ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > สุภาษิต

โคลงโลกนิติ สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตอิศรญาณ วชิรญาณภาษิต สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท โอวาทกษัตรีย์ กฤษณาสอนน้อง สุภาษิตสอนสตรี พาลีสอนน้อง
ทศกรรฐ์สอนน้อง พิเภกสอนบุตร สุภาษิตจากเรื่องพระอภัยมณี สุภาษิตสอนศิษย์ สุภาษิตสอนเด็ก สุภาษิตขี้ยา คำกลอนโลกนิติ กลบทสุภาษิต

ทศกรรฐ์สอนน้อง


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
loading picture loading picture

ขอยกยศทศกรรฐ์โมหันต์เหิม
เอกอุดมพรหมพงศ์เป็นวงศ์เดิม ศฤงคารเจิมจอมยักษ์หลักลงกา
ฯลฯ
จึงต้องศรพรหมาศสังหารสรร เมื่อวันอันจะสิ้นชีพิตักษัย
พระราเมศร์ทรงศรสังหารไป ปักตรึงในอุราพญามาร
ฯลฯ
พญาพิเศกตาขาวเข้าประคอง สุชลนองร้องว่านิจจาเอ๋ย
น้องได้ทูลแต่หลังไม่ฟังเลย ชั่งงมเงยเบาความทำลามลวน
เจ้ากรุงมารว่าจริงแล้วน้องรัก พี่ชั่วนักเหลือใจมิได้หวน
ขอสั่งเจ้าจงทำอย่าคร่ำครวญ เป็นกรรมกวนถึงเวลาก็ท่าตาย
พี่ขอสั่งฟังโสตโอษฐ์ของพี่ โอษฐ์หนึ่งนี้เร่งกำหนดและจดหมาย
เจ้าอยู่หลังอุตส่าห์รักษากาย เป็นชาติชายไว้ชื่อให้ลือชา
เป็นวงศ์มารแล้วอย่าหาญให้เกินเหตุ ถึงทรงเดชโปรดใช้ให้ยศถา
จงถ่อมตัวให้ดีมีอัชฌา อย่าเริงร่ารอพักตร์พระจักรี
จะทูลความสิ่งใดจงใคร่ครวญ ทูลแต่ความจริงประจักษ์หลักฐานที่
ทูลแต่เพียงที่รับส่งฟังคดี อย่าทูลให้เกินที่มีโองการ
โอษฐสองตรองให้ดีที่หลีกเลี่ยง อย่าเอาเยี่ยงเหมือนตัวพี่นี้โวหาร
ฯลฯ
ถอดดวงใจฝากไว้แก่นักพรต ทุกชั้นฟ้าเกรงหมดสยดสยอน
ใครฆ่าฟันฉันใดไม่ม้วยมรณ์ เดชขจรเชื่อฤทธิจิตทมิฬ
ฯลฯ
ถึงรู้ดีถี่ถ้วนก็ควรจำ เวลาพล้ำเผลอบ้างก็ยังมี
สัตว์ที่มีสี่เท้าเดินก้าวย่าง ยังพลาดบ้างเจ้าจงจำคำพี่
อย่าละเลิงหลงเชิงเช่นสตรี มักเสียทีเพราะหลงพางงไป
อันตัณหาพาเสียให้เตี้ยต่ำ แสนระยำตัวพี่นี้เหลวไหล
อันรูปรสกลิ่นเสียงเห็นเที่ยงใจ ใครหลงนักมักให้ได้รำคาญ
โอษฐ์สามสั่งความถึงลงกา มโหฬาร์แสนสุขสนุกสนาน
ฯลฯ
อย่ามีจิตอวดองค์ทะนงศักดิ์ ให้รู้จักคุณโทษประโยชน์ผล
ฯลฯ
ลิงกับยักษ์รักใคร่ที่ไหนมี เร่งทูลลากลับบุรีแทนพี่ชาย
เป็นเมืองขึ้นอย่าได้แข็งตะแคงคิด อย่าแข็งฤทธิ์ผิดท่าพาเสียหาย
ฯลฯ
โอษฐ์สี่พี่สั่งจงฟังไว้ ตัวเป็นใหญ่ใจต้องปองประสงค์
ให้เป็นที่พึ่งพักสมัครปลง ทั้งนายไพร่ให้จงสามัคคี
ทุกบรรดาข้าเฝ้าเหล่าทหาร ยศศักดิ์พนักงานตามฐานที่
ผู้ใดคิดจงใจรักด้วยภักดี ควรปราณีเพิ่มยศปรากฎการ
ผู้ใดผิดจงวินิจตามแบบบท มีกำหนดเท่าที่เคยเฉลยสาร
ควรตรวจตรองให้ต้องสำเนานาน มาตยาพฤฒาจารย์ให้ชอบเชิง
ตามคัมภีร์ราชศาสตร์บัณญัติบท ธรรมศาสตร์เป็นกำหนดอย่าหลงเหลิง
ควรเพิ่มลดบทใดให้ชอบเชิง ที่ยุ่งเหยิงพังพับอย่าผันแปร
ที่เห็นมีบทปรากฎแล้ว ให้เนืองแถวโบราณราชปราชญ์แฉว
ถ้ามิควรส่วนชอบประกอบแท้ ควรคัดแก้ให้ประเทืองเรืองจำรูญ
อันทุกข์นี้มีบทปรากฎชัด ทุกข์กษัตริย์ทุกข์เจ้าวัดไม่ตัดสูญ
ทุกข์เจ้าเรือนนี้นะเจ้าเป็นเค้ามูล ก็อาดูรแม้นละม้ายคล้ายคลึงกัน
แต่กษัตริย์ครองสมบัตินี้ทุกข์ยิ่ง สรรพสิ่งใครไม่รู้ดูขัดขัน
ฯลฯ
โอษฐห้าว่าทุกข์กษัตริย์นั้น ทุกข์ทุกสรรพ์ทุกสิ่งจริง ๆ เจ้า
ทุกข์ตามปรมัตถ์ท่านจัดเอา ชาติทุกข์นี้นะเจ้าเหมือน ๆ กัน
ทุกข์ถึงบ้านถึงเมืองไม่เปลื้องขาด ทุกข์ถึงราษฎร์ทั่วนิเวศน์ทั้งเขตขัณฑ์
ทั้งบกเรือเหนือใต้ไพร่ฉกรรจ์ ต้องลงทัณฑ์เหล่าร้ายให้วายลง
ต้องจัดตั้งวัดสถานปราการป้อม ทุกสิ่งพร้อมราชกิจจิตประสงค์
ตั้งตำแหน่งแห่งชิดสนิทวงศ์ ผู้ใดทรงจัดตั้งระวังความ
ใครผิดชอบกอร์ปด้วยคุณกรุณา ตั้งอาชาญาโรงชำระดบะถาม
ทั้งลูกขุนตุลาการชำนาญยาม รู้เทียมความแคล่วคล่องต้องกระทรวง
บางทีเพียงชั้นลูกขุนตุลาการ ไม่อาจหาญชำระได้ต้องให้หลวง
ถึงตึกลองร้องฎีกาว่าทักท้วง ถึงในหลวงออกทรงตัดสินเอง
อันเสี้ยนหนามความร้อนอาณาราษฎร์ ตามบทบาทอัยการบรรหารเผง
เมื่อถึงที่ต้องกษัตริย์ทรงตรัสเอง ต้องชั่งเต็งตรงเที่ยงไม่เอียงเลย
โอษฐ์หกยกความตามประเภท ขัตเยศวงศ์ยักษ์หลักเฉลย
พี่สั่งเจ้าเท่านี้ดังที่เคย จะชมเชยสิ่งประสงค์จำนงนึก
บัญญัติองค์จงดีมีสติ หมั่นดำริแเยบยลกลศึก
ตามพิชัยสงครามให้ล้ำลึก ทั้งหัดฝึกทวยหาญให้ชาญชิน
สรรพเครื่องเรืองฤทธิ์วิทยา เครื่องยุทธนาอาวุธสิ่งสุดสิ้น
คู่กรใดอย่าไว้กับนาริน จะเสื่อมสิ้นเสียทีชีวีวาย
จะไสยาสน์วังวาสนารีรัก แต่ควรศักดิ์อย่าให้สิ้นเวลาสลาย
ตามแบบอย่างขันติวราชาย บรรทมนั้นพอแต่พอหายคลายอาวรณ์
แต่ยามเดียวอย่าเยี่ยงสกุลไพร่ ที่หลงไหลกามสุขสโมสร
ฯลฯ
ภาษิตบทกำหนดนั้นมีว่า เอกะกายามาสืบนุสนธ์
พระราชากษัตริย์บัญญัติตน ไสยาสน์ลดแน่แต่หนึ่งยาม
อีกเทวมายาจะบัณฑิตดัง นักปราชญ์หวังแต่สองไม่ถึงสาม
เกตุกุฎมพิกาจะแจ้งงาม นอนยามสามคนมั่งคั่งสิ้นรังแก
อีกจตุมายาจกะ สี่ยามนะชนชาญขอทานแน่
เพราะไม่มีกิจข้องต้องดูแล จิตมุ่งแต่นอนกินก็สิ้นกัน
โอษฐเจ็ดให้สังเกตในข้อนี้ คำของพี่วันจะสิ้นชีวาอาสัญ
ไม่ตรงตั้งหวังไฝ่ในอาธรรม์ จึงผวนผันผิดภาคจากวงศ์ยักษ์
ฯลฯ
โอษฐ์แปดโอ้ว่ะแดดจะอับแสง ไม่มีแคลงจะพยับดั่งอับฝน
ฯลฯ
โอษฐ์เก้าเจ้าลงกาว่าขอบจิต เราโทษผิดเพราะกรรมทำไฉน
ครั้นจะอยู่เห็นหน้าระอาใจ เทพไทก็จะฉินล่วงนินทา
ไม่ขออยู่ดูหน้าบรรดาบุรุษ ขอสิ้นสุดชีวังดับสังขาร์
ไม่รักชีพขอแต่ชื่อให้ลือชา แสวงสุขชาติหน้าดีกว่าแฮ
ถึงตัวเจ้ากับเราไม่ผูกเวร เพราะเขตเกณฑ์พระศุลีมีกระแส
ฯลฯ
โอษฐ์สิบหยิบข้อมาสั่งน้อง อย่าหมองข้องจิตหมางระคางพี่
พี่ขอลาบรรลัยในวันนี้ ขอฝากพี่เจ้าช่วยเผาเบาแผ่นดิน
แล้วผันพักตร์สั่งเสนาหมู่ข้าเฝ้า ฝูงชาวเจ้าอยู่หลังหมดทั้งสิ้น
ทั้งนายไพร่ทั่วหน้าอย่าราคิน เร่งผายผินหลักหนีไพรีพาล
ควรมีสัตย์สุจริตอย่าคิดชั่ว เจ้านายตัวอย่าได้ก่อข้อล้างผลาญ
ฯลฯ
เป็นนายชั้นอันดีมีอัชฌา เปรียบเหมือนม้าเลิศลักษณ์มีศักดิ์สม
ถึงควรขับขี่ไปไม่ระบม เสียงแต่ลมปลายแส้ก็แร่เร็ว
คบคนดีมีสติต้องตริตรอง ตามทำนองมิได้เชือนเหมือนชนเหลว
รู้กิจการร้ายดีมิใช่เลว รู้การเร็วการช้าการหากิน
ไม่เกียจคร้านการตัวหรือการนาย ไม่ทำร้ายสหายมิตรเป็นนิจสิน
รู้ถ่อมตัวเจียมตนไม่มลทิน มิได้นินทากล่าวโทษเจ้านาย
ฯลฯ
จะพูดจาสารพัดล้วนสัตย์ซื่อ ควรเชื่อถือไม่สับปลับพูดทับถม
ไม่ควรกล่าวแล้วไม่กล่าวร้าวคารม ไม่เงอะงมพูดจาก็น่าฟัง
ผู้เป็นนายอย่าใจร้ายข่มเหงข้า ข้อหนึ่งหนาพากันจำในคำสั่ง
ถ้าใครดีควรมีกรณัง เมตตาดั่งบุตรตัวให้ทั่วไป
มิควรเดียดก็อย่าขึ้งให้ถึงขนาด อย่าร้ายกาจด่าว่าอัชฌาสัย
จงว่ากล่าวฟังสอนอาวรณ์ใจ ไม่ควรใช้เรียกมาชี้ให้ดีเชิง
ใครทำดีควรที่บำเหน็จงาม ยกย่องตามสมัยอย่าให้เหลิง
ถ้าทำชอบให้มอบโดยชอบเชิง อย่าเป็นเพลิงไหม้ป่าพารำคาญ
ข้อสองตรองเทียบกับตัวเรา ถ้าเขาคิดว่าน่าสงสาร
เมื่อมีกิจสิ่งไรจะใช้วาน อย่าหักหาญเกินที่จะดีเอง
จงโลมเล้าเอาใจให้ชื่นจิต ไม่ทันผิดอย่าเพ่อว่าท่าข่มเหง
เห็นหนักนักจึงค่อยยักไปตามเพลง ว่าตัวเองทำไม่ไหวงดไว้ที
ฯลฯ
ข้อสามตามกาลสงกรานต์ตรุษ ควรที่หยุดการลาอย่าเคี่ยวเข็ญ
ปล่อยเล่นบ้างอย่างโบราณท่านว่างเว้น ยอมให้เล่นสมัยแปลกแจกผ้าปี
ฯลฯ
ข้อสี่มีว่าเวลาการ อย่าหักหาญดูสมัยพอให้สม
ฝ่ายนายฝ่ายทาสคาดนิยม ให้ควรชมว่ามีเรือต้องเจือพาย
เช่นกับว่าเสือเกื้อป่าม้าเกื้อรถ ตามกำหนดฉุดลากคุณหลากหลาย
ข้าก็ต้องมีเจ้าบ่าวมีนาย เรือสิ้นพายแล้วก็สิ้นกระบิลกระบวน
อาศัยกันเช่นนี้จงมีสติ จงดำริเห็นใช้ให้สงวน
เขาก็ชนคนเหมือนกันอย่ารัญจวน ใครก่อกวนก็อาภัพยับแก่ตัว
ครั้นสั่งเสร็จเกศกัมบรมนาถ ว่าข้าบาทนี้ต้องเวรเกณฑ์ชั่ว
จึงเกิดเป็นยักษ์มารพาลไม่กลัว รู้สึกตัวขอให้สิ้นมลทินเวร
ฯลฯ
เจ้าลงกานบคำนับแล้วหลับเนตร ก็ล้มเกศดักโศกเกษมศรี
ฯลฯ
อาจารย์คิดลองประดิษฐ์ต่อแต่งหวัง เพื่อได้ฟังอรรถชอบคำตอบถาม
เพื่อประโยชน์แก่ผู้ต้องทำนองความ ใคร่หาความดีใส่ตัวหนีชั่วเชิง
ฯลฯ
เห็นเยี่ยงอย่างแต่ก่อนท่านสอนไว้ จึงคิดใคร่ลองจิตคิดถวิล
พอเป็นที่เทียบความตามระบิล ใครยลยินคำข้าอย่าถือใจ
ฯลฯ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์