วัดพะโคะ
วัดพะโคะ
(เดิมชื่อ วัดหลวง) ปัจจุบันชื่อ วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่ บริเวณเขาพัทธสิงค์
หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาปี พ.ศ. 1919-2039 สมัยอยุธยาตอนต้น
ชาวเผ่าอินโดนีเซีย จากปลายคาบสมุทรมลายูบริเวณหมู่เกาะ
ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เจริญซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีการ ติดต่อกับชาวอาหรับเปอร์เซีย
ตั้งแต่ตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 19
ได้ส่งกองโจรสลัดมาทางมหาสมุทรเพื่อปล้นสะดมชุมชนต่าง ๆ
ทางตอนกลางคาบสมุทรมลายูมีหลักฐานบันทึกในหนังสือเรื่องกัลปนาวัดในสมัยอยุธยากล่าวถึง
โจรสลัดยกทัพยก กำลังเข้าปล้นตีเมืองพะโคะ แถบคาบสมุทรสทิงพระหลายครั้งพ.ศ. 2057
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดพะโคะ (เดิมชื่อ วัดหลวง) ต่อมา
ได้สร้างวัดพะโคะ บนเขาพะโคะ ปัจจุบันชื่อ เขาพัทธสิงค์พ.ศ. 2091 - 2111
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้รับพระราชทานที่กัลปนาวัด เรียกว่า วัดราชประดิษฐานพ.ศ.
2148 - 2158 สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้บูรณะพระมาลิกเจดีย์สูง 1 เส้น 5 วา
และได้พระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะ ยาว 3 วา 3 คืบ
ประวัติความเป็นมา
ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงเรียกว่า "วัดหลวง" สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
ได้พระราชทานที่กัลปนา (ยกให้) ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. ๒๐๕๗
ต่อมาสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑) ได้รับพระราชทานที่กัลปนาวัดนี้
เรียกว่าวัดราชประดิษฐาน และได้สร้างพระโคตมะ หรือพระพุทธรูปไสยาสน์
ที่ประดิษฐานอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ คำว่า "พะโคะ" น่าจะมาจากคำว่า
"พระโคตมะ" นั้นเอง วัดพะโคะเคยถูกโจรสลัดมลายู ยกทัพเรือมาปล้น ๒ ครั้ง
เผาผลาญทำลายพระมาลิกเจดีย์ วิหารพระพุทธบาท และศาสนสถานอื่นๆ อีกจำนวนมาก
จึงทำให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะครั้งสำคัญขึ้น
ในครั้งที่สมเด็จพระราชมุนีสามิราม (สมเด็จพระโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)
ขอพระราชทานที่กัลปนาใหม่ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๔๘ - ๒๑๕๘)
ได้บูรณะ พระมาลิกเจดีย์สูง ๑ เส้น ๕ วา (สูงกว่าเดิม ๕ วา)
โดยได้รับพระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะ ยาว ๓ วา ๓ คืบ
มาจากกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระราชมุนีมีความสำคัญต่อวัดนี้มากจนได้มีอนุสาวรีย์ปางธุดงค์จาริกของท่านไว้เคารพสักการะ
ความสำคัญต่อชุมชน
วัดพะโคะ เป็นวัดที่มีความสำคัญต่อชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
โดยใช้เป็นสถานที่กระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเมืองพัทลุง
เป็นวัดที่ประดิษฐานพระมาลิกเจดีย์พระพุทธไสยาสน์หรือพระโคตมะ
และอนุสาวรีย์หลวงพ่อทวด (สมเด็จพระราชมุนีสามิราม) ในลักษณะจาริกธุดงค์
ซึ่งเป็นที่ศรัทธาและเคารพบูชาของชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง
มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
พระมาลิกเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมภาคใต้แบบลังกาสมัยอยุธยา
นอกจากเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ยังมีพระพุทธไสยาสน์ยาว ๑๘ เมตร สูง ๒๕ เมตร
ฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่า พระโคตมะ (พะโคะ) ประดิษฐานในพระวิหาร
ด้านทิศเหนือของเจดีย์ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุล้ำค่าอีกมากมาย
เส้นทางเข้าสู่วัดพะโคะ
จากตัวจังหวัดสงขลา เดินทางโดยทางรถยนต์บนทางหลวงหมายเลข ๔๐๘
เดินทางโดยรถประจำทางสายสงขลา-ระโนด ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร