้งนั้นได้ประทับแรมที่พลับพลาดอนนาพระ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๓
-
พระบรมราชานุสาวรีย ร.๕
ตั้งอยู่บริเวณเนินประวัติศาสตร์ ทางทิศตะวันออกของศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นสถานที่พระองค์ทรงปลูกต้นมะขามคู่ไว้เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๓๓ ครั้งเสด็จประพาสเมืองระนอง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗
-
พระบรมราชานุสาวรีย ร.๖
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง ฯ ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณสนามกีฬาจังหวัดระนอง
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓
โบราณสถาน
จังหวัดระนองมีโบราณสถานที่สำคัญคือ
-
กำแพงจวนเมืองระนอง
จวนเมืองระนองสร้างในสมัยพระยาดำรงสุจริต (คอซูเจี้ยง) เมื่อประมาณปี
พ.ศ.๒๔๒๐ มีพื้นที่ภายในกำแพงประมาณ ๓๓ ไร่เศษ ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองระนอง
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
ตัวกำแพงสร้างด้วยอิฐธรรมชาติ สูงประมาณ ๓.๕๐ เมตร หนาประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
ฐานสร้างด้วยอิฐธรรมชาติสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๖๐ เซนติเมตร
มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บริเวณประตูด้านหน้ามีเรือนหอรบขนาดใหญ่สร้างด้วยไม้
มุมกำแพงด้านทิศเหนือ ติดกับมุมด้านทิศตะวันออก มีป้อมขนาดเล็กอยู่หนึ่งป้อม
ในอดีตอาจใช้เป็นที่รักษาการณ์ของยาม เลยไปจากป้อมไปตามแนวกำแพง มีประตูขนาดเล็ก
ตัวกำแพงมีช่องมองหรือช่องปืนทำไว้เป็นระยะ ๆ
ตลอดแนวกำแพงด้านนี้ จะเห็นซากของอาคารที่ทำเชื่อมติดกับตัวกำแพง ซึ่งซากอาคารต่าง
ๆ นี้ เดิมเป็นโรงเก็บสินค้า โรงช้าง โรงม้า โรงต้มกลั่นสุรา โรงต้มฝิ่น และฉางข้าว
-
จวนเจ้าเมืองและเรือนรับรอง
สร้างด้วยอิฐสอปูน โครงบนทำด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากประตูทางเข้ามากนัก
ใช้เป็นเรือนรับรองเป็นอาคารกว้าง ๒๐ เมตร ยาวประมาณ ๓๐ เมตร ฐานอาคารสูงจากระดับพื้นดินประมาณ
๑.๒๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าสามทาง ด้านหลังหนึ่งทาง ตัวอาคารสร้างด้วยปูนซีเมนต์ผสมกรวดทรายอัดเป็นแผ่นวางซ้อนกัน
ผนังห้องบางช่วงก่ออิฐผสมเล็กน้อย ตัวอาคารแบ่งเป็นสามห้อง มีขนาดเท่ากันสองห้อง
ห้องกลางเป็นห้องเล็ก ความสูงของห้อง ๗ เมตร ผนังหนา ๖๐ เซนติเมตร บริเวณด้านข้างของอาคาร
ห่างออกไปประมาณ ๕ เมตร มีโรงครัวอยู่หนึ่งโรง ส่วนจวนเจ้าเมืองหลังใหม่ที่สร้างขึ้นนั้นอยู่ลึกเข้าไปอีก
-
บ่อน้ำและบ่อพักน้ำร้อน
บ่อน้ำที่ทำไว้เพื่อใช้ภายในบริเวณจวนมีอยู่ ๗ บ่อ บ่อที่สำคัญคือ บ่อน้ำร้อนที่ก่อด้วยอิฐ
เป็นรูปบ่อสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ลึกประมาณ ๑ เมตร มีทางน้ำไหลเข้าอยู่ทางด้านทิศใต้
มาจนถึงบ่อพัก จากบ่อพักมีทางน้ำไหลออกไปนอกกำแพงด้านทิศเหนือ
-
สุสานเจ้าเมืองระนอง
ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางนอน อำเภอเมือง ฯ บริเวณที่ตั้งเป็นเนินเขาลาดลงมาจากเขาระฆังทอง
เป็นสุสานของพระยาดำรงสุจริต ฯ (คอซูเจี้ยง) เจ้าเมืองระนองคนแรก ที่ถึงแก่อนิจกรรม
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๕ อายุ ๘๖ ปี ได้ขอพระราชมานพระบรมราชานุญาต ทำคำจารึกศิลาปักไว้ให้เป็นเกียรติยศ
ณ ที่ฝังศพ จารึกเรื่องชาติประวัติของผู้ตายทั้งภาษาไทย และภาษาจีน ถัดเข้าไปมีเสาธงศิลาคู่หนึ่ง
เสือ ม้า และขุนนางฝ่ายบุ๋น และฝ่ายบู๊ อย่างละหนึ่งคู่ แล้วก่อเขื่อนศิลา
ปูศิลาเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปสามชั้นจนถึงที่ฝังศพ
|