เมืองพระรถ
โบราณสันนิษฐานว่าเป็นเมืองสมัยทวารวดีและเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี
ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1,550 x
850 ม. อยู่ทางด้านตะวันตกของถนน
พื้นที่ภายในเมืองส่วนใหญ่กลายเป็นไร่นาไปแล้ว
โคกเนินใหญ่ตรงกลางเมืองปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านและวัดหน้าพระธาตุ
ส่วนกำแพงเมืองและคูเมืองด้านตะวันออกถูกถนนทับพอดี
ที่ตั้งและการเดินทาง จากตัวเมืองพนัสนิคม
ให้ตรงไปตาม ถ. สุขประยูร ซึ่งจะไปต่อกับทางหลวงหมายเลข 315 ไปฉะเชิงเทราประมาณ
1 กม. จากตัวอำเภอ หรือเลยหลักกม. 27 จะมีทางแยกซ้ายเข้าวัดหน้าพระธาตุ
เลี้ยวซ้ายและตรงเข้าไปตามทางลูกรังจนถึงวัดหน้าพระธาตุ
คนลาวชอบเล่านิทานพระรถเมรี
ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอินทอาษา
ชาวเมืองเวียงจันทน์
ได้พาชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ไม่เข้าด้วยเจ้าอนุวงศ์มาขอพึ่งพระบรมโอธิสมภาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
จึงโปรดเกล้าฯให้ชาวลาวไปตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทรา
ตั้งเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่า"บ้านแดนป่าพระรถ"
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้ว พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
ได้พระราชทานนามว่า "พนัสนิคม" และให้พระอินทอาษาเป็นผู้สำเร็จราชการ
คนพนัสนิคมปัจจุบันจึงเป็นเชื้อสายของคนลาวที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ครั้งนั้น
นิทานเรื่องพระรถ-เมรี เป็นเรื่องราวที่มาจากปัญญาสชาดกที่คนลาวในภาคอีสาน
เขมร และทางเหนือของไทยชอบเล่ากัน เมื่อคนลาวมาอยู่ที่พนัสนิคมแล้ว
เรื่องพระรถจึงตามมาด้วย ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ใน อ.พนัสนิคม
จึงมักตั้งตามชื่อเรียกในนิทาน