ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพังงา >อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์/Mu Ko Surin National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์/ Mu Ko Surin National Park

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ข้อมูลทั่วไป
พระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 84,375 ไร่ หรือ 135 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่เกาะสุรินทร์มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้อเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง

เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศ
สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละปีจะมีค่ามากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีป่า สัตว์ป่า และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ดังนี้
ป่าดงดิบ เป็นป่าที่มีพื้นที่มากที่สุด มีอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด เช่น คอแลน มะยง เท้าแสนปม กระเบากลัก ลำป้าง มะพลับ ลักเคยลักเกลือ ดำตะโก พลับเขา เลือดแรด หันช้าง สลอดป่า หงอกค่าง พระเจ้าห้าพระองค์ ยางยูง ยางปาย สะเดาปัก ตะพง มะเม่าดง มะส้าน อ้ายบ่าว มะกล่ำต้น แตงชั่ง มะเม่าสาย นกนอน ลิ้นควาย กระบาก ไทร กร่าง ไม้หอม แกงเลียงใหญ่ มะเม่าดง ตะขบควาย นวล มูกเขา และลังค้าว นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ชนิดอื่นๆ อีก คือ
ปาล์ม ได้แก่ เต่าร้างแดง ช้างไห้ หวาย
ไม้พุ่ม ได้แก่ แม่กลอน เต้ยชะครู จันทร์คันนา คัดเค้าทอง
ไม้เถาเลื้อย ได้แก่ เถาปลอง แสลงพันเถา ลิ้นกวาง ขมัน เถานางรอง กร่าง
ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เข็มพระรามไม้ ผักยอดตอง คล้า ว่านสากเหล็ก กูดง้อง เตยหนู กูดปรง และร๊อก เป็นต้น
ป่าชายหาด ประกอบด้วย โพกริ่ง กระทิง ตีนเป็ดทะเล สนทะเล จิกเล ปอทะเล โกงกางหูช้าง คันทรง ขาเปี๋ย สำมะงา รักทะเล ปรงทะเล ลำเจียก หญ้าไหวทาม เป็นต้น
ป่าชายเลน ประกอบด้วย โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โกงกางหัวสุม ตะบูน ลำแพนหิน ตีนเป็ดทะเล และพืชอิงอาศัยพวกกระแตไต่ไม้และกล้วยไม้บางชนิด
จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์นี้จึงเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะนกซึ่งพบมากกว่า 80 ชนิด ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เช่น นกขุนทอง นกลุมพูขาว นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกชาปีไหนซึ่งเป็นนกที่หายาก และหากเดินไปตามชายทะเลจะพบนกยางทะเล นกนางนวล เหยี่ยวแดง บินเหนือท้องทะเลเพื่อล่าปลาเป็นอาหาร ภายในป่าจะพบลิงกังอยู่เป็นฝูงใหญ่ เกาะรอก กระจง ตะกวด งูหลาม ค้างคาวแม่ไก่ และค้างคาวหนูผี

สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
แนวปะการังที่พบทั่วไปที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นแนวปะการังริมฝั่ง หรือที่เรียกกันว่า fringing reef ปะการังที่พบได้มากได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังเขากวาง ปะการังโขดหรือปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกเห็ด ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังแผ่นเปลวไฟหรือปะการังดอกจอก ปะการังสมอง ปะการังจาน ปะการังไฟ ดอกไม้ทะเล ปะการังอ่อน กัลปังหา และปากกาทะเล เป็นต้น

นอกจากปะการังแข็งที่พบเห็นโดยทั่วไปแล้ว ยังพบหญ้าทะเลในบริเวณอ่าวของหมู่เกาะสุรินทร์ 3 ชนิด ได้แก่ หญ้าเงาหรืออำพัน หญ้ากุ่ยช่ายเข็ม และหญ้าชะเงาเต่า นอกจากนี้ยังมี ฟองน้ำ หนอนทะเล กุ้งมังกร กุ้ง ปู หอย หมึก ดาวทะเล ดาวเปราะ ดาวขนนก เม่นทะเล ปลิงทะเลเพรียงหัวหอมและกลุ่มปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาสลิดหิน ปลานกขุนทอง ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลากะรังและปลาทอง ปลาขี้ตังเป็ด ปลาสลิดทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาอมไข่ ปลาตั๊กแตนหิน ปลาบู่ ปลาสิงโต ปลากะรังหัวโขน ปลาหิน ปลากะพง ปลากล้วย ปลาสร้อยนกเขา ปลาทรายขาว ปลาหางแข็ง ปลาโมง ปลาสีกุน ปลาวัว ปลาปักเป้า นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ทะเลหายาก เช่น ฉลามวาฬ วาฬ และเต่าทะเลซึ่งพบ 4 ชนิดด้วยกันได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า

หมู่บ้านชาวเลหรือมอแกน
หมู่บ้านชาวเลหรือมอแกน ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาดบริเวณอ่าวไทรเอน เกาะสุรินทร์เหนือ ประมาณ 130-150 คน ชาวเลหรือมอแกนเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะของทะเลอันดามัน ตั้งแต่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย เรื่อยไปจนถึงเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย มอแกนเป็นชนเผ่าที่มีวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมหาเลี้ยงชีพโดยการงมหอย แทงปลา โดยในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน มอแกนจะอาศัยอยู่บนเรือที่เปรียบเสมือนบ้าน แต่พอถึงช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน จะเปลี่ยนที่อยู่มาอาศัยอยู่บนบกที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

เรือของชาวมอแกนแบบดั้งเดิม มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 เป็นเรือขนาดใหญ่ สร้างขึ้นจากไม้ประมาณ 3-4 ต้น ใช้เวลาสร้างประมาณ 60 วัน ใช้แรงงานคนประมาณ 20 คน ประเภทที่ 2 เป็นเรือขนาดเล็ก ใช้ไม้เนื้ออ่อนเจาะด้วยขวาน ใช้เวลาสร้างประมาณ 5 วัน ใช้แรงงานคนประมาณ 3 คน โดยวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบเรือทั้ง 2 ประเภท จะใช้วัสดุและอุปกรณ์เช่นเดียวกัน คือ ไม้ขนุนปานหรือไม้ระกำ ขวาน ใช้สลักไม้แทนตะปู ใช้หวาย ใบเตย หรือใบค้อ กระสอบป่านแทนหมันและน้ำมันยาง

วิถีชีวิตของชาวมอแกน อาศัยการนับเวลาจะสังเกตจากดวงจันทร์ พวกเขามีความเชื่อในเรื่องของภูตผีและวิญญาณบรรพบุรุษ โดยในเดือนเมษายนของทุกปี กลุ่มชาวเลที่อยู่กระจัดกระจายตามเกาะต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงและในประเทศพม่าจะมารวมตัวกันที่หมู่เกาะสุรินทร์ เพื่อประกอบพิธี "ลอยเรือ" อันเป็นการบวงสรวงผีและวิญญาณของบรรพบุรุษ อีกทั้งเป็นการสะเดาะห์เคราะห์ให้ปลอดภัยและแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง จึงถือได้ว่าชาวมอแกนเป็นชนเผ่าที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้มากที่สุด
กิจกรรม -ชมวัฒนธรรมประเพณี

อ่าวเต่า
อ่าวเต่า อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์ใต้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร เป็นแนวปะการังริมเกาะ กว้าง 50 - 200 เมตร แนวปะการังหักชันลงที่ลึก 20 - 25 เมตร อย่างรวดเร็ว บริเวณด้านในของแนวปะการังจะพบกับปะการังขนาดเล็ก บริเวณตรงกลางของแนวปะการังพบปะการังหลากหลายชนิด สำหรับบริเวณขอบแนวปะการังพบปะการังก้อนขนาดใหญ่ มีปะการังอ่อนและกัลปังหาอยู่เป็นหย่อมๆ ในที่ลึก สัตว์เด่นบริเวณนี้ คือ เต่ากระ นอกจากนี้ยังมีสัตว์หลากหลายชนิด แม้แต่กระเบนราหูหรือฉลามวาฬ ก็เคยมีนักดำน้ำแบบดำผิวน้ำพบเห็นในบริเวณนี้เช่นกัน
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น

อ่าวผักกาด
อ่าวผักกาดเป็นอ่าวเล็กๆ อยู่ทางทิศใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ เลยอ่าวเต่าไป อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร แนวปะการังริมฝั่งกว้างประมาณ 50 - 150 เมตร มีชายหาดเล็กๆ แนวปะการังหักชันตรงขอบลงสู่ความลึก 15 -20 เมตร ด้านล่างเป็นพื้นทราย สามารถพบเห็นปะการังอ่อนและกัลปังหาได้บ้าง

อ่าวผักกาดเป็นจุดที่มีปะการังหลากหลายชนิดในพื้นที่แคบๆ พบทั้งปะการังก้อน แผ่นตั้ง แผ่นนอน เขากวาง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลที่น่าสนใจ เช่น ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำลึก อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดสำหรับผู้ที่ชอบดำน้ำแบบผิวน้ำ ที่นี่มีปลาเกือบทุกชนิดที่พบในหมู่เกาะเกาะสุรินทร์ มาดำน้ำที่อ่าวผักกาดจึงต้องสังเกตปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะปลาผีเสื้อ และปลาสินสมุทร เพราะที่นี่มีปลาสองกลุ่มนี้หลากหลายมาก
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

เกาะปาจุมบา
เกาะปาจุมบา หรือเรียกอีชื่อหนึ่งว่า เกาะมังกร มีอ่าวมังกรอยู่ทางทิศตะวันออกเกาะ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สงวนสำหรับการอนุรักษ์เต่าทะเล บรเวณนี้น้ำไม่ลึก ยกเว้นด้านเหนือของเกาะ มีแต่กองหินใต้น้ำ ไม่มีปะการังอ่อนหรือกัลปังหา บางครั้งมีกระแสน้ำรุนแรง ไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำ
กิจกรรม -ยังไม่เปิดท่องเที่ยว

อ่าวไม้งาม
อ่าวไม้งาม อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์เหนือ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร ด้านตะวันตกของอ่าวเป็นแนวปะการังในอ่าวใหญ่ ขอบแนวปะการังห่างฝั่ง 200 - 500 เมตร การเดินทางไปอ่าวแห่งนี้ ทำได้ 2 แบบ คือ เดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติหาดไม้งาม ความยาว 2,000 เมตร อีกแบบหนึ่งคือนั่งเรือ แต่เรือไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าอ่าวไม้งาม เนื่องจากน้ำตื้นมาก จึงต้องไปจอดเรือที่หาดเล็กๆ ก่อนเดินทางเท้าต่อไปอีก 200 เมตร นักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสเดินชมป่า ก่อนที่จะไปดำน้ำริมหาด บริเวณอ่าวไม้งามเป็นหาดทรายธรรมชาติที่งดงาม มีปูเสฉวนจำนวนมาก บางช่วงฤดูอาจพบเห็นนกขุนทองทำรังบนต้นไม้

ปะการังที่พบในอ่าวนี้ เป็นปะการังแผ่นตั้ง ปะการังเห็ด ปะการังเขากวาง และปะการังก้อน พบอยู่ห่างจากฝั่งพอสมควร นอกจากปะการังแล้วยังพบสัตว์ทะเล เช่น ดอกไม้ทะเล ปลิงทะเล และปลามีให้ชมในช่วงที่อยู่ห่างจากฝั่งพอควร การดำน้ำดูปะการังในบริเวณอ่าวนี้ ควรดำน้ำเฉพาะเส้นทางดำน้ำที่กำหนด มิฉะนั้นแล้วอาจไปเกยตื้นกลางดงปะการัง สิ่งที่ควรทำคือ พยายามลอยตัวไปตามพื้นทราย ลัดเลาะข้างๆ ปะการัง อย่าลอยอยู่บนปะการังโดยตรง ซึ่งอาจโดนปะการังหรือเม่นทะเลโดยไม่ได้ตั้งใจ

บริเวณอ่าวไม้งามนี้ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำสถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่สนใจมาพักแรมแบบแคมป์ปิ้ง นักท่องเที่ยวควรปฎิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ช่วบกันประหยัดน้ำจืด ช่วยเหลือกันและเคารพสิทธิของกันและกันในหมู่นักท่องเที่ยว
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - พายเรือแคนู/คยัค - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง

เกาะตอรินลา
เกาะตอรินลา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะไข่ อยู่ทางทิศใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6 กิโลเมตร เกาะตอรินลาเป็นจุดดำน้ำชั้นยอดของหมู่เกาะสุรินทร์ บางคนเรียกกองเหลือง บริเวณนี้มีทั้งแนวปะการังและกองหินใต้น้ำสลับกัน จัดเป็นจุดดำน้ำที่ใหญ่มาก กินอาณาเขตเกือบทั่วร่องน้ำระหว่างเกาะตอรินลากับเกาะสุรินทร์ใต้ มีดงปะการังเขากว้างที่กว้างใหญ่ มีปลาสวยงามมากมาย มากกว่า 200 ชนิด เช่น ปลาไหลสวน ฉลามครีบเงิน ฉลามเสือดาว กระเบนหางแส้ กะรังหน้างอน ฝูงปลาค้างคาว ปลากระตั้ว ปลาไหลริ้บบิ้น เป็นต้น และที่โดนเด่นคือ มีปลากระโทงแทงกระโดดให้เห็นกันบ่อยๆ ถือเป็นจุดชมปลากระโทงแทงชั้นเยี่ยมแห่งหนึ่งของทะเลไทย ข้อควรระวังสำหรับนักดำน้ำ คือ บริเวณร่องน้ำเกาะตอรินลา มีกระแสน้ำอันรุนแรง บางครั้งไหลวน จึงควรดำน้ำความความระมัดระวัง
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

อ่าวจาก
อ่าวจาก อยู่ด้านทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์เหนือ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 10 กิโลเมตร เป็นแนวปะการังในอ่าวใหญ่ ขอบปะการังห่างฝั่ง 200 - 400 เมตร ด้านในเป็นปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังกิ่ง ด้านนอกมีปะการังก้อนสลับกับปะการังเขากวางกว้างใหญ่ สัตว์ใต้ทะเลส่วนมากเป็นปลาสวยงาม สัตว์ใหญ่ๆ มีน้อย
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น

อ่าวสุเทพ
อ่าวสุเทพ อยู่บนเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะนี้ มีแนวประการับยาวถึง 1,200 เมตร ห่างจากฝั่ง 200 - 500 เมตร หรือมากกว่านั้น ด้านในของแนวปะการังเป็นปะการังขนาดเล็กปนเศษปะการัง ด้านนอกของแนวเป็นปะการังก้อนขนาดใหญ่สลับกับปะการังแผ่นนอนใหญ่มาก ขอบแนวปะการรังลาดลงสู่พื้นทราย ความลึก 15 เมตร สามารถพบเห็นปะการังอ่อนและกัลปังหา หอยมือเสือ และปลาสวยงาม

อ่าวสุเทพอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่พักของอุทยานแห่งชาติ (อ่าวช่องขาด) แต่มีนักท่องเที่ยวน้อย เพราะเรือวิ่งข้ามช่องขาดมาได้เฉพาะช่วงน้ำขึ้น อ่างสุเทพจึงค่อนข้างสงบ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเป็นส่วนตัว

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ต.เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา 82150
โทรศัพท์ 0 7649 1378, 0 7649 1582 โทรสาร 0 7649 1583 

การเดินทาง
รถยนต์
ขับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ อำเภอคุระบุรี ระยะทางประมาณ 720 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอคุระบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 721 มีทางแยกเลี้ยวเข้าท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร จะมองเห็นป้ายอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์อยู่ทางขวามือ จากนั้นให้เลี้ยวเข้าไปจอดรถบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (บนฝั่ง)

เครื่องบิน
โดยสารเครื่องบินมาลงที่สนามบินจังหวัดระนอง หรือสนามบินจังหวัดภูเก็ต จากนั้นจึงค่อยเดินทางด้วยรถยนต์มายังอำเภอคุระบุรี ในจังหวัดพังงาต่อไป

เรือ
การเดินทางทางเรือ เริ่มจากท่าเรือคุระบุรี ไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีการบริการเรือทัวร์โดยสารของเอกชนให้บริการนักท่องเที่ยว ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.5 - 3.5 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเรือโดยสาร
การบริการเรือทัวร์โดยสาร เปิดให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุมจึงจะปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีตารางการเดินเรือ ดังนี้
- จากท่าเรือคุระบุรี เวลา 09.00 น. ของทุกวัน ถึงที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลาประมาณ 13.00 น.
- จากที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลา 10.00 น. ของทุกวัน ถึงท่าเรือคุระบุรี เวลาประมาณ 14.00 น.

อัตราค่าโดยสารทางเรือ
- เรือโดยสารทั่วไป ค่าโดยสารไป-กลับ ประมาณ 1,200 บาท/คน
- เรือเร็ว ค่าโดยสารไป-กลับ ประมาณ 1,500 บาท/คน

รถโดยสารประจำทาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เวลาออกเดินทางจากกรุงเทพฯประมาณ 19.00 น. ถึงคุระบุรี เวลา 05.00 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 480 บาท จากบริเวณสถานีขนส่งคุระบุรี ในอำเภอคุระบุรี บริการรถมอเตอร์ไซด์และรถยนต์เช่า เหมาคันเดินทางไปส่งยังบริเวณท่าเรือคุระบุรี อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สำหรับอัตราค่าโดยสารมีดังต่อไปนี้ คือ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 50 บาท/คน รถยนต์เช่าเหมา 200 บาท/คัน

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งชนิดบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการอยู่บริเวณอ่าวไม้งาม บนเกาะสุรินทร์เหนือ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

บริการอาหาร
ร้านอาหาร ห้องปฐมพยาบาล และร้านขายของที่ระลึก บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
เรือบริการนำเที่ยว
- จากท่าเรือคุระบุรีไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ค่าโดยสาร (ไป-กลับ) 1,000 บาท/เที่ยว/คน
- ชมปะการัง บริเวณเกาะต่างๆ ราคาในการให้บริการ 100 บาท/คน/วัน

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อ่าวจาก
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อ่าวผักกาด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อ่าวเต่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
อ่าวไม้งาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
เกาะตอรินลา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
เกาะปาจุมบา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
Mu Ko Surin National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์/map of Mu Ko Surin National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

 
พังงา/Information of PHANG-NGA

 

General Information
For many years Mu Ko Surin was an unspoiled group of islands, acting as a refuge for fishing boats during storms and hosting small communities of sea gypsies. In this situation the islands provoked little interest and for a long time were recorded as a National Forest Reserve by the Royal Forest Department. But on 30th December 1971 the National Committee on Wild Animal Reservation and Protection suggested that the islands should become a wildlife sanctuary. This was thwarted when it was realised that the islands occurred within the exploratory area leased to Weeks Petroleum Ltd. An alternative plan then proposed to develop the islands as a Vietnamese refugee camp. This idea was rejected as it was realised that the translocation and support of so many people in such a fragile environment, would soon result in damage to the islands pristine land and marine habitats. The Royal Forest Department appreciated the islands unique nature and their tourist and research potential. Thus the Royal Forest Department opposed the development of the islands and instead proposed the establishment of a national park to protect the area. Mu Ko Surin was eventually gazetted as the 29th National park of Thailand on 9th July 1981.

Mu Ko Surin National park is situated in the Andaman sea approximately 60 km from the Coast of Phang-Nga Province in the southern peninsula region. The park covers an area of approximately 135 km2. Of the protected area 102 km2 or 76% is sea. The park comprises 5 main islands; Ko Surin Nua, Ko Surin Tai, Ko Ree (or Ko Satok), Ko Glang (or Ko Pachumba) and Ko Khai (or Ko Torinla). Ko Surin Nua and Ko Surin Tai are large islands and are situated on a north-south axis. A few kilometers to the north of the park is the Myanmar border and about 100 kilometers to the south is Mu Ko Similan National Park.

Surint Islands comprise of five main islands, including 2 large islands consisting of the northern surint island and southern surint island which located very adjacent like the twin island. They are separated by the 200 meters width shallow sea. In the low tide period, you can walk across to the other island or so-called "cutted channel bay". The other three islands are the rock islands with some dwarf trees. Plants that found here are the rainforest plants. They are one source of the big and best fertile shallow coral reef of Thailand.

Climate
Could be classified into 2 seasons consisting of hot seasons starting from mid of February - May, while the raining season starting from mid of May till October which has a highest level of rainfall. The yearly average rainfall is more than 3,000 milimeters and the average of related humidity is 83 percent. In rainy season, the park will be closed during 16 May - 14 November every year for visitors safety.

Flora and Fauna
Vegetations, able to classify the society of plants as follows :

Primary rainforest covers most area of the national park, both of slope and ridge of mountain. The important plants found here are Diospyros malabarica Kostel., etc.

Beach forest could be found in beach areas where you can find many kinds of plant such as Barringtonia, Cerbera odollam, etc.

Mangrove forest is located in the mud area and the brackish water of Mae Yai bay. This is not the fertile forest but you can find some kinds of plants such as Rhizophora apiculata, Rhizophora mucronata, Xylocarpus granatum, etc., while some dwarf forest or grove plants comprise of Cycas pectinata Griff., Dillenia obovata (Bl.) Hoogl., Erythroxylum cuneatum Kurz, etc.

Wild Animals
Birds, from survey found totally 91 types of birds including local birds about 57 types and the others are the migrating birds from elsewhere, such as Little Heron, Common Sandpiper, Little Tern, etc.
Mammal animalscould be found here totally 22 types including 12 types of bat such as Island Flying fox, Black-Bearded Tomb Bat, Pig-Tailed Macaque, Common Wild Pig, etc.
Reptileshave been found 6 types such as Indian or Bengal Monitor, Water Monitor, Skink, Reticulated Python, etc.
Coral, such as Needle coral, etc.
Fishes , such as Damselfish, Wrasse, Butterfly-fish and Midas blenny; Ecsenius midas etc.

Sea Turtles, Sea turtles are a very ancient family of animals and their ancestors date back to when Dinosaurs roamed the earth. Although the Dinosaurs are now extinct, the sea turtles are still surviving although their future existence is in doubt. Many species are endangered with several species near extinction. Their principle threat is the loss of their nesting beaches to development stimulated by increasing tourist pressure. This has reduced the number of turtles worldwide to such an extent that positive action must be taken to secure their existence in the future. The principle action is the preservation of their nesting beaches, and the protection of the eggs from theft once laid. Sea turtle still nests on the Surin islands, with two species coming ashore to lay their eggs, Hawksbill, and Green turtles. In the early 1990’s we also had a few nest of the rare Olive Ridley turtle. Mu Ko Surin is the best place in Thailand for anyone who want to swim with sea turtles. Most visitors have a few chances to get close to them, mostly hawksbill turtle.

Mu Ko Surin principle attraction is the fact that it is an unspoiled tropical paradise far from the mainland, with healthy forested islands surrounded by clean water supporting a profusion of coral reef species. The coral reefs are the best, most diverse coral reefs accessible to snorkelers. The coral reefs at Ko Surin do not require the use of scuba equipment to observe them. Being the primary snorkelling spot on Thailand, Mu Ko Surin attracts a lot of tourists each year, many also arrive on pleasure cruises and on some days the number of visitors can be excessive. The islands also attract great research interest, and many scientists visit the islands each year for a variety of reasons ranging from coral reef surveys to bird observation.

Sea gypsies
The Sea Gypsies or Moken are a nomadic sea people who live in the Mergui archipelago. Their ancestors came from Indonesia. The name Moken is from their own language, which is universal to all sea gypsy groups. The Moken live a very primitive existence and as such have a great respect for nature and the environment. They rely upon their environment for food, clothing and for the materials for boat construction. They live by spear fishing and collecting shellfish. Being nomadic they spend a lot of their time travelling, but they avoid travelling during the monsoon season from May to November. During this time they moor their boats in a sheltered location to form a temporary village of several families. These villages then break up when they start travelling again in December until April. The Moken do not have a written language, but are good at other languages including Thai and Yawi Malaysian. Every year during April an important ceremony occurs on Surin and Sea Gypsies from far away come to attend. They often come from Myanmar and the islands of peninsula Thailand and Malaysia. The festival is called Loi Reua and involves ancestor worship and the asking the spirits to care for and protect the Sea Gypsies.
Activities - Cultural Sight Seeing

Ao Tao (Tao Bay)
Near coral line of Tao Bay located on the eastern part of South Surin Island is a living place of a lot of sea turtles. This beautiful coral is far from headquarters about 2 kilometers.
Activities - Snorkelling Diving

Ao Pak Chak (Pak Chak Bay)
Pak Chak Bay located on the southern part of the South Surin Island has a perfect colorful coral line. It's far from headquarters about 5 kilometers.
Activities - Snorkelling Diving - Scuba Diving

Ko Pachumba (Pachumba Island)
Pachumba Island or Mang Kon Island has Mang Kon Beach located on the eastern part of Island . It has not coral and sea fan. It's far from headquarters about 5 kilometers.
Activities - don't visit

Ao Mai Ngam (Mai Ngam Bay)
Mai Ngam Bay located on the western part of the North Surin Island far from headquarters about 2 kilometers. You can get there by walking through the trail of Mai Ngam Natural Studies or taking a long tailed boat. There is a fresh water and beach suitable for swiming and coral sightseeing.
Activities - Snorkelling Diving - Bird Watching - Nature trail study - Canoeing-Kayaking - Activities on Beach - Camping

Ko Torinla (Torinla Island)
Torinla Island or Khai Island is located on the southern part of the South Surin Island. On the eastern part of this island has a long, perfect and very beautiful coral line which very suitable for snorkelling. This island is far from headquarters about 6 kilometers.
Activities - Snorkelling Diving - Scuba Diving

Ao Chak (Chak Bay)
Chak Bay located on the northern part of North Surin Island has a perfect and beutiful coral line. It's far from headquarters about 10 kilometers.
Activities - Snorkelling Diving

Ao Suthep (Suthep Bay)
Suthep Bay llocated on South Surin island is a good place for those who want to do night diving. When low tide, coral reef may expose to the air. It's not far from headquarters.
Activities - Activities on Beach - Snorkelling Diving

Contact Address
Mu Ko Surin National Park
Ko Phra Thong Sub-district, Amphur Khuraburi Phang Nga Thailand 82150
Tel. 0 7649 1378, 0 7649 1582 Fax 0 7649 1583 

How to go?
By Car
Drives on the road no. 4 (Phetkasem Rd.) from Bangkok to Amphoe Khuraburi which is about 720 kilometers long then turns to Khuraburi Port at milestone no. 721, about 6 kilometers prior to Amphoe Khuraburi. From this intersection about two kilometers, you would see the entrance sign board of Mu Ko Surin National Park on the right-hand side, then make a turn to the tourist service center which located in the area of national park office.

By Airplane
Takes a plane to Ranong Airport or Phuket Airport, then takes a car to Amphoe Khuraburi of Phang Nga province.

By Ship
At Khuraburi - Mu Ko Surin Port, you can take a private tour boat which controlled by the national park and serves tourists everyday. The cost for round trip is 1,200-1,500 baht per person. This tour boat departs from Kuraburi Port at 09.00 am. everyday and arrive at the National Park Headquarters unit on Northern Mu Ko Surin at 13.00 pm. From the port to this islands is about 60 kilometers which takes about 3 hours of journey. The return boat from Mu Ko Surin to Khuraburi Port departs at 10.00 am. everyday. However, this service would be closed at May 16 every year because entering of raining season.

By Bus
Starts from the New Southern Bus Terminal at 7.00 pm which would arrive at Khuraburi about 5.00 am. Bus fare is 480 Baht/person. From the Bus Terminal, in Amphoe Khuruburi about 10 kilometer, you can take a motorcycle or rental car to the Khuraburi Port area, the location of Mu Ko Surin National Park Office. Motorcycle fare is about 50 Baht/person while a rental car cost you about 200 Baht/person.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

พังงา แผนที่จังหวัดพังงา เขาตะปู เขาพิงกัน อ่าวพังงา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วทุ่ง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเกาะยาว


แหลมหาด

Laem Hat
(พังงา)
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง


ถ้ำซ้ำ

Sam Cave
(พังงา)
แผนที่จังหวัดพังงา/map of PHANG-NGA
โรงแรมจังหวัดพังงา/Hotel of PHANG-NGA

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์