ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดน่าน > ล่องแก่งลำน้ำว้า - อุทยานแห่งชาติแม่จริม/Mae Charim National Park 

ล่องแก่งลำน้ำว้า อุทยานแห่งชาติแม่จริม/ Mae Charim National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
ผจญภัยสุดขั้ว ล่องแก่งน้ำว้า
เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา ลำธาร และหน้าผาที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป มีเนื้อที่ประมาณ 271,250 ไร่ หรือ 434 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร เริ่มต้นจากบ้านน้ำปุ๊ อำเภอแม่จริม ถึงบ้านหาดไร่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ความเป็นมา : สืบเนื่องจากนายวิทยา หงษ์เวียงจันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่านได้ทำหนังสือเสนอส่วนอุทยานแห่งชาติว่า พื้นที่ป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรที่จะได้มีการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ ส่วนอุทยานแห่งชาติเห็นชอบตามเสนอและรายงานตามลำดับถึงกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1586/2537 ลงวันที่ 13 กันยายน 2537 ให้นายผดุง อยู่สมบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง จังหวัดสุพรรณบุรี และหัวหน้าวนอุทยานพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี ในขณะนั้นไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า-ป่าแม่จริม ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า ป่าห้วยสาลี่ และพื้นที่ป่าใกล้เคียงในท้องที่อำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสาและอำเภอใกล้เคียง จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ แห่งนี้ด้วย

จากการสำรวจพบว่า สภาพป่าดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ตลอดจนมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามรายงานเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป อุทยานแห่งชาติแม่จริมจึงมีสถานภาพอยู่ในขั้นเตรียมการประกาศ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริมอยู่บริเวณริมลำน้ำว้า บ้านห้วยทรายมูล หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/1469 ลงวันที่ 21 กันยายน 2543 ว่าได้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พร้อมจัดทำบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการร่างพระราชกฤษฎีกาและแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/801 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ขอให้กรมป่าไม้จัดตั้งผู้แทนไปร่วมชี้แจงรายละเอียดในการตรวจร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดังกล่าว ในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และกรมป่าไม้ได้สั่งการให้ นายนฤมิต ประจิมทิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดการประชุมเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และที่ประชุมพิจารณาแล้วได้มอบหมายให้ ผู้แทนกรมป่าไม้รับไปแก้ไขรายละเอียดแผนที่ฯให้เป็นไปตามผลการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป

ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/371 ลงวันที่ 11 เมษายน 2544 แจ้งว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เสร็จแล้ว และขอให้กรมป่าไม้แจ้งยืนยันความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมป่าไม้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.3/11313 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544

ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558 เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร) มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2541 วัดที่สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดน่าน วัดได้ 1,206 มิลลิเมตรต่อปี เฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคมวัดได้ 320 มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม วัดได้ 6 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 – 2541 วัดได้ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเดือนพฤษภาคม วัดได้ 30 องศาเซลเซียส และต่ำสุดเดือนมกราคม วัดได้ 22 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 วัดได้ 76 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยสูง สุดในเดือนสิงหาคม 85 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนมีนาคม 63 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปี 77 เปอร์เซ็นต์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง

 ล่องแก่งลำน้ำว้า
เป็นกิจกรรมนันทนาการหลักของอุทยานแห่งชาติแม่จริม จุดเริ่มต้นที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม และสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนองใหม่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ระยะทางจะเหลือ 19.2 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางล่องแก่งมีเกาะแก่งให้ผจญภัยตลอดเส้นทาง มีหาดทรายสำหรับจอดแพเล่นน้ำ หลายแห่ง รวมทั้งทัศนียภาพสองฝั่งลำน้ำที่งดงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะสวยกว่าฤดูกาลอื่นๆมาก สามารถล่องแพได้ทุกฤดู ยกเว้นบางช่วงในฤดูฝนซึ่งมีน้ำหลากไม่สมควรล่องแพเพราะอาจเกิดอันตรายได้งาย"ล่องแก่งลำน้ำว้า สุดยอดแห่งควมมันส์เชิญมาล่องแก่งลำน้ำว้ากันนะครับ"
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง - ล่องแก่ง 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ชบาไพร”
อุทยานแห่งชาติแม่จริมได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ชบาไพร” ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติไว้บริการ เพื่อให้ศึกษาระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งจะได้รับความรู้ต่างๆ ได้จากสถานีที่อยู่ในเส้นทาง

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
อ. แม่จริม จ. น่าน 55170
โทรศัพท์ 0 5477 9402 

การเดินทาง
รถยนต์
จากอำเภอแม่จริมใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1243 สายแม่จริม-น้ำมวบ ไปประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูล มีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีสถานที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีเต็นท์ขนาด 2-3 คน ให้บริการจำนวน 15 หลัง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ลำน้ำว้า คือ ต้นน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำน่าน ที่มีต้นกำเนิดจากเขาจอม บนเทือกเขาผีปันน้ำพาดผ่านชายแดนระหว่างไทย-ลาว ปกคลุมด้วยป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ลักษณะของสายน้ำเป็นกำแพงผาหินสองฟากฝั่งเป็นป่าผลัดใบและป่าเบญจพรรณ

การล่องแก่ง

ลำน้ำว้ามีสายน้ำที่เร้าใจและสนุกสนานกับแก่งที่เป็นลูกคลื่น ไม่อันตรายจนเกินไป จัดว่าอยู่ในระดับ 3-5 ด้วยแก่งต่าง ๆ ในสายน้ำนี้ที่ทอดยาวเป็นระยะ ๆ นับจากจุดเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม จะผ่านแก่งน้ำปุ๊ แก่งหลวง แก่งห้วยสาลี่ แก่งต้นไทร แก่งน้ำวน ไปจนสิ้นสุดที่หาดบ้านไร่ โดยใช้เวลาล่องแก่งทั้งสิ้นราว 4-5 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การล่องคือช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของทุกปี

การเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามเส้นทางสาย กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-น่าน ระยะทาง 668 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เครื่องบิน จากจังหวัดน่านเดินทางไป อุทยานแห่งชาติแม่จริม โดยเส้นทางหมายเลข 1168 ไปยังอำเภอแม่จริม 38 กิโลเมตร เดินทางต่อไปยังบ้านน้ำพาน ระยะทาง 14 กิโลเมตร และแยกขวาไปทางบ้านร่มเกล้า จะถึงทางเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม อีกราว 3 กิโลเมตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

1. บริษัท เนเจอร์ แทรเวลเลอร์

โทร. 0 2375 2062, 0 2375 2412

2. อุทยานแห่งชาติแม่จริม

โทร. 0 5471 0136

ข้อมูลการล่องแก่งจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ล่องแก่ง-แคนู-คยัค 

บทนำ 
เมืองไทย มีพื้นที่ของป่าเขตร้อนที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้ นก และสัตว์ป่า ยิ่งไปกว่านั้น ผืนป่า ใหญ่คือ ต้นกำเนิดของสายน้ำ อันกลายมาเป็นเส้นทางธรรมชาติที่จะนำเราไปพบกับน้ำตกใหญ่กลางป่าลึก ขุนเขาสูงและ ป่าดิบสมบูรณ์ โดยการล่องแก่ง ซึ่งเริ่มต้นกันด้วยตำนานของการใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นแพล่องลำน้ำ เป็นการผสมผสานกัน ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ลงตัวที่สุดสำหรับเมืองไทยที่สมบูรณ์ด้วยป่าไผ่ แต่เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ มากจนเกินความสมดุล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้ เป็นเหตุให้ป่าไผ่ลดหายไปอย่างน่าวิตก จึง มีการนำเรือยางเข้ามาใช้ทดแทน เป็นวิถีทางท่องเที่ยวใหม่ที่หยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถนำทางเข้า ถึงธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดและปลอดภัยบนเส้นทางล่องแก่งตั้งแต่เหนือจรดใต้ของประเทศ 

ภูมิศาสตร์ของแก่งน้ำ 
สายน้ำคือเส้นชีวิตของคนไทยที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ และที่มาของสายน้ำนั้น มักจะมาจากป่า ดงดิบอันชุ่มชื้น และไหลลงมาจากภูเขาสูงอันก่อให้เกิดธารน้ำที่ไหลแรงและกัดเซาะหุบเขาให้แคบและลึก ไม่มีที่ราบริม ฝั่งน้ำให้เห็นมากนัก ลักษณะหุบเขาในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นรูปตัววี ตามลำน้ำมักจะพบเกาะแก่งขวางอยู่ตามลำน้ำ และสาย น้ำตก สองฝั่งของธารน้ำมักเป็นหินล้วน ๆ ร่องน้ำแคบและตื้น ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และท้องน้ำมีแต่หินและกรวด เนื่องจากตะกอนละเอียด เช่น ดินและทรายถูกน้ำพัดพาไปหมด 

ป่าไม้และพืชพรรณ 
บนเส้นทางของสายน้ำเชี่ยวที่ไหลผ่านเกาะแก่งลงมา ก็คือ ป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ การเดินทางท่องธรรมชาติในรูปแบบ ของการล่องแก่ง จึงเป็นวิถีแห่งสายน้ำที่นอกเหนือจากภูมิประเทศอันงดงามของธารน้ำ ป่าเขา และสายน้ำตกแล้ว ยังจะ พบกับสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ ตั้งแต่พืชพรรณ นก แมลง ผีเสื้อ และปลา สิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของการท่องเที่ยว ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

ผืนป่าไม้ที่มักปรากฏอยู่สองฝั่งน้ำ มีทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังรวมทั้งป่าดิบชื้นที่เขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งจะสังเกตเห็น ไม้จำพวกยาง ไทร ตะเคียน สัก ประดู่ ตะแบก หมาก และหวายชนิดต่าง ๆ พืชพรรณไม้ที่เด่นสำหรับป่าเมืองไทยคือ ไม ้ไผ่ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่หก ไผ่หนาม ไผ่ซาง เป็นต้น และบนคาคบไม้จะมีพืชอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา กล้วยไม้ป่า ชนิดต่าง ๆ สำหรับบริเวณชายน้ำ จะพบกับไม้ริมน้ำ เช่น ต้นจิก ไคร้น้ำ ผักกูด ส่วนบริเวณริมผาหินปูนที่เป็นธารน้ำตกจะ เต็มไปด้วยมอส และตะไคร่น้ำ จะมีเฟิร์นก้านดำขึ้นปกคลุม

 

ชีวิตในสายน้ำ 
ตามสองฝั่งแม่น้ำจะเป็นแหล่งที่นกน้ำหลายชนิดอาศัยหากินอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะนกที่ชอบกินปลาและแมลง เช่น นกกระเต็น ซึ่งก็มีอยู่หลายชนิดที่พบในบริเวณต้นน้ำ คือ นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกกระเต็นอกขาว นกกระเต็นหัวดำ และ นกกระเต็นลายขาวดำ เป็นต้น นกในลำน้ำที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง คือ นกกางเขนน้ำ ซึ่งมีสีขาวดำหางยาว มักอยู่ตามลำธาร ต้นน้ำ นอกจากนี้ยังอาจจะพบนกเอี้ยงถ้ำ นกกระยาง และนกในป่าเบญจพรรณที่ลงมาหากินตามลำน้ำ 

ริมฝั่งน้ำโดยทั่วไปจะเต็มไปด้วยแมลงและผีเสื้อมากมาย โดยเฉพาะแมลงปอ แมงมุมน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบง่ายมาก บาง แห่งตามหาดทรายจะเป็นที่ดินเค็ม ทำให้ผีเสื้อลงมาเกาะกันเป็นฝูง 

 

ข้อควรปฏิบัติก่อนการเดินทาง 
1. ก่อนจะไปล่องแก่งควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน ความปลอดภัย โดยมีส่งผล กระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ 
2. พื้นที่ที่จะเดินทางไปส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าต้นน้ำที่ธรรมชาติมีความเปราะบาง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องติดต่อขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เช่น การขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ หน่วย งานที่ดูแลพื้นที่เหล่านั้นด้วย 
3. การล่องแก่งเป็นกิจกรรมประเภทท่องเที่ยวธรรมชาติกึ่งการผจญภัย จำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัด ระวังอย่างยิ่งในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยเลือกใช้บริการที่มีการจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวแล้วเรียบร้อย และตรวจสอบรายการท่องเที่ยว และข้อตกลงต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น การประกันภัย เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีการให้บริการ 
4. การเตรียมตัวท่องเที่ยวทางน้ำ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น กางเกงขาสั้น และเสื้อผ้า ควรใช้ผ้าที่ แห้งง่าย รองเท้าแตะที่มีสายรัดจะดีมาก เพราะต้องเตรียมพร้อมที่จะเปียกน้ำ และขึ้นไปเดินบนฝั่ง หากมีการเดินป่าระยะทางไกล ก็จำเป็นต้องนำรองเท้าผ้าใบไปอีกคู่หนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวควรมีเสื้อแจ๊กเกต ผ้ากันลมไว้ใส่กันหนาวช่วงที่ล่องแก่งด้วย 
5. เสื้อผ้า อุปกรณ์สำหรับแค้มปิ้ง และกล้องถ่ายภาพ และของใช้ต่าง ๆ ควรใส่ถุงพลาสติค หรือถุงกันเปียก ให้เรียบร้อย การเตรียมสัมภาระต่าง ๆนำไปเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เพราะพื้นที่ขนสัมภาระจำกัด 
6. ในการล่องแก่งควรศึกษาข้อปฏิบัติการพายเรือ พยายามมีส่วนร่วมในการเดินทางอย่างดี ควรปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำของกัปตันเรือ และมัคคุเทศก์ 
7. หากมีการรับประทานอาหาร หรือไปประกอบอาหารในป่า ควรเลือกรายการอาหารที่สะดวกง่ายและ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องกระป๋อง ภาชนะประเภทกล่องโฟม ขวดน้ำ พลาสติคที่ใช้ครั้งเดียว เพื่อลดขยะ และมลพิษ ทุกครั้งที่เก็บแคมป์ ควรดูแลความสะอาด พยายามให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด 

หลักการพายเรือล่องแก่ง 
ลักษณะของสายน้ำและการอ่านสายน้ำ 
ความแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติ เช่น ความลึก (Volume) โดยร่องน้ำยิ่งลึกมาก กระแสน้ำก็จะยิ่งไหลแรงมากขึ้นตาม 
การไหลของน้ำ (Gradient) สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง 

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง 

สำหรับความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้ 

ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V) สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้ 

ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้ 

น้ำวน ในกรณีนี้จะต้องพายเรือออกจากศูนย์กลางของวังน้ำวนให้เร็วที่สุดและกรณีผู้ที่ตกน้ำก็เช่นกัน จะต้องพยายาม ว่ายออกจากศูนย์กลางให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าฝั่งจะอยู่ทางใด และเมื่อหลุดจากวังน้ำวนมาแล้วค่อยว่ายเข้าหาฝั่ง 

คลื่น (Wave) ในกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึก หินใต้น้ำและผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่แตกต่างกัน คลื่นนั้นอาจจะ ม้วนเป็นวงอย่างแรง ควรพยายามหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ควบคุมเรือยาก เรืออาจจะถูกกระแสน้ำม้วนทำให้พลิกคว่ำได้ 

น้ำนิ่งหลังแก่ง (Eddy) กระแสน้ำบริเวณหลังแก่งจะเป็นน้ำวนไหลย้อนทิศทาง ทำให้มีความแรงของน้ำน้อยลง สามารถใช้เป็นจุดพักเรือได้ 

น้ำม้วนหน้าแก่ง (Hydro) เกิดจากกระแสน้ำที่ตกจากที่สูง น้ำที่ตกลงมาจะม้วนตัวอยู่หน้าแก่งก่อนที่จะไหลต่อไป ซึ่ง ถ้ามีความแรงมาก ๆ ก็สามารถที่จะพลิกเรือให้คว่ำได้ และถ้ากระแสน้ำไหลตกจากที่สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งอันตรายมาก เท่านั้น 

ถ้ากรณีที่เรือพลิกคว่ำหลังลงจากที่สูงแล้ว ผู้ตกน้ำควรจะดำน้ำมุดหนีโพรงน้ำนั้นให้เร็วที่สุด อย่าพยายามขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะกระแสน้ำจะม้วนดูดกลับลงไปอีก 

การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกเรือ 
เมื่อตกไปในน้ำก็ให้พยายามว่ายเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากกระแส น้ำที่พัดพาตัวเราให้ไปตกอีกแก่งหนึ่งได้ 
เมื่อตกน้ำ ให้พยายามลอยตัวให้อยู่เหนือน้ำในลักษณะท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นระดับผิวน้ำ เสื้อชูชีพจะช่วยพยุง ตัวให้ลอย พยายามให้ขาไปข้างหน้าขณะที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ค่อย ๆ เตะขาอย่างช้า ๆ เพื่อชะลอความเร็วและป้องกัน ตัวเองจากการกระแทกกับแก่งหิน 
ที่สำคัญอย่างยิ่งในการล่องเรือ ผู้เชี่ยวชาญเน้นที่ความปลอดภัยทุกครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เสื้อชูชีพ หมวกกัน น็อก เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวเราให้ลอยเหนือน้ำ ส่วนหมวกกันน็อกนอกจากจะช่วยป้องกันศีรษะกระแทกกับหินแล้ว ใน กรณีตกจากเรือ ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไม้พายของคนข้างหลังตีอีกด้วย 

การจัดระดับความยากของแก่งตามมาตรฐานสากล 
ระดับ 1 ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อย 
ระดับ 2 ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค 
ระดับ 3 ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น 
ระดับ 4 ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย 
ระดับ 5 ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูง และต้องมีความระมัดระวัง 
ระดับ 6 อันตราย ไม่เหมาะแก่การล่องแก่ง

 

 

เรื่อง…น้ำว้า บทเพลงของการผจญภัยบนแก่งเดือด

 น้ำว้า เป็นสายน้ำสายหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน มีต้นกำเนิดมาจากผืนป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา  ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ มีสันปันน้ำที่แบ่งสายน้ำออกมาเป็นลำน้ำว้า และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นต้นกำเนิดลำน่าน สายน้ำที่ก่อเกิดจากความสมบูรณ์ของผืนป่าใหญ่ จึงบังเกิดเรื่องราวที่เราได้นำกิจกรรมท่องเที่ยวเข้าไปเสริม จนกลายเป็นรสนิยมของการเดินทางท่องเที่ยวผจญภัยด้วยการล่องแก่งด้วยเรือยาง

  สายน้ำว้าช่วงตอนกลางที่อยู่เหนือขึ้นมาทางพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ก็มีช่วงระยะทางที่ยาวกว่ากัน จำเป็นต้องใช้เวลา 3 วัน 2 คืน ที่เราต้องเดินทางไปกับตลอดสายน้ำว้าเพียงเส้นทางเดียว และตลอดเส้นทางสายน้ำแห่งนี้เราจะค้นหาคำตอบบางสิ่งอย่างของตัวเราได้เองเป็นอย่างดี รวมไปถึงการค้นหาธรรมชาติของสายน้ำที่สมบูรณ์  

การล่องแก่งน้ำว้าที่เต็มไปด้วยโขดแก่งน้อยใหญ่จำนวนมาก ที่คาดว่าว่ามีแก่งที่มีระดับความยากตั้งแต่ 3- 5 นั้นประมาณ 100 แก่ง นักเดินทางเองก็ต้องมีความพร้อมและการเตรียมตัวมาพอสมควร และที่สำคัญเราต้องมีทีมเรือยางที่เชี่ยวชาญกับสายน้ำ ในพื้นที่เป็นอย่างดี ยิ่งเป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่นหรือนักล่องแก่งระดับมืออาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นความพร้อมที่สมบูรณ์ที่สุด

เริ่มต้นการล่องแก่งที่ บ้านสบมาง ที่อยู่ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ  บริเวณริมน้ำที่เห็นสายน้ำใสจนมองเห็นก้อนกรวดในพื้นล่างได้ชัดเจน สายน้ำใสๆ ของลำน้ำว้าไหลเรื่อยๆ คดเคี้ยวไปตามโค้งดอยที่สลับซับซ้อน กลางสายน้ำประกอบด้วยโขดแก่งขนาดเล็กๆ ทิ้งช่วงห่างเป็นระยะๆ

ตามลักษณะภูมิประเทศของเทือกเขาริมน้ำ หากว่าจะเป็นลาดต่ำของปลายเขาก็จะพบแก่งอยู่เสมอ จะมีขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่นั้นๆ จนกระทั่ง 3 โมงกว่าๆ เราก็จะมาพบโขดแก่งขนาดเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่แนวโตรกผาสูงชันที่โอบขนาบลำน้ำไว้ทั้งสองฝั่ง มีลักษณะคล้ายกับออบหลวง เป็นจุดที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “แก่งเสือเต้น”

ระหว่างทางที่ล่องน้ำว้า เราจะพบกับกลุ่มชาวบ้านที่ออกมาหาปลาอยู่ตลอดทาง  ผ่านห้วยปึ้งแวะดูชาวบ้านที่หาปลามาได้ก็เป็นปลาตัวไม่ใหญ่มากนัก ได้ย่างตากรมควันจนแห้งแล้วสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน สายน้ำว้าแห่งนี้จึงถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่ธรรมชาติได้มอบให้กับชาวบ้านเอาไว้เก็บกินได้ตลอดชีวิต

กิจกรรมของกลุ่มชาวแค้มป์เมื่อถึงที่พักก็รีบจัดการกางเต็นท์และทำภารกิจส่วนตัว ส่วนทีมทำอาหารก็เร่งมือช่วยกันทำอาหารให้ทันก่อนมืด ใครที่อยากเล่นน้ำว้าให้เต็มอิ่มก็เลือกใช้เวลาได้อย่างเต็มที่

ในคืนดาวกระจ่างฟ้า สายน้ำไหลรินผ่านไปไม่ขาดสาย คิดว่าคืนนี้ทุกคนคงหลับเป็นตายเพราะเหนื่อยจากการเดินทางจากกรุงเทพฯ และต้องมาล่องแก่งอีกด้วย จนรุ่งเช้าของวันใหม่ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขาสูงใหญ่ และสายน้ำว้าที่ไหลอย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด

ภารกิจยามเช้าทุกอย่างได้ลุล่วงไป จนกระทั่ง 10 โมงเช้า จึงได้เดินทางล่องเรือ ซึ่งคาดว่าวันนี้เราจะต้องพบกับโขดแก่งอีกมากมาย

“วันนี้เราต้องล่องผ่านแก่งจำนวนมาก ขนาดใหญ่ๆ ทั้งนั้น ก็มีแก่งห้วยเดื่อ  แก่งผีป่า  และวันนี้เราต้องล่องไปถึงน้ำหมาวให้ได้ แล้วที่อีกวันก็จะถึงเป้าหมายพอดี”

ไกด์ท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญลำน้ำว้าบอกข้อมูลการล่องแก่งน้ำให้เราทราบเพิ่มเติม ซึ่งวันนี้เราอาจต้องเหนื่อยและสนุกมากกว่าวันที่ผ่านมา เพราะแต่ละแก่งเท่าที่ทราบก็มีความยากระดับ 4-5 ทั้งสิ้น อุปสรรคที่เกิดขึ้นกลางสายน้ำ คือ ความท้าทายที่เราต้องผ่านไปให้สำเร็จด้วยดี พร้อมกับความประทับใจที่เกิดขึ้น

ท่ามกลางสายน้ำที่ประกอบด้วยแก่งจำนวนมาก เรือยางแต่ละลำล่องไหลผ่านไปได้ไม่ยากนัก แก่งบางแก่งบางแก่งไม่ถึงกับยาก จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนก็ประมาณจากเสียงสายน้ำที่ไหลกระทบโขดหินอยู่ครืนโครม เสียงแก่งทำให้เราตื่นตัวตลอดเวลา เพราะเราจะประมาทกับแก่งเหล่านี้ไม่ได้ เผลอก็ตกน้ำหรือหลบไม่ทันเรือก็ติดหิน

 “แก่งนี้เขาเรียกว่า แก่งห้วยเดื่อ ถัดลงไปอีกหน่อยก็จะเป็นแก่งผีป่า”

ไกด์ท้องถิ่นที่เป็นกัปตันเรือบอกให้ทุกคนได้ทราบ ดูเหมือนว่าทุกคนจะตื่นตัวกับกี่ได้มาพบกับแก่งขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสาวๆ ใจสู้ทุกคน เตรียมตัวลุยอย่างไม่หวั่นกลัว

เรือลำแรกผ่านไปได้อย่างไม่มีปัญหา ทำให้ลำหลังๆ มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น เมื่อผ่านโขดแก่งที่เชี่ยวกรากไปได้ก็มีเสียงกรี๊ด พร้อมกับเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนาน ถัดจากแก่งห้วยเดื่อมาได้ไม่ไกลนัก เราก็พบกับเสียงคำรามกระหึ่มของสายน้ำว้าที่ลดระดับหายไปข้างหน้า มีแนวโตรกผาสูงชันอิงแอบทั้งสองฝั่งยาวลงไปตามสายน้ำ

“นี่แหล่ะ, แก่งผีป่า”

ความพรั่นพรึงได้เกิดขึ้นเมื่อเราเข้าไปใกล้ ยิ่งฟังชื่อแก่งแล้วก็หนาวสะท้าน ความรุนแรงของสายน้ำที่เกิดจากโขดหินใต้น้ำที่วางระเกะระกะและลดระดับคดเคี้ยวไปมา เราสำรวจแนวร่องน้ำให้ชัดเจนกันก่อน ทั้งหัวเรือและท้ายเรือต้องทำความเข้าใจว่าจะเลือกเขาตำแหน่งร่องไหน แล้วจะหลบหินช่วงไหน

ลำแรกนำร่องไปก่อน กระโจนผ่านแนวหินที่ลดระดับและเกิดเป็นฟองน้ำที่ปั่นป่วนเป็นสีขาวตัดกับพื้นหินสีดำ จนผ่านเข้าร่องน้ำ พุ่งเข้าสู่โขดหินที่ดักอยู่ข้างหน้าซึ่งต้องหักหลบไปด้านขวาหรือไปซ้ายก็ยังพอได้

เมื่อผ่านจุดไปได้ก็ต้องเตรียมตัวสู้กับแก่งข้างล่างที่อยู่ต่อเนื่องอีกแก่งหนึ่ง จะเห็นเรือยางลงร่องซ้ายแล้วหักหลบขวาหลังก้อนหินหายไปเลย แล้วไปโผล่ลอยลำอยู่บริเวณน้ำนิ่งด้านล่างที่โอบขนาบด้วยแนวหน้าผาสูงชัน

เที่ยงเศษๆ เราได้หยุดพักทานอาหารเที่ยง ในเวลาปากห้วยแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตอนใต้ของห้วยแม่สะนานมาเล็กน้อย จนเข้าสู่ช่วงบ่ายโปรแกรมการเดินทางบนสายน้ำยังคงดำเนินต่อไป เรายังพบกับสายน้ำสีขาวที่เป็นฟองฟ่อน พร้อมกับเสียงครืนโครมที่เกิดขึ้นจากสายน้ำไหลปะทะแก่งโขดหินใต้น้ำ

“เราต้องไปให้ถึงน้ำหมาว พักตั้งแค้มป์ช่วงตอนใต้น้ำหมาว แล้วอีกวันจะได้ถึงวังลุนได้ตามกำหนด”

แนวเทือกเขาที่สูงใหญ่ ผืนป่ายังสมบูรณ์ทอดยาวไปตามลำน้ำ จนกระทั่งเราผ่านมาถึงเป้าหมายที่สำคัญของลำน้ำหมาว หรือห้วยหมาวหมอก ที่ไหลมาบรรจบกับน้ำว้าทางด้านซ้าย  ไปยังสายน้ำหมาวหมอกก็จะพบน้ำตกภูฟ้า เป็นน้ำตกขนาดสูงใหญ่ มีถึง 12 ชั้น อยู่ท่ามกลางป่าลึก นับจากน้ำว้าไปจนถึงน้ำตกภูฟ้าก็ใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง รวมไปกลับแล้วก็ต้องใช้เวลาทั้งวัน

แนวหาดทรายน้ำใต้ปากห้วยหมาวหมอกมีทำเลกางเต็นท์ที่ดี พวกเราจึงได้หยุดพักค้างแรมเป็นคืนที่สอง หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการล่องแก่งมาทั้งวัน

วันรุ่งขึ้นได้เราออกเดินทางประมาณ 9 โมงเช้า บรรยากาศแห่งสายน้ำยังเย็นเยือกและเงียบสงบ คงมีหมู่นกที่โผบินผ่านไปมา ป่าเขาที่โอบขนาบลำน้ำทำให้ทิวทัศน์ถูกบีบแคบ สายตาทุกคนจะเพ่งมองไปข้างหน้า ค้นหาสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่เบื้องหน้า พร้อมกับฟังเสียงโขดแก่งที่คำรามอยู่ว่าจะเป็นแก่งขนาดยากง่ายแค่ไหน

จนมาถึง แก่งผารถเมล์ ที่ทีมสำรวจทุกคนต้องลงไปสำรวจแนวร่องน้ำ แนวหินที่ลดระดับลงมาคล้ายน้ำตกขวางลำน้ำ ว่าจะมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง

“ร่องทางซ้ายมือคงลงไม่ได้ เพราะจะไปกระแทกหน้าผา ขอนไม้ และโขดหินข้างล่าง เราจะเอาเรือลงทางทางร่องขวา แล้วคนจะไปรอข้างล่าง”

เป็นข้อสรุปจากการลงไปดูแนวร่องน้ำ เรือทุกลำให้ถ่ายคนออกแล้วเอาเรือลงมา เพื่อความปลอดภัยของพวกเราทุกคน เนื่องจากแนวตลอดสองฝั่งลำน้ำจะเป็นหน้าผาสูงชัน

เมื่อผ่านแก่งผารถเมล์มาแล้ว ก็จะเป็น แก่งช้างเหยียบ เป็นแก่งที่มีแนวหินขวางลำน้ำเกือบเต็มลำน้ำ มีช่องทางขวามือ และมีขอนไม้พาดขวาง เราจะต้องเบียดทางด้านซ้ายของร่องน้ำ ค่อยๆ ชิดด้านซ้ายไปช้าๆ แล้วหักหลบโขดหินก้อนใหญ่อีกทีหนึ่ง ซึ่งทุกลำสามารถผ่านไปได้ด้วยดี

   หลังจากผจญภัยกับแก่งน้อยใหญ่มาหลายแก่งแล้ว และเข้าสู่วังน้ำลึกที่ยาวร่วมกิโลเมตร จนต้องออกแรงพายจนแทบหมดแรง และมาหยุดพักทานอาหาร และเดินทางกันต่อไป

แก่งใหม่ เป็นแก่งที่ลาดเทยาวต่อเนื่องร่วม 100 เมตร ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางน้ำโดยธรรมชาติมองเห็นเกลียวสีขาวเป็นฟองฟ่อน พร้อมเสียงครืนๆ ดังกึกก้องคุ้งน้ำ เรือทุกคนก็ผ่านไปได้สนุกสนาน สร้างความประทับใจกับนักเดินทางที่ผ่านมาทุกคน

แก่งสร้อย เป็นแก่งใหญ่อีกแก่งหนึ่งที่ส่งเสียงครืนๆ อยู่เบื้องหน้า เรือทุกลำต้องจอดแล้วไปดูร่องน้ำ ลักษณะของแนวแก่งจะลาดยาวและชิดหน้าผาด้านขวา พร้อมกับมีขอนไม้ใหญ่ คอยรับอยู่ด้วย เราต้องหลบขอนไม้มาแล้ว ยังต้องหลบโขดหินกลางน้ำอีกก้อนหนึ่ง

สุดท้ายแห่งความเร้าใจของการผจญภัย ของลำน้ำว้า เราก็จะพบกับ แก่งยาว ที่มีฤทธิ์เดชแทบจะขวิดให้เรือเสียหลักไปได้เช่นกัน

ปลายทางที่วังลุน ทุกคนก็ประสบความเร็จอย่างพึงพอใจกับรูปแบบการผจญภัยบนสายน้ำว้าที่เร้าใจระทึกมาตลอดทางทั้ง 3 วัน ซึ่งไม่มีที่ไหนที่จะสนุกตื่นเต้นเท่าที่แห่งนี้แล้ว เราก็เชื่อมั่นด้วยตนเองว่า สายน้ำในเมืองไทยที่สมบูรณ์เต็มรูปแบบของการล่องแก่งผจญภัยแล้วก็มีน้ำว้าที่ขอติดอันดับแรกๆ ของเมืองไทย ที่ทุกคนน่าจะลองดูสักครั้ง ถ้าหากท่านเป็นผู้รักการผจญภัยอย่างแท้จริง

 

ข้อมูลการเดินทาง

จากกรุงเทพฯ-น่าน จะมีรถทัวร์ประจำทาง ของ บขส. และสมบัติทัวร์  

การล่องแก่ง สามารติดต่อได้ที่

- สงกรานต์ เขื่อนธนะ  www.Nantourimg.com โทร.  0-1961-7711

- พิษณุ คำเต็ม น่านปางช้าง   โทร.(054) 781-316, 781-244,  

- สมุน มูลมา   โทร.( 054 ) 773-598

 

ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสม ตั้งแต่ปลายฝน-ต้นหนาว ราวปลายเดือนตุลาคม เ ถึงเดือนมีนาคม หลังจากนั้นน้ำอาจจะน้อยลง แต่พอล่องได้ ถ้าเป็นหน้าฝน ควรหลีกเลี่ยงเพราะน้ำเยอะ กระแสน้ำไหลเชี่ยวเกินไป หรือน้ำป่าไหลหลาก อย่างไรก็ตามควรเช็กข้อมูลจากผู้ประกอบการในพื้นที่เสียก่อน

 

โปรแกรมที่เหมาะสม การล่องแก่งน้ำว้าจากบ้านสบมาง มายังวังลุน ควรใช้เวลา 3 วัน 2 คืน เป็นโปรแกรมการล่องแก่งที่ต้องอยู่กับสายน้ำตลอดทั้ง 3 วัน และต้องพักค้างแรมริมแม่น้ำ ที่อยู่ท่ามกลางป่าเขาลึก มีรูปลักษณะการท่องเที่ยวผจญภัยที่ครบถ้วนเต็มรูปแบบ

 

เตรียมกระเป๋าป้องกันน้ำ

ในการล่องแก่งผจญภัยแบบนี้ เราควรเตรียมตัวจัดกระเป๋าให้เหมาะสม และควรมีอุปกรณ์ป้องกันน้ำด้วย ปกติแล้วเราจะใช้ถุงพลาสติกกันน้ำ มัดหนังยางเท่านั้น

 หากมีถุง DRY BAG เป็นอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าอย่างดี ไว้สำหรับใส่เสื้อผ้า ข้าวของต่างๆ สามารถป้องกันน้ำได้ดี ปัจจุบันก็มีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ OUTDOOR ทั่วไป

แต่กระนั้นเราควรห่อถุงพลาสติกป้องกันน้ำไว้ด้านในอีกชั้นหนึ่งด้วย

สำหรับผู้ที่ไม่มี DRY BAG เราก็ใช้ถุงพลาสติกป้องกันน้ำ โดยน้ำเสื้อผ้าใส่ถุง แล้วไล่ลมออกให้หมด จากนั้นมัดหนังยางให้แน่น ควรห่อสัก 2 ชั้น จากนั้นนำไปใส่ในกระเป๋า กระเป๋าจะช่วยป้องถุงพลาสติกฉีกขาด

วิธีการแบบนี้จะช่วยให้เราหมดความกังวลเรื่องข้าวของจะเปียกน้ำ และเราจะได้ท่องเที่ยวได้อย่างมีความสุขไร้กังวลด้วย

 

 

ข้อมูลทั่วไปของอุทยานแห่งชาติแม่จริม
อุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา ลำธาร และหน้าผาที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร เริ่มต้นจากบ้านน้ำปุ๊ อำเภอแม่จริม ถึงบ้านหาดไร่ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ความเป็นมา : สืบเนื่องจากนายวิทยา หงษ์เวียงจันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่านได้ทำหนังสือเสนอส่วนอุทยานแห่งชาติว่า พื้นที่ป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรที่จะได้มีการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ ส่วนอุทยานแห่งชาติเห็นชอบตามเสนอและรายงานตามลำดับถึงกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1586/2537 ลงวันที่ 13 กันยายน 2537 ให้นายผดุง อยู่สมบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง จังหวัดสุพรรณบุรี และหัวหน้าวนอุทยานพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี ในขณะนั้นไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า-ป่าแม่จริม ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า ป่าห้วยสาลี่ และพื้นที่ป่าใกล้เคียงในท้องที่อำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสาและอำเภอใกล้เคียง จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ แห่งนี้ด้วย

จากการสำรวจพบว่า สภาพป่าดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ตลอดจนมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามรายงานเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป อุทยานแห่งชาติแม่จริมจึงมีสถานภาพอยู่ในขั้นเตรียมการประกาศ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริมอยู่บริเวณริมลำน้ำว้า บ้านห้วยทรายมูล หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/1469 ลงวันที่ 21 กันยายน 2543 ว่าได้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พร้อมจัดทำบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการร่างพระราชกฤษฎีกาและแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/801 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ขอให้กรมป่าไม้จัดตั้งผู้แทนไปร่วมชี้แจงรายละเอียดในการตรวจร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดังกล่าว ในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และกรมป่าไม้ได้สั่งการให้ นายนฤมิต ประจิมทิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดการประชุมเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และที่ประชุมพิจารณาแล้วได้มอบหมายให้ ผู้แทนกรมป่าไม้รับไปแก้ไขรายละเอียดแผนที่ฯให้เป็นไปตามผลการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป

ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/371 ลงวันที่ 11 เมษายน 2544 แจ้งว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เสร็จแล้ว และขอให้กรมป่าไม้แจ้งยืนยันความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมป่าไม้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.3/11313 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544

ต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้า และป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 106 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558 เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร) มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2541 วัดที่สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดน่าน วัดได้ 1,206 มิลลิเมตรต่อปี เฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคมวัดได้ 320 มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม วัดได้ 6 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 – 2541 วัดได้ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเดือนพฤษภาคม วัดได้ 30 องศาเซลเซียส และต่ำสุดเดือนมกราคม วัดได้ 22 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 วัดได้ 76 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยสูง สุดในเดือนสิงหาคม 85 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนมีนาคม 63 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปี 77 เปอร์เซ็นต์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง

แหล่งบริการท่องเที่ยว
เนื่องจากองค์ประกอบของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่จริมมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์ และมีน้ำว้าไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นระยะทางถึง 7.5 กิโลเมตรทำให้มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าไม้ วัฒนธรรม และลำน้ำ ดังนี้

ด้านท่องเที่ยวผจญภัย
ล่องแก่งลำน้ำว้า
เป็นการล่องแก่งโดยใช้แพยาง (ลำละไม่เกิน 8 คน) มีจุดเริ่มต้นบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ถึงจุดสิ้นสุด (ปางช้าง) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง หรือสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางมีแก่งต่างๆ ให้ผจญภัยและเล่นน้ำ กว่า 10 แก่ง สองข้างทาง เป็นหาดทรายและป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติ สวนหิน และหุบเขาที่สวยงามตลอดเส้นทางสามารถล่องแก่งได้ตลอดทั้งปี ยกเว้นวันที่น้ำหลาก ไม่สมควรล่องแก่งเพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย

เส้นทางขับรถชมวิว
ตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1259 (บ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า) ระยะทาง 25 กิโลเมตร ตัดตามสันเขาผ่านสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง สามารถจอดรถชมทิวทัศน์หุบเขาและหมู่บ้านทะเลหมอกยามเช้า ตลอดจนทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินได้หลายจุด ระหว่างเส้นทางมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่จริมที่ 1 (ห้วยเต่า) ตั้งอยู่ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการสิ้นสุดเส้นทางชมวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เส้นทางเดินป่าตามลำน้ำแปง
เป็นเส้นทางสัญจรในอดีตระหว่างบ้านร่มเกล้ากับบ้านห้วยทรายมูล มีจุดเริ่มต้นจากบ้านร่มเกล้าถึงปากน้ำแปงบรรจบลำน้ำว้า ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เดินทางเลียบตามริมลำน้ำแปง ผ่านป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณระหว่างเส้นทางาจะพบน้ำตกขนาดเล็ก ถ้ำ หน้าผา ธรรมชาติ และพรรณไม้ที่สวยงาม

เส้นทางเดินป่าบ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า
เป็นเส้นทางเดินสัญจรในอดีตของชาวบ้านร่มเกล้า ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามสันเขาผ่านสภาพป่าดงดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ มีป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าเบญจพรรณสลับบางช่วงสามารถพบเห็นนกได้หลายชนิด อากาศเย็นสบาย มีทะเลหมอก หุบเขาและพรรณไม้ที่สวยงามตลอดเส้นทางใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง

เส้นทางปีนผาหน่อ
“ผาหน่อ” เป็นภูเขาหินปูน รูปแท่งเข็ม หรือหน่อไม้ มีความสูง 824 เมตร จากระดับน้ำทะเล สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของพื้นดินเชิงเขาบริเวณรอบๆ เป็นหน้าผาชันเกือบ 90 องศา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าและปีนเขา หากขึ้นถึงยอดเขาจุสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบด้าน ในผาหน่อพบถ้ำที่เป็นที่อยู่ของ ค้างคาว และเลียงผา บริเวณหน้าผาพบภาพเขียนโบราณเป็นรูปเลขาคณิตและรูปคล้ายผู้หญิงตั้งครรภ์ปรากฎอยู่ ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง

หมู่บ้านชาวเขาบ้านร่มเกล้า
เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง อยู่ในพื้นที่กันออกบริเวณใจกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีโครงการพัฒนาเพื่อความมั่งคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ 3 บ้านร่มเกล้า เป็นหน่วยงานจัดสรรดูแลการใช้ประโยชน์พื้นที่ สามารถชมวิถีความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตตามแบบของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งได้

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ชบาป่า”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระดำเนินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 ทรงพบดอกไม้ป่าสกุลเดียวกับชบา ดอกสีชมพูอมม่วงขนาด 2-3 เซ็นติเมตร. พระราชทานนามว่า “ชบาป่า” (Urena lobata) ทางเดินมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นวงรอบไปสิ้นสุดบริเวณหาดทรายริมลำน้ำว้า ผ่านสภาพป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติ 9 สถานี ได้แก่ เต็งรังกันไฟ การทดแทนกษัยการ (EROSION) เกื้อกูล ไตรลักษณ์ เป้ง ความเหมือนที่แตกต่างพรมแดนแห่งป่า (ECOTONE) และ”ไทร” นักบุญแห่งป่านักฆ่าเลือดเย็น ตามลำดับ มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของลำน้ำว้า และขุนเขาหลายจุด ใช้เวลาเดินประมาณ 1.5 ชั่วโมง

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่จริม 35 หมู่ 5 บ้านห้วยทรายมูล ต.น้ำปาย  อ. แม่จริม  จ. น่าน   55170 โทรศัพท์ 0 5473 0040-1   อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง
สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ 2 เส้นทาง คือ

เส้นทางแรก จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวขวาตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริมถึงบ้านห้วยทรายมูลและเลี้ยวขวาเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูล ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริมประมาณ 31 กิโลเมตร

เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทาง 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่านถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57 กิโลเมตร


รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่จริม
ล่องแก่งลำน้ำว้า
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
Mae Charim National Park
   
ล่องแก่งลำน้ำว้า อุทยานแห่งชาติแม่จริม/ Mae Charim National Park

 

General Information
Since the areas of Nam-wa Forest and Mae Charim Forest, the southeastern part of Nam-Nan Forest, and Huai Sali Forest situated in Tambon Nam-pang, Tambon Nam-pai of Mae Charim District, and Tambon Lai-nan, Tambon Sanna Nhong-mai, Tambon Nam-muab of Viangsa District, Nan Province, consist of valuable natural resources including plants, wild fruits and wild animals, as well as beautiful scenery of forests, mountains, streams, and cliffs, it is deemed expedient to establish Mae Charim Forest as a national park under the National Park Act 1961 for the purpose of conservation within an approximate area of 432 square kilometers or 270,000 rai.

The geographical features of the National Park consist of high mountains, extending from the north to the southwest, and Luang Phra-bang Mountains extending from the north to the south (and being used as the boundary between Thailand and Laos). The height of mountains lowers to the west. Doi Khun-lan, situated in the east of the National Park, is the highest mountaintop (1,652 meters above the medium sea level) where Wa River flows from Luang Phra-bang Mountains passing the west of the area for approximately 7.5 kilometers.

Rafting on the Wa River
Rafting is major recreational activity of the National Park. The route for rafting starts at Ban Nam-pu, Tambol Nam-phong of Mae Charim and finishes at Ban Had-rai, Tambol Sanna Nhong-maiof Viangsa District, Nan Province, totally 19.2 kilometers. In addition, there are islets and reefs along the rafting route for your adventurous experiences. Many spots are provided for tying up the rafts on the riverbank while you are swimming. And the scenery on both sides of the River is very beautiful, particularly in winter. You may enjoy rafting activities in all seasons except in the rainy season due to floodwaters.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

จังหวัดน่าน รูปและสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร น่าน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


วัดพญาภู
Wat Phaya Phu

(จังหวัดน่าน)


วัดมิ่งเมือง
Wat Ming Mueang

(จังหวัดน่าน)


วัดภูมินทร์
Wat Phumin

(จังหวัดน่าน)


วัดสวนตาล

Wat Suan Tan

(จังหวัดน่าน)
 
แนะนำแหล่งทองเที่ยว


วัดหนองบัว
Wat Nong Bua

(จังหวัดน่าน)
     
อำเภอนาน้อย
อำเภอนาหมื่น



เขื่อนสิริกิติ์
Siri Ki Dam

(จังหวัดน่าน)



ดอยผาจิ
Pha Chi Hill

(จังหวัดน่าน)

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดน่าน

(ขอขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาพบางส่วนจากเว็บท่องเที่ยวต่างๆผ่านการค้นหาของกูเกิล)

แผนที่จังหวัดน่าน/map of NAN

โรงแรมในจังหวัดน่าน

ร้านอาหารในจังหวัดน่าน


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์