ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง/Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park 

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง/ Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park

 

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
ข้อมูลทั่วไป
อุทยาน
แห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีสภาพพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ ป่าเขาลำปี ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก ยอดเขาขนิม เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นทะเลอันดามัน และทิวทัศน์ของลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยวจนออกสู่ทะเลอันดามัน อีกส่วนหนึ่งคือ ชายหาดท้ายเหมืองเป็นหาดทรายขาวสะอาดกว้างและยาว มีความเงียบสงบ รวมเนื้อที่อุทยานแห่งชาติทั้งหมดประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 72 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาตินี้ เดิมเป็นที่รู้จักกันในนามของ " น้ำตกลำปี " และกองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติได้มีบันทึกกรมป่าไม้ที่ กส 0711/973 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2523 เสนอร่างกฎกระทรวงให้ป่าเขาลำปี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และ ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ถึงกรมป่าไม้ ความว่า “นายบรรหาร ศิลปอาชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นโยบายว่า ป่าที่จะสงวนนั้น ถ้าการดำเนินการล่าช้า มีผู้บุกรุกหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้วมากรายขอให้พิจารณาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ส่วนที่ยังเหลืออยู่และไม่มีปัญหาให้พิจารณาว่า ให้มีประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติได้หรือไม่ ให้กองอุทยานแห่งชาติเสนอความคิดเห็นด้วย”

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 1617/2523 ลงวันที่ 15 กันยายน 2523 ให้ นายธีระศักดิ์ บุญชูดวง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวพบว่า ป่าเขาลำปีเป็นป่าซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 ให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติ มีน้ำตกร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ คือ น้ำตกลำปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เคยมาเที่ยวชมน้ำตกแห่งนี้ด้วย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กส 0708(อพ)/12 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2524 กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2525 ซึ่งมีมติให้กรมป่าไม้พิจารณาประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติไปพลางก่อน และขณะเดียวกันก็ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดการให้เป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เสนอกรมป่าไม้ มีคำสั่งที่ 894/2526 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2526 ให้ นายไชโย ยิ่งเภตรา เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานเขาลำปี
 


ต่อมา วนอุทยานเขาลำปีได้มีหนังสือที่ กษ 0712(ลป)/17 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2526 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นป่าเขาลำปีและหาดทรายชายทะเลท้ายเหมืองเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า บริเวณดังกล่าวนอกจากจะมีน้ำตกลำปี ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ ยังสำรวจพบน้ำตกโตนย่านไทร (น้ำตกโตนไพร) จุดชมวิวบนยอดเขาขนิม และในบริเวณใกล้เคียงมีชายหาดที่สวยงาม กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาวสะอาด เงียบสงบ มีป่าทุ่งเสม็ดขาว และพันธุ์ไม้ชายทะเลนานาชนิดขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลและที่อยู่อาศัยของนกจำนวนมาก ซึ่งกรมป่าไม้ได้ดำเนินการประกาศป่าเขาลำปีเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,023 (พ.ศ. 2526) ออกตามความพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 192 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2526 และกองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ซึ่งได้มีมติเห็นควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเขาลำปี และหาดท้ายเหมือง ในท้องที่ตำบลลำแก่น ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลท้ายเหมือง และตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 59 ลงวันที่ 14 เมษายน 2529 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 52 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง มีสภาพพื้นที่แยกจากกันเป็นสองส่วนโดยมีถนนเพชรเกษมเป็นเส้นแบ่ง คือ บริเวณหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามันที่มีความยาวของชายหาดประมาณ 13.6 กิโลเมตร และ เทือกเขาลำปี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ รวมเนื้อทั้งหมด ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลท้ายเหมือง ตำบลนาเตย ตำบลบางทอง ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 8 องศา 23 ลิบดา-8 องศา 33 ลิบดา เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 12 ลิบดา-98 องศา 20 ลิบดา ตะวันออก โดยมีที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง ซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือจดเขตที่ดินทหารเรือ ทิศใต้จดคลองหินลาด ทิศตะวันออกจดที่ดินสาธารณประโยชน์อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ส่วนบริเวณเทือกเขาลำปีมีอาณาเขตทิศเหนือจดบ้านเขากล้วยและบ้านอินทนิน ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง ทิศใต้จดบ้านนาตาคำ และบ้านกลาง ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง ทิศตะวันออกจดบ้านห้วยทราย ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดบ้านบ่อหิน บ้านลำปี ตำบลท้ายเหมือง และบ้านขนิม ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง

บริเวณหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมทะเลอันดามัน มีชายหาดยาวประมาณ 13.6 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 1.6 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดประมาณ 350 เมตร ปลายสุดของหาดเป็นแหลม เรียกว่า แหลมอ่าวขาม (เขาหน้ายักษ์) ทางด้านตะวันออกของพื้นที่มีคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่คือ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองหินลาด ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาลำปี และบริเวณเทือกเขาลำปีเป็นภูเขาสลับซับซ้อนเรียงตัวยาวไปตามแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย เขาขนิม เขาลำปี เขาโตนย่านไทร และเขาลำหลัง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาขนิม สูงประมาณ 622 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี ประเภทหินแกรนิต ในยุคไทรแอสสิค-ครีเตเชียส มีอายุอยู่ในช่วง 60-140 ล้านปี หินเหล่านี้มีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง มีลำน้ำหลายสายที่เกิดจากเทือกเขาลำปี เช่น คลองขนิม คลองลำปี คลองบางปอ คลองลำหลัง คลองพลุ คลองคำนึง และคลองอินทนิน เป็นต้น

 

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีกำลังแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พัดพาความชุ่มชื่นจากมหาสมุทรอินเดียมายังแผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตกชุกในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้เป็นแนวกั้น ทำให้ลมมีกำลังอ่อนลง อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายนซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ก็สามารถส่งผลให้เกิดฝนตกได้บ้างแต่มีปริมาณไม่มากนัก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูแล้ง ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมน้อย อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณฝนจะมีน้อย โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส.ในเดือนเมษายน และต่ำสุดเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงประมาณ 2,800-3,000 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในบริเวณเทือกเขาลำปีเป็น ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว กระบาก เทพทาโร ยมหอม สุเหรียน ทุ้งฟ้า พลอง ฉก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ปุด เร่วดง หวายขม หวายขริง หวายกำพวน ไผ่ หมากผู้หมากเมีย คล้า กล้วยป่า และบริเวณที่ใกล้ลำธารจะเป็นเฟินตีนตะขาบ โปรงทอง ลำเพ็ง ผักกูด และกูดขน เป็นต้น เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า นกแสกแดง นกเค้าป่าสีน้ำตาล นกโพระดก นกพญาไฟ ชะนีมือขาว ลิงเสน ลิงกัง ค่าง สมเสร็จ เก้ง และเลียงผา เป็นต้น

บริเวณหาดท้ายเหมืองเป็นที่ราบชายฝั่งด้านตะวันตกเป็นหาดทรายขาว ด้านตะวันออกจรด ป่าชายเลน ที่ขึ้นอยู่ริมคลอง พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว ลำพู ถั่วดำ ถั่วขาว แสมขาว และแสมดำ บางส่วนเป็นป่าจากล้วน ป่าชายเลนนี้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งสืบพันธุ์ และสถานที่วางไข่ของสัตว์บกและสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาต่างๆ จึงเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางทะเล เหยี่ยวแดง นกแต้วแล้วป่าโกงกาง ลิงแสม พังพอนกินปู เหี้ย งูปากกว้างน้ำเค็ม งูสามเหลี่ยม งูแสมรัง และปลาซิวข้าวสารชวา เป็นต้น

บริเวณชายหาดจะเป็น ป่าชายหาด มี สนทะเล จิกเล หูกวาง หยีทะเล ปอทะเล เมา มะนาวผี และรักทะเล ส่วนพืชพื้นล่างได้แก่ สังหยู สาบเสือ ลำเท็ง ปรงทะเล เตยทะเล ผักบุ้งทะเล และถั่วทะเล ขึ้นอยู่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากชนิด เช่น เหยี่ยวขาว นกออก ไก่ป่า นกกวัก นกหัวโตทรายเล็ก นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกบั้งรอกใหญ่ นกกะเต็นอกลาย นกตะขาบดง นกแซงแซวหางปลา ลิ่นชวา กระแตใต้ ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก ชะมดแผงสันหางดำ พังพอนเล็ก แย้ จิ้งเหลนบ้านเป็นต้น

บริเวณศูนย์กลางพื้นที่หาดท้ายเหมืองประมาณ 1,000 ไร่ มีสภาพเป็น ป่าพรุ ที่มีน้ำจืดขังอยู่เกือบตลอดปี สภาพดินเป็นดินทรายละเอียดขาวนวล สังคมพืชที่เด่นชัดในสภาพป่านี้คือ เสม็ดขาว บริเวณที่ดอนจะมีเสม็ดแดง ชะมวงป่า มะพลับพรุ ตีนเป็ด และหว้าน้ำ ขึ้นปะปน พืชอิงอาศัยที่ขึ้นรอบลำต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น กระแตไต่ไม้ สไบสีดา เกล็ดนาคราช เฟินก้ามปู และเฟินข้าหลวง โดยมี กระดุมเงิน โคลงเคลง ปลาไหลเผือก เข็มป่า รามใหญ่ กะทือ ย่านาง มันเทียน หวายลิง และเอื้องหมายนา เป็นพืชพื้นล่าง สัตว์ป่าที่สำคัญและสำรวจพบในป่านี้ได้แก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน นกอีลุ้ม นกกระแตแต้แว้ด นกตบยุงหางยาว นกกะเต็นอกขาว หมูหริ่ง นากใหญ่ขนเรียบ หมีขอ หมูป่า กระรอกลายท้องแดง เต่านา ตะกวด งูหลามปากเป็ด งูเหลือม กบนา ปลาดุกลำพัน และปลาหัวตะกั่ว เป็นต้น

ในบริเวณแหล่งน้ำ ห้วย และลำคลองต่างๆ สำรวจพบปลาน้ำจืด 31 ชนิด ได้แก่ ปลาสลาด ปลาซิวใบไผ่ ปลาแขยงหิน ปลาดุกลำพัน ปลาซิวข้าวสารแคระ ปลาแรด ปลาช่อน ปลาก้าง ปลานิล เป็นต้น สัตว์น้ำที่พบบริเวณชายฝั่งหาดท้ายเหมืองได้แก่ ปลาทราย ปลากระบอก เต่ากระ เต่าหญ้า ปูลม ปูแสม หอยมวนพลู หอยตลับลาย กุ้งฝอย กุ้งตะกาด แมงกะพรุน ฯลฯ

อนุสรณ์สถานแห่งความรุ่งเรืองยุคเหมืองแร่เครื่องจักรไอน้ำ
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์

หาดท้ายเหมือง
เป็นหาดที่มีลักษณะค่อนข้างตรงและยาวจากอำเภอท้ายเหมืองไปจนถึงเขาหน้ายักษ์ ในช่วงไม่มีมรสุมสามารถเล่นน้ำได้ แต่ไม่เหมาะเล่นน้ำในช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมแรงเนื่องจากชายฝั่งมีความลาดชันมาก

บริเวณหาดท้ายเหมืองจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ของทุกปี ทางอำเภอท้ายเหมืองจึงจัดให้มีงานประเพณีอนุรักษ์เต่าทะเล ระหว่างวันที่ 1-9 มีนาคมทุกปีโดยกำหนดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมทำกิจกรรม คือ การปล่อยเต่าทะเล การดูเต่าทะเลวางไข่ นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต้องปฏิบัติตามที่อุทยานแห่งชาติกำหนด มิฉะนั้น จะเป็นการรบกวนเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

บ่ออนุบาลเต่าทะเล
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 100 เมตร อยู่ในส่วนของหาดท้ายเหมือง
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

น้ำตกลำปี
ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาลำปี มีจำนวน 4 ชั้น ชั้นล่างเป็นอ่างน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมตรงข้ามบ้านลำปีตามทางลาดยาง ประมาณ 1.8 กิโลเมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 14 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกโตนไพร
สูงประมาณ 50 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งขนาดใหญ่เหมาะสำหรับเล่นน้ำ ต้นน้ำเกิดจากเขาโตนย่านไทร สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ดี
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมพรรณไม้

เขาหน้ายักษ์
ความงามของทิวทัศน์ ความสงบของเวิ้งอ่าว และชีวิตใต้น้ำ
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
หมู่ 5 ต.ท้ายเหมือง อ. ท้ายเหมือง จ. พังงา 82120
โทรศัพท์ 0 7641 7206 โทรสาร 0 7641 7206 

การเดินทาง
รถยนต์
เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินซึ่งจะมีสายหลักๆ 3 สาย คือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เส้นทางถนนนเพชรเกษมเป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักของภาคใต้ เป็นทางเรียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึง พังงาประมาณ 839 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ซึ่งจะแยกจากทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอตะกั่วป่า ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี สิ้นสุดเส้นทางที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เส้นทาง สุราษฎร์ธานี - ตะกั่วป่า - ท้ายเหมือง ระยะทาง 210 กม.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 เส้นทางสายโคกกลอย - ภูเก็ต โดยใช้เส้นทาง ภูเก็ต - โคกกลอย - ท้ายเหมือง หรือ พังงา - โคกกลอย -ท้ายเหมือง ระยะทาง 66 กม.

เครื่องบิน
เนื่องจากจังหวัดพังงาอยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติเพียง 66 กิโลเมตร ดังนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดพังงาโดยเฉพาะอำเภอท้ายเมืองด้วยเครื่องบินจึงสะดวกมาก แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ตามทางหลวงหมายเลข 402 สนามบิน - โคกกลอย -ท้ายเหมือง ระยะทาง 40 กม.

รถโดยสารประจำทาง
ใช้รถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ - พังงา รถ ป.2 ราคา 357 บาท รถ ป.1 ราคา 441 บาท และจากพังงาถึงอุทยานฯ ระยะทาง 62 กม. เดินทางต่อถึงอำเภอท้ายเหมืองโดยรถสองแถว พังงา - ท้ายเหมือง ราคา 30 บาท แล้วเดินทางต่อถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท

ใช้รถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ - ท้ายเหมือง รถ ป.2 ราคา 370 บาท รถ ป.1 ราคา 451 บาท เดินทางถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท

ใช้บริการ รถ กรุงเทพฯ - โคกกลอย รถ ป.2 ราคา 375 บาท รถ ป.1 ราคา 485 บาท แล้วเดินทางต่อถึงอำเภอท้ายเหมืองโดยรถประจำทาง โคกกลอย - อำเภอท้ายเหมือง ราคา 20 บาท เดินทางต่อถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
น้ำตกลำปี
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
น้ำตกโตนไพร
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
บ่ออนุบาลเต่าทะเล
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
หาดท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
   
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
General Information
Khao Lam Pee-Khao Tai Muang National Park is formerly so called "Lam Pee Waterfall" prior to The Royal Forest Department established it as "Lam Pee Forest Park" and assigned to manage and control by the National Park Division on April 14, 1986. It is the 52th national park of Thailand which cover area of 72 square kilometers or 45,000 rais.

Lam Pee Mountain -Tai Muang Beach National Park is the eastern area of Andaman coast, consisting of two parts, the first part is Tai Muang beach and the second is Lam Pee mountain. The Tai Muang is located on the coast of Andaman sea, the end of beach is the Kham Bay Peninsula (Giant Face mountain) , the eastern part of this area has a big brackish water canal getting fresh water from Lam Pee mountain which still has the fertile primary rainforest. Lam Pee comprises of a lot of mountains which laid from north to south with getting higher about 40-100 meters above the average sea level. The highest mountain is Kanim mountain, located in the northern part area with height of 622 meters from the average sea level.

Climate
It has got an influence from the southwestern monsoon wind which has a strong wind during May and October. This wind brings some moisture from Indian ocean which induces to have frequently raining. This area does not affect from the northeastern monsoon wind because the mountain laid in the north-south direction is the barrier and redues the wind speed. However, in November, the strong wind of northeastern monsoon wind could induce to have raining here. While during December and April is the dry season with has a little bit cloud, rain and higher temperature. Thus, the suitable duration of travel is December-April.

Flora and Fauna
From study of Lam Pee Mountain -Tai Muang Beach National Park found that society of plants could be classify into 4 groups as follows :

Primary rainforest could be found in the steeply high mountains such as Kanim mountain, Lam Pee mountain and some eastern part of Tai Muang beach. The forest on the Lam Pee mountains is very fertile and can find many kinds of plant such as Dipterocarpus, Anisoptera costata Korth, Hopea odorata Roxb., Bullet Wood while the low level plants consist of Rattan and Bamboo.

Mangrove forest could be found in the mud area and mounth of a big river, here you can find it in the coconut field mud beach and Hin Lad canal along the eastern part of Tai Muang beach which has some mud creek that suitable for growing of mangrove woods. Kinds of plant that you could find here are Rhizophora mucronata, Rhizophora apiculata, B. parviflora ,Bruguiera cylindrica, etc.

Beach forest could be found as the tall forest along the Tai Muang beach. The found plants are Cassuarina equisetifolia, Terminalia catappa, Derris indica, and Barringtonia, etc.

Swamp forest of Phru forest is the plant society that found in the year-round contained water area. You can find it at the center area of Tai Muang beach which has a white sand soil. The outstanding plant society here is a pure samed forest.

Wild Animals
Could be classified as follows :

Birds has been found totally 188 types such as Black-thighed Falconet, Oriental Honey-Buzzard, etc.

Mammal animals could be found totally 64 types including 2 types of conserved animals, namely Malayan Tapir and Serow while the others are Hylobates lar, Malayan sun bear etc.

Retiles, totally found 57 types including 26 types of conserved animals and 31 types that not under conservation. There are 2 types which are severely going to be gone; Leather-backed turtle, Leathery turtle and Lepidochelys olivacea and the other two types which also would be gone; Green Turtle and Siamese Hawksbill Turtle while 4 types of reptiles; Giant Asiatic Tortoise, Spiny Terrapin, Python curtus and Malayan pit viper or Siamese pit viper, Wirot's pit viper at present, have tendly to be gone.

Amphibians, from survey found totally 16 types consisting of 2 types which under the official conservation while the other 14 types are not under conservation such as frog etc.

Fresh water fishes was found 31 types. Only one types, namely Nile tilapia have trend to be gone. Nile tilapia is the only non-local fresh water fish which could be found in the natural water sources here. The rare fishes are Mystus wykii and saltwater eel while others fishes are Nieuhof's walking catfish and Blue panchax, etc.

Thai Mueang Beach
Thai Mueang Beach, is protected primarily as a nesting site for 2 species of sea turtles the Leatherback and the Olive Ridley. The females come ashore to lay their eggs between November and April. Unfortunately sea turtles are now very rare, and only a few come ashore.

In the nesting season, the beach is patrolled by park staff who remove the eggs from the nests they find and take them to a nursery (on the beach by the sentry box). This is done because the eggs are considered good to eat and fetch a high price. Nests left on the beach would be poached.

The eggs incubate for about 60 days. The hatchlings are released naturally into the sea as soon as they are born. Please do not go out looking for turtles on your own. You are welcome to join a patrol ask a ranger at the office. If you are interested in learning more about sea turtles, there are leaflets at the office.

Sea turtles are protected world wide, and it is illegal to take stuffed turtles or shells into other countries. You can help protect them by not eating turtle eggs or buying souvenirs made from their shells.

Lam Pee Waterfall
The inland section of the park, covers a waterfall and surrounding forested hills, it is located about 14 km from the park headquarters. To get there: turn left at the junction in Thai Mueang and continue for about 10 km until you see a blue sign for the waterfall. Turn right and continue up the track for about 2 km.

The waterfall is a local attraction and has a pool suitable for swimming at its base. Meals and drinks can be purchased at the several small stalls located near the waterfall.

Ton Phri Waterfall
50 meters height, the lower level be the big pond suitable for swimming. Origin of this waterfall is Khao Ton Ban Sai which has a fertile forest.

Contact Address
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
Mu 5, Thai Muang Sub-district, Amphur Thai Muang Phang Nga Thailand 82120
Tel. 0 7641 7206 Fax 0 7641 7206 

How to go?
By Car
Using the 3 roads : the road no. 4th, no. 401th and no. 402th.

By Airplane
Since Phang Nga just far from Phuket airport only 66 kilometers, therefore you can easily take a plane to Phuket and then take a car to Phang Nga on the road no. 4th which only 57 kilometer to Tai Muang market and then drive for 6 kilometers to the national park office.

By Bus
Uses service of Bangkok-Phang Nga line of the bus company. It costs you about 425 baht for a normal bus and 495 baht for an air-conditioning bus. From Phang Nga to the national park, about 62 kilometers, you can take a normal bus, costs about 30 baht, or take an air-conditioning bus which costs about 45 baht or small bus which costs only about 20 baht.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์