วัดจองคำ
ตั้งอยู่บริเวณหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างโดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่ เป็นศิลปะแบบไทย ที่แปลกและ
งดงามมาก เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต สร้างโดยช่างฝีมือ ชาวพม่า และมีพระพุทธรูป ขนาดใหญ่
จำลองมาจาก พระศรีศากยมุณี วัดสุทัศน์ ประดิษฐานไว้ เป็นพระประธานของวัดครับ
วัดจองคำ อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ.
2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก
หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง
ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา
ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระประธาน มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85
เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า
และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์
เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว
สิงที่น่าสนใจในวัดจองคำ
เจดีย์วัดจองคำ ชาวไทยใหญ่เรียกว่า "กองมู" เจดีย์มีลักษณะคล้ายมณีทบ
โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่รูปทรงจุฬามณี ความสูง 32 ศอก ฐานสี่เหลี่ยมมีมุข 4 ด้าน
พร้อมสิงห์ด้านละหนึ่งตัว ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งด้านละหนึ่งองคและเริ่มสร้างเมื่อเดือนมีนาคม
พ.ศ.2456 สร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม พ.ศ.2458 สร้างขึ้นโดยศรัทธาขุนเพียร
(พ่อเลี้ยงจองนุ) พิรุญกิจและแม่จองเฮือนคหบดี
ชาวแม่ฮ่องสอนและในองค์พระเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสาลีริกธาตุไว้
เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่มานมัสการองค์พระเจดีย์
อุโบสถ เป็นอาคารรูปทรงมณฑปรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 12
แมตร หลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพระเจดีย์ 5 ยอด
ภายในเขียนภาพพุทธประวัติที่ฝาผนัง บานประตู หน้าต่าง ทำด้วยไม้แกะสลัก
ภายในมีพระประธาน
ในอุโบสถทางวัดได้ทำพิธีเททองหล่อขึ้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2522
เบิกพระเนตรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2523วิหารหลวงพ่อโต
ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน คือ "หลวงพ่อโต" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2496
โดยช่างชาวพม่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 ม. จำลองมาจาก
พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม
วิหารแห่งนี้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ผสมฝรั่ง อาคารมีผังเป็นรูปตัวแอล
ผนังก่ออิฐถือปูน ประตูหน้าต่างตอนบนโค้ง ประดับลวดลายแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก
หลังคามุงสังกะสี เชิงชายมีลูกไม้ฉลุแบบขนมปังขิง
วัดจองกลาง ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง
ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีกเช่น
ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก
ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจาก
พม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400นอกจากนี้ทางด้านจิตรกรรม ยังมีภาพวาดบนแผ่นกระจก
เรื่องพระเวสสันดรชาดกและภาพประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
ตลอดจนภาพแสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นหลายภาพ
มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษา
พม่า และมีบันทึกบอกไว้ว่าเป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่จากมัณฑะเลย์