อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ
เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามมากครับ อยู่ที่บ้านทุ่งติ้ว ต.ภูซาง
ห่างจากน้ำตกภูซางเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้พระราชทานพระราชกระแสให้
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เข้าช่วยเหลือเกษตรกรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อำเภอภูซาง
จังหวัดพะเยา ในเรื่องราคากระเทียมตกต่ำ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2549
การดำเนินการครั้งที่ 1
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 นายลลิต ถนอมสิงห์
ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักมูลนิธิชัยพัฒนา ติดตามปัญหาราคากระเทียมตกต่ำ
และหาแนวทางในการแก้ไข โดยมีโครงการชลประทานพะเยาเป็นผู้ประสานงานในพื้นที่
จ.พะเยา
การดำเนินการครั้งที่ 2
วันที่ 30 มีนาคม 2550 ม.ร.ว.ศรีเฉลิม กาญจนภู
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ 2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
ร่วมกับโครงการชลประทานพะเยา และกลุ่มผู้ใช้น้ำ แก้ไขปัญหาโดยการตั้ง
กลุ่มผู้ปลูกพืชหลังนา
โดยเบื้องต้นมีผู้สมัครใจเข้าร่วมในการนำร่องปลูกกระเทียม ปี 2550/51 จำนวน 27
ราย รายละ 2 ไร่
การดำเนินการ
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดร่างกฎระเบียบของกลุ่ม
การกำหนดพื้นที่การปลูกพืชหลังนา
แจ้งการปลูกพืชหลังนา ชนิด และจำนวนพื้นที่ ที่จะปลูก
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
โครงการชลประทานพะเยา ดูแลการหาพื้นที่ในการก่อสร้างอาคาร ได้แก่
โรงเก็บกระเทียม โรงปุ๋ยอินทรีย์ ลานตาก ห้องประชุม และ
ลานซื้อขายสินค้าเกษตรและระบบสาธารณูปโภค
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงใหม่
ให้ดูแลด้านพันธุ์กระเทียมที่จะนำมาปลูกในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ให้ดูแลด้านตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของกระเทียมในพื้นที่ตลอดจน ให้มาตรฐาน GMP
แก่กระเทียมในพื้นที่โครงการ
สำนักงานตรวจบัญชีจังหวัดพะเยา
ให้ดูแลด้านการทำกฎระเบียบข้อตกลงตลอดจนการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม
กรมพัฒนาที่ดินจังหวัดพะเยา
ให้ดูแลด้านการปรับปรุงดินและการก่อสร้างโรงปุ๋ยหมัก ตลอดจนดูแลการผลิตปุ๋ยหมัก
พาณิชย์จังหวัดพะเยา ดูแลด้านการตลาดและราคาสินค้าเกษตร
องค์การบริหารส่วนตำบลภูซาง ดูแลด้านการติดต่อและรับทราบปัญหาในการดำเนินงาน
สำนักงานเกษตรอำเภอภูซาง ดูแลด้านการตรวจสอบโรคพืช
การดำเนินการครั้งที่ 3
วันที่ 26 กรกฎาคม 2550 ม.ร.ว.ศรีเฉลิม กาญจนภู ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ
2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับส่วนราชการประชุม
ประชุมหารือรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกพืชหลังนา
โดยขอความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการครั้งที่ 4
วันที่ 25 สิงหาคม 2550 ม.ร.ว.ศรีเฉลิม กาญจนภู
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ 2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
ร่วมกับส่วนราชการประชุม กำหนดสถานที่ ที่จะดำเนินการ และลงดูพื้นที่
เพื่อดูความเหมาะสมในการดำเนินการ
การดำเนินการครั้งที่ 5
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 นายลลิต ถนอมสิงห์
ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักมูลนิธิชัยพัฒนา
ประชุมหารือเกี่ยวกับข้อสรุปในการดำเนินการของกลุ่มผู้ปลูกพืชหลังนา
ประเด็นการหารือในที่ประชุม
การจัดเตรียมพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน ผู้รับผิดชอบ คือ
กรมชลประทาน
การลดต้นทุนการผลิต โรงปุ๋ยหมัก การหรับปรุงบำรุงดิน
การลดใช้สารเคมีและสารกำจัดแมลง ผู้รับผิดชอบ คือ กรมพัฒนาที่ดิน
การทดสอบพันธ์กระเทียม ลดการใช้สารป้องกันโรค และการทดสอบพืชทดแทน
ผู้รับผิดชอบ คือ กรมวิชาการเกษตร
การอบรมให้ความรู้ การบริหารจัดการกลุ่ม การปลูกกะเทียมแบบอินทรีย์
การผลิตกระเทียมให้มีคุณภาพ การทำบัญชีเบื้องต้น การแปรรูปกระเทียม
ผู้รับผิดชอบ คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์
การส่งเสริมการผลิตกระเทียมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ผู้รับผิดชอบ คือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
เงินกองทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเบื้องต้น ผู้รับผิดชอบ คือ
กลุ่มฯอ่างห้วยไฟ
การดำเนินการครั้งที่ 6
วันที่ 24 มิถุนายน 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
ร่วมประชุมหารือกับหน่วยราชการ
ประเด็นการหารือในที่ประชุม
การดำเนินการในการใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน ขนาด 57
ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา เป็นพื้นที่โครงการ
การวางผังการใช้ที่ดินในพื้นที่โครงการ
การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2 คณะ คือ คณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงาน
การขยายเขตไฟฟ้าเข้าพื้นที่โครงการ พร้อมระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ผู้รับผิดชอบ คือ
สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยา
โครงการ/กิจกรรม ต่าง ๆ ที่หน่วยราชการจะดำเนินการในพื้นที่โครงการ