www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เรื่องของไทยในอดีต
ก่อนอยุธยา
สมัยอยุธยา(๑)
สมัยอยุธยา(๒)
สมัยธนบุรี
รัชสมัย ร.๑
รัชสมัย ร.๒
รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔
รัชสมัย ร.๕
รัชสมัย ร.๖
รัชสมัย ร.๗
รัชสมัย ร.๘
สมัยปัจจุบัน
๒ เมษายน
๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ แล้วสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ฯ ทรงมีฐานะเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน
๔
เมษายน ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงลาผนวช
๑๔
พฤษภาคม ๒๓๙๔
วันพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
๑๕
พฤษภาคม ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่
๔ แห่งราชวงศ์ และแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๒๕ พฤษภาคม
๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงตั้งพระราชพิธีบวรราชาภิเษก
สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน
๒๘
พฤษภาคม ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อย
หรือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช
แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน
๓
มิถุนายน ๒๓๙๔
แก้พระนามพระพุทธรูป ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามคือ "พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย"
เป็น "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย"
๑๔
สิงหาคม ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายศึกษาภาษาอังกฤษ
เป็นครั้งแรก
๑๑
ตุลาคม ๒๓๙๔
อผยยยใสร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) นายทหารนอกราชการของกองทัพอังกฤษประจำอินเดีย
เดินทางมาจากเมืองเมาะลำเลิง เข้ารับราชการเป็นครูฝึกทหารวังหลวง และฝึกทหารในกรมอาสาลาวและเขมร
๒๕
ตุลาคม ๒๓๙๔
วันลงมือขุดคลองผดุงกรุงเกษม
เป็นคูเมืองรอบนอกในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ วัตถุประสงค์เพื่อการคมนาคมและยุทธศาสตร์
ขุดอยู่ ๑๐ เดือน เสร็จเมื่อ ๑๔ ตุลาคม ๒๓๙๕ ฉลองสมโภชคลองเมื่อ ๓ ธันวาคม
๒๓๙๗
๑๐
มีนาคม ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินพระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวร
ฯ ที่สวรรคตแล้ว (รัชกาลที่ ๑ ๓)
๒๗
มีนาคม ๒๓๙๔
วันเกิด จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์หรือธรรมศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ท่านเป็นแม่ทัพผู้ซึ่ง
รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ให้ไปปราบฮ่อใน
พ.ศ.๒๔๓๐ และปราบเงี้ยวใน
พ.ศ.๒๔๔๕ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๔
พ.ศ.๒๓๙๕
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองทหารรักษาพระองค์ ตามนิยมต่างประเทศและโปรดเกล้า
ฯ ให้ตั้งกองทหารปืนใหญ่อาสาญวน ทดแทนกองอาสาญวนที่โอนไปสังกัดวังหน้า
และโปรดเกล้าให้ตั้งกองทหารหน้าสังกัดกรมพระกลาโหม
กรกฎาคม
๒๓๙๕
เรือรบสหรัฐ ฯ เดินทางถึงกรุงเทพ ฯ เอ็ดมัน รอเบิตส์ นำสาสน์ของประธานาธิบดี
แอนดรูว์ จอห์นสัน ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
๑๘
พฤศจิกายน ๒๓๙๕
วันออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเชียงตุง
พ.ศ.๒๓๙๖
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้นายร้อยโทโทมัส ยอร์ช น๊อก ครูฝึกทหารชาวอังกฤษ
นำกองทหารหน้าไปช่วยรบในคราวศึกเชียงตุง
๒๐
กันยายน ๒๓๙๖
เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในรัชกาลที่ ๔ และองค์แรกในสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินี
พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ขณะพระชนม์ ๑๕ พรรษา
โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
จนทรงบรรลุราชนิติภาวะ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนคนไทยเป็นเอนกประการ
ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองมาก เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ทรงประกาศเลิกทาส
พระองค์ได้เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา เสวยราชย์นาน
๔๒ ปี
พ.ศ.๒๓๙๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมขึ้นไว้ป้องกันพระนคร
จากการรุกรานจากข้าศึก ๘ ป้อม มีระยะทางประมาณ ๑๒ เส้น
พ.ศ.๒๓๙๗
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกองทหารล้อมวัง
๕
ธันวาคม ๒๓๙๗
ฉลองคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งขุดเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๔)
พ.ศ.๒๓๙๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายกองทหารอย่างยุโรป ทั้งสามกองคือ
กองทหารรักษาพระองค์ กองทหารปืนใหญ่อาสาญวนและกองทหารหน้า มาตั้ง ณ ท้องสนามไชย
(ถนนสนามไชยปัจจุบัน) ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงทหารบริเวณท้องสนามไชยขึ้น
พ.ศ.
๒๓๙๘
สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินีแห่งอังกฤษ ได้ส่งราชทูตชื่อ เซอร์
จอห์น เบาริ่ง มาทำสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์ระหว่างไทยกับอังกฤษ เป็นประเทศแรก
เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาริ่ง
พ.ศ.๒๓๙๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศชื่อประเทศจากชื่อเดิมกรุงศรีอยุธยาเป็น
สยาม
พ.ศ.๒๓๙๘
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ
ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารหน้า ซึ่งทรงปรับปรุงการตั้งกองทหารไว้ตามหน่วยต่าง
ๆ ในกรุงเทพ ฯ ให้มารวมกันที่สนามชัยแห่งเดียวคือ กองทหารฝึกแบบยุโรป กองทหารมหาดไทย
กองทหารกลาโหม และกองทหารเกณฑ์หัด
๑๘
เมษายน ๒๓๙๘
ไทยทำสัญญากับอังกฤษ เรื่องอำนาจกงสุลอังกฤษในไทย
พ.ศ.๒๓๙๙
มีการแต่งตั้งสถานกงสุลขึ้นในไทยเป็นครั้งแรก กงสุลอเมริกันคนแรก คือ หมอสตีเฟน
แมคดูน
๑๒
เมษายน ๒๓๙๙
ทูตสหรัฐ ฯ คือ เทาเซนด์ แฮร์ริส เข้ามาทำสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับไทย ในสมัยรัชกาลที่
๔
๑๒
เมษายน ๒๓๙๙
ตั้งกระทรวงการต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแยกจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ
๒๑
เมษายน ๒๓๙๙
นาย ทาวเซนต์ แฮรีส กงสุลอเมริกันประจำญี่ปุ่น เข้ามาเจริญทางไมตรีกับไทยที่กรุงเทพ
ฯ เดินทางมาถึง
๒๙
พฤษภาคม ๒๓๙๙
ไทยทำสัญญาทางไมตรีกับ สหรัฐ เช่นเดียวกับที่ทำกับอังกฤษ และจัดตั้งกงสุลขึ้นที่
กรุงเทพ ฯ ในวันเดียวกันนี้ โดยมี หมอ แมททูน เป็นกงสุลคนแรก
๓๐
กรกฎาคม ๒๓๙๙
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ ๕ ท่าน โดยมีกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นหัวหน้าไปทำสัญญากับมองติญี
ราชทูตฝรั่งเศส รวม ๓๒ ข้อ ณ พระราชวังเดิม
๑๘
กันยายน ๒๓๙๙
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระยาเมืองแก้วมหาสุริยวงศ์
ขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ฯ เจ้านครเชียงใหม่
๑๙
กันยายน ๒๓๙๙
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัตรถึงพระเจ้านโปเลียนที่
๓ แห่งพระราชอาณาจักรกรุงฝรั่งเศส มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสำนักสมเด็จพระเจ้านโปเลยอนที่สาม
และการจัดแจงสัญญาการไมตรีและการค้าขายคืนต่อกับการซึ่งได้เป็นแล้วแต่หนหลัง
ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๒๗
ตุลาคม ๒๓๙๙
เป็นวันประสูติของ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ ฯ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โอรสในรัชกาลที่
๔ ต้นราชสกุลคัคณางค์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาเป็นองค์แรกและทรงมีส่วนในการเลิกทาส
ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดค้นยาไทยผสมกับยาฝรั่ง
พ.ศ.๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระบรมราชินี โดยมีพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง
บุนนาค) เป็นราชทูต
๑๐
มิถุนายน ๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง
แฟรงกลินเปียศปริศเดน ผู้บังการแผ่นดินยุไนติศเตศ อเมริกา และเรื่องการขอแก้สัญญาเก่าในทางไมตรี
และการค้าขายในแผ่นดินสยาม ที่ได้เคยทำกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๐
มิถุนายน ๒๔๐๐
มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทยที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์
๑๔
กันยายน ๒๔๐๐
วันเริ่มขุดคลองมหาสวัสดิ์
ตั้งแต่วัดชัยพฤกษ์มาลา ไปออกแม่น้ำท่าจีน
๒
พฤศจิกายน ๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชหัตเลขา ถึงราชทูตไทย กรุงลอนดอน ให้แสวงหาเครื่องทำเงินตรา
(เหรียญกษาปณ์)
๒๒
มกราคม ๒๔๐๐
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน
เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ
พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร
อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่า พระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง
พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึง
พระเจ้ากรุงบริตาเนีย
๒๔
มกราคม ๒๔๐๐
เริ่มสร้างกำแพงเมืองเชียงราย
๑๕
มีนาคม ๒๔๐๐
กำเนิดหนังสือราชกิจจานุเบกษา โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ให้พิมพ์ออกแจกจ่ายประชาชน
พระราชทานนามว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ
๒๒
พฤษภาคม ๒๔๐๑
คณะราชทูตกลับจากอังกฤษ มีหม่อมราโชทัย เป็นล่ามเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
๑๕
มิถุนายน ๒๔๐๑
หมอบรัดเลย์ ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย
เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครั้งแรกในเมืองไทย
๒๒
ตุลาคม ๒๔๐๑
โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธารา
ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย
|