ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ >อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง/Namtok Huai Yang National Park 

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง/ Namtok Huai Yang National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ ซึ่งได้รวมจุดเด่นรอบๆ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2530 กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ ที่ กษ 0714 (พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ ปจ 0009/940 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาษเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ 0713(หย)/161 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เห็นควรผนวกป่าและน้ำตกทั้ง 2 แห่ง เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ ยืนนานต่อไป ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่ กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน

จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2531 - 2 มกราคม 2532 ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยางและสวนป่าห้วยยาง (พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย

กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลธงไชย อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย 15.36 ตารางกิโลเมตร) ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งมีบริเวณน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและควบคุม จึงให้แยกเป็น 2 อุทยานแห่งชาติ คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ ตำบลนาหูกวาง ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบและชายทะเลอ่าวไทย

ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ

ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 อาศาเซลเซียส

ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก ตะเคียน เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ

พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งเป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขาสูงติดต่อกัน มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง หมูป่า เม่น เก้ง กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯลฯ นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphrsa sirinthorn )

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

น้ำตกห้วยยาง
มีทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกชั้นล่างๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ธารน้ำไหลมาตามโขดหินสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร บริเวณน้ำตกชั้นที่ 5 จะมองเห็นสายน้ำตกจากผาสูงประมาณ 15 เมตร งดงามมาก แต่ต้องปีนและไต่โขดหินขึ้นไป จึงเป็นอันตรายได้ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก บริเวณน้ำตกชั้นที่ 4 ยังมีทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมาก สามารถมองเห็นทัศนียภาพไปได้ไกลถึงชายทะเล กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกเขาล้าน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 40 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะพบทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแก จากทางเข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.1 (น้ำตกเขาล้าน) จากนั้นเดินเลียบลำธารต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกเขาล้านซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ระหว่างทางมีธารน้ำตกเล็กๆ ที่สามารถลงเล่นน้ำได้ หรือหากเลือกเดินต่อไปจนถึงสันเขาก็จะมองเห็นน้ำตกเขาล้านไหลตกลงมาจากผาสูงกว่า 50 เมตร เหนือหน้าผาที่เห็นคือ บริเวณน้ำตกชั้นบนสุด สายน้ำไหลจากลานหินกว้างสูงประมาณ 10 เมตร ก่อนจะไหลลงหน้าผา แอ่งน้ำตกชั้นบนสุดสามารถลงเล่นน้ำได้ กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  เที่ยวน้ำตก 

 ยอดเขาหลวง
ยอดสูงเทียมเมฆที่ระดับ 1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางแล้ว ยังเป็นต้นน้ำของน้ำตกห้วยยางด้วย บนยอดเขาปกคลุมด้วยป่าดิบเขา อากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่มีมอสขึ้นปกคลุมลำต้น พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าซึ่งจะมีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝน จากบริเวณทุ่งกระเจียวจะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดนประเทศไทยกับพม่า จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีเส้นทางเดินขึ้นประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบร่มครึ้มและลำห้วย โดยจะต้องไต่เขาสูงชันขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรม :ชมทิวทัศน์ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ)
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตกรวม 9 ชั้น จะเป็นธารน้ำตกสูงประมาณ 2-5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมีความสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ใกล้ชายแดนพม่าในเขตอำเภอบางสะพาน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเตร สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย - บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง – บ้านหนองบอน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2 (น้ำตกขาอ่อน) 2 กิโลเมตร กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  เที่ยวน้ำตก

น้ำตกห้วยหินดาษ
มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 10 ชั้น ในแต่ละชั้นอยู่ใกล้ๆ กัน เพราะเป็นน้ำตกที่อยู่ในซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชันสายน้ำตกจึงแรง ชั้นน้ำตกมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมเส้นทางบ้านอ่างทอง – บ้านหนองมะค่า อีกประมาณ 11 กิโลเมตร  กิจกรรม : 
เที่ยวน้ำตก เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกบัวสวรรค์
มีชั้นน้ำตกที่สวยงามอยู่ 6 ชั้น ท่ามกลางสภาพธรรมชาติโดยรอบที่เขียวชอุ่มดูสวยงามแปลกตา อันเป็นเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมแล้วเลี้ยวเข้าเส้นทางบ้านสองกะลอนประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงบริเวณทางขึ้นน้ำตก

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ต.ห้วยยาง อ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77130
โทรศัพท์ 0 3261 9751 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง

รถยนต
จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 350-351 บริเวณตลาดห้วยยาง (ก่อนถึงอำเภอทับสะแกประมาณ 20 กิโลเมตร) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนสายเพชรเกษม-น้ำตกห้วยยาง ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกห้วยยาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1. ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2. ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
ยอดเขาหลวง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
Namtok Huai Yang National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง/map of Namtok Huai Yang National Park
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง

 
ประจวบคีรีขันธ์/Information of PRACHUAPKHIRIKHAN

 

Namtok Huai Yang National Park

General Information
Nam Tok Huai Yang National Park covers the area of Amphur Bang Sapan and Tab Sakae of Prachuap Kiri Khan province. It is encompassed by many beautiful places. The park was designated on the 8th December 1991 as the 70th national park of Thailand, with total area of 161 sq.km.

Topography
The park is steeply mountainous on Tanao Sri mountain range at 200 - 800 meters above sea level. It is watershed of many rivers, which border Thai and Myanmar.

Climate
The weather in this area consists of three seasons.
The summer is from February to April.
The rainy season is from May to November.
The winter is from December to January.

Flora and Fauna

The park is covered by evergreen and dry evergreen forest, important trees are Hopea odorata, Lagerstoemia tomentosa, Terminalia corticosa, Dipterocarpus species, Toena ciliata and bamboo. Wildlife are abundant, for example serow, langur, gibbon, squirrel, wild pig, leopard, barking deer and porcupine and birds.

Tourist Attractions
The Beautiful of Nature Huai Yang Waterfall
located near the town, there is 7 levels. The fall is suit to visit because it's peaceful. Nature trail is also the fall's attraction

Nam Tok Khao Lan
Off from national road number 4 about 14 kilometers, Thub Sa Kae District, is the National Park’s office, and from the office about one kilometer along a stream, which has a small waterfall suitable for playing water lie in the middle way, is Khao Lan Waterfall. Its water dropped from 50-meter high cliff can be clearly seen from a ridge nearby. Over the cliff is the top level of the waterfall. It has water drop from a large-rock floor, about 10 meters high, onto the cliff. Visitor can also play water in the pond on the top level.

Pa Khao Luang
the Tanao Sri mountain range and its fertile forest built an important headwater of Huai Yang Waterfall. The steep cliff borders Thai and Myanmar, the highest peak is 1,251 meters.

Nature trail study
Kha Aon Waterfall or Tab Mon Waterfall this 9 levels waterfall is located in Amphur Bang Sapan, about 60 kilometers south from the Park Headquarters,

water from 6 meters wide stream flows over 5 levels deep waterfall. It is about 50 kilometers south from the Park Headquarters.

Contact Address and How to go?

Contact Address
Namtok Huai Yang National Park Huai Yang Sub-district Amphur Thap Sakae Prachuap Khiri Khan Thailand 77130
Tel. 0 3261 9751 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?
By Car
Start from Bangkok to Prachuab Kiri Khan for 281 kilometers then along the road Phetkasem road for 29 kilometers. At km. 350, u-turn and turn left to Huai Yang-Nam Tok Huai Yang National Park and follow the road for 6 kilometers.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ประจวบ แผนที่ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน ที่พักหัวหิน ที่พัก หัวหิน บ้านพักหัวหิน โรงแรมหัวหิน โรงแรม หัวหิน รีสอร์ท หัวหิน โรงแรมในหัวหิน บ้านพัก หัวหิน รีสอร์ทหัวหิน โรงแรมที่หัวหิน
อำเภอปราณบุรีและอำเภอกุยบุรี


อ่าวบ่อทองหลาง
Ao Bo Thonglang
(ประจวบคีรีขันธ์)


ปากน้ำปราณบุรี
Paknam Pran Buri
(ประจวบคีรีขันธ์)


วนอุทยานท้าวโกษา

Thao Ko Sa Park
(ประจวบคีรีขันธ์)


วนอุทยานปราณบุรี
Pran Buri Forest Park
(ประจวบคีรีขันธ์)


คอครอดกะ
Khokhot Ka
(ประจวบคีรีขันธ์)


หาดบ้านกรูด บ่อนอก
Ban Krut Beach
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอหัวหิน


เขาเต่า

Hat Khao Tao
(ประจวบคีรีขันธ์)


น้ำตกป่าละอู
Namtok Pa La-u
(ประจวบคีรีขันธ์)


เขาตะเกียบ เขาไกรลาส
Khao Takiap
(ประจวบคีรีขันธ์)


สวนสนประดิพัทธิ์
Suan Son Pradiphant
(ประจวบคีรีขันธ์)


ตัวเมืองหัวหิน
Hua Hin
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอเมือง


อ่าวประจวบคีรีขันธ์
Ao Phachuap
(ประจวบคีรีขันธ์)


อ่าวมะนาว
Ao Manao
(ประจวบคีรีขันธ์)


วัดเขาถ้ำคั่นกระได

(ประจวบคีรีขันธ์)


หว้ากอ
Wa Ko
(ประจวบคีรีขันธ์)
อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์/map of PRACHUAPKHIRIKHAN
โรงแรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์/Hotel of PRACHUAPKHIRIKHAN

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์