ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เรื่องของไทยในอดีต

ก่อนอยุธยา สมัยอยุธยา(๑) สมัยอยุธยา(๒) สมัยธนบุรี รัชสมัย ร.๑ รัชสมัย ร.๒ รัชสมัย ร.๓
รัชสมัย ร.๔ รัชสมัย ร.๕ รัชสมัย ร.๖ รัชสมัย ร.๗ รัชสมัย ร.๘ สมัยปัจจุบัน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๑ ตุลาคม ๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสวยราชสมบัติ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ ขณะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา เนื่องจากทรงพระเยาว์ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

๓ ตุลาคม ๒๔๑๑
            ไทยโดยพระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ อิตาลี

๒๐ มกราคม ๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ และสูงที่สุดในประเทศไทย เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน

พ.ศ.๒๔๑๒
            เริ่มงานการโทรเลข โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดให้ชาวอังกฤษสองนายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหม จึงได้รับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ โทรเลขสายแรกคือสายระหว่างกรุงเทพ ฯ – สมุทรปราการ และยังมีสายใต้น้ำที่วางต่อไปจนถึงประภาคาร ที่ปากน้ำเจ้าพระยาสำหรับบอกเรือเข้าออก

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๒
            ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับออสเตรีย ในระดุบกงสุล ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ กับจักรพรรดิ์ ฟรานซ์ โจเซฟ แห่งออสเตรีย

๒๗ มิถุนายน ๒๔๑๒
            ประกาศตั้ง สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นสมุหพระกลาโหม ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ยังทรงพระเยาว์

พ.ศ.๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง-ชูโต) คัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่เป็นมหาดเล็ก จัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด

พ.ศ.๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นครั้งแรก ในกรมทหารมหาดเล็กหลวง

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ เจ้าอินทรวิชยานนท์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อมา

๑๓ สิงหาคม ๒๔๑๓
            เริ่มใช้คำบอกแถวทหาร เป็นภาษามคธ แทนคำบอกภาษาอังกฤษ เช่น วันทยาวุธ วันทยาหัตถ์

๒๑ ธันวาคม ๒๔๑๓
            เรือรบอิตาลีประเภทเรือคอร์เวตได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย พร้อมด้วยราชทูตอิตาลี เพื่อมาเจรจา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๑ มกราคม ๒๔๑๓
            วันเกิดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล อุปสมบทเมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๖ ที่วัดสีทอง

๖ มีนาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ สิงคโปร์ ชวา โดยเรือพิทยัมรณยุทธ ออกจากกรุงเทพ ฯ วันนี้

๙ มีนาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสน์เมืองสิงคโปร์ ปัตตาเวีย และเกาะชวา โดยเรือพระที่นั่งพิทยัมรณยุทธ เพื่อทอดพระเนตรกิจการบ้านเมือง ตลอดจนขนมธรรมเนียม และประเพณีของต่างชาติ เป็นเวลา ๔๗ วัน และเสด็จกลับเมื่อ ๑๕ เมษายน ๒๔๑๔

พ.ศ.๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสอินเดียและพม่า

๑๘ มีนาคม ๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสอินเดียเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งบางกอก มีเรือรบตามเสด็จ ๒ ลำ

๑๕ เมษายน ๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จนิวัติประเทศไทย หลังจากเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกคือ สิงค์โปร์และชวา ระหว่าง ๙ มีนาคม ๒๔๑๓ ถึง ๑๕ เมษายน ๒๔๑๔ หลังจากเสด็จประพาสได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแก้ไขวัฒนธรรมการแต่งกาย โดยประยุกต์ของเดิมและของใหม่เข้าด้วยกัน

๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
            วันมรณะภาพสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เวลา ๒๔.๐๐ น. บนศาลาใหญ่ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม (เกิด ๑๗ เมษายน ๒๓๓๑)

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๑๕
            เรือรบสหรัฐ ฯ เดินทางถึงกรุงเทพ ฯ นำสาส์นของประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๕
            จีนแห่จ้าวมาจากสำเพ็ง มายังวัดมหรรณพ์ ตั้งศาลจ้าวใหม่ คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ

๕ กันยายน ๒๔๑๕
            ตั้งห้างแรมเซเวกฟิลด์ ที่ตึกกรมประชาสัมพันธ์หลังเก่า ต่อมาเป็นห้างแบดแมน เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรก

๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นเถลิงราชย์สมบัติ ขณะพระชนม์ ๑๕ พรรษา มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก แต่เนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกว่าพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ

๓๐ มีนาคม ๒๔๑๕
            ไทยเสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส แก่อังกฤษ

พ.ศ.๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารกรมมหาดเล็ก มีตำแหน่งเป็นนายทหารราชองค์รักษ์พิเศษ

๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๖
            เกิดอหิวาตกโรคในพระนคร ระบาดอยู่ ๓๐ วัน คนตายมาก

๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมหมอบคลานเข้าเฝ้าเป็น ยืนเฝ้า

๒๖ กันยายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวช นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ในพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงผนวชเมื่อเสวยราชย์

๙ ตุลาคม ๒๔๑๖
            วันทรงลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวช เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๔๑๖

๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว และทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ นับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน

๘ พฤษภาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรกของไทยขึ้นบริหารประเทศ เรียกการบริหารงานของรัฐมนตรีชุดนี้ว่า สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ต่อมาในเดือนมิถุนายน ก็ได้ทรงแต่ตั้ง สภาที่ปรึกษาในพระองค์ ( Privy Council ) ขึ้นตามแบบอย่างประเทศในอังกฤษ มีหน้าที่ให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ อังกฤษ ทรงแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงท่า กระทรวงวัง กระทรวงเมือง กระทรวงนา กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวง.....ธิการ

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา (พ.ศ.๒๔๑๗) ซึ่งเคยพิมพ์ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พ.ศ.๒๔๐๑

๑๒ กรกฎาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชปรารภในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เรื่องการเลิกทาส ซึ่งเป็นต้นกำเนิดในการตากฎหมายและการดำเนินการต่าง ๆ ในการเลิกทาส การเลิกทาสนี้ใช้เวลานานถึง ๓๐ ปี

๑๕ สิงหาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

๑๖ สิงหาคม ๒๔๑๗
            ประกาศตราตระกูลสำหรับพระราชวงศ์ คือ ตราจุลจอมเกล้า มี ๓๕๑ ดวง

๑๔ เมษายน ๒๔๑๘
            ตั้งกระทรวงการต่างประเทศ โดยแยกออกมาจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘
            ประกาศให้เปิดโรงเรียนทั่วราชอาณาจักร ตามวัดทั่วประเทศ มีพระและคฤหัสถ์เป็นครูอย่างน้อย ๕ คน เงินเดือน ๆ ละ ๖ บาท สมัยนั้นไม่ทราบจำนวนวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ มี ๑๓,๐๖๕ วัด พ.ศ. ๒๔๘๐ มี ๑๗,๖๕๐ วัด พ.ศ. ๒๕๒๔ มี ๓๑,๑๘๗ วัด พ.ศ. ๒๕๒๗ มีโรงเรียนประถม ๓๐,๗๒๔ โรงเรียน
เมืองไทยเริ่มการศึกษาทั่วประเทศหลังญี่ปุ่น ๓ ปีเท่านั้น ญี่ปุ่นจัดการศึกษาทั่วประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๙
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จก่อพระฤกษ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๕ กันยายน ๒๔๑๙
            ตั้งหอมิวเซี่ยม (พิพิธภัณฑ์) ที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง ให้ทหารมหาดเล็กรับผิดชอบ

๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๙
            วันประสูติ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช โอรสรัชกาลที่ ๕ ได้ไปศึกษาชั้นต้นที่อังกฤษ และศึกษาวิชาการทหารที่เดนมาร์ก ได้ทรงวางรากฐานในกิจการทหารและกองทัพบกมาก เช่น ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ลักษณะจัดทหาร วิธีฝึกทหาร เป็นต้น

พ.ศ.๒๔๒๐
            ได้มีการตรา พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ สำหรับกรมทหารมหาดเล็กขึ้นเพื่อจัดหน่วยให้เป็นไปอย่างมีระเบียบและมีประสิทธิภาพ

๑๙ เมษายน ๒๔๒๑
            เริ่มปักเสาโทรเลขต้นแรก ในจำนวน ๗๒๑ ต้น ระยะทาง ๔๕ กม. เป็นการสร้างสายโทรเลขจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นสายแรก

๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑
            พระศรีวิชัย (ครูบาศรีวิไชย) พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงแห่งลานนาไทย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพระภิกษุนักบุญ ผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ โดยแรงศรัทธา ใช้เวลาเพียง ๕ เดือน พระศรีวิไชย มรณะภาพ เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑

๙ กันยายน ๒๔๒๑
            กำหนดมาตราฐานการตวงข้าว ๑ เกวียนเท่ากับ ๑๐๐ ถัง แต่ก่อนถือ ๒๒ หาบ เป็น ๑ เกวียน

๘ กรกฎาคม ๒๔๒๒
            สมโภชพระที่นั่งวโรภาสพิมาน ที่บางปะอิน พระราชวังบางปะอิน เริ่มสร้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เคยเป็นที่รับรองแกรนด์ดุ๊ก ซาร์วิตส์ แห่งรัสเซีย เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๓๓ เป็นเวลา ๔ วัน

๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เปลี่ยนธรรมเนียมออพฟิศใหม่ใช้ยืนและนั่งเก้าอี้แบบฝรั่ง เป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมให้คล้อยตามอารยะประเทศ

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ธนบัตรสยาม เป็นครั้งแรก เรียกว่า อัฐกระดาษ

๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓
            วันประสูติ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖)

๑ มกราคม ๒๔๒๓
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

๑๖ มีนาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พรราชทานเพลิงศพ สมเด็จรพระนางเจ้าสุนันทากุมานีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม)

พ.ศ.๒๔๒๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ที่ตำหนักสวนกุหลาบ เพื่อฝึกและผลิตนายร้อยและนายสิบให้แก่กรมทหารมหาดเล็ก

พ.ศ.๒๔๒๔
            ราชทูตไทยคนแรก ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปประจำประเทศในยุโรป คือพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (เวลานั้นทรงเป็นหม่อมเจ้า) ทรงทำหน้าที่ราชทูตไทยประจำกว่า ๑๐ ประเทศในยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย โดยมีสำนักงานอยู่ที่สถานทูตในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

๔ สิงหาคม ๒๔๒๔
            ดวงตราไปรษณียากร ได้นำออกจำหน่ายครั้งแรก มีอยู่ ๕ ชนิด ตั้งแต่ราคา ๑ โสฬส จนถึง 1 สลึง และยังมีไปรษณียบัตร ราคา ๑ อัฐ อีกด้วย

พ.ศ.๒๔๒๕
            ได้มีการตรา พระราบัญญัติทหาร หลายฉบับ ให้มีการรับสมัครทหาร

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์