เกาะยอ
เกาะยอ เป็นเกาะเล็กๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทาง
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร
เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม
บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะ ผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น
ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ
ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้
และผ้าทอเกาะยอ
เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย
มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย
นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย
ชุมชนบ้านนอก
หมู่ 3 ตั้งอยู่ใจกลางเกาะยอ เกาะเล็กๆ ในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง
ชาวบ้านนอกทุกคนจึงเป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านของเกาะยอ
ซึ่งเกิดจากครรลองชีวิตที่ผสมผสานระหว่างชาวสวนและชาวประมงของคนใต้ดั้ง
เดิมของเกาะและคนเชื้อสายจีน แม้ความเจริญรูปแบบต่างๆ
จะไหลบ่าเข้ามาพร้อมกับสะพานติณสูลานนท์ แต่ชาวเกาะยอกลับรวมพลังกันอย่างเข้มแข็ง
ปกป้องวิถีชีวิตที่สงบสุขแบบดั้งเดิมไว้
และปรับใช้ความเจริญที่แผ่เข้ามาให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในแบบฉบับของชาวเกาะยอ
สถานที่ตั้ง บ้านนอก หมู่ 3 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ถนนสายวัฒนธรรม สัมผัสวิถีชีวิตชาวเกาะยอ
ชุมชนชาวใต้ที่สืบสานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
กิจกรรมท่องเที่ยวบริเวณเกาะยอ
นั่งเรือหางยาวล่องทะเลสาบ
เรียนรู้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ชมธรรมชาติยามเช้ารอบๆ เกาะยอ ในทะเลสาบสงขลา
ร่วมประสบการณ์กู้ไซ วางกัด ตกปลาแบบประมงพื้นบ้านของเกาะยอ
ขี่จักรยานเที่ยวสวนสมรม ชมเรือนไทยโบราณ เที่ยววัดท้ายยอ...
ชมการทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน ชิมผลไม้สดปลิดจากต้น ปลอดสารเคมี
ลัดเลาะไปชมเรือนไทยโบราณ เรือนไทยภาคใต้เสาเรือนไม่ฝังดิน เที่ยววัดท้ายยอ
ชมกุฏิเจ้าอาวาส เจดีย์บนเขาเพหาร และโบราณสถานที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง
ชมเรื่องราวชีวิตชาวใต้ที่พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา
แหล่งจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์
เฉพาะของชาวใต้ ด้วยพื้นที่จัดแสดงกว่า 30 ห้อง
เลือกซื้อ
เลือกชิม สินค้าพื้นเมืองเกาะยอ มาถึงเกาะยอ อย่าลืมสนับสนุนงานหัตถกรรมล้ำค่า
ผ้าทอเกาะยอ อาหารพื้นเมืองและผลไม้ที่ขึ้นชื่อ เช่น จำปาดะขนุน ละมุด
มะพร้าวน้ำหอม และยำสาย (สาหร่ายผมนาง)