ถ้ำเขางุ้ม
อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงดงาม
และบริเวณด้านหนึ่งของถ้ำมีเปลือกหอยมากมายอัดติดอยู่กับภูเขา
(ปัจจุบันแทบจะรกร้าง ขาดการดูแลรักษาไปบ้าง) เป็นถ้ำขนาดเล็ก ไม่ลึกถ้ำพุงช้าง
อยู่ภายในวัดประภาษประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัดพังงาสภาพภายในถ้ำมีหินงอก
หินย้อย สวยงาม มีธารน้ำไหลตลอดปีการเดินทาง ห่างจากบ.ข.ส. พังงาตามถนนเพชรเกษม
ระยะทางประมาณ 2 ก.ม. มีรถสองแถวผ่าน หรือห่างจากทางแยกไปภูเก็ต ระยะทาง 700
เมตร ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ริมถนนเพชรเกษมเยื้องกับศาลากลางจังหวัดเป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้โดยมีถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้า
ภายในถ้ำมีธารน้ำใสและมีหินงอกหินย้อย ด้านหน้าถ้ำเป็นสวนสาธารณะ ถ้ำเขางุ้ม
อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยงดงาม
และบริเวณด้านหนึ่งของถ้ำมีเปลือกหอยมากมายอัดติดอยู่กับภูเขาวนอุทนยานสระนางมโนห์รา
หรือธารน้ำตกสระนางมโนห์รา
ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไป 3 กิโลเมตร
แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ำตก
สภาพโดยทั่วไป เป็นป่าร่มรื่น มีธานน้ำตกที่เกิดจากลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งใหญ่ตลอดปี
ประวัติความเป็นมา
เขางุ้มเป็นเขาขนาดย่อมตั้งอยู่ตรงข้ามกับภูเขาช้าง
ตำนานเล่าว่าเป็นเขาที่คู่กับเขาช้าง คือตางุ้ม เป็นเจ้าของช้าง
คือเมื่อช้างตายตางุ้มก็กลั้นใจตายตามไปด้วย ภูเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่
ซึ่งกรมศิลปากรได้เข้าทำการสำรวจภายในถ้ำแห่งนี้แล้วระบุว่าเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
มีอายุนับพันปีมาแล้ว
ลักษณะทั่วไป
เป็นถ้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินลงไปเล็กน้อย ภายในถ้ำมีความอับชื้นพอประมาณ
พื้นถ้ำไม่เรียบ ภายในถ้ำมีความมืดพอประมาณ
ต้องใช้ไฟฉายหรือแสงไฟอย่างอื่นช่วยจึงจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน
บางแห่งมีน้ำขังอยู่ บริเวณหน้าถ้ำเป็นแนวเนินดินสูงบังปากถ้ำไว้
ที่เนินดินนั้นจะเป็นเศษเปลือกหอยทับถมกันอยู่เป็นกองแนวยาวหนาแน่นมาก
ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอยทะเล ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นอาหารของมนุษย์โบราณ
หลักฐานที่พบ
แหล่งนี้สำรวจพบมานานแล้วโดย พิสิฐ เจริญวงศ์ และไปรอัน พีค็อก
เขางุ้มเป็นเขาหินปูนลูกเล็กๆ แต่เห็นเด่นชัดเพราะอยู่กลางเมืองพังงา
ระหว่างเขาช้างและเขาพังงาพื้นที่บางด้านของภูเขา ยังเป็นป่าชายเลน
ภายในเขางุ้มมีถ้ำสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในตัวเมืองพังงา
จุดที่สำรวจพบโบราณวัตถุนั้น เป็นเพิงผาทางด้านตะวันตกของภูเขา
เพิงผาแห่งนี้มีความยาวถึง ๖๐ เมตร
ด้านหน้าเพิงผาเป็นที่ทับถมของกองเปลือกหอยขนาดใหญ่ตามแนวยาว
และถูกขุดทำลายไปมาก บางจุดลึก ๒ -๓ เมตร โบราณวัตถุที่พบกระจายอยู่ทั่วๆ
ไปบนผิวดินบริเวณที่ถูกขุด มีเครื่องมือหินกะเทาะรูปไข่ (Oval
Shape)กะเทาะทั้งสองหน้า
(Bifaces Tool)
ทำจาากหินควอร์ตไซต์
( Quartzite)
เครื่องมือสะเก็ดหินพบหลายชิ้น ทำจากหินปูน (Limestone)
หินทราย ( Quartzitic Sandstone )
และหินเชิร์ต
(Chert)
นอกจากนี้ก็พบค้อนหิน หินลับเศษภาชนะดินเผามีทั้งแบบสีดำขัดมัน (Burmished)
เคลือบน้ำดินสีแดง (red-slipped)
เรียบธรรมดาและมี ลายเชือกทาบ
เครื่องมือกระดูกมีลักษณะที่ด้านหนึ่งมีรอบตัดแต่งหรือฝนให้มีความคมคล้ายใบมีดชิ้นส่วนศีรษะมนุษย์
(Skull)
เขาสัตว์
กระดูกสัตว์บก กระดูกปลา (Fish Bone)
ก้ามปู (Pincers)
และเปลือกหอย
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
เดินทางไปตามถนนเพชรเกษมถึงบริเวณหน้าศาลากลางหลังใหม่
เลยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาไปประมาณ ๒ เมตรมีทางแยกเลี้ยวขวา
ผ่านหน้าสถานีดับเพลิง ๒ ของเทศบาลเมืองพังงาไปประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร
มีทางเดินท้าวเข้าไปถึงแหล่ง
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง
ครอบคลุมพื้นที่ 250,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524
การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งมุ่งใต้สู่ตำบลโคกกลอยห่างจากตัวเมืองประมาณ
8 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 อีก 4
กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯการเข่าเรือนำเที่ยวอ่าวพังงามีสถานที่ให้เช่าหลายแห่งดังนี้
ท่าเรือด่านศุลกากร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท
ท่าเรือสุระกุล หรือท่าเรือกระโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเรือหางยาว จุลำละ 6-8
คน เที่ยวละ ประมาณ 800 บาท
ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่างพังงา เป็นเรือหางยาวจุลำละ 8 คน
การเดินทางไปชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
ซึ่งเรือจะนำเที่ยวไปยังเกาะปันหยี เขาพิงกัน เกาะตะปู ถ้ำลอด เกาะห้อง
หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณใกล้ แล้วแต่จะตกลงกับเรือนำเที่ยว