ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

แหล่งอุตสาหกรรม

            แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย  ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ พบร่องรอยเตาเผา ตั้งแต่บริเวณที่อยู่ห่างจากวัดพระปรางค์ไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๕๐๐ เมตร และต่อไปตามริมฝั่งแม่น้ำน้อยในระยะห่างจากริมฝั่งแม่น้ำประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร จนถึงบริเวณที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดเกือบ ๒ กิโลเมตร
            เตาเผาแม่น้ำน้อยเป็นเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่มีอายุอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๔ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่สามเนิน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเตาเผาแห่งนี้ มีอยู่ ๒ ประเภทคือ เครื่องใช้สอย และเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม
            จากการขุดค้นพอสรุปได้ว่า เทคโนโลยีเตาเผาแห่งนี้ได้มาจากกลุ่มเตาเผาเมืองสุโขทัย มีบทบาทสำคัญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพื่อการบรรจุสินค้าส่งขายแก่ต่างประเทศ นอกเหนือไปจากการผลิตใช้ในท้องถิ่น ของที่ผลิตได้แก่ ไหสี่หูขนาดใหญ่ ทั้งเคลือบและไม่เคลือบ อ่าง ครก กระปุก ขวด เครื่องประดับอาคาร เช่น ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องมุงหลังคา รูปปั้นสิงห์ ตุ๊กตา ตลอดจนกระสุนปืนใหญ่และท่อน้ำประปา
            จากการขุดแต่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ ถึง พ.ศ.๒๕๓๖ พบเตาแปดเตา เป็นการสร้างซ้อนกันหลายครั้ง
            กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
            สภาพทั่วไปเนินดินเตาเผามีพื้นที่ประมาณ ๒ ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีอยู่ห้ากลุ่มคือ
               - กลุ่มที่ ๑  กลุ่มเนินดินหน้าโบสถ์หลังเก่า มีสี่เนินด้วยกัน
               - กลุ่มที่ ๒  เนินดินริมแม่น้ำน้อยตรงข้ามวัดชัณสูตร
               - กลุ่มที่ ๓  เนินดินบริเวณโรงเรียนวัดพระปรางค์
               - กลุ่มที่ ๔  เนินดินที่เมรุเผาศพวัดพระปรางค์
               - กลุ่มที่ ๕  เนินดินบริเวณโรงพยาบาลบางระจัน
            แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดตั้งแต่สมัยอยุธยา ตัวเตาที่ขุดค้นแล้ว มีรูปร่างส่วนลำตัวเหมือนเรือประทุน จึงเรียกว่า เตาประทุน ก่อด้วยอิฐ ใช้ระบบความร้อนเฉียงขึ้น ยาว ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องไฟ ๒.๑๕ เมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย
            โบราณวัตถุที่พบส่วนมากเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ชำรุดแตกหัก และบิดเบี้ยวเสียหาย และเศษเครื่องเคลือบจากแหล่งเตาอื่น ๆ ปะปนกันอยู่ ได้แก่เศษเครื่องเคลือบสีน้ำตาล เศษเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเนื้ออ่อนไม่เคลือบ ที่รองภาชนะ เศษเครื่องเคลือบสังคโลก เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง
            ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ได้แก่ เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ลูกกระสุนปืนใหญ่ และลูกกระสุนดินเผา และประติมากรรมลอยตัวในรูปแบบต่าง ๆ
            แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย น่าจะเริ่มทำมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐
ศิลปกรรมและงานช่าง
    ประติมากรรม

           งานปั้นสมัยสุโขทัย  เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสององค์คือ หลวงพ่อสินและหลวงพ่อทรัพย์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดประโชติการาม อำเภอเมือง ฯ
           งานปั้นสมัยอยุธยา  ได้แก่ พระนอนจักรสีห์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร บ้านพระนอน ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง ฯ  เป็นศิลปกรรมในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
           งานปั้นสมัยปัจจุบัน  ส่วนใหญ่จะปั้นพระพุทธรูป
           งานแกะสลักสมัยอยุธยา  ได้แก่ งานแกะสลักลวดลายหน้าบันวิหารวัดดอกไม้เป็นรูปดอกไม้ เทพนมสามองค์ ผ้าทิพย์สามชายและมีมังกรขนาบข้าง ลวดลายสวยงามมาก  วัดดอกไม้ตั้งอยู่ในเขตตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี  นอกจากนั้นยังมีงานแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดกระดังงา เป็นงานแกะสลักที่สวยงามมาก
           งานแกะสลักสมัยรัตนโกสินทร์  ได้แก่ งานแกะสลักหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง ฯ
           งานหล่อโลหะ  ได้แก่ งานหล่อหลวงพ่อเพชร วัดพงษ์สุวรรณวราราม (วัดสำโรง)  ตำบลอินทร์บุรี
    จิตรกรรม

            เป็นศิลปะการวาดรูประบายสีซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังตามศาสนสถานที่สำคัญ และจิตรกรรมในสมุดไทย เช่น ภาพวาดพระมาลัย ตู้ลายทอง และหีบพระธรรม เป็นต้น
           จิตรกรรมฝาผนังวัดม่วง  วัดม่วงตั้งอยู่ในเขตตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทบุรี อยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะของจิตรกรรมเป็นภาพเขียนด้วยสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ
           จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทธาวาส  วัดสุทธาวาสตั้งอยู่ในเขตตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี ลักษณะของจิตรกรรมเขียนโดยช่างท้องถิ่น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่ในวิหารครอบรอบพระพุทธบาท เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ พระจุฬามณี
           จิตรกรรมฝาผนังวัดพระปรางค์มุนี  วัดพระปรางค์มุนีตั้งอยู่ในเขตตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง ฯ ภาพจิตรกรรมเป็นภาพที่เขียนขึ้นในระยะเวลาที่สร้างวัดนี้ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐  เป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดกที่งดงาม
           จิตรกรรมฝาผนังวัดจักรสีห์  วัดจักรสีห์ตั้งอยู่ที่บ้านจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง ฯ ภาพจิตรกรรมอยู่ในอุโบสถหลังเก่า เป็นภาพจิตรกรรม ที่แตกต่างไปจากสามวัดที่กล่าวแล้ว คือ เป็นภาพพระพุทธเจ้าในปางสมาธิเกือบทั้งหมด เบื้องหลังมีหมู่ไม้ บางภาพเป็นภาพพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวก และมีภาพหนึ่งเป็นภาพพระพุทธเจ้าตอนเสด็จปรินิพพาน
           จิตรกรรมฝาผนังวัดสิงห์  วัดสิงห์ตั้งอยู่ในเขตตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี สร้างสมัยอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๕๐ ภาพจิตรกรรมอยู่ในอุโบสถ วาดไว้ที่เสาและฝาผนังของซุ้มหลวงพ่อเนตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่หลังพระประธาน ติดกับผนังด้านหลังโบสถ์ เป็นภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิ และประทับยืนในซุ้มดอกไม้ ภาพส่วนใหญ่เป็นลายดอกไม้ บางแห่งมียักษ์แทรกอยู่
           จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองปลาไหล  วัดหนองปลาไหลตั้งอยู่ที่บ้านปลาไหล ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๕  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๕  ในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่าหลายอย่าง ภาพจิตรกรรมอยู่ในวิหารเก่า ภาพเขียนคล้ายกับที่วัดจักรสีห์ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งห้อยพระบาท ไสยาสน์ และภาพนรกภูมิ
            นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกหลายแห่ง แต่เป็นภาพสมัยใหม่ ซึ่งมีคุณค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น ที่วัดตึกราชา อำเภอเมือง ฯ  วัดสาลโคดม และวัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง
    สถาปัตยกรรม

            สถาปัตยกรรมของจังหวัดสิงห์บุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดในแถบภาคกลาง ส่วนมากปลูกสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น บ้านทรงไทย บ้านทรงปั้นหยา บ้านทรงมะนิลา เป็นบ้านใต้ถุนสูง ชั้นเดียว
           บ้านทรงไทย  โครงเรือนเป็นลักษณะโครงเสากับคาน แบ่งผังเสาและสัดส่วนของบ้านไทยภาคกลางคือ แบ่งเป็นสามช่วงกว้าง ๓ เมตร ส่วนพาไลอยู่หัวเรือนกว้าง ๓ เมตร ความยาวสามช่วงเสา โดยทำช่วงเสาละ ๓.๐๐ เมตร มีบานเฟี้ยม ใต้ถุนสูง
           โครงหลัง ขื่อกว้างห้าส่วน ใบดั้งสูงสี่ส่วน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ตัวเรือนไม่มีฝ้าเพดาน ขื่อวางนอนเจาะเข้าเดือย หัวเทียบ เสากลม ปั้นลมวางบนปลาย แปหัวเสา แปลาม ยอดแหลม หน้าจั่วเป็นแบบลูกฟัก เสาดั้งตั้งคร่อมอยู่บนรอดไปรับอกไก่
            หน้าต่างด้านข้างมีสองบาน ฝังเดือยบนล่าง เปิดเข้าด้านใน เป็นบานคู่ ไม้แผ่นเดียว ตั้งบนธรณี มีลูกกรงกับคนเข้า

           บ้านทรงปั้นหยา คือทรงเรือนมีหลังคาเอียงลาดลงรอบตัวเรือนหรือเรียกว่า ทรงจั่วล้ม คือไม่มีจั่วให้เห็น โครงหลังคาจะคลุมตัวเรือนได้มากกว่าทรงมะนิลา
            ลักษณะโดยทั่วไปมีส่วนผสมผสานของแบบไทยเดิมอยู่ เช่น มีเสาค้ำยันชายคาหรือทวยค้ำ แต่ไม่มีลวดลาย การปูพื้นเรียบมีตงรองรับ และวางคานคู่ไปตามแนวยาว มีทั้งเรือนสองชั้นและชั้นเดียว
           บ้านทรงมะนิลา  หลังคาเป็นทรงจั่ว เอียงลาดด้านหน้าเท่านั้น ด้านข้างทำอุดจั่วเหมือนทรงไทยเดิม แต่จะทำกันสาดใต้หลังคารอบด้าน ตัวเรือนยังคงสัดส่วนเหมือนเรือนทรงไทยอยู่ พื้นภายในเสมอกันตลอดทั้งตัวเรือน มีชานออกด้านหลัง คู่ชายคาชนกับกลางเรือน ความสูงของโครงหลังคา และทรงตัวเรือนจะได้สัดส่วนกันพอดี โครงสร้างยึดด้วยเดือยไม้และลิ่ม

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์