หัตถกรรมพื้นบ้าน
หัตถกรรมพื้นบ้านส่วนมากมักเป็นผลิตภัณฑ์จากใบไม้ไผ่ เมื่อไม้ไผ่ขาดแคลนก็ได้ใช้วัสดุอื่นมาทดแทน
เช่น ผักตบชวา ปอกล้วย ก้านตาล ก้านมะพร้าว และใบลาน เป็นต้น มาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นเช่น
กระบุง ตะกกร้า งอบ หมวก ฝาชี เป็นต้น
งานจักรสานของชาวบ้านระนาบ
มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นที่นิยมของชาวสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียง จนสามารถทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้
ได้อีกทางหนึ่ง
ช่างประดับมุกบ้านแป้ง
งานประดับมุกเป็นงานที่อาศัยความชำนาญในการคิดลายออกแบบลายที่ประณีตสวยงาม
วัตถุดิบที่นำมาใช้ได้แก่ หอยมุกจาน หอยกาบ แต่ที่นิยมใช้คือหอยมุกไฟ เพราะมีความสวยงามมีความแวววามกว่า
หอยอย่างอื่น นอกจากนั้นก็มีรักไม้ หวาย ทองเหลืองหรือภาชนะที่ใช้ประดับมุกแล้วไม่แตกหักง่าย
ขั้นตอนการทำงานช่างประดับมุก ตามลำดับคือ การถูเม็ดกลม การตัดมุก การเขียนลาย
และลอกลาย การเลื่อยหรือตัดมุกตามลาย การลงรักและติดตัวลายมุก การถมมุกและการแต้ม
การขัดมันและเคลือบเงา
ภาษาและวรรณกรรม
ภาษาถิ่น
ประชากรชาวสิงห์บุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การเคลื่อนย้ายของประชาการไม่ใคร่มี
นอกจากการอพยพของพวกลาวพรวน และลาวเวียง ในสมัยรัตนโกสินทรตอนต้น ภาษาที่ใช้จึงยังคงเป็นภาษาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ
ส่วนสำเนียงพูด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เขตจังหวัดสุพรรณบุรีเช่น บางส่วนของอำเภอบางระจัน
จะออกสำเนียงเหน่อของชาวสุพรรณอยู่บ้าง ส่วนอำเภออื่น ๆ จะออกเสียงใกล้เคียงกับภาษากลาง
แต่ก็มีเพื้ยนอยู่บางคำ เช่น เสียงโท ออกเป็นเสียงตรี เสียงตร ออกเสียง กร
และออกเสียงแบบกลมกลืนคำ
จารึก จารึกที่พบในเขตจังหวัดสิงห์บุรี
มีอยู่สามชิ้นด้วยกันคือ จารึกที่ฐานพระพุทธรูป จารึกบนเหรียญเงิน และจารึกใต้ภาพวาดที่ผนังวิหาร
- จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพชร อยู่ที่วัดสำโรง ตำบลอินทรบุรี
อำเภออินทรบุรี พบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีจารึกด้วยอักษรขอมเป็นภาษาบาลีจำนวนหนึ่งบรรทัดว่าด้วยเรื่องหัวใจพระธรรม
คืออริยสัจสี่ แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"บทอันเป็นปฐมหมวดหนึ่ง เป็นลักษณะแห่งตน นักปราชญ์แตกฉาน ควรเว้นปฐมบทพึงจำแนก
(อรรถแห่งอริยสัจสี่) โดยลำดับคือ สมนิ ทุนิม สมทุ สนิทุ โดยแสดงชื่อบท มีทุติยบท
เป็นต้น"
- จารึกบนเหรียญเงิน (บ้านคูเมือง)
เป็นเหรียญเงินที่พบที่บ้านคูเมือง อำเภออินทรบุรี มีอายุประมาณพุทธศตววษที่
๑๒ จารึกด้วยอักษรปัลลวะเป็นภาษาสันสฤกต จำนวนหนึ่งด้านมีสองบรรทัด อีกด้านหนึ่งของเหรียญเป็นรูปวัว
ตัวเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๗ เซนติเมตร คำจารึกแปลเป็นภาษาไทยว่า "บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี"
- จารึกบนผนังวัดม่วง
วัดม่วงอยู่ในเขตตำบลอินทรบุรี อำเภออินทรบุรี จารึกดังกล่าวเป็นอักษรไทยโบราณ
สมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ เป็นภาษาไทยจำนวนสองบรรทัด เป็นกลอนสุภาพ
แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันว่า
"ห้องนรกบาทไม่ขาดถ้วน ของพ่ออ้วนสร้างไว้ในศาสนา
ขอพบพระเมตไตรในอนา คตกาละโน้นอย่าพ้นเอย
ตำนาน
เป็นเรื่องเล่าต่อกันมา แต่ละเรื่องอาจมีหลายสำนวน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ
สภาพทางภูมิศาสตร์ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของบรรพบุรษได้เป็นอย่างดี
สิงห์บุรีมีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ
- ตำนานสร้างพระพุทธไสยาสน์
ในพงศาวดารลังกาที่กล่าวไว้ในหนังสือมหาวงศ์ว่า กษัตริย์ชาวอริย พระนามว่า
พระเจ้าวังคราชครองวังคนคร ได้ราชธิดาพระเจ้ากลิงคราษฎรเป็นมเหสี มีราชธิดานามว่านางสุปา
นางเป็นคนที่มากด้วยกามราคะจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองได้พเนจรไปในที่ต่าง ๆ
ต่อมาได้พญาราชสีห์เป็นสามี มีบุตรชื่อ สีหพาหุ เป็นคนมีกำลังสังชามาก จึงพามารดาหนีพญาราชสีห์กลับมาอยู่กับมนุษย์
พญาราชสีห์เสียใจมากออกติดตาม และได้ทำร้ายชาวเมืองล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้าวังคราชจึงประกาศหาผู้ที่อาสาฆ่าพญาราชสีห์นั้น
สีหกุมารจึงอาสาและได้ฆ่าพญาราชสีห์นั้นตาย จึงได้พระนามต่อมาว่า สีหฬกุมาร
หมายความว่า กุมารผู้ฆ่าราชสีห์
ต่อมาเมื่อพระเจ้าวังคราชสิ้นพระชนม์ ชาววังคราชจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้สีหฬกุมาร
เมื่อสีหฬกุมารรับแล้ว ได้มอบเมืองให้แก่อำมาตย์ ผู้เป็นสามีใหม่ของมารดา
ส่วนตนเองไปตั้งราชธานีใหม่ชื่อสีหบุรี และได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ไว้ เพื่อเป็นการบรรเทาบาปที่ได้ฆ่าพญาราชสีห์ผู้เป็นบิดาตาย
อีกสำนวนหนึ่งมีเนื้อความว่า เจ้าเมืองสิงห์มีลูกสาวที่กำลังแรกรุ่นอยู่นางหนึ่ง
นางถูกสิงห์ลักพาเข้าป่าไป ในปีต่อมานางได้กลับออกมาพร้อมด้วยครรภ์แก่ใกล้คลอด
แล้วนางก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายที่จวนของบิดาของนาง เมื่อลูกชายของนางเจริญวัย
ได้รับการล้อเลียนจากญาติพี่น้องว่ามีพ่อเป็นสิงห์ ทำให้อับอาย เมื่อโตเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์พร้อมด้วยมีดเหน็บคู่มือได้หายเข้าไปในป่าเป็นเวลาหลายวัน
จึงกลับออกมาด้วยอการซึมเศร้า ต่อมาได้ออกบวชวัดที่เขาไปบวชได้ชื่อว่าวัดสระบาป
พระภิกษุหนุ่มได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนได้รู้ว่าการทำอนันตริยกรรมนั้น จะบรรเทาเบาบางลงได้บ้าง
ด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานที่ยิ่งใหญ่ไว้ในพระพุทธศาสนา เช่น สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่
หรือพระเจดีย์ไว้ในพระอาราม พระภิกษุหนุ่มจึงได้สร้างพระนอนยาว ๑ เส้น ๓ วา
๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว วัดนั้นจึงได้ชื่อตามพระพุทธลักษณะว่า วัดพระนอนจักรสีห์
- ตำนานเรื่องวิถีชีวิตชาวการ้อง - สวนหลวง
การ้องเป็นชื่อหมู่บ้านในเขตตำบลห้วยชัน อำเภออินทรบุรี มีลำน้ำการ้อง ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำแม่ลา
ไหลผ่านสวนหลวง เป็นชื่ออีกหมู่บ้านหนึ่งในตำบลอินทรบุรี เหมือนกันแต่บ้านสวนหลวง
อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำนานมีอยู่ว่า
เมื่อพระเจ้าอู่ทองอพยพผู้คนหนีโรคห่า ได้ขนข้าวของเงินทองบรรทุกใส่เกวียนมาหลายเล่ม
เมื่อผ่านทุ่งนาแขวงเมืองอินทรปรากฎว่าเกวียนหัก พระเจ้าอู่ทองจึงมองหาชาวบ้านเพื่อขอความช่วยเหลือแต่ไม่พบใคร
รอบข้างมีแต่ป่าไม้ ขณะนั้นพระองค์ได้สดับเสียงการ้อง ทรงคาดว่าจะต้องมีหมู่บ้านอยู่ในบริเวณนั้นแน่
เพราะธรรมชาติของกาจะต้องอาศัยอยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงทรงตะโกนขอความช่วยเหลือไปยังทิศนั้น
แต่ต้องผิดหวังเพราะไม่มีเสียงร้องตอบ เพราะกระแสเสียงของพระองค์นั้นทวนกระแสลมเสียงจึงไม่ไปถึงหมู่บ้านนั้น
แต่ลมกลับพาเสียงนั้นไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านจึงได้เตรียมอาหาร
น้ำ และเครื่องมือออกไปช่วยพระเจ้าอู่ทองซ่อมเกวียนจนเสร็จ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงสาปแช่งหมู่บ้าน
ที่พระองค์ทรงคิดว่าแล้งน้ำใจ และให้พรหมู่บ้านที่ให้ความช่วยเหลือว่า "บ้านการ้องให้มันฉิบหาย
พวกบ้านในให้เขาจำเริญ" ตั้งแต่นั้นมาบ้านการ้องก็ประสบแต่ความฝืดเคือง ทำอะไรก็ติดขัดมีอุปสรรค
การทำนาก็ได้ผลผลิตแทบไม่พอเลี้ยงปากท้องของชาวบ้าน ส่วนบ้านในคือ บ้านสวนหลวงชาวบ้านทำมาหากินอะไรก็ประสบผล
|