ประวัติความเป็นมา
ณ ที่ราบริมฝั่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน
ไหลมาบรรจบมีศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดนครสวรรค์
และจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพยึดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยจีนและชนชาติต่างๆ
ประชาชนทั่วไปเรียกกันว่า
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมหรือศาลเจ้าพ่อแควใหญ่ตั้งอยู่ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพบนถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง
ตัวศาลหันหน้าไปทางแม่น้ำ
ประวัติความเป็นมาของศาลนี้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นสมัยใด
ใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงระฆังโบราณ ซึ่งจารึกเป็นภาษาจีนว่า นายหงเปียว แซ่ภู่
แห่งหมู่บ้านเคอเจี้ยซัน อำเภอวุ่นอี้(ปัจจุบันคือ วุ้นซัง) มณฑลไหหลำ
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำมาถวายในปี ค.ศ.1870 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2413
ปลายราชวงศ์ชิงตรงกับต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ราชกาลที่ 5)
จากจารึกดังกล่าวสันนิษฐานได้ว่า ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม (แควใหญ่)
ต้องสร้างก่อนปี พ.ศ. 2413 แน่นอน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ศาลนี้มีอายุกว่า
130 ปีเพราะกว่าจะมีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพนับถือจำเป็นต้องใช้เวลา
ผู้ถวายระฆังเป็นคนต่างถิ่นจากประเทศจีน ซึ่งสมัยนั้นการคมนาคมลำบาก
ไม่สะดวกรวดเร็ว ดังนั้นการสื่อสารความศักดิ์สิทธิ์ปากต่อปาก
จนผู้ถวายระฆังรับรู้มากราบไหว้และความสำเร็จสมหวังจนนำระฆังมาถวายต้องใช้เวลาในอีกหลายปี
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม (แควใหญ่) แห่งนี้มีอายุกว่า 130 ปีจริง
แม้สถาปัตยกรรมที่เห็นปัจจุบันจะเป็นแบบเรียบง่าย
และมีความเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ แต่ประวัติความเป็นมา นอกจากข้อมูลบนระฆังโบราณ
ยังมีคำบอกเล้าของผู้อาวุโสซึ่งอายุ 80 ปี ที่ได้รับบอกเล่าต่อกันมา
และภาพถ่ายเท่าที่ยังสามารถรวบรวมทำให้เชื่อได้ว่า ศาลเจ้าพ่อแควใหญ่
หรือศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ปัจจุบันเดิมเป็นศาลไม้ตั้งอยู่ริมตลิ่ง
บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหลมยื่นออกไป
เนื่องจากบริเวณที่ตั้งศาลเดิมนั้น
เป็นวังน้ำวนทำให้ตลิ่งถูกน้ำเซาะพังทีละน้อย สภาพศาลก็ทรุดโทรม
ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาจึงร่วมใจบริจาคสร้างศาลใหม่
จากป้ายไม้กลางศาลเขียนเป็นภาษาจีนไว้ว่า โควกงเมี้ยวบอกว่าสร้างศาลใหม่ระบุปี
ค.ศ. 1909 ตรงกับ พ.ศ.1909
และการสร้างศาลใหม่ครั้งนั้นยังได้รวมศาลเจ้าพ่อกวนอูที่ตั้งอยู่ทางใต้บริเวณใกล้เคียง
ซึ่งศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ได้รับภาระช่วยเหลือด้านการเงินให้กับศาลเจ้าพ่อกวนอูปีละ
200 บาท การรวมศาลเข้าด้วยกันใช้งบประมาณสร้างใหม่เป็นเงิน 3,500 บาท
มีผู้รับเหมาเป็นชาวชุมแสง โดยใช้ไม้เก่าที่มีสภาพดี
จากหลักฐานที่แผ่นป้ายไม้บนผนังศาล
ระบุรายชื่อผู้มีจิตศรัทธาและระบุปีที่สร้างศาลตรงกับ ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454 )
ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า ศาลถูกรื้อสร้างใหม่อีกครั้ง
จากคำบอกเล่าและภาพถ่ายล่าสุด พบว่าศาลเก่าเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นต่างระดับ
เมื่อผู้มีจิตศรัทธาเข้ามากราบไหว้มักเดินสะดุดล้มอยู่เนืองๆ
นอกจากพื้นเดิมเป็นไม้ ไม่ได้ขัดคุณเสรีสวัสดิ์
เกิดจิตศรัทธาที่จะขัดพื้นให้เรียบและลงแลคเกอร์โคบุ่น เห็นจึงเกิดศรัทธาร่วม
ทั้งสองได้สมทบทุนและแรงกายทำการขัดพื้นศาลเจ้าร่วมกัน
จึงพบว่าศาลเจ้านั้นผุมาก เมื่อคุณนายสุรีย์ เดชอุดม มาไหว้เจ้า
จึงบอกเชิญชวนให้บริจาคทรัพย์ เพื่อบูรณะ
คุณนายสุรีย์ขอให้เปลี่ยนพื้นเป็นไม้แดง ขนาด 8 นิ้วX1 ½
นิ้วและปรับพื้นให้เสมอกัน เมื่อบูรณะจึงพบว่านก็พัง
จึงทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนใหม่ส่วนตัวฝาผนังและหลังคายังคงสภาพเดิม
ปี พ.ศ.2512
คณะกรรมการบริหารศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม(แควใหญ่)พิจารณาเห็นว่าประชาชนทุกชาติทุกภาษา
ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เดินทางกราบไหว้องค์เทพเจ้าเพิ่มมากขึ้น
จนศาลคับแคบ จึงทำการต่อเติมด้านหน้าเป็นห้องโถงมีระเบียงยื่นพ้นชายคา
ตรงกลางมีบันไดปูนทอดลงพื้นล่าง
ระเบียงด้านขาวมือ(ยื่นหันหน้าเข้าศาล)มีแท่นบูชาเทพยดาฟ้าดิน
โดยมีน้ำเต้าไฟสูงตระหง่านได้ระดับสำหรับเผากระดาษเงินกระดาษทองบูชาระเบียงด้านซ้ายมือเป็นห้องโล่งกว้างเสมอกับด้านขวา
ใช้เป็นที่ประกอบพิธีไหว้ในวาระสำคัญๆ เช่น พิธีทิ้งกระจาด
บนหลังศาลสันกลางประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว
สันหลังคาที่หลั่นลงมาทั้งสองข้างประดับด้วยหงส์ ปลายสันหลังคาเป็นมังกรหัวหงาย
สวยงามตระการตา ใช้ชายตาตรงกลางเขียนชื่อศาลด้วยซ้ายมือ
(หันหน้าเข้าศาล)เขียนเมตตาปราณี ด้านขวาเขียนว่า สุจริต ยุติธรรม
ปีพ.ศ. 2525
คณะกรรมการได้ขออนุญาตองค์เทพเจ้าเพื่อต่อเติมอาคารด้านหลังบริเวณทั้งตั้งแท่นประทับองค์เทพเจ้าและที่ตั้งโต๊ะวางของเซ่นไหว้
เพื่อขยายพื้นที่ศาลให้กว้างสำหรับรองรับผู้มีจิตศรัทธามากราบไหว้เชื่อมต่อกับศาลเดิมที่เป็นไม้ใต้ถุนสูงอย่างกลมกลืน
ปีพ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีมังกรทอง ชาวจีนถือเป็นสิริมงคล
คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่าตัวอาคาร และสีเศร้าหมอง
มังกรและหงส์บนหลงคาศาลชำรุด ควรทำการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
เพื่อธำรงศาลศักดิ์สิทธ์ให้เป็นโบราณสถาน ศูนย์รวมใจของชาวจังหวัดนครสวรรค์
และจังหวัดใกล้เคียงสืบต่อไป จึงจดพิธีบวงสรวง
ขออนุญาตจากองค์เทพเจ้าเพื่อทำการบูรณะ
ซึ่งในครั้งนั้นจำเป็นต้องอัญเชิญองค์เทพเจ้าลงจากแท่นที่ประทับ
อันเชิญดวงทิพย์วิญญาณเสด็จสู่สวรรค์
จึงจะอนุญาตให้ช่างขึ้นหลังคาศาลทำการบูรณะตามกำหนดการที่องค์เทพเจ้าแจ้ง
เพื่อทำการบูรณะระหว่าง 3 กรกฎาคม ถึง 19 ตุลาคม 2543
จากนั้นคณะกรรมการจะต้องจัดพิธีบวงสรวงองค์เทพเจ้า
จัดพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงและอัญเชิญเทพเจ้าเสด็จประทับในองค์บูชา
ซึ่งเปลี่ยนเครื่องทรงและทำพิธีลุยไฟ เพื่อสร้างศรัทธาในองค์เทพเจ้า
ก่อนอัญเชิญขึ้นประทับ ญ แท่นที่ประทับในวันที่ 21 ตุลาคม 2543
จะเห็นได้ว่าศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มิได้กระทำการบูรณะซ่อมแซมได้ตามความต้องการของคณะกรรมการ
ดังนั้นการทำนุบำรุงศาลศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จึงถือเป็นบุญกุศลที่คณะกรรมการชุดแล้วชุดเล่า
ได้ถือเป็นภารกิจสำคัญสืบต่อกันมาด้วยความเสียสละทุ่มเท.
การเดินทางไปยังศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม
ตั้งอยู่เลขที่ 9 ต.แควใหญ่ อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์ เดินทางจากตัวเมืองนครสวรรค์
ไปตามถนนสายนครสวรรค์ - ชุมแสง (225) ระยะทางประมาณ 2.3 กม.
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กม.
กิจกรรมที่น่าสนใจในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม
สักการะเทพศักดิ์สิทธิ์ ประจำเมืองปากน้ำโพ
ชมต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
ประเพณีที่น่าสนใจของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม
วันตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1
ตามปฏิทินจีนเป็นประเพณีเกี่ยวกับการไหว้เจ้าบรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่ในเมืองนครสวรรค์
ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการมาท่องเที่ยวศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ -
เจ้าแม่ทับทิม
ตลอดทั้งปี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์ อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0-5622-1602, 0-5622-1034, 0-5622-1656 ต่อ 114 โทรสาร 0-5623-1841,
0-5622-162 ต่อ 111
สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลาง เขต 7 ถนนรอบวัดพระธาตุ อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี (รับผิดชอบจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์)
โทร. 0-3642-2768-9 โทรสาร 0-3642-4089
Loading...