ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            พระราชวังท้ายพิกุล  ตั้งอยู่ในบริเวณพระพุทธบาท ทางด้านทิศตะวันตกของพระมณฑปพระพุทธบาท สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับมาแต่แรกพบพระพุทธบาท ต่อมาพระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์ธารเกษมขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ปล่อยให้พระราชวังท้ายพิกุลทรุดโทรมไป ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) พระองค์ได้เสด็จมานมัสการพระพุทธบาท ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังแห่งนี้
            พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธบาท จะประทับที่พระราชวังท้ายพิกุล เมื่อของเดิมชำรุดทรุดโทรมไป ก็ทรงให้สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาท ก็ได้โปรดให้สร้างพระตำหนักขึ้น ในบริเวณที่ว่างอยู่ของพระราชวังท้ายพิกุล ประกอบด้วยเรือนฝ่ายใน และฝ่ายหน้าหลายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ ฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักและเรือนในบริเวณวังที่พระพุทธบาทสองครั้ง ต่อมาเมื่อชำรุดหักพังจะปลูกพลับพลาใหม่จึงรื้อออกหมดไม่มีอะไรเหลืออยู่ ปัจจุบันจึงมีเพียงฐานรากพระที่นั่ง กำแพงวังและเคยที่ประทับช้างอยู่เท่านั้น

            พระตำหนักธารเกษม  เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๖ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเตรียมการที่จะเสด็จนมัสการพระพุทธบาท ได้โปรดให้ช่างกองใหญ่ยกขึ้น ไปทำตำหนักริมธารท้ายธารทองแดง คิดทดบ่อน้ำเปิดปิดให้ไหลเชี่ยวมาแต่ธารทองแดง ให้นามชื่อพระราชนิเวศน์ธารเกษม
            การระบายน้ำและทดน้ำดังกล่าวใช้ศิลาก่อเป็นทำนบกั้นขวางลำธาร ทำประตูระบายน้ำแล้วฝังท่อดินเผา ไขน้ำให้ไหลตามท่อไปสู่ที่ต่าง ๆ ที่ต้องการน้ำ
            พระตำหนักธารเกษม อยู่ห่างจากพระพุทธบาทขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันชำรุดหักพังลงมาหมดแล้ว คงเหลือแต่ร่องรอยฐานรากอาคารเป็นอิฐ และปูนปรากฏอยู่เท่านั้น

            พระตำหนักสระยอ  อยู่ห่างจากพระราชวังท้ายพิกุลลงมาทางใต้ตามถนนพระพุทธบาท - ท่าเรือ ประมาณ ๘๐๐ เมตร พระตำหนักสระยออยู่ทางด้านทิศตะวันออกของถนน
            ลักษณะฐานรากของพระตำหนักเป็นก้อนหินนำมาก่อสอปูนคล้ายกับพระตำหนักต่าง ๆ ในบริเวณอำเภอพระพุทธบาท ที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระตำหนักนี้มีชื่อเรียกอยู่ในคำให้การขุนโขลนว่าตำหนักพระนารายณ์เป็นท้ายสระยอ เชื่อกันว่า สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับในรัชสมัยของพระองค์
            พระตำหนักสระยอในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงฐานรากของพระตำหนักเหลืออยู่เท่านั้น

            วังน้ำบ้านท่าราบ  วังน้ำท่าราบอยู่กึ่งกลางแม่น้ำป่าสักระหว่างบ้านท่าราบ ตำบลต้นตาล และบ้านไผ่ล้อม ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ เดิมริมแม่น้ำป่าสักตอนนี้เป็นหาดทรายราบเรียบ ลดหลั่นเป็นแนวยาวประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ในฤดูแล้งน้ำจะตื้นเขิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จ ฯ ทางชลมารคผ่านจุดนี้ทรงหยุดขบวนเสด็จขึ้น เพื่อทรงเหยียบท่าราบ และสรงน้ำที่หาดท่าราบนี้ เนื่องจากพื้นน้ำบริเวณนี้เป็นวังน้ำคือ น้ำนิ่ง และลึกใสเย็นกว่าแห่งอื่น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก นับแต่นั้นมาถือว่าน้ำท่าราบเป็นน้ำอภิเษก จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำน้ำแห่งนี้ไปทำเป็นน้ำอภิเษกในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิบมาจนถึงปัจจุบัน
            จุดประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำคือ ที่บ้านท่าราบ ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้

            พระบวรราชวังสีทา (ตำหนักบ้านสีทา)  ตั้งอยู่ที่บ้านสีทา ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย พระตำหนักแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ฝั่งตะวันตก ณ ตำบลบ้านสีทา คราวเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี เพราะมูลเหตุเกิดแต่คราวที่สร้างราชธานีสำหรับสงคราม พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร สำรวจเมืองนครราชสีมา ทรงเห็นภูมิลำเนากันดารไม่เหมาะสม มาโปรดที่เขาคอกในเขตจังหวัดสระบุรี ว่ามีลักษณะพื้นที่เหมือนเป็นป้อมธรรมชาติ จึงทรงสร้างที่ประทับขึ้นที่ตำบลสีทา (พ.ศ.๒๔๐๒ - ๒๔๐๘) สามารถเดินทางไปมาได้สะดวกทั้งทางน้ำและทางบก ระยะทางจากบ้านสีทาไปเขาคอกทางบกประมาณ ๙ กิโลเมตร ทางแม่น้ำป่าสักประมาณ ๑๔ กิโลเมตร พระบามสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาประทับ ณ วังสีทา เพื่อตกแต่งเขาคอกไว้เป็นป้อมปราการต่อสู้ข้าศึก และทรงโปรดวังแห่งนี้มาก ได้เสด็จมาประทับอยู่เนือง ๆ ตลอดพระชนมายุ แต่เนื่องจากพระราชวังแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรด ฯ ให้รื้อพระตำหนักลงมา สร้างวังพระราชทานพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

            เขาคอก  อยู่ที่บ้านท่าคล้อ ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย ลักษณะพิเศษของเขาคอกคือ มีภูเขาล้อมรอบเหมือนป้อมปราการ มีช่องทางเข้าออกแคบ ๆ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นช่องทางบกแห่งหนึ่ง และถัดไปทางซ้ายประมาณ ๘๐ เมตร เป็นช่องทางน้ำอีกแห่งหนึ่ง ภายในหุบเขาเป็นที่กว้าง มีพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ มีเนินดิน กำแพงหิน และร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ใช้เขาคอกเป็นที่ฝึกพล เพื่อเตรียมไว้ป้องกันอริราชศัตรูอยู่นานพอสมควร
            เขาแดง  อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง ฯ ในสงครามมหาเอเซียบูรพา ที่กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ที่บริเวณฝั่งทะเลของไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ระหว่างที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ เช้ามืดวันหนึ่งชาวบ้านแถบเขาแดงพบเห็นทหารญี่ปุ่นจำนวนมาก เข้ามาขอซื้อไม้รวก ชาวบ้านเห็นว่าได้ราคาดี จึงช่วยกันตัดไม้รวกขายญี่ปุ่น ทหารญี่ปุ่นได้ให้เชลยศึกที่เป็นทหารชาวตะวันตก จำนวน ๒,๐๐๐ คน ช่วยกันทำทางจากหน้าโรงเรียนวัดพระพุทธฉายไปยังเขาแดง ให้สร้างรั้วด้วยไม้ไผ่กว้าง ๕๐๐ เมตร ยาว ๕๐๐ เมตร ทำป้อมยามสี่แห่งภายในรรั้ว ซึ่งใช้เป็นสถานที่กักกันเชลยศึก
            จากนั้นได้ให้เชลยศึกสร้างที่เก็บอาวุธ เสบียงและของใช้ที่จำเป็นขุดหลุมหลบภัยไว้หลายแห่ง ขุดจากภูเขาให้เชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการสงคราม ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๘๘ สงครามยุติลง ทหารญี่ปุ่นก็ช่วยกันนำอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ มาเผาทำลายหมดสิ้น ใช้รถเกรดดินถมทับอุโมงค์และแหล่งเก็บอาวุธ
โบราณวัตถุ
            เกียรติมุข  เกียรติมุขหรือหน้าสิงห์ ทำด้วยหินทรายสมัยลพบุรี สูง ๔๕ เซนติเมตร อยู่ที่ศาลเจ้าพ่อน้อยใกล้วัดสูง ริมถนนเสาไห้ - สระบุรี อำเภอเสาไห้ กรมศิลปากรได้ประกาศให้เป็นโบราณวัตถุสำหรับชาติ
            เกียรติมุข  คือรูปหน้าขบหรือยักษ์ราหู มีแต่หัวไม่มีแขนไม่มีขา ตามคติพราหมณ์เชื่อว่า พระอิศวร ได้พิโรธอย่างรุนแรง ทำให้เกิดตัวเกียรติมุมข ตรงระหว่างคิ้วที่ขมวดนั้น กระโดดออกมาจากพระพักตร์ เมื่อมันหิวมันก็กินทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเอง เมื่อไม่มีอะไรกิน มันก็เริ่มกินตัวมันเอง เช่น แขน ขา ลำตัว จนเหลือแต่หัว พระอิศวรได้ทอดพระเนตรดูอยู่ตลอดเวลา แล้วทรงเห็นโทษของความโกรธ อันทำให้เกิดตัวเกียรติมุขนั้น พระองค์จึงได้ตรัสว่า "ลูกเอ๋ยพ่อเห็นแล้วว่าความโกรธนั้นมันเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ตัวเอง เจ้าจงไปประดิษฐานอยู่ตรงหน้าบันหรือส่วนมุขของเทวาลัย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติมนุษญ์ทั่วไปให้รู้จักยับยั้งความโกรธเสีย" ตัวเกียรติมุข จึงมีปรากฎอยู่ตามเทวสถานทั่วไป ตัวเกียรติมุขนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หน้ากาละ หมายถึงกาลเวลาย่อมกินตัวเองและทำลายทุกสิ่งให้หมดไป เมื่อชาตินี้มาถึงชาวพุทธจึงได้ดัดแปลงเป็นตัวราหู บางครั้งทำลักษณะอมดวงจันทร์เรียกว่า ราหูอมจันทร์

            เทวรูป  ที่วัดพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท มีศาลพระกาฬอยู่แห่งหนึ่ง มีเป็นศาลเล็ก ๆ ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ ในศาลมีเทวรูปยืนอยู่สี่องค์ นั่งสององค์ สันนิษบานว่า เป็นศิลปะขอมในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ รุ่นราวคราวเดียวกับพระปรางค์สามยอดลพบุรี ทำด้วยหินทรายสีเทา เดิมพบเทวรูปนี้ที่บ้านคูเมือง (เมืองขีดขิน) อำเภอบ้านหมอ ซึ่งเป็นเมืองที่ขอมสร้างไว้ ในสมัยที่ขอมมีอำนาจอยู่ในถิ่นนี้ ต่อมาได้มีการนำเทวรรูปดังกล่าวไปไว้ที่ศาลพระกาฬ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

            เทวรูปเจ้าพ่อเขาตก  ตั้งอยู่ในศาลเจ้าพ่อเขาตก ที่เขาตก ห่างจากพระพุทธบาทไปทางทิศใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ศาลเจ้าพ่อเขาตกสร้างมาแต่ครั้งอยุธยา ของเดิมเครื่องบนทำด้วยไม้ มีช่อฟ้าใบระกา แต่ถูกไฟป่าไหม้เสมอ จึงสร้างใหม่เรื่อยมา ต่อมาพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ทำเป็นรูปเก๋งจีน เครื่องบนใช้อิฐปูนทั้งสิ้น และโปรดให้พระยาเพชรรัตน์สงคราม นำศิลาจากเขาตกมาให้ช่างจำหลักเป็นรูปเทวรูปนั่งชันเข่า สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร เพื่อนำไปตั้งไว้แทนเทวรูแเทพารักษ์ของเดิม เมื่อสมโภชน์แล้วโปรด ฯ ให้แห่ลงเรือที่ท่าพระนำไปตั้งไว้ที่ศาลนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๐๔ มีประกาศและคำจารึกที่ฐานเทวรูปเขาตกนี้ด้วย

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวศาลถูกไฟป่าไหม้อีกครั้งพระองค์จึงโปรด ฯ ให้พระพุฒาจารย์ (มา) เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพมุนี ผู้รักษาพระพุทธบาทในครั้งนั้นสร้างศาลขึ้นใหม่และหล่อเทวรูปทรงเครื่อง สูงประมาณหนึ่งเมตร ชาวบ้านเรียกเทวรูปนี้ว่า เจ้าตาก ตั้งอยู่หน้าเทวรูปเจ้าพ่อเขาตก

            ศาลหลักเมือง  ประเพณีการสร้างหลักเมืองของไทย สันนิษฐานว่ามาจากศาสนาฮินดูไศวนิกาย ที่ถือว่าหลักเมืองคือ ศูนย์กลางบริเวณอันจะกำหนดให้เป็นเมือง บางทีก็เรียกว่า ใจกลางเมือง โดยกำหนดเอาภูเขาไว้กลางเมือง สมติว่าภูเขานั้นเป็นเขาไกรลาสเป็นที่สถิตย์ของพระอิศวร บนยอดเขาจะสร้างปราสาทเพื่อตั้งศิวลึงค์ อันเปฌนสัญลักษณ์แห่งอำนาจของผู้ครองเมือง ต่อมาประเพณีการสร้างศาสนสถานบนยอดเขากลางเมืองได้ลดรูปลง เพราะหาสถานที่เหมาะสมไม่ได้ จึงได้สร้างแต่เพียงปราสาทให้เป็นเหมือนเขาไกรลาศ หรือเขาพระสุเมรุ ในที่สุดก็เหลือเพียงหลักเมือง เพื่อเป็นที่สิงสถิตย์ของเพทพารักษ์ประจำเมือง
            เมืองสระบุรีเก่า อยู่ในเขตอำเภอเสาไห้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้ย้ายที่ทำการเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลปากเพรียว ศาลหลักเมืองเดิมไม่มีผู้ทราบที่ตั้งแน่นอน ทราบแต่เพียงว่าอยู่ข้างวัดปากเพรียว (วัดบุรีรัตนาราม) ริมบ้านหมอช้าง เสาหลักเมืองเดิมเป็นเสาไม้ตะเคียน  ต่อมาเมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่เสร็จ จึงได้สร้างศาลหลักเมืองใหม่ บริเวณใกล้เคียงกับศาลากลางจังหวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นวิหารหลังคาทรงปรางค์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์