www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เรื่องของไทยในอดีต
ก่อนอยุธยา
สมัยอยุธยา(๑)
สมัยอยุธยา(๒)
สมัยธนบุรี
รัชสมัย ร.๑
รัชสมัย ร.๒
รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔
รัชสมัย ร.๕
รัชสมัย ร.๖
รัชสมัย ร.๗
รัชสมัย ร.๘
สมัยปัจจุบัน
๗ มีนาคม
๒๔๗๗
รัฐบาลนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เห็นชอบอัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
(รัชกาลที่ ๘) ขึ้นครองราชราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ซึ่งขณะนั้นทรงประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากพระองค์ทรงพระเยาว์ จึงได้มีพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทน จนกว่าจะทรงบรรลุราชนิติภาวะ
จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ สามท่านคือ พระวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอนุวัตร จาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม )
๑๐
กรกฎาคม ๒๔๗๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
๘
ธันวาคม ๒๔๗๘
ตรากฎกระทรวง ฯ ว่าด้วยเครื่องแบบทหารบก
๙ มีนาคม
๒๔๗๘
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้ง
เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ปราสาทแห่งนี้อยู่ที่ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เป็นปราสาทที่สร้างบนภูเขาเพียงแห่งเดียวในไทย สร้างขึ้นประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่
๑๕ เสร็จเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘
๑๒
กันยายน ๒๔๗๙
รถไฟสายปากน้ำหมดสัมปทาน รถไฟสายนี้เป็นของเอกชน เปิดเดินเมื่อ ๑๑ เมษายน
๒๔๓๖ ลงนามในสัญญาสัมปทาน
๒๓
กันยายน ๒๔๗๙
รัฐบาลไทยได้ตั้งหน่วยยุวชนทหารขึ้น
เป็นการฟื้นฟูการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารขึ้น เพื่อทำการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียนนิสิตนักศึกษา
โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ โดยมีแผนกที่ ๖ ในกรมจเรทหารบก มีหน้าที่ฝึกวิชาทหารให้แก่ยุวชนทหาร
ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมยุวชนทหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หน่วยนี้ถูกยุบเลิกไป
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘
๑๕
ตุลาคม ๒๔๗๙
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ ฯ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (อนุสาวรีย์ปราบขบถ) ที่สี่แยกหลักสี่
บางเขน ถนนพหลโยธิน เพื่อเป็นอนุสรณ์และบรรจุอัฐิทหาร ตำรวจ ที่เสียชีวิตในการปราบปรามกองกำลังคณะกู้บ้านเมือง
โดยมี พลโทพระองค์เจ้าบวรเดช ฯ เป็นหัวหน้าคณะ เรียกร้องให้รัฐบาลซึ่งมี พันเอกพระยาพหล
ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออก เพราะไม่พอใจการบริหารประเทศ
๕
พฤศจิกายน ๒๔๗๙
ประเทศไทยได้เสนอไปยังนานาประเทศ ขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี การค้าขาย และการเดินเรือใหม่
โดยถือหลักความมีสัมพันธไมตรี ความเสมอภาค การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ หลักความเป็นธรรม
และหลักผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
๒๔
ธันวาคม ๒๔๗๙
เริ่มใช้ยศทหารอากาศ
พ.ศ.๒๔๘๐
ยกฐานะกรมอากาศยานเป็น กองทัพอากาศ
๙
เมษายน ๒๔๘๐
ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็น กองทัพอากาศขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม
๑๑
มิถุนายน ๒๔๘๐
ตรา พระราชกฤษฎีกา ประกาศแนวถนน ๔๑ สาย
๑๘
มิถุนายน ๒๔๘๐
ตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างสถานีเกษตรกลาง ถนนกรุงเทพ ดอนเมือง
๔
กันยายน ๒๔๘๐
บริษัทผู้สร้างเรือดำน้ำประเทศญี่ปุ่น ส่งมอบเรือหลวงมัจฉานุ กับเรือหลวงวิรุฬ
ให้ กองทัพเรือ และกองทัพเรือ ได้ลงประจำดำน้ำเป็นครั้งแรก จึงถือว่าเป็นวันที่ระลึกเรือดำน้ำไทย
๒๕
กันยายน ๒๔๘๐
เริ่มมีเครื่องโทรศัพท์อัตโนมัติในเมืองไทย
๒๖
กันยายน ๒๔๘๐
เปิดใช้โทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ ติดต่อกันได้เองเป็นครั้งแรก มีชุมสายวัดเลียบ
๒,๓๐๐ เลขหมาย ชุมสายบางรัก ๑,๒๐๐ เลขหมาย รวมเป็น ๓,๕๐๐ เลขหมาย
๑๓
พฤศจิกายน ๒๔๘๐
มีการลงนามในสนธิสัญญาเสมอภาค ระหว่างไทย กับสหรัฐ ฯ ในเรื่องการจัดเก็บภาษีอากรและทางศาล
๔
มีนาคม ๒๔๘๐
ไทยกับประเทศนอร์เวย์ ทำสัญญาแลกเปลี่ยนไมตรีการพาณิชย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
๑
มิถุนายน ๒๔๘๑
วันจัดตั้งหน่วยบินทหารเรือขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่าหน่วยบินทะเล ขึ้นตรงกับกองเรือรบ
๕
มิถุนายน ๒๔๘๑
เรือดำน้ำของไทย ๔ ลำ ออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงไทย
๑๗ สิงหาคม
๒๔๘๑
เจ้ากรมยุวชน ถวายเครื่องแบบยุวชนทหารแด่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
๒๑
กันยายน ๒๔๘
ประกาศใช้กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นประมวลกฎหมาย ( Code ) ฉบับแรกของไทย
๕
ตุลาคม ๒๔๘๑
วันขึ้นระวางประจำการ ร.ล.ปัตตานี ร.ล.สุราษฎร์ ร.ล.จันทบุรี ร.ล.ระยอง ร.ล.ชุมพร
ร.ล.สงขลา ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย ซึ่งต่อจากประเทศอิตาลี และ ร.ล.ธนบุรี
ซึ่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น
๒๔
มิถุนายน ๒๔๘๒
เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เป็นครั้งแรก
ที่เริ่มมีรัฐนิยมคือ การชี้นำในเรื่องการนิยมไทย ครั้นถึง ๗ กันยายน ๒๔๘๘
จึงเปลี่ยนกลับไปใช้คำว่า "ประเทศสยาม" ตามเดิม
๕
กันยายน ๒๔๘๒
ประเทศไทยได้ประกาศตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากที่อังกฤษและฝรั่งเศส
ประกาศสงครามกับเยอรมันนี เมื่อ ๓ กันยายน ๒๔๘๒ แล้วคู่สงครามทั้งสองฝ่าย
ต่างมีหนังสือยืนยันว่า จะเคารพความเป็นกลางของไทยอย่างบริบูรณ์
๘
กันยายน ๒๔๘๒
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม
ฉบับที่ ๔ เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อให้คนไทยยืดถือและเป็นหลักปฏิบัติ
ดังนี้.-
๑. เมื่อได้เห็นธงชาติขึ้น ลง จากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยว
หรือนกหวีดเป่าคำนับ หรือได้อาณัติสัญญาณการชัดธงชาติขึ้นหรือลดธงลง
๒. เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ
ซึ่งทางราชการเชิญมา หรืออยู่กับที่ประจำแถวทหาร หรือหน่วยยุวชน หรือหน่วยลูกเสือ
๓. เมื่อได้ยินเพลงชาติ หรือเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการ
ซึ่งบุคคลบรรเลงในงานพิธี งานสโมสรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในโรงมโหรสพ ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
การแสดงความเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ได้ปฏิบัติสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
๓๐
ธันวาคม ๒๔๘๒
ให้เปลี่ยนตัวอักษรใน ดวงตราธรรมการจังหวัด ๗๐ จังหวัด จากตัวอักษรขอม เป็นอักษรไทย
๒
มกราคม ๒๔๘๒
โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย กำเนิดขึ้นโดย มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์
(Genevieve Colfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคอลฟิลด์
เพื่อคนตาบอด
๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒
กองทัพเรือ จัดตั้งกรมนาวิกโยธิน โดยรวมกองพันนาวิกโยธิ ที่มีอยู่แล้ว ๒ กองพัน
เข้าด้วยกัน
๑๒
มิถุนายน ๒๔๘๓
รัฐบาลไทยได้ลงนามในกติกาสัญญา ไม่รุกรานกันกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในห้วงระยะเวลาที่เกิดสงครามโลก
ครั้งที่ ๒
๑๒
มิถุนายน ๒๔๘๓
รัฐบาลไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการจำเริญสัมพันธไมตรี และเคารพต่อบูรณภาพแห่งกัน
ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ก่อนเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา
๑๒ มิถุนายน
๒๔๘๓
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ
ฯ ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส แต่ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบัน
และได้ลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษ และลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการเจริญสัมพันธไมตรี
และเคารพบูรณภาพระหว่างกันกับญี่ปุ่นด้วย
๒๔
มิถุนายน ๒๔๘๓
กำหนดให้ วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ
๑๙
สิงหาคม ๒๔๘๓
เริ่มการแปลพระไตรปิฎก จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ณ วัดเบญจมบพิตร ฯ
๒๓
กันยายน ๒๔๘๓
รัฐบาลไทยได้จัดคณะฑูตพิเศษ เดินทางไปเยี่ยมเยียน และเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศในเครือจักรภพย่าน
เอเซีย คือ พม่า อินเดีย มลายู สิงคโปร์ รวมทั้งออสเตรเลีย ปัตตาเวีย
๘ ตุลาคม
๒๔๘๓
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
๓,๐๐๐ คน เดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
๑๑
ตุลาคม ๒๔๘๓
ไทยได้รับคำปฏิเสธจากรัฐบาลวีซี ของฝรั่งเศส ในการที่ไทยขอดินแดนฝั่งขวาคืน
โดยขอให้ใช้ลำน้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ
๒๐
ตุลาคม ๒๔๘๓
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศมติของชาติไทยทางวิทยุกระจายเสียง
มีใจความว่า ชาติไทยต้องการปรับปรุงเส้นเขตแดน กับอินโดจีนฝรั่งเศสให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม
ให้เป็นผลสำเร็จโดยไม่ยอมถอยหลัง
๑๓
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ตั้งพลตรี หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
และผู้บัญชาการกองทัพบก เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และแม่ทัพบก พลเรือตรี
หลวงสินธุ์สงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นแม่ทัพเรือ นาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช
รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์กรณีพิพาทอินโดจีน
๒๓
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เครื่องบินฝรั่งเศสจำนวน ๘ เครื่อง บินล้ำเขตแดนไทยทางด้านนครพนม
ฝ่ายไทยส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นสะกัดกั้น
๒๖
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
ฝรั่งเศส ส่งเครื่องบินล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ทิ้งระเบิดบริเวณจังหวัดนครพนม
เนื่องจากฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาล พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ที่ขอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นเขตแดน
ระหว่างประเทศไทย กับ อินโดจีนเสียใหม่ โดยให้ถือแนวร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขง
ตามแนวสากล ตลอดจนให้ฝรั่งเศส คืนดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซ
รวมถึงดินแดนแหลมอินโดจีน ที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้วมาให้กับไทย กรณีพิพาทจึงได้เริ่มขึ้นตามบริเวณชายแดนไทย
- อินโดจีน
๒๘
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
ตั้งหน่วยตำรวจสนามในกองทัพบกสนาม โดยมี พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส เป็นผู้บังคับตำรวจสนาม
และพันตำรวจตรี หลวงวิทิตกลชัย เป็นรองผู้บังคับตำรวจสนาม ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารสูงสุด
หน่วยงานนี้ประกอบด้วย กองตำรวจสนาม ๑๓ จังหวัด
๒๘
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
อินโดจีนฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบิน ๕ เครื่อง มาโจมตี และทิ้งระเบิดเหนือจังหวัดนครพนม
พร้อมกับใช้ปืนใหญ่ซึ่งตั้งอยู่เมืองท่าแขก ยิงข้ามแม่น้ำมาตกหลังตลาด เครื่องบินฝ่ายไทยได้ขึ้นสกัดกั้น
ขณะเดียวกัน ปตอ. บนพื้นดินยิงต่อต้านอย่างรุนแรง เครื่องบินฝรั่งเศสถูกยิงตก
๓ เครื่อง
๒๙
พฤศจิกายน ๒๔๘๓
อินโดจีน ฝรั่งเศส ส่งทหารมาทางเรือจะเข้ายึดจังหวัดตราด ตำรวจสนามที่คลองใหญ่ได้ต้านทานไว้
ส่วนทางด้านท่าแขกสุวรรณเขต มีการสู้รบทางอากาศ
๓
ธันวาคม ๒๔๘๓
กองพันนาวิกโยธิน ๔ กองพัน ในบังคับบัญชาของ นายนาวาตรี ทองหล่อ (ทหาร) ขำหิรัญ
เดินทางจากสัตหีบไปจันทบุรี เพื่อจัดตั้งกองพลจันทบุรี
๕
ธันวาคม ๒๔๘๓
ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองความลับในราชการ พ.ศ. ๒๔๘๓
๖
ธันวาคม ๒๔๘๓
เปิดสถานีวิทยุคลื่นสั้น (๒๕ และ ๔๙ ม.) ของกรมประชาสัมพันธ์
๗
ธันวาคม ๒๔๘๓
ได้ออกคำชี้แจงทหาร เรื่องการเรียกชื่อชนเชื้อชาติไทยในอินโดจีน
ให้เรียก ญวน เขมร ลาว ว่าพี่น้องไทยในประเทศญวน พี่น้องไทยในประเทศลาว และพี่น้องไทยในแคว้นกัมพูชา
๑๘
ธันวาคม ๒๔๘๓
ประกาศกำหนดเครื่องหมาย ดาบ....และโล่
เป็นเครื่องหมายของกรมตำรวจ
๒๓
ธันวาคม ๒๔๘๓
ประกาศสนธิสัญญาระหว่างไทย - ญี่ปุ่น เรื่องสัมพันธไมตรีและบูรณภาพอาณาเขตของกันและกัน
|