www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เรื่องของไทยในอดีต
ก่อนอยุธยา
สมัยอยุธยา(๑)
สมัยอยุธยา(๒)
สมัยธนบุรี
รัชสมัย ร.๑
รัชสมัย ร.๒
รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔
รัชสมัย ร.๕
รัชสมัย ร.๖
รัชสมัย ร.๗
รัชสมัย ร.๘
สมัยปัจจุบัน
พ.ศ.๒๓๑๐
ศึกพม่าที่บางกุ้ง
มิถุนายน
๒๓๑๐
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์
เข้าตีค่ายพม่าได้ และเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
๔
มิถุนายน ๒๓๑๐
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ นำกองทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี
๑๔
มิถุนายน ๒๓๑๐
พระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ายึดเมืองจันทบุรี
๓
สิงหาคม ๒๓๑๐
ทัพพม่ายกเข้าตีไทย ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒
๕
พฤศจิกายน ๒๓๑๐
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพทางเรือ มีกำลังพลประมาณ ๕,๐๐๐ คน เรือรบ ๑๐๐
ลำ เข้าตีเมืองธนบุรีได้
๖ พฤศจิกายน
๒๓๑๐
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ตีค่ายพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
และค่ายอื่น
ๆ แตกทุกค่าย สุกี้แม่ทัพใหญ่ตาย ถือเป็นวันกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ในเวลาเพียง ๗ เดือน
๒๔
กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐
วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระนามเดิม
ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์
พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ
ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง
ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา
ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม
งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่
ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม
๒๘
ธันวาคม ๒๓๑๑
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
ณ กรุงธนบุรี ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์
หรือพระบรมราชา ที่ ๔ ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พ.ศ.๒๓๑๒
ศึกเขมรครั้งที่ ๑
๑๗
กันยายน ๒๓๑๒
โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอินทวงศา มาจัดการปักเขตที่ดินให้แก่พวกคริสตังที่บางกอก
คือ ตำบลกุฎีจีน
พ.ศ.
๒๓๑๓
ชาวฮอลันดา จากเมืองปัตตาเวีย และแขกเมืองตรังกานู เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ฯ นำปืนคาบศิลามาถวาย จำนวน ๒,๒๐๐ กระบอก
๘
สิงหาคม ๒๓๑๓
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลกครั้งที่ ๒ (ครั้งแรก พ.ศ.๒๓๑๑)
หลวงโกษา (ยัง) ผู้รักษาเมืองหนีไปเมืองสวางคบุรี
๔ ตุลาคม
๒๓๑๓
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
พ.ศ.๒๓๑๔
ศึกเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๔
ศึกเขมรครั้งที่ ๒
พ.ศ.๒๓๑๕
- ๒๓๑๖
ศึกพม่าตีเมืองพิชัย
๕
มกราคม ๒๓๑๖
พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ยกทัพต่อสู้โดยถือดาบ ๒ เล่ม เข้าทะลวงฟันพม่าอย่างไม่ลดละ
จนดาบหักทั้ง ๒ เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ
และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
พ.ศ.๒๓๑๔
ศึกเมืองเชียงใหม่
๑๕
มกราคม ๒๓๑๗
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงตีเมืองเชียงใหม่จากพม่า
พ.ศ.๒๓๑๘
ศึกบางแก้ว
๑๓
มีนาคม ๒๓๑๘
เป็นวันที่อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัว เจ้าพระยาจักรีที่พิษณุโลก ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้อายุ
๗๒ ปี เจ้าพระยาจักรีอายุ ๓๘ ปี และพม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าตีพิษณุโลกได้
๑๖
มีนาคม ๒๓๑๘
เจ้าพระยาจักรีรบพุ่งกับอะแซหวุ่นกี้ พม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าเมืองพิษณุโลกได้
พ.ศ.๒๓๑๙
ศึกเมืองจำปาศักดิ์
พ.ศ.๒๓๑๙
ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๙
ฟรานซิส ไลท์ ชาวอังกฤษ ถวายเครื่องราชบรรณาการและปืนนกสับ จำนวน ๑,๔๐๐ กระบอก
แด่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ
พ.ศ.๒๓๒๑
ศึกตีเวียงจันทร์
พ.ศ.๒๓๒๒
พวกโปตุเกสและพวกแขกมัวร์จากเมืองสุวัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับไทย
และไทยได้ส่งสำเภาหลวงติดต่อค้าขายกับอาณานิคมของโปรตุเกสด้วย เช่น อินเดีย
๑๓ กันยายน
๒๓๒๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อครั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
(ทองด้วง) แม่ทัพไทยสมัยกรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้
และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต
จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี
พ.ศ.๒๓๒๓
ศึกเมืองเขมร ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๓๒๓
พ.ศ.๒๓๒๔
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งทูตไปประเทศจีน
พ.ศ.๒๓๒๔
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์
ยกทัพไปปราบปรามเขมร แต่ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากกรุงธนบุรีเกิดจลาจล
๓
เมษายน ๒๓๒๕
วันที่สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากเขมร
๖
เมษายน ๒๓๒๕
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบกบฎที่กรุงธนบุรีสำเร็จ ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์พร้อมใจกันเชิญให้ขึ้นครองราชย์
เมื่อพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา
๖
เมษายน ๒๓๒๕
พระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต
|