ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดราชบุรี >ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง/ 

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง/

 

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี อยู่ในบริเวณบ้านพักทหารช่างราชบุรี ค่ายภาณุรังษี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรีปัจจุบัน

ลักษณะเด่น เป็นหลักเมืองเก่าที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิมที่เคยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกไปตั้งที่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก เพื่อให้ปลอดภัยจากการรุกราน และป้งอกันข้าศึกได้โดยง่าย

กิจกรรม เปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการะทุกวัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ กรมการทหารช่าง โทร. 0-3233-7388 , 0-3233-7811

 

 การเดินทาง

ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี และอยู่ตรงข้ามกับค่าย

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งชาวจังหวัดราชบุรีเคารพบูชากราบไหวมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ก่อนที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองราชบุรีในสมัยโบราณควบคู่กันไปเนื่องจากมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย

              เมืองราชบุรีในสมัยโบราณ ได้มีการสร้างและโยกย้ายไปหลายแห่งในอาณาบริเวณไม่สู้ห่างไกลจากกันมากนัก พื้นแผ่นดินซึ่งที่ตั้งจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันนี้ จากหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานที่ได้ค้นพบ ทำให้เชื่อได้ว่า มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่มาตั้งแต่ยุคหินกลาง ซึ่มีอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่หลักฐานเกี่ยวกับการสร้างบ้านแปลงเมืองนั้น ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในสมัยทวารวดี หลังจากที่ได้ค้นพบโบราณสถานสมัยทวารดี ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี แล้วซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าตำบลคูบัวนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองราชบุรีเก่า

              ครั้นถึงสมัยลพบุรี เมืองราชบุรีได้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดมหาธาตุ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุหรือมีวัดมหาธาตุเป็นแกนเมือง ตั้งอยู่ ณ ริมแม่น้ำเฃแม่กลองฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ส่วนนอกเมืองก็จะมีวัดอรัญญิก ซึ่งบริเวณเมืองราชบุรีในสมัยลพบุรีนี้อยู่ในเขตท้องที่ ตำบลเจดีย์หัก และตำบลหลุมดิน ส่วนหนึ่งของเนินดิน กำแพงเมืองด้านตะวันออก ถูกถมทำเป็นถนนสายที่ผ่านไปยังเขางู เมืองราชบุรี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุนั้น เท่าที่ปรากฏหลักฐานได้ตั้งอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี นับว่าเป็นเมืองตั้งอยู่ที่เดิมได้นานที่สุดเมืองหนึ่งในประเทศไทย มีอายุยืนนานมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงดำริว่าที่ตั้งเมืองวซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองเสียเปรียบในเชิงยุทธศาสตร์กับพม่าที่เข้ามารุกรานอยู่เสมอ จึงได้โปรดเกล้าให้ย้ายเมืองไปตั้งทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง เพื่อให้ข้าศึกเข้าถึงตัวเมืองได้ยากขึ้น และมีทางถอยเมื่อเสียเปรียบ การย้ายเมืองครั้งนี้ได้มีการกำหนดฤกษ์ทำพิธีฝังหลักเมืองด้วย

พิธีการฝังหลักเมือง

              จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์มิได้มีการกล่าวหรืออ้างอิงในเรื่องของหลักเมืองเลย จนกระทั่งมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ ๒) ได้มีการย้ายเมืองราชบุรีตามที่ได้กล่าวมาแล้ว และปรากฏหลักฐานว่า ทรงจัดให้มีพิธีฝังหลักเมือง มีการสมโภช ๓ วัน ๓ คืน ตั้งแต่วันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ.๒๓๖๐ จนถึงวันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เวลา ๗ นาฬิกา ถึงกำหนดฤกษ์ฝังหลักเมือง ซึ่งก็สรุปได้ว่า หลักเมืองราชบุรีเรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ตั้งขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๒ นั่นเอง เมื่อฝังหลักเมืองตามตามกำหนดฤกษ์แล้วจึงได้มีการก่อสร้างกำแพงเมืองก่อด้วยอิฐถือปูน มีใบเสมา มีป้อม ๖ ป้อม มีประตู ๖ ประตู และยังก่อสร้างสิ่งอื่นๆ อีกด้วย

              ปัจจุบันศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ยังคงอยู่ในบริเวณกำแพงเมืองเก่า ถึงแม้นว่าในในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้มีการย้ายศาลากลางจังหวัด ซึ่งเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง(ในกำแพงเมือง) มารวมกันกับศาลาว่าการมณฑลฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองก็ตาม แต่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ในบริเวณกำแพงเมืองได้เป็นที่ตั้งของกองพลทหารบกที่๔ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของค่ายทหาร “ ค่ายภาณุรังษี ” มีกรมการทหารช่าง และจังหวัดทหารบกราชบุรี เมื่อกรมการทหารช่างตั้งอยู่ในบริเวณกำแพงเมือง ซึ่งมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ด้วยก็มีความจำเป็นต้องดูแลและทำนุบำรุงรักษาบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย ซึ่งภายหลังทางกรมศิลปากรได้ออกแบสร้างศาลขึ้นมาใหม่ และในปี พ.ศ.๒๕๒๗ กรมการทหารช่างได้ออกแบบและซ่อมปรับปรุงใหม่อย่างสวยงามจนถึงปัจจุบัน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เมืองราชบุรีนี้เป็นที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก มีประชาชนไปบูชากราบไหว้อยู่เสมอมิเคยขาด ทางฝ่ายทหาร และฝ่ายบ้านเมืองจึงได้จัดงานสักการะขึ้น ในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี โดยมีความมุ่งหมายให้เป็นงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองและเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มาปิดทอง และสรงน้ำ เมื่อถึงงานสงกรานต์อันเป็นประเพณีไทย ปัจจุบันกรมการทหารช่างได้จัดเจ้าหน้าที่ของทหารคอยดูแลความสะอาดเรียบร้อยของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และสร้างศาลาทองขึ้นเพื่อจัดดอกไม้ ธูปเทียน เอาไว้บริการแก่ประชาชนทั่วไปอีกด้วย

              กล่าวโดยสรุป แล้วศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๒ ) โดยสร้างขึ้นหลังจากที่ย้ายเมืองจากทางฝั่งขวา (ในบริเวณกำแพงเมือง ) และศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เมืองราชบุรีนี้ก็ยังคงอยู่ที่ในบริเวณกำแพงเมืองเก่ามาจนถึงทุกวันนี้


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

 
ราชบุรี/Information of RATCHABURI

  ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ราชบุรี
อำเภอดำเนินสะดวก
อำเภอบ้านโป่ง
อำเภอสวนผึ้ง


โป่งยุบ
PONG YUB
(ราชบุรี)
อำเภอเมือง


เขาน้อย

Noi Hill
(ราชบุรี)


เขาหลวง

Luang Hill
(ราชบุรี)


เขาวัง

Khao Wang
(ราชบุรี)
อำเภอโพธาราม
แผนที่จังหวัดราชบุรี/map of RATCHABURI
โรงแรมจังหวัดราชบุรี/Hotel of RATCHABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์