ระเบียงจิตรกรรม
ภาพวาดบนกระเบื้อง 56ช่อง
คัดย่อตอนสำคัญๆจากพงศาวดาร3ก๊กตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ
สามก๊ก
พงศาวดารประวัติศาสตร์จีนที่ได้รับการเล่าขานมาหลายต่อหลายรุ่น
ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ
และเหนือสิ่งอื่นใดพงศาวดารสามก๊กยังคงความนิยมทุกกลุ่ม
ทุกเพศ
ทุกวัยมาถึงทุกวันนี้
โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจ
คติต่างๆที่แฝงในเนื้อหาตำรายุทธพิชัยสงครามในอดีตถูกนำมาประยุกต์และยึดถือเป็นตำราในการดำเนินชีวิตและสำหรับการบริหารธุรกิจ
คนส่วนใหญ่รับรู้เรื่องราวแง่มุมต่างๆของพงศาวดารสามก๊กผ่านลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับการแปลและตีพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า
รวมไปถึงผ่านภาพเคลื่อนไหวของตัวละครสมมติในจอโทรทัศน์
นอกเหนือจากสื่อดังกล่าวยังมีสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งนำเสนอเรื่องราวประวัติพงศาวดารสู่สาธารณชน
บนเนื้อที่กว่า 36 ไร่
ในอำเภอบางละมุง
จังหวัดชลบุรี
เรียกว่า "อุทยานสามก๊ก"
สถาปัตยกรรมจีนตามหลักฮวงจุ้ย
บนเนื้อที่กว่า
36
ไร่อันเป็นที่ตั้งของ
"อุทยานสามก๊ก"
ตำบลโป่ง
อำเภอบางละมุง
จังหวัดชลบุรี
ได้รับการวางรูปแบบตามหลักฮวงจุ้ย
รายล้อมด้วยต้นไม้
ต้นอโศก-อินเดีย
ติดภูเขา มีหยินหยางปรัชญาแห่งความสมดุลของจีน
จากคำบอกเล่าของหญิงสาวเจ้าหน้าที่ดูแลอุทยานทำให้ทราบความเป็นมาของอุทยานสามก๊กนั้นสร้างขึ้นตามเจตนารมณ์ของคุณเกียรติ
ศรีเฟื่องฟุ้ง
โดยสถาปัตยกรรมแบบจีนได้รับการออกแบบโดย
อาจารย์ธีรวัลย์ พัธโนทัย
และอาจารย์รณฤทธิ์
ธนโกเศศ 2
สถาปนิกแห่งกรมศิลปากร
หลักในการออกแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและจีน
แนวความคิดในการวางผังภูมิสถาปัตยกรรมบริเวณอุทยานสามก๊ก
สืบเนื่องจากการกำหนดภูมิจักรวาลศึกษา
จากลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งเป็นพื้นที่ลาดต่ำไปทางทิศใต้
โดยมีภูเขาขนาดย่อมทอดตัวอยู่ทางทิศเหนือ
จึงกำหนดทิศทางอาคารประธานหรืออาคารกลางบนจุด
ที่สูงที่สุดของพื้นที่ทั้งหมด
ทางทิศเหนือซึ่งมีระดับสูงกว่าอาคารอื่นๆ
พร้อมกับหันหน้าไปทางทิศใต้
ทำให้ภูเขากลายเป็นฉากหลังของอาคารประธาน
กำหนดระดับของการเข้าถึงตัวอาคารประธาน
มีลักษณะการยกระดับขึ้นไปเป็นระยะๆจนเชื่อมต่อกับบันไดทางขึ้น
บริเวณโดยรอบวางผังแบบรูปทรงเรขาคณิต
ตามหลักการวางผังบริเวณที่เป็นมงคลมาแต่โบราณทั้งของไทยและจีน
จากนั้นได้กำหนดแนวแกนหลักตามทิศเหนือ-ใต้
โดยมีซุ้มประตูทางเข้าวางเป็นตัวกั้นแบ่งพื้นที่ส่วนอนุสรณ์สถานซึ่งอยู่ทางทิศเหนือกับส่วนบริการทางทิศใต้
วางแนวแกนตะวันออก-ตะวันตกเพื่อเป็นที่ตั้งของอาคารศาลเจ้าแม่กวนอิมกับอาคารอเนกประสงค์
โดยมีระเบียงโค้งจันทร์เสี้ยวเป็นตัวเชื่อมต่อและโอบล้อมอาคารทั้ง
3
หลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
ตึกสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน
เรียกว่าเก๋ง
มีทั้งหมด 3 อาคาร
อาคารกลางหรืออาคารประธานมีความสูงที่สุด
มีทั้งหมด 4 ชั้น
หลังคาเป็นกระเบื้องสีน้ำเงินเข้มสื่อถึงทะเลและท้องฟ้า
ประดับรูปประติมากรรมเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อดั้งเดิมของจีน
อย่างเช่น
คนชราขี่สัตว์รูปร่างคล้ายไก่
(เซียนเหญิน) ,มังกรสี่ขาท่านั่ง
รูปร่างคล้ายสัตว์จตุบาท
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
"จตุบาทพันธุ์มังกร"
เป็น 1 ในบุตรชายทั้ง 9
ของพญามังกร ,หงส์
สัตว์จตุบาทรูปลักษณะหงส์
เดิมที่หงส์เป็นส่วนประดับตัวหลัก
แต่เนื่องจากฮ่องเต้เทียบกับมังกร
หงส์ซึ่งหมายถึงฝ่ายหญิง
จึงเป็นรองรูปประดับสัตว์จตุบาท
,สิงห์สัญลักษณ์ความกล้าหาญ
ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาอาคาร
ส่วนยอดของสถาปัตยกรรมประยุกต์ระหว่างหัวเม็ดแบบไทย(ส่วนที่สูงที่สุดของสถาปัตยกรรมไทย)และหัวเม็ดแบบจีน
คล้ายหยาดน้ำค้างประดับด้วยเซรามิกทอง
ทางขึ้นอาคารมีพื้นปูนปั้นรูปมังกรสองตัว
ลักษณะเดียวกับมังกรในพระราชวังต้องห้ามของจีน
แต่มังกรนี้มี 4
เล็บเนื่องจากว่าถ้ามี
5
เล็บจะเป็นมังกรของกษัตริย์
ภายในอาคารชั้นที่
1 เป็นรูปปั้น ประวัติ
และจดหมายปิดผนึกถึงลูกหลานของคุณเกียรติ
ศรีเฟื่องฟุ้ง
เบื้องหลังรูปปั้น
เป็นจดหมายปิดผนึกถึงลูกหลานเต็มไปด้วยอักษรหลายร้อยถ้อยคำเล่าประสบการณ์เคล็ดลับสู่ความสำเร็จและคติธรรมในการดำเนินชีวิต
ฐานของเสาทุกต้นที่อยู่ในอาคารวาดลวดลายแบบไทยแสดงผสมผสานกับรูปปั้นกังไส(ตุ๊กตากระเบื้อง)ตัวเอกจากพงศาวดารสามก๊ก
ชั้นที่
2
เป็นภาพวาดประวัติศาสตร์สีน้ำมัน
บันทึกเรื่องราวชีวิตของขงเบ้งทั้งหมด
มีทั้งหมด 8 ตอน
ชั้นที่ 3
เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวของ
ขงเบ้ง ช่วงที่ 2
เป็นภาพเขียนฝาผนังยาว
100 เมตรทั้งหมด 8 ตอน
ฝีมือจิตรกรชาวจีนใช้เวลาเขียนภาพฝาผนังนี้นาน
5 ปีเต็ม
ชั้นที่
4
หอแก้วประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
พบที่ถ้ำแห่งหนึ่งในลำพูน
ดร.วรภัทร ภู่เจริญ
มอบให้อุทยานฯเพื่อเป็นที่สักการบูชา
หันหน้าออกทางทะเลตามหลักฮวงจุ้ย
พร้อมรูปปั้นพระสังกัจจายน์
และพระถังซำจั๋ง
ระเบียงภายนอกเป็นจุดชมวิว
จากชั้นนี้หากฟ้าเปิดช่วยให้มองเห็นพระพุทธรูปเลเซอร์
หน้าผาเขาชีจรรย์
ระเบียงจิตรกรรมเล่าตำนานสามก๊ก
จากกึ่งกลางระหวางอาคารกลาง
เป็นที่ตั้งของลูกหิน
2
ลูกหมุนไปตามแรงดันของน้ำแทนสัญลักษณ์ของหยินและหยางเคียงคู่
เปรียบเหมือนเมื่อมีความดีย่อมมีความชั่ว
เมื่อมีผู้หญิงย่อมมีผู้ชายคู่กัน
และจากตัวอาคารกลางฝั่งขวา
เชื่อมด้วยทางเดินไปยังเก๋งอเนกประสงค์
สำหรับจัดกิจกรรม
ภายในประดับตกแต่งด้วยตุ๊กตากระเบื้องจีน
อาทิ 18 อรหันต์
ตามประวัติเล่าว่าเดิมทั้ง
18
องค์เคยเป็นโจรสลัดปล้นฆ่าอยู่กลางทะเล
วันหนึ่งทั้งหมดสำนึกได้ว่าการปล้นฆ่าเป็นการสร้างบาปและทุกข์ให้แก่คนทั่วไป
จึงตัดสินใจโยนอาวุธทั้งหมดทิ้งลงทะเล
แต่คิดได้ว่าหากมีใครเก็บอาวุธใต้ทะเลได้
อาจจะเอาไปทำร้ายผู้อื่นต่อ
ทั้งหมดจึงโดดลงไปในทะเลอีกครั้ง
เพื่องมอาวุธขึ้นมาจากทะเล
พอขึ้นมาจากทะเลได้
ทุกคนก็กลายเป็นพระอรหันต์
พร้อมทั้งอาวุธก็กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์
18
อย่างประจำแต่ละองค์
จึงมีชื่อเรียกว่า 18
อรหันต์มาจนถึงทุกวันนี้
ฝั่งซ้ายของอาคารกลางเป็นเก๋งประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์พระแม่กวนอิม
สลักจากหินอ่อนปางประทับนั่งสูง
4 เมตร
นำมาจากประเทศจีน
ด้านนอกเป็นลานไม้โบราณ
ขนาดใหญ่อยู่ในสภาพแข็งตัวกลายเป็นหินหรือฟอสซิล
นอกจากเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมจีน
ซึ่งดูราวกับได้เยี่ยมกรายก้าวข้ามไปยังประเทศจีนอย่างไรอย่างนั้น
ภายในอุทยานยังมีระเบียงจิตรกรรมบนกระเบื้องกังไสจีนแสดงฉากจากพงศาวดารจีน
สามก๊ก จำนวน 56 ตอน
ความยาวรวม 240 เมตร
คัดย่อตอนสำคัญตั้งแต่ตอนต้นเรื่องสามวีรบุรุษร่วมสาบานในสวนท้อ
กระทั่งถึงตอนสุดท้าย
สุมาเอี๋ยนได้รวมแผ่นดินเป็นเอกภาพ
รวบรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
ถือได้ว่านอกจากอุทยานสามก๊กจะย่อตำนานพงศาวดารซึ่งมีความยาวอย่างมากให้ได้รับรู้เรื่องราวของสามก๊กที่นำเสนอผ่านระเบียงจิตรกรรม
และตัวละครเอกในรูปแบบของรูปปั้นกังไสกระเบื้อง
ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ย่อความเป็นจีนผ่านสถาปัตยกรรมจีนร่วมสมัยมาตั้งไว้ในอุทยาน
***
สามก๊ก
อมตะวรรณกรรมจีน
พงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กถือว่าเป็นที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก
เริ่มจากแพร่หลายในประเทศรอบข้างที่มีการติดต่อใกล้ชิดกับจีน
อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น
ญวน
ต่อมาแพร่หลายไปทั่วโลก
วรรณกรรม
3 ก๊ก
ฉบับสมบูรณ์เล่มแรกคือ
ซานกั๋วจื้อผิงหั้ว
เป็นนิทานชาวบ้าน
รวบรวมเป็นเล่มครั้งแรกใช้ชื่อว่า
"ซานกั๋วจื้อผิวหั้ว"
ตีพิมพ์ในยุคราชวงศ์หงวน
ช่วงจื้อจื้อศก(ค.ศ.1321-1323)
หลัวก้วนจง(หลอกว้านจงหรือล่อก้วนตง)คนยุคราชวงศ์หงวน
ต่อเนื่องกับราชวงศ์หมิงได้ปรับปรุงต่อเติม
สร้างสรรค์เป็นนิยายเรื่องยาว
ดำเนินเรื่องสามก๊กตั้งแต่ต้นจนจบ
ใช้ชื่อว่า "ซานกั๋วจื้อทงสูเหยี่ยนอี้"แบ่งเป็น
240 ตอน
ฉบับที่ยังคงได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบันคือ
ฉบับซานกั๋วเหยี๋ยนอี้ที่เหมาจงกังปรับปรุงมีคุณภาพด้านวรรณศิลป์สูงขึ้น
จึงได้รับความนิยมสูงสุด
ในประเทศไทย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่1
มีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีน
เรื่อง 3 ก๊ก ไซฮั่น
และพงศาวดารรามัญเรื่องราชาธิราช
เพื่อให้คนไทยใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม
เรื่อง 3
ก๊กแปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน)ความยาวทั้งสิ้น
95 เล่ม
สันนิษฐานว่าไม่ได้แปลทั้งหมด
เนื่องจากสำนวนแปลตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง
กระทั่งพ.ศ.2408พิมพ์เป็นเล่มหนังสือครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล
ในสมัยรัชกาลที่ 4
พิมพ์เป็น 4
เล่มขายเล่มละ 20 บาท
ได้รับความนิยมมาก
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาชำระสอบทานต้นฉบับ
แล้วพิมพ์ในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าฯ
ต่อมาโรงพิมพ์พรรฒธนากรได้ขออนุญาตพิมพ์จำหน่าย
ในชื่อ "หนังสือสามก๊ก
ฉบับราชบัณฑิตยสภา"
เมื่อพ.ศ.2471
หนังสือสามก๊กที่แพร่หลายหลังจากนั้น
พิมพ์ตามต้นฉบับหนังสือสามก๊ก
ฉบับราชบัณฑิตยสภามาตลอด
กระทั่งมีการชำระสอบทานต้นฉบับอีกครั้งโดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้าร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ
เรื่องราวสามก๊กสนุกสนานตรึงใจผู้คน
จึงมีนักเขียนไทยยุคต่อๆมานำเรื่องราวสามก๊กมาเขียนตีพิมพ์จำหน่ายอีกหลายๆท่าน
อาทิ
สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบ(โชติ
แพร่พันธุ์)
สามก๊กฉบับนายทุนของ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ,พิชัยสงครามสามก๊กของสังข์
พัธโนทัย ,ฉบับแปลใหม่
ของวรรณไว พัธโนทัย ,สามก๊กฉบับสมบูรณ์ของวิวัฒน์
ประชาเรืองวิทย์
ซึ่งถือเป็นฉบับแปลสมบูรณ์ที่สุด
และที่ได้รับการกล่าวขวัญมากและกลายเป็นหนังสือ
สามก๊กที่ขายดีที่สุดคือ
สามก๊กฉบับคนขายชาติ
ของเรืองวิทยาคม |
|