ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดพะเยา >อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง/Doi Phu Nang National Park 

อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง/ Doi Phu Nang National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพป่าแตกต่างกันไป ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง อีกทั้งยังมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกนาปัง น้ำตกธารสวรรค์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีเนื้อที่ประมาณ 538,125 ไร่ หรือ 861 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ความเป็นมา: มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 2/2537 วันที่ 20 เมษายน 2537 เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูนางได้ เพื่อดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 243/2534 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 ให้ นายวราวุธ อมรทัต นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าไม้สงวนแห่งชาติ ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง จังหวัดพะเยา และบริเวณป่าใกล้เคียงเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือที่ กษ.0713/พิเศษ ลงวันที่ 13 มีนาคม 2534 ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าธรรมชาติที่มีความสวยงาม และมีลักษณะสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสาย เพื่อสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จึงขอกำหนดชื่อ อุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อว่า ที่ กษ.0713(ภน) ใช้ในราชการติดต่อราชการต่างๆ

กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วว่า ดอยภูนางเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ และเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประกอบกับมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จึงเห็นชอบด้วยที่จะให้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อ กษ.0713(ภน) เป็นต้นมา เนื่องจากบริเวณสำรวจบางจุดไปทับที่ทำกินของราษฎร จึงทำให้เกิดการขัดแย้งในพื้นที่ขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่ที่ประกอบกัน ขั้นตอนของการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินั้นต้องไม่มีปัญหากับราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบล หรือกำนันในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูนางพิจารณาแล้วเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จึงขอปรับพื้นที่ในส่วนที่จะประกาศตามความเป็นจริง โดยกันในส่วนที่ชาวบ้านทำกินออกและผนวกพื้นที่ที่สมบูรณ์เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามนโยบายของรัฐบาล จากที่สำรวจครั้งแรกมีเนื้อที่ประมาณ 36,500 ไร่ และในการสำรวจเพิ่มเติมมีเนื้อที่ประมาณ 500,000ไร่ ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูนางกำลังรวบรวมข้อมูล ในการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสูง ทอดตัวในแนวเหนือใต้ ส่วนป่าแม่ยมและป่าน้ำปี้จะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวกันคล้ายรูปเกือกม้า โดยมีพื้นที่ราบลุ่มของอำเภอเชียงม่วนอยู่ตอนกลางมีจุดสูงสุดของพื้นที่ทั้งสอง คือดอยภูนาง สูง 1,202 เมตร ทำให้เกิดเป็นต้นน้ำที่สำคัญ ซึ่งจะไหลลงแม่น้ำแม่ยมทั้งหมดสูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ของทั้งสามอำเภอเท่ากับ 1,093-1,778 มิลลิเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยภูนางพืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ยาง ตะเคียน ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก มะม่วงป่า มะยมป่า จำปาป่า เลียงมัน ตะคร้อ ตีนนก รวมถึงไม้จำพวกก่อและไม้สนเขาขึ้นปะปนอยู่

สำหรับสัตว์ป่าที่พบโดยทั่วไปได้แก่ เสือปลา หมีควาย หมูป่า เก้ง อีเห็น อ้น กระแต กระรอก นกชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน

ฝั่งต้า
ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านไชยสถาน หมู่ที่ 4 ตำบลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพคล้าย แพะเมืองผี คือ เป็นลักษณะของการกัดเซาะพังทะลายของดินที่ภูเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ทำให้เกิดรูปร่างที่คงเหลืออยู่ภายหลังจากการพังทลายอย่างรุนแรงผ่านไปแล้ว มีรูปร่างคล้ายเสาแหลมๆ เรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร พื้นที่อยู่บริเวณรอยต่อของป่าน้ำปี้และป่าแม่ยมฝั่งซ้าย-น้ำควรฝั่งซ้าย สภาพพื้นที่เป็นภูเขามีทางลูกรังเชื่อมต่อกับบ้านไชยสถานได้ พื้นที่รอบๆ นอกจากจะมีเขตติดต่อกับที่ทำกินของราษฎรบ้านไชยสถานบนยอดเขาของฝั่งต้า ยังเป็นจุดชมทิวทัศน์และบริเวณพักผ่อนได้ เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนข้างราบ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ และสามารถมองเห็นความสวยงามได้รอบด้าน
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

น้ำตกธารสวรรค์
น้ำตกธารสวรรค์หรือน้ำตกบ่อเบี้ย ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบ่อเบี้ยหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวามีลักษณะเป็นน้ำตกหิน 4 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นที่มีความสูงมากที่สุด ประมาณ 8 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 2.50 เมตร ชั้นที่ 3 และ 4 สูงประมาณ 2 เมตร มีต้นกำเนิดจากห้วยแม่ปิง ซึ่งประกอบด้วยลำห้วยหลายสายไหลมารวมกัน น้ำตกชั้นที่สวยที่สุดคือ ชั้นที่ 1 ซึ่งตกลงมาจากแผ่นหินปูนที่กว้างประมาณ 150 เมตร สภาพโดยรอบ ๆ จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบชื้น และพื้นที่ทำเลของราษฎรบ่อเบี้ย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกนาบัว
ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบัว หมู่ที่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งอยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวาเป็นน้ำตกหินปูนสามชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร ชั้นที่ 2 อยู่ห่างจากชั้นที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร สูงประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ชั้นที่ 3 อยู่ห่างจากชั้นที่ 2 ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร มีต้นกำเนิดมาจากห้วยแม่จั๊งซึ่งมีน้ำไหลตลอด
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเดินเท้านี้จะพาไปสู่ธรรมชาติอันสวยงามของอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดไว้ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยต้นผึ้ง และห้วยยั๊วะ
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกห้วยต้นผึ้ง
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 3 ชั้น ชั้นที่ 3 สูงประมาณ 40 เมตร และมีน้ำไหลตลอดปี การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายดอกคำใต้-เชียงม่วน เมื่อผ่านสามแยกบ้านบ่อเบี้ยไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบกับทางเข้าน้ำตกซึ่งเป็นทางเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะพบกับธารน้ำตกชั้นเล็กชั้นน้อย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

ถ้ำใหญ่ผาตั้ง
เป็นถ้ำลึกประมาณ 800 เมตร มีหินงอกหินย้อยงดงามอยู่ทั่วไป บริเวณผาตั้งยังมีถ้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่ง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภน.1 (ถ้ำผาตั้ง) คอยดูแลและอำนวยความสะดวก ถ้ำใหญ่ผาตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปงไปประมาณ 23 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบ้านผาตั้งไปอีก 1 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยภูนางสถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
หมู่ 6 ต.บ้านมาง อ. เชียงม่วน จ. พะเยา 56160
โทรศัพท์ 0 5448 9202 
 

การเดินทาง
รถยนต์

• ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน-จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือติดต่อมาทางด้านทิศตะวันออกของป่าแม่ยมฝั่งขวา และตัดผ่านป่าปี้ไปยังอำเภอบ้านหลวงจังหวัดน่าน เป็นเส้นทางที่สะดวกสามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล

• ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1120 สายอำเภอเชียงม่วน-อำเภอสอง ซึ่งอยู่ต่อจากทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1091 ไปทางตอนใต้ ตัดผ่านป่าปี้ ไปยังอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ใช้ได้ตลอดฤดูกาล

• ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายอำเภอดอกคำใต้-อำเภอเชียงม่วน ตัดผ่านป่าแม่ยมฝั่งขวา จากเขตตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ไปเชื่อมกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน จังหวัดน่าน ที่บริเวณบ้านสระ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีระยะทางไปเขตป่าแม่ยม ขวางประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเข้าไปบ้านนาบัว หมู่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ประมาณ 10 กิโลเมตร (บ้านนาบัวและบ้านห้วยก้างปลาอยู่ในเขตการปกครองหน่วยเดียวกันแต่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป)

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านสามารถนำเต็นท์และอาหารไปเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


     
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง/ Doi Phu Nang National Park

 

General Information
Doi Phu Nang National Park is situated in an approximate area of 512 square kilometers or 320,000 rai, covering the areas of Dok Kamtai District, Pong District, and Chiang-muan District of Phayao Province. There are different kinds of forests within the area of the National Park, including dense forests, mixed forests, and timber forests. The National Park also has beautiful natural sightseeing spots including Na-pang Waterfall, Thansawan Waterfall, which are abundant sources of rivers and gullies.

The geographical features of the National Park consist of high mountains, extending northwards. Meanwhile, Mae-yom Forest and Nampi Forest consist of high mountains extending like a horseshoe, as well as a low-lying land of Chiang-muan District situated in the middle of the two forests. Doi Phu Nang is the highest mountaintop of the two forests at the altitude of 1,202 meters (or 300 meters above the sea level) and being the source of major gullies flowing into Mae-yom River.

Climate
The average highest temperature at the National Park is 31.3?C; meanwhile, the lowest temperature is 20.2?C; and the average year-round temperature is 22.5?C. The average rainfalls within 10 years of Dok Kamtai District, Pong District, and Chiang-muan District, are 1,095 mm, 1,777.5 mm, and 1,093.2 mm respectively.

Flora and Fauna
There are various kinds of forests within the areas of the National Park, including tropical evergreen forests, mixed deciduous forests, and timber forests. Major plants, which are of great economic value, include rubber trees, Malabar ironwood, Leguminosae (Pradoo), Afzelia xylocarpa Roxb., Lagerstroemia (Tabaek), Mangifera caloneura Kurz (wild mango), Ailanthus triphysa (Dennst.) Alston (Mayompa) Michelia alba, Berrya ammonilla Roxb. (Liang Mun), Schleichera oleosa (Takraw), Vitex pinnata Linn. (Teen Nok), Lithocarpus Cantleyanus (Kor), and pine wood.

Wild animals found in the National Park include fishing cats, Asiatic black bears, wild boars, Muntiacus Muntjak, masked palm civets, bamboo rats, tree shrews, squirrels, different kinds of birds, and reptiles.

Phang-ta
Phang-ta is situated within the joint between Nampi Forest and Mae-yom/ Nam-kuan Forest next to Baan Chaiyasathan Moo 4, Tambon Chiang-muan, Phayao Province. Phang-ta looks like Pae-muang-pi of Prae Province, originating from soil erosion at the site of a low mountain, leaving some 25-meter-high pointed soil-pillars connecting for an approximate distance of 200 meters. The geographical condition of Phang-ta consists of mountains and a laterite road connecting to Baan Chaiyasathan. Meanwhile, the surrounding areas of Phang-ta (approximately 3 rai) connecting to agricultural lands of Baan Chaiyasathan villagers on the mountaintop of Phang-ta, can be developed as sightseeing spots and recreational sites due to their flatness and beautiful scenery.

Thansawan Waterfall
Thansawan Waterfall or Bor-bia Waterfall is a 4-step rocky waterfall situated in the area of Mae-yom Forest next to Ban Bor-bia, Moo 6, Tambol Ban Yang, Chiang-muan District, Phayao Province. Step 1 of the Waterfall is about 8 meters high and being regarded as the most beautiful and the highest step of the Waterfall, falling from a 150-meter-wide limestone plate; meanwhile, Step 2 is about 2.50 meters high, and Step 3 and Step 4 of the Waterfall are about 2 meters high.

The Waterfall originated from the multi-branches Mae-ping Gully. The surrounding areas of the Waterfall consist of mixed forests and tropical evergreen forests, as well as the agricultural lands of Bor-bia villagers.

Na-bua Waterfall
Na-bua Waterfall is a 3-step limestone waterfall with the flowing water throughout the year, situated on the right-hand side of Mae-yom Forest next to Ban-bua, Moo 4, Tambol Sra, Chiang-muan District, Phayao Province. The Waterfall originated from Mae-jung Gully. Step 1 of the Waterfall is about 10 meters high and 6 meters wide; meanwhile, Step 2 is about 6 meters high and 15 meters wide, located in the northeast of Step 1 (approximately 5 km away); and Step 3 is about 20 meters wide, located in the north of Step 2 (approximately 500 meters away).

Natural Trail
The route for natural study, leading you to the beautiful scenery of Doi Phu Nang National Park, is about 2.105 km long and taking you approximately 3 hours by walking to the National Park.

Contact Address
Doi Phu Nang National Park
Mu 6, Ban Mang Sub-district, Amphur Chiang Muan Phayao Thailand 56160
Tel. 0 5448 9202 

How to go?
By Car
You may take Highway No.1091 (Joon District – Nan Province), situated in the north extending to the east of Mae-yom Forest and passing Nampi Forest to Ban Luang District of Nan Province, is a convenient route and can be used in all seasons.

You may take Highway No.1120 (Chiang Muan District – Song District), connecting Highway No.1091 to the south and passing Nampi Forest to Song District of Nan Province, is another route, which can be used in all seasons.

You may take Highway No.1251 (Dokkamtai District – Chiang Muan District), passing the right-hand side of Mae-yom Forest from Tambol Nhong-lom of Dokkamtai District, Phayao Province connecting to Highway No.1091 (Joon District – Nan Province) at Ban Sra of Tambol Sra, Chiang-muan District, Phayao Province, approximately 3.5 km to Mae-yom Forest, and passing Ban Na-bua, Moo 4 Tambol Sra of Chiang-muan District for approximately 10 km (Ban Na-bua and Ban Huai-kangpla are located in the same administrative district but having been called in different local names).


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เว็บไซต์ท่องเที่ยวประจำจังหวัดพะเยา แผนที่จังหวัดพะเยา
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว
อำเภอจุน
อำเภอดอกคำใต้


เขื่อนแม่ผง

Mae Phong Dam
(จังหวัดพะเยา)
อำเภอเชียงคำ


วัดนันตาราม
Wat Phra That Sop Waen
(จังหวัดพะเยา)


บ้านฮวก

Ban Huak
(จังหวัดพะเยา)
อำเภอเมือง


น้ำตกวังแก้ว
Wang Kaeo Waterfall
(จังหวัดพะเยา)


วัดศรีโคมคำ
Wat Sri Khom Kham
(จังหวัดพะเยา)


วัดศรีอุโมงค์ดำ

Wat Si Umong Dam
(จังหวัดพะเยา)



กว๊านพะเยา
Kwan Phayao
(จังหวัดพะเยา)
 
อำเภอแม่ใจ


น้ำตกผาแดง

Pha Daeng Waterfall
(จังหวัดพะเยา)


หนองเล็งทราย

Leng Sai Pus
(จังหวัดพะเยา)

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา

(ขอขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาพบางส่วนจากเว็บท่องเที่ยวต่างๆ ผ่านการค้นหาของกูเกิล)

แผนที่จังหวัดพะเยา/map of PHAYAO
แนะนำโรงแรมจังหวัดพะเยา/Hotel of PHAYAO

โรงแรมในจังหวัดพะเยา

ดูข้อมูลโรงแรมทั้งหมดในจังหวัดพะเยา คลิกที่นี่

ร้านอาหารในจังหวัดพะเยา

ดูข้อมูลร้านอาหารทั้งหมดในจังหวัดพะเยา คลิกที่นี่

New Page 1

ร้านอาหารในจังหวัดพะเยา

ร้านอาหารในจังหวัดพะเยา ข้อมูลเบอร์โทร ที่อยู่ร้านอาหารในจังหวัดพะเยา


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์