ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่/Khao Lak-Lam Ru National Park 

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่/ Khao Lak-Lam Ru National Park

 

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
ข้อมูลทั่วไป
แต่เดิมเป็นเพียงวนอุทยานป่าชายทะเลเขาหลัก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ต่อมา ในปี 2527 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลกะปง จังหวัดพังงา ได้มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า พื้นที่บริเวณ ตำบลกะปง จังหวัดพังงา น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากะได บริเวณรอบๆ ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านานาชนิด ควรอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีบันทึกให้กรมป่าไม้พิจารณา กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่า พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ในปี 2528 กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่” ต่อมา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกสั่งการให้กรมป่าไม้สงวนป่าคลองลำรู่ใหญ่ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ตามที่ผู้บัญชาการสถานีทหารเรือพังงา ได้ให้ความเห็นชอบตามมติของสภาตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง ที่ต้องการสงวนป่าต้นน้ำลำธารคลองลำรู่ใหญ่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำทำการตรวจสอบ และได้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2528 เห็นชอบให้กองอุทยานแห่งชาติสำรวจหาข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

กองอุทยานแห่งชาติได้สั่งการให้อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ ทำการสำรวจเพิ่มเติม และได้รับหนังสือรายงานผลการสำรวจว่า พื้นที่บริเวณน้ำตกลำรู่ และบริเวณป่าต้นน้ำลำธารของตำบลลำแก่น รวมพื้นที่สำรวจประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติ 7 ป่า เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ และต่อมาในปี 2531 อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ได้มีหนังสือขอเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่และมีความหมายเด่นชัด กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วจึงอนุมัติให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่” ซึ่งมาจากชื่อพื้นที่บริเวณชายทะเลเขาหลักและน้ำตกลำรู่

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเทือกเขาหลัก ป่าเขาโตน ป่าชายทะเลเขาหลัก ป่าเทือกเขากระได ป่าเขาหลัก ป่าลำรู ป่าควนหัวโตน ป่าเขาพัง และป่าเทือกเขากะทะคว่ำ ในท้องที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า ตำบลกะปง ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง ตำบลลำแก่น ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง และตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ 125 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 152 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่า และแม่น้ำพังงา และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำเล็กๆ มากมาย ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และกลุ่มปะการัง

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของฝั่งทะเลอันดามัน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกชุก

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกอบด้วย

ป่าดิบชื้น มีพื้นที่ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ไว้เกือบทั้งหมด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขน ยางมันหมู ไข่เขียว ตะเคียนราก กระบาก ก้านตอง บุนนาค ชันรูจี เทพทาโร ทำมัง สะทิบ มังตาน พิกุลป่า แซะ เสียดช่อ หันช้าง สะตอ เหรียง สัตตบรรณ มะกอกป่า สะท้อนรอก ตาเสือ เงาะป่า และคอเหี้ย เป็นต้น สำหรับไม้พุ่มที่พบได้แก่ เข็มป่า ไม้เท้ายันยาด โมกแดง คันหามเสือ ตาเป็ดตาไก่ ปอผ่าสาม มะเดื่อขี้นก เตยหนู ลิ้นกวาง คุยช้าง เถาไฟ สะบ้า พริกไทยป่า ย่านอวดน้ำ เตยย่าน และตะเข็บ พืชล้มลุกที่พบตามพื้นดิน ได้แก่ เปราะป่า กระทือแดง เอื้อง หมายนา ข่าคม ว่านงดดิน แก้วหน้าม้า ผักหนาม มะพร้าวนกคุ่ม คล้า คลุ้ม เนระพูสีไทย และว่านพังพอน ส่วนพืชเบียดรากที่พบได้แก่ กระโถนพระราม พันธุ์ไม้จำพวกปาล์มได้แก่ ฉก หมากเจ ชิง กะพ้อ ค้อ เต่าร้างแดง และหวายชะโอนเขา พืชจำพวกหวายและไผ่ ได้แก่ ไผ่เรียบ ไผ่ผาก เป็นต้น พืชอิงอาศัยจำพวกเฟิน ได้แก่ กระปรอกหางสิงห์ เกล็ดนาคราช กูดหิน กูดหางค่าง ว่านกีบแรด รังไก่ หัวอ้ายเป็ด นอกจากนี้ยังพบพืชเมล็ดเปลือย ได้แก่ ขุนไม้ ซึ่งพบต้นที่มีขนาดใหญ่มาก เส้นรอบวง 205 เซนติเมตร สูงประมาณ 40 เมตร และพญาไม้

ป่าชายหาด เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินทราย และบริเวณฝั่งทะเลที่มีโขดหินกระจายอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายหาดจัดเป็นพืชทนเค็ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของไอเค็มจากน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งที่ติดกับทะเล พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ กระทิง หูกวาง จิกทะเล หยีทะเล โพกริ่ง โพทะเล ปอทะเล ตีนเป็ดทะเล สนทะเล โกงกางหูช้าง และปรงทะเล พันธุ์ไม้เหล่านี้มีความสูงไม่มากนัก ลำต้นคดงอ หรือเอนเอียงไปเนื่องจากอิทธิพลของแรงลม ไม้พุ่มที่พบได้แก่ รักทะเล พืชล้มลุกที่ทอดเลื้อยไปตามหาดทราย ได้แก่ ผักบุ้งทะเล บริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดทราย และบริเวณที่มีโขดหินกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งขึ้นมาก นอกจากนี้พบพันธุ์ไม้

ป่าชายเลน ที่ส่วนสืบพันธุ์ถูกน้ำทะเลพัดพามาติดที่ชายฝั่ง สามารถงอกตั้งตัว และเติบโตอยู่ได้ ได้แก่ แสมทะเล ฝาดแดง ตะบูนขาว เล็บมือนาง ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ จีง้ำ และตาตุ่มทะเล

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และองค์ประกอบของพืชพันธุ์ของป่า มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืช อาหาร และแหล่งน้ำ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย เลียงผา สมเสร็จ กระแตใต้ บ่าง หมีขอ พังพอนเล็ก กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวใหญ่ ค้างคาวขอบหูขาวกลางค้างคาวหน้ายาวใหญ่ เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าเขาหนามยาว ตะกวด งูแสงอาทิตย์ งูลายสอสวน งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง เป็นต้น


สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มักพบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ สัตว์กลุ่มนี้ออกหากินในกลางคืน ได้แก่ อึ่งกรายลายเลอะ จงโคร่ง กบหลังตาพับ และอึ่งข้างดำ เป็นต้น
นก พบได้ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติ เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกออก นกเขาเขียวและนกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกขนาดใหญ่ที่พบได้มี 3 ชนิด คือ นกเงือกปากดำ นกแก๊ก และนกกาฮัง
ผีเสื้อ ที่พบมากและกระจายทั่วพื้นที่ ได้แก่ ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู ผีเสื้อหนอนมะนาว ผีเสื้อหางติ่ง ชะอ้อน ผีเสื้อขาวแคระ ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา ผีเสื้อใบกุ่มธรรมดา ผีเสื้อหนองคูณธรรมดา ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้า ผีเสื้อสายัณสีตาลธรรมดา ผีเสื้อหางแหลม ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ผีเสื้อแพนซีสีตาลไหม้ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง ผีเสื้อฟ้าวาวสีต่างฤดู เป็นต้น


สัตว์ทะเล พบบริเวณชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ได้แก่ สัตว์กลุ่มปลิง เช่น ปลิงดำ ปลิงขาว ปลิงลูกปัด เป็นต้น กลุ่มเม่น เช่น เม่นหนามยาว กลุ่มดาวขนนก เช่น ดาวขนนก กลุ่มปู กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย เช่น หอยสังข์หนาม หอยเบี้ยเสือดาว หอยเบี้ยอารบิก หอยนมสาว เป็นต้น กลุ่มทากทะเล เช่น ทากปุ่ม เป็นต้น กลุ่มปลา เช่น ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ ปลาปากคม ปลากระทุงเหว ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาหิน ปลาสิงโต ปลากะรังสายฟ้า ปลาเก๋าหน้าแดง ปลาอมไข่ ปลาเหาฉลาม ปลากะพงข้างปาน ปลาทราย ปลาแพะ ปลากระดี่ทะเล ปลาผีเสื้อก้างปลา ปลาโนรีครีบยาว ปลาสลิดหินบั้งหลังเหลือง ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลานกขุนทอง ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาพยาบาล ปลาตุ๊ดตู่ ปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าและสัตว์ป่านานาชนิด ประกอบด้วยน้ำตกหลายแห่งเป็นจุดเด่นทางธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

หาดเล็ก
เป็นชายหาดทรายขาวละเอียด และเงียบสงบ สามารถว่ายน้ำ ดำน้ำ ดูปะการังโดยเดินเท้าจากที่ทำการอุทยาแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตลอดทางจะเดินผ่านป่า ลัดเลาะไปตามชายทะเลเขาหลัก
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - กิจกรรมชายหาด

น้ำตกโตนช่องฟ้า
มีต้นน้ำเกิดจากคลองบางเนียง ประกอบด้วยน้ำตกจำนวน 5 ชั้นใหญ่ๆ จัดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม สามารถเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม แยกเข้าบริเวณวัดพนัสนิคมในหมู่บ้านบางเนียง เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางเดินป่าบริเวณเทือกเขาหลักไปตามแนวสันเขาถึงน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทาง 9 กิโลเมตร
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกลำพร้าวและน้ำตกหินลาด
มีต้นน้ำเกิดจากคลองปลายบางโต๊ะและน้ำตกทั้งสองอยู่ในลำห้วยเดียวกัน น้ำตกลำพร้าว มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น ส่วนน้ำตกหินลาดมีชั้นน้ำตก 2 ชั้น สามารถเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 แยกเข้าบ้านทุ่งคาโงก 4 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปยังน้ำตกอีกเล็กน้อย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

ชายทะเลเขาหลัก
เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นวนอุทยานชายทะเลเขาหลัก มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวและชายหาด มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่ามาทางอำเภอท้ายเหมืองตามถนนเพชรเกษม 33 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปเพียง 50 เมตร ฝั่งตรงข้ามเป็นศาลเจ้าพ่อเขาหลักซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป

บริเวณนี้ประกอบด้วยแหลมหิน หาดหิน หาดทราย และปรากฏรอยเท้าที่จารึกบนแผ่นหินอยู่ใต้ต้นไทร มีจุดชมวิวในบริเวณแหลมเขาหลัก มีทางเดินศึกษาธรรมชาติจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหาดเล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทางเดินเรียบชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีทางเดินป่าระยะไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณชายทะเลเขาหลักยังสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้บ้างแต่ไม่มากนัก
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

คลองลำรูใหญ่
ลักษณะเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยลำห้วยขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละห้วยมีน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม เช่น น้ำตกวังกล้วยเถื่อน เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 7 ชั้น ที่สวยงามยิ่ง คลองลำรูใหญ่เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอท้ายเหมือง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก 

น้ำตกลำรู่
เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สวยงามน่าชม สามารถเดินทางไปโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 (อำเภอกะปง-บ้านกะปง-หมู่บ้านลำรู่) ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังย้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
หมู่ที่ 7 ต.คึกคัก อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82190
โทรศัพท์ 0 7642 0243 โทรสาร 0 7642 0814

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ อยู่ใกล้ถนนเพียง 50 เมตร มีจุดสังเกตคือ ศาลพ่อตาเขาหลัก ซึ่งเป็นที่สักการะของชาวบ้านและคนทั่วไป

เครื่องบิน
จะต้องใช้บริการของสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต แล้วโดยสารรถมาสู่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ โดยใช้เส้นทางตามถนนเพชรเกษมมุ่งสู่อำเภอท้ายเหมือง

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ มีทั้งรถปรับอากาศ และรถธรรมดาสายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า ซึ่งอัตราค่าโดยสาร กรุงเทพฯ-พังงา รถยนต์โดยสารธรรมดา ราคา 357 บาท ปรับอากาศ ราคา 459 บาท ปรับอากาศพิเศษ ราคา 685 บาท


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
ชายทะเลเขาหลัก
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
น้ำตกลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
น้ำตกโตนช่องฟ้า
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
หาดเล็ก
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
Khao Lak-Lam Ru National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่/map of Khao Lak-Lam Ru National Park
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

 
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

General Information In the past this national park is only the sea shore forest park of Khao Lak, until Mr. Somchit Suksanga, village chief of Mu 3, Kapong sub-district, Kapong, Phang Nga, had proposed to the assistant minister of agricultural and cooperative on september 26, 1984 for considering to declare the forest of Amphoe Ka Pong and nearby forest to be the conservation forest for conserving the origin or source of water of Phang Nga province which still be the perfect forest and has a lot of wild animals. Morever, this area still has a colorful tourist attraction, especially many small waterfalls. This area became the 66th national park on August 30, 1991 namely "Khao Lak -Lam Ru Natitonal Park covers 125 squarekilometre

General geograhy consists of many moutains such as Lak mountain, Lam Ru mountain, Sang Tong mountain, Mai Kaeo mountain and Prai Bang Toa mountain. The highest peak is about 1,077 meters about the sea level which is the origin of the important rivers of Phang Nga province, namely Ta Kua Pa river and Phang Nga river and also consisting of many small canals and streams. The Khao Lak - Lam Ru national park office is located in the shore area nearby sea covering the rock beach ecological system, sand beach and coral ecological system.

Climate
The Khao Lak - Lam Ru national park is located in the western coast of Andaman sea, let it get an influence of southwestern monsoon wind and northeastern monsoon wind which induce to have raining for almost all year round. It's two seasons, hot season starting from January till April and raining season starting from May till December which would have a lot of rainfall.

Flora and Fauna
The majority of the park is covered by Tropical evergreen forest, some is still pristine, whereas in other areas human encroachment has altered the forest structure. In some places the original forest has been completely replaced by fruit trees or rubber plantations. The park also has some small areas of coastal habitat and small secluded sandy beaches.

Tropical evergreen forest, this occurs on the forested hills of Khao Lak. In places with little human disturbance this forest is highly differentiated with; a ground flora, an undergrowth of seedlings, then a canopy of three levels, lower, intermediate and upper and above this a few emergent forest giants. The principle tree species recorded include; Dipterocarpus sp., Alstonia scolaris, Anisoptera costata, Michelia champaca, Syzygium sp., Hopea odorata, Mimusops elengi, several palm (Palmae) species and Bamboo (Gramineae). This forest is also very rich in epiphytes such as Orchids and ferns, and snaking between the trees are Lianes and many climbers including Rattans.

In small patches near the coast the forest includes many marine tolerant species including; Barringtonia asiatica, Anacardium occidentale and Pandanus odoratissimus.

Wild Animals
Mammal animals consists of Colugo, Binturong, Malaysian weasel, Drynaria. bonii H. Christ, Bat and the big mammal animals found here are. Sumatran serow, Malayan Tapir, etc.

Retiles could be classified into the daytime living reptiles such as Idian or Bengal Monitor, etc. and the reptiles that you could find directly are Snake such as Iridescent earth snake, Malayan pit viper, and White-lipped pit viper.

Amphibians such as Bufo asper Gravenhorst, Rana laticeps Boulenger, and Heymon's Froglet, etc.

Birds, from survey could be classified into 15 class-orders 108 families, for example Crested serpent-eagle, White-bellied sea-eagle, Emerald Dove and Scarlet Minivet , etc. while the big birds could be found 3 types, namely Bushy-crest hornbill, Oriental pied hornbill, and Homrai.

Daytime butterflies, most of them could be found in the primary rainforest, especially in the creek or pond area. The daytime butterflies are defined as conserved animals totally 3 types, namely Troides aeacus thomsoni, Troides amphrysus ruficollis, and Stichophthalma godfreyi.

Sea animals , for example the sea cucumber group such as Black Cucumber, H. scabra, etc. , the hedgehog group such as Malayan Porcupine, etc., the sea slug such as Feather star, etc., the fish group such as Morey eel, Lizardfish, Long Tom, etc., the star group such as Feather star, the crab group such as Giant murex, Tiger Cowrie.

The park has a number of waterfalls the most visited being Lam Ru waterfall. This waterfall is located about 30km from the park headquarters. Another waterfall is only 10km from headquaters; it is situated at the end of a rough track, so an offroad vehicle is recommended. The waterfall is a short 10 minute walk from the end of the track. This waterfall has been used as a forest retreat for Buddhist monks, a shrine and remains of their shelter are still visible nearby. The waterfall is a single drop of about 10m with a pool at the base which is good for swimming, this waterfall is best visited in the dry season as in the monsoon the quantity of water makes bathing dangerous. A Forest trail leads up into the interior of the park from here.

The cape near headquarters has an interesting nature trail, and those who complete the 3km walk are rewarded with a clean quite sandy cove. The trail leads from the park restaurant along the edge of the cape. At several places views along the coast and back towards headquarters are possible. The trail is fairly easy walking although there are a couple of short steep ascents and descents. Those who complete the trail come out at a small sandy beach which is backed by a freshwater lagoon. This beach is quite remote so many wildlife tracks may be found in the sand. Species seen include; Water monitor (Varanus salvator), Moonrat (Echinosorex gymnurus) and Crab eating macaque (Macaca fascicularis).

Lek Beach
It's the white sand beach which is very quiet and able to swim, dive and see coral. You can go to this beach by walking from the national park headquarters about 1.5 kilometers through forest and passing on the line of sea shore.

Ton Chong Fa Waterfall
The source of this waterfall is Bang Nian canal and becomes a medium waterfall including 5 large levels which be classified as the beautiful waterfall.

Lam Phrao Waterfall and Hin Lat Waterfall
The origin of Lam Phrao Waterfall is Plai Bang To canal, consist of 3 levels while the Hin Lat Waterfall has only 2 levels.

Khao Lak Sea Shore
Khao Lak Sea Shore and beach is very beautiful and consists of shallow coral. You can see this lovely natural view from the view point on the top of the cliff. This area is not safe for swimming.

Lam Ru Yai Canal
It's a big canal consisting of many small canals, each of them becomes a small beautiful waterfall. It uses to be the water supply for Thai Mueang district.

Lam Ru Waterfall
Being the medium size waterfall, it has 5 levels and water all year long.

Contact Address
Khao Lak-Lam Ru National Park
Mu 7, Khuek Khak Sub-district, Amphur Takua Pa Phang Nga Thailand 82190
Tel. 0 7642 0243 Fax 0 7642 0814 

How to go?
By Car
You can drive from Bangkok on the road no. 4 (Phetchakasem Road) until arrive at Khao Lak-Lam Ru National Park which located only 50 meters from the road. Please notice Pho Ta Khao Lak spiritual house which be respected by local people.

By Airplane

Fly to Phuket international airport and take a bus to the Khao Lak-Lam Ru National Park by using the Petchakasem road direct to Amphoe Thai Muang.

By Bus
Takes a bus at the southern bus terminal, select one of an air conditioning buses or normal bus routed from Bangkok-to-Phuket and Bangkok-to-Takuapa or Bangkok-to-Phang Nga which cost you about 357 baht for a normal bus, 459 baht for an air condition bus and baht 685 for a special air condition bus.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์