วัดนันตาราม
พะเยา ประวัติความเป็นมา
วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ
ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก
วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด)
พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดิน
เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล
เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์
ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ
สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง
ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด
รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋)
วงศ์อนันต์ คหบดีชสวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์
เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา
โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง
รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น
ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้)
เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิสดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘
ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาทเศษ อัญเชิญพระประธาน
พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า)
พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและ ไหว้วานชาวบ้านประมาณ ๘๐ คน อัญเชิญมาจาก วัดจองเหม่ถ่า
ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง
(ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย
อำเภอปง)เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง
ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา
๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม
ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์
การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก การปฏิสังขรณ์
และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อเฒ่า
นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ ๑๕ มีนาคม
๒๔๗๗ ๑๕ วัน ๑๕ คืน นอกจากการทำบุญ และจัดมหรสพสมโภชแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน
แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่
ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ ได้ชื่อ วัดนันตาราม พ่อเฒ่านันตา (อู๋)
ต้นตระกูล วงศ์อนันต์ คหบดีที่มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ตั้งใจปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอนมิได้ขาด มีความเพียรในการรักษาอุโบสถศีล
นอนวัดตลอดฤดูพรรษา ทั้งยังเสียสละบริจาคทรัพย์ เป็นเจ้า
ศรัทธาในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และสร้างวิหารถวายเป็น
สมบัติในพุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่
และประชาชนทั่วไปเป็น พ่อจองตะก่านันตา (คำว่า พ่อจอง หมายถึง ผู้สร้างวัด /
ตะก่า หมายถึง
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลและนอนวัดตลอดพรรษา)เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ของพ่อเฒ่านันตา
(อู๋) จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดจองคา เป็น วัดนันตาราม เป็นเกียรติแด่ท่าน
และตระกูล วงศ์อนันต์
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ
๑ . วิหารไม้ รูปทรงแบบไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๘
๒. พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย ไม้แกะสลักศิลปะไทยใหญ่ อัญเชิญมาประดิษฐาน
พ.ศ. ๒๔๗๖
๓. เจดีย์แบบไทยใหญ่ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแปดเหลี่ยม สูง ๙ ศอก สร้าง พ.ศ.
๒๕00
๔. พระอุโบสถ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕
๕. พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ สร้างจากไม้หอมนานาชนิดในเมืองต่องกี ประเทศพม่า
นำมาตากแห้งและบดให้ละเอียด ผสมกับยางรัก
เถ้าฟางเผ่าคลุกกับดินจอมปลวกหรืออิฐปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง พ่อเฒ่าผก่า
หัวอ่อนแม่เฒ่าป้องสุมาลย์เจริญ สร้างถวาย
๖. พระเจ้าแสนแซ่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย
ขนาดหน้าตักกว้าง /๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว แม่เฒ่าบัว ได้บูชามาจากพ่อเฒ่าส่างติ
(พี่ชาย) ในราคา ๑ ชั่ง (๘๐ บาท) นำมาถวายวัด
(ปลัดอำเภอท่านหนึ่งว่าจ้างเกวียนชาวบ้านในราคา ๗๕ สตางค์ บรรทุกมาจาก บ้านถ้ำ
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ นำมาตั้งไว้ใต้ถุนเรือนพ่อเฒ่าส่างติ) กรมศิลปากร
ได้จดทะเบียนรับรองเป็นวัตถุโบราณไว้แล้ว
๗. พระพุทธรูปหินขาว (หยกขาว) ศิลปะแบบพม่า หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว
แม่คำหล้า วาระกุล สร้างถวาย
Loading...
|