ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


หัตถกรรมทางช่างฝีมือ

            กริช  เป็นคำในภาษาชวา - มลายู ส่วนในภาษาถิ่นยะลาเรียกว่า กรือเระฮ์ กริชมีความเกียวข้องกับชาวชวาสมัยโบราณทีเชื่อในเทพเจ้า ลักษณะของด้ามกริชมักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม
            กริช มีความเป็นมาอย่างไรไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากเรื่องราวในเทพนิยายและตำนาน กริชจะเป็นอาวุธประจำตัว และสืบทอดให้แก่คนในตระกูลสืบไป ทั้งยังมีคุณค่าในเชิงศิลปวัตถุ ที่เป็นมงคลและเป็นศักดิ์ศรีของผู้พกพา กริชของจังหวัดยะลามีชื่อและประวัติความเป็นมาที่ยาวนานคือ
                - กริชเมืองรามัน  เป็นกริชตระกูลสำคัญในประวัติของกฤช และเป็นที่ขึ้นขื่อมานาน มีประวัติว่าเมื่อประมาณ สามร้อยปีที่ผ่านมา เจ้าเมืองรามันประสงค์จะมีกริชไว้ประจำตัว และอาจเป็นกริชคู่บ้านคู่เมือง หรือในบางคราวจะมีไว้ประทานแก่ขุนนางผู้จงรักภักดี หรือผู้ทำความดีแก่บ้านเมือง หรือเป็นของขวัญแก่แขกบ้านแขกเมือง แต่กริชดี ๆ ในช่วงนั้นหายากมาก เจ้าเมืองรามันจึงได้ให้คนไปเชิญช่างฝีมือดี และแก่กล้าด้วยอาคมจากชวา มาตั้งเป็นช่างประจำเมืองเรียกว่า ปาแนะซาระห์ ได้ทำกริชตามรูปแบบของตนเองจนเป็นที่รู้จัก และได้เรียกชื่อกริชว่า กริชปาแนซาระห์ ต่อมาได้ถ่ายทอดการทำกริชแก่ลูกศิษย์เจ็ดคน แต่ละคนได้ความรู้คนละแบบและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ กริชจือรีตอ กริชอาเนาะลัง กริชสบูฆิส กริชแบคอสบูการ์ กริชปแดนซาระห์ กริชบาหลี กริชแดแบะ หรือกายีอาริส แต่ละแบบมีความแตกต่างกันในรูปแบบและรายละเอียดของตัวกริช
                - ส่วนสำคัญของกริช  ตัวกริชหรือเรียกว่าตากริช หรือใบกริช ส่วนนี้เป็นโลหะผสมที่มีส่วนผสมอย่างพิสดาร ตามความเชื่อของช่างกริชหรือผู้สั่งทำกริช ตัวกริชมีลักษณะตรงโคนกว้าง ส่วนปลายเรียวแหลมมีคมทั้งสองด้าน ตัวกริชมีโครงสร้างที่แตกกต่างกันอยู่สองแบบคือ ตัวกริชแบบใบปรือ กับตัวกริชคด
            ตัวกริชแบบใบปรือ  เป็นรูปยาวตรง ส่วยปลายค่อย ๆ เรียวและบางจนบางที่สุด ซึ่งอาจจะแหลมหรืออาจจะมนก็ได้ คล้าย ๆ กับรูปใบปรือ (พืชน้ำชนิดนึ่งมีใบยาวเรียว) กริชใบปรือบางเล่ม จะมีร่องลึกยาวขนานไปกับคมกริช บางเล่มมีร่องลึกดังกล่าว ๒ - ๔ ร่องก็มี
            ส่วนตัวกริชคดนั้นมีลักษณะคดไปคดมาและค่อย ๆ เรียวยาวลงคล้ายกับเปลวเพลิง การทำกริชให้คดนั้นกล่าวกันว่ามีจุดประสงค์คือ เมื่อใช้แทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างกว่า และสามารถแทงผ่านกระดูกได้ด้วย
            การทำตัวกริชในสมัยโบราณต้องเตรียมกระบอกเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๒๐ นิ้ว เอาชิ้นเหล็ก หรือโลหะหลาย ๆ ชนิดรวมทั้งเหล็กกล้า เหล็กเนื้ออ่อน นำมาบรรจุลงในกระบอกเหล็กดังกล่าว ตีกระบอกเหล็กนั้นให้แบนพอเหมาะ แล้วนำมาตั้งบนเตาไฟหลอมให้เหล็กนั้นเหลวจนเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าเหล็กดังกล่าวหลอมไม่เข้ากันสนิท ให้นำชิ้นเหล็กเหล่านั้นมาแช่ลงในน้ำดินเหนียว แล้วตั้งไฟหลอมใหม่จนกว่าเนื้อเหล็กจะเข้ากันสนิทดี จากนั้นจึงนำมาวางบนแท่น และตีให้แบนเป็นรูปร่างกริชที่ต้องการซึ่งต้องใช้เวลามาก จากนั้นจึงนำมาฝนลับ และตกแต่งให้เกิดรายละเอียดของลวดลาย ตามชนิดของกริชตามที่ต้องการ
            การหลอม การตี การฝนและการลับจะเป็นไปด้วยความประณีตบรรจง การกำหนดสัดส่วนของโลหะที่ใช้ผสมกันต้องใช้ประสบการณ์สูง
            หัวกริชหรือด้ามกริชสำหรับจับ นิยมทำเป็นรูปหัวคน หัวสัตว์  ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม หัวกริชจะแกะจากวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้เนื้อแข็ง งาช้าง เขาสัตว์ หรือหล่อด้วยโลหะ
            ปลอกสามกั่น เป็นส่วนที่ติดกับหัวกริช เพื่อให้หัวกริชยึดติดกันอย่างมั่นคงและไม่ให้หัวกริชแตกร้าวได้ง่าย นิยมทำด้วยโลหะทองเหลือง เงินหรือทองคำ และมีการแกะสลักลวดลายที่ประณีต
            ฝักกริช  เป็นที่เก็บคมกริชเพื่อความสะดวกในการพกพา มักจะทำด้วยโลหะชนิดเดียวกับโลหะที่ทำปลอกสามกั่น และแกะสลักด้วยความประณีตสวยงาม

            กรงนกเขา  นกเขาชวาหรือนกเขาเล็ก มีสีเทาคล้ำ หางยาวประมาณ ๘ - ๙ นิ้ว เป็นนกที่ชาวไทยอิสลามในภาคใต้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น ฟังเสียงและเป็นสวัสดิมงคลแก่ตน และครอบครัว การเลี้ยงนกเขาจะใช้กรงซึ่งส่วนใหญ่จะขังกรงเดี่ยว กรงที่นิยมใช้กันคือ กรงแกะดอก มีขนาดและรูปร่างไม่แตกต่างจากกรงธรรมดา ต่างกันที่ซี่กรงจะแกะเป็นรูปต่าง ๆ  โดยทั่วไปจะแกะเป็นรูปดอกไม้ชนิดต่าง ๆ
            กรงนกเขาชวา  แบ่งส่วนประกอบส่วนต่าง ๆ คือ
                - ตัวกรง  ขนาดที่นิยมใช้ในปัจจุบันก้นกรงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔ นิ้ว สูงประมาณ ๑๖ - ๑๘ นิ้ว ตัวกรงจะมีส่วนประกอบคือ ซี่กรง ต้องมีขนาดเล็ก และแข็งแรงดี ประตูปิดเปิดกรง นิยมทำที่ก้นกรง ไม่นิยมทำข้างกรงเพราะจะทำให้เสียรูปทรง และขาดความสวยงาม คอน สำหรับให้นกเกาะ มักจะแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ อาจทำจากไม้ธรรมดาหรืองาช้างขนาดประมาณ ๕ - ๖ หุน สูงประมาณ ๓ นิ้ว ภาชนะใส่อาหารและน้ำ - หัวกรงนก นิยมทำด้วยไม้ธรรมดาหรืองาช้าง นำมากลึงให้สวยงาม  ขอเกี่ยว อาจทำด้วยเหล็กธรรมดาหรือทำด้วยทองเหลืองเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปนกโบราณ ตัวมังกร  ผ้ารองมูลนกและเศษอาหาร ทำเป็นรูปวงกลมห้อยไว้ภายนอกกรงนก ผ้าคลุมกรงนก มีสองแบบคือ แบบมีสี่ชายเป็นการคลุมแบบถาวร นิยมใช้ผ้าแพรลายดอกสีสด ที่ปลายชายจะผูกห้อยลูกตุ้มแก้วสี มีรูปแบบแตกต่างกัน  อีกแบบหนึ่งเป็นการคลุมชั่วคราวเวลาเคลื่อนย้ายนก เพื่อไม่ให้นกตกใจ มักใช้ผ้าที่มีลวดลายและสีสด


            เครื่องดนตรีของชาวซาไก  เป็นเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะด้วยการดีดหรือตี ประดิษฐ์ขึ้นจากไม้ไผ่อย่างง่าย ๆ  มีอยู่ ๘ ชนิด เรียกกันว่า บาแตช
                - ชนิดที่หนึ่ง  มีลักษณะเป็นกระบอกกลม ทำจากปล้องไม้ไผ่ขนาดใหญ่ยาวประมาณ ๑ เมตร ทะลุข้อออกหมดทุกข้อ เว้นแต่ข้อสุดท้าย โดยเจาะรูไว้ที่ข้อสุดท้ายขนาดปลายนิ้วก้อย เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้ใบไม้ใหญ่ตีทางปากกระบอกด้านที่ทะลุข้อทั้งหมด จะมีเสียงดังปึง ปึง
                - ชนิดที่สอง  มีลักษณะเป็นกระบอกกลม ทำจากปล้องไม้ไผ่ขนาดเล็กกว่าชนิดที่หนึ่งเล็กน้อย ยาวประมาณ ๒ ฟุต ปลายข้างหนึ่งตัดตรง ๆ  อีกข้างหนึ่งตัดในลักษณะเฉียงอย่างฝานบวบ ทะลุข้อหมดทุกข้อ เมื่อใช้ฝ่ามือตีทางปลายกระบอกด้านที่ตัดตรง จะให้เสียงแหลมกว่าอีกชนิดหนึ่งเล็กน้อย
                - ชนิดที่สาม  ชาวบ้านเรียกว่า กลองจำปี หรือโทนเงาะ  ทำจากปล้องไม้ไผ่ขนาดกลางหนึ่งปล้อง โดยตัดปล้องไม้ไผ่ให้มีข้อติดอยู่ทั้งสองข้าง ไม่ต้องทะลุข้อ จากปลายทั้งสองข้างเข้ามาประมาณ ๑ นิ้ว แล้วเฉือนผิวไม้ไผ่ออกกว้างประมาณ ๑ นิ้ว เจาะรูให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ไว้ตรงกลางปล้องไม้ไผ่ระหว่างรอยผิวที่ถูกเฉือนออกไปนั้น แล้วใช้ปลายมีดกรีดแงะเอาผิวไม้ไผ่ออกให้เป็นเส้นเล็ก ยาวตลอดแนวของรอยผิวไม้ไผ่ที่ถูกเฉือนออกไปทั้งสองข้าง จะได้เส้นไม้ไผ่สองเส้นขนานกัน ที่ปลายปล้องไม้ไผ่ทั้งสองข้าง ใช้หวายมัดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นไม้ไผ่สองเส้นนี้ฉีกขาดออกจากปล้อง แล้วใช้หมอนรองเส้นไม้ไผ่ทางด้านปลายทั้งสองข้าง จากนั้นเอาไม้ไผ่บาง ๆ กว้างประมาณ ๑ นิ้ว ยาวประมาณนิ้วครึ่ง ผ่าเล็กน้อยระหว่างกลางตามแนวนอน แล้วเอาไปเสียบไว้ ระหว่างเส้นไม้ไผ่ให้อยู่บนรูที่เจาะไว้พอดีบนผิวไม้ไผ่ด้านตรงกันข้ามแบบเดียวกัน เวลาตีใช้ตีตรงแผ่นไม้ไผ่บาง ๆ ที่อยู่บนรูกลางปล้องไม้ไผ่ จะให้สูงหรือต่ำแล้วแต่ความตึงหย่อนและขนาดของเส้นไม้ไผ่ที่ใช้หมอนรอง
                - ชนิดที่สี่  ทำจากปล้องไม้ไผ่หนึ่งปล้องขนาดเดียวกันกับกลองจำปี ปลายด้านหนึ่งตัดให้ติดกับข้อ อีกด้านหนึ่งตัดไม่ให้ติดกับข้อ ที่ด้านนี้จะผ่าผิวไม้ไผ่ออก แล้วสอดกาบหมากที่มีขนาดกลมพอดี กับวงด้านในของปล้องไม้ไผ่ การใช้ ใช้มือตีบนกาบหมากนั้น
                - ชนิดที่ห้า  ทำจากปล้องไม้ไผ่ขนาดเท่าข้อมือ ยาวประมาณ ๑ ฟุต ตัดไม้ไผ่ให้มีข้ออยู่ห่างจากปลายด้านหนึ่งเล็กน้อยพอจับถือได้เลยข้อไปประมาณ ๑ นิ้ว เจาะรูสองรูอยู่คนละข้าง ห่างจากรูนี้เล็กน้อยจะปาดปล้องไม้ไผ่ให้เป็นรูซ่อมสองขา ใช้ด้านที่เป็นรูซ่อมเคาะกับฝ่ามือ จะให้เสียงดังหวึง หวึง
                - ชนิดที่หก  ทำจากไม้ไผ่สองชิ้นขนาดใหญ่พอจับถือได้ถนัด ยาวประมาณ ๑ ฟุต ใช้ตีมีเสียงดังกรับ - กรับ เช่นเดียวกับไม้กรับในเครื่องดนตรีไทย
                - ชนิดที่เจ็ด  เป็นเครื่องเคาะให้จังหวะ เช่นเดียวกับไม้กรับ โดยมากทำจากกะลา เพราะมีเสียงดังก้องดีกว่าใช้วัสดุอย่างอื่น
                - ชนิดที่แปด  ทำจากปล้องไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒ ฟุต ตัดให้ติดข้อทั้งสองด้าน เจาะรูขนาดปลายนิ้วก้อยที่ข้อทั้งสองด้าน แล้วใช้หวายขนาดเล็ก มัดขึงตึงตลอดหัวท้าย เวลาเล่นใช้นิ้วดีดหวายให้กระทบกับปล้องไม้ไผ่ จะได้เสียงดังแต็ก - แต็ก

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์