www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เรื่องของไทยในอดีต
ก่อนอยุธยา
สมัยอยุธยา(๑)
สมัยอยุธยา(๒)
สมัยธนบุรี
รัชสมัย ร.๑
รัชสมัย ร.๒
รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔
รัชสมัย ร.๕
รัชสมัย ร.๖
รัชสมัย ร.๗
รัชสมัย ร.๘
สมัยปัจจุบัน
๑๑ กันยายน
๒๓๕๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งได้ราชสมบัติต่อจาก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ
๑๔
กันยายน ๒๓๕๒
วันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ฯ องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระมหาสมณเจ้า องค์ที่ ๒ ของไทย
ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรในปี ๒๔๐๙ และเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี
๒๔๑๖
๒
ธันวาคม ๒๓๕๓
ตราพระราชกำหนดสักเลก ในรัชกาลที่ ๒ บังคับให้ชายฉกรรจ์ ทำงานหลวงปีละ ๓ เดือน
คือ เข้า ๑ เดือน เป็นการเกณฑ์แรงงานและเพื่อความพร้อมรบในยามปกติ
๒๗
เมษายน ๒๓๕๔
วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ณ ท้องพระเมรุ
๓
สิงหาคม ๒๓๕๔
ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ
ซึ่งในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง ๙๐ ที
ให้ตระเวนบก ๓ วัน ตระเวนเรือ ๓ วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง
แล้วส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง
๖๐ ที
๒๔
เมษายน ๒๓๕๕
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขบวนไปรับพระพุทธรูปแก้วผลึกองค์สำคัญคือ
พระพุทธบุษยรัตน์
จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งอัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ มาพักรออยู่ที่สระบุรี
แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง
๒
มิถุนายน ๒๓๕๘
วางหลักเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์
พระประแดง ขณะนั้นมีมอญ ๔๐,๐๐๐ คน อยู่ที่เมืองปทุมธานี และให้มอญ ๓๐๐ คน
มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์
๒๓
สิงหาคม ๒๓๕๘
มอญ เมืองเมาะตะมะ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
พ.ศ.๒๓๖๐
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้รูปช้างสีขาวไม่ทรงเครื่องอยู่ในวงจักรบนพื้นธงสีแดง
เป็นธงราชนาวี
ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือเอกชนคงใช้ธงพื้นแดงล้วน
๒๓
กุมภาพันธ์ ๒๓๖๒
วันยกเสาหลักเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เวลา ๑๐.๓๕ น. และสร้างป้อมขึ้นใหม่
๖ ป้อม เพื่อป้องกันทางทะเล
พ.ศ.๒๓๖๓
โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่ได้ตั้งกงสุลมาประจำที่กรุงเทพ ฯ คือ คาร์โลส
เดอ ซิลเวรา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพานิช
และได้รับพระราชทานที่อยู่คือบ้านที่องเชียงสือ เคยอยู่มาก่อน
๑๖
มิถุนายน ๒๓๖๓
เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรียกว่า
ห่าปีระกา
มีผู้เสียชีวิต ๓๐,๐๐๐ คน ให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ
ที่พระที่นั่งดุสิตา ทำคล้ายพิธีตรุษ คือ ยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่ง ๑ คืน
แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุออกเวียนรอบพระนคร มีพระราชาคณะในขบวนแห่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั้งทางบกและทางเรือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรักษาอุโบสถศีลพร้อมพระวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั่วไปได้รับพระบรมราชานุญาติให้รักษาศีล
ทำบุญให้ทานตามใจสมัคร ไม่ต้องเข้าเฝ้า และทำราชการที่ไม่จำเป็น
๑๕
ธันวาคม ๒๓๖๓
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็น
๒ กองทัพ ไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากได้ข่าวว่าพระเจ้าอังวะจักกายแมง
เตรียมยกทัพมาตีไทย แต่ไม่ได้ยกเข้ามา
พ.ศ.๒๓๖๔
เรือกำปั่นของชาวอเมริกันลำแรกได้แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เรือลำนี้ได้บรรทุกสินค้าและปืนคาบศิลาที่ทางราชการไทยต้องการ กับตันเรือได้ถวายปืนคาบศิลา
๕๐๐ กระบอก จึงได้รับพระราชทานสิ่งของตอบแทนจนคุ้มราคาปืน ได้รับการยกเว้นภาษีส่วนหนึ่ง
และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ขุนภักดีราช
๕
กรกฎาคม ๒๓๖๕
วันเกิดพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงแก่อนิจกรรม
๑๖ ตุลาคม ๒๔๓๔
๗
กรกฎาคม ๒๓๖๗
เจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดมหาธาตุ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สวรรคต ๗ วัน แล้วไปประทับอยู่ที่วัดสมอราย (ราชาธิวาส)
๒๑
กรกฎาคม ๒๓๖๗
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงประชวรและสวรรคต พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา
ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี (พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐)
|