ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดแม่ฮ่องสอน >อุทยานแห่งชาติแม่เงา/ 

อุทยานแห่งชาติแม่เงา/

 

อุทยานแห่งชาติแม่เงา

ข้อมูลทั่วไป
แม่น้ำเงาเป็นแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งมีความใสสะอาดมาก โดยเฉพาะในหน้าแล้งสามารถมองเห็นเงาที่สะท้อนอยู่ในน้ำได้ จึงเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำ รวมทั้งยังมีสภาพป่าดงดิบริมฝั่งน้ำอันบริสุทธิ์งดงามที่หาพบได้ยากจากแม่น้ำอื่น อุทยานแห่งชาติแม่เงามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 257,650 ไร่ หรือ 412.24 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

จากการที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่ารอบเขตอุทยานแห่งชาติแม่โถ เพื่อที่จะผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม และได้พบว่าพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ และรายงานผลการสำรวจนี้ให้กรมป่าไม้ทราบ กรมป่าไม้จึงได้ออกคำสั่งที่ 1061/2536 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2536 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูกระดึง กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้น พื้นที่ป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย แปลงที่ 2 และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ในระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 17 สิงหาคม 2536

ต่อมากรมป่าไม้ได้ออกคำสั่งที่ 614/2537 ลงวันที่ 17 เมษายน 2537 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งป่าท่าสองยาง จังหวัดตาก ป่าอมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ และจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ด้วย และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 วันที่ 18 พฤษภาคม 2538 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป มีเนื้อที่ประมาณ 257,650 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติมีสภาพเป็นเนินเขาสูงชัน จึงเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสายซึ่งส่วนใหญ่ลำน้ำเหล่านี้ไหลไปลงแม่น้ำสาละวิน จึงมีสภาพเป็นต้นน้ำลำธารของ สหภาพพม่าด้วยระบบทางน้ำธรรมชาติของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาตินี้ส่วนใหญ่มีรูปแบบคล้ายต้นไม้ ซึ่งรูปแบบชนิดนี้มีแม่น้ำใหญ่เปรียบเสมือนลำต้นและมีสาขาย่อย ๆ แยกออกเป็นกิ่งก้านของลำต้น ลำน้ำส่วนใหญ่จะไหลจากทิศตะวันออกลงสู่ทิศตะวันตก ลำน้ำจะมีน้ำไหลตลอดปี มีลำน้ำและลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่

น้ำแม่เงา เป็นลำน้ำสายสำคัญที่สุดในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นลำน้ำที่ยาวที่สุดไหลผ่านพื้นที่จัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ซึ่งไหลผ่านพื้นที่มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร โดยเริ่มจากบริเวณบ้านสบโข่งไหลขึ้นเหนือถึงบริเวณสบเงา มาบรรจบกับแม่น้ำยวม แม่น้ำเงาเป็นเส้นแบ่งของจังหวัด โดยพื้นที่ตะวันตกเป็นอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และพื้นที่ทางตะวันตกจะเป็นอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะของลำน้ำมีความใสมาก จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำเงา ความกว้างประมาณ 10-20 เมตร ไหลคดเคี้ยวไปมาในฤดูฝนน้ำจะเชี่ยวมาก ชาวเขาจะใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นทางคมนาคมโดยทางเรือ ในการติดต่อกับอำเภอสบเมย ลำห้วยในพื้นที่ที่ไหลลงสู่ แม่น้ำเงามีหลายสาย เช่น ห้วยแม่เลาะน้อย ห้วยแม่บาง ห้วยแม่เละละโคร ห้วยโอโละโกร ห้วยโกงอูม เป็นต้น

น้ำแม่ยวม ไหลมาจากอำเภอขุนยวม ผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง มาบรรจบกับแม่น้ำเงาที่บ้านสบเงา ตำบลแม่สอด อำเภอสบเมย และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเมยที่บ้านสบยวม ตำบลแม่สามแลบ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสายนี้ยาวประมาณ 215 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของจังหวัด แม่ฮ่องสอน ช่วงที่ไหลผ่านอุทยานฯ ยาวประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ แม่น้ำสายนี้ไหลจาก ทางทิศเหนือลงสู่ทางใต้

แม่น้ำริด ไหลผ่านตำบลกองก๋อย ตำบลแม่สวด บรรจบกับแม่น้ำยวมทางด้านใต้ของบ้านแม่สวด ลำน้ำนี้ไหลจากทางทิศตะวันออกมาทางตะวันตก อยู่เหนือสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา ห้วยแม่โขง ไหลมาจากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มาบรรจบกับน้ำแม่เงาที่บ้านสบโขง

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแม่เงาประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่างๆ ดังนี้ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,120 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ด้วยสภาพเป็นพื้นที่สูงและเทือกเขา จึงทำให้อากาศหนาวเย็นและมีหมอกมาก ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าไม้ในบริเวณที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติแม่เงา จะพบได้ 3 ชนิด คือ
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก และส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบ ป่าชนิดนี้มักจะเกิดตามเนินเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหน้าดินลึก จะพบสองฝั่งลำน้ำเงา ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด ทำให้ป่าดูแน่นทึบเขียวชอุ่มในฤดูฝน พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบมาก ได้แก่ สัก แดง รกฟ้า เก็ดแดง เก็ดดำ ประดู่ ขึ้นปะปนอยู่ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าชนิดต่างๆ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น

ป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติมักจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่ามองดูเขียวชอุ่มตลอดปี และมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พบมากตามยอดเขาสูง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้จำพวกอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา มอส ซึ่งเกาะตามกิ่งไม้ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วยเฟิน กล้วยไม้ดิน พืชตระกูลขิงข่า เป็นต้น

ป่าเต็งรัง พบในบริเวณเนินเขา ไหล่เขาและเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าตระกูลต่างๆ

เนื่องจากพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเป็นภูเขาสูง มีเทือกเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นอย่างดี การลักลอบล่าสัตว์ป่ายังมีน้อย ทำให้สัตว์หลากหลายชนิดอยู่ชุกชุมบริเวณพื้นที่ สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสอบถาม จากร่องรอยและจากการสำรวจในพื้นที่ประกอบด้วย หมูป่า อีเห็นข้างลาย หมีควาย เก้ง ลิง ค่าง ชะนี เลียงผา กระรอกบิน หมาจิ้งจอก หมาไน กระต่ายป่า อ้นเล็ก

นก ที่สามารถพบเห็น ได้แก่ ไก่ป่า นกกาเหว่า นกเอี้ยง นกเขาหลายชนิด นกแซงแซว สาลิกา นกกระปูด นกคุ้มอกลาย นกกาฮัง นกไต่ไม้ นกบั้งรอกใหญ่ นกฮูก นกกระรางหัวขวาน นกขุนแผน นกกระจิบ นกตะขาบทุ่ง

สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบมากได้แก่ งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูเหลือม งูสิง

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่หลายชนิดทั่วไปในพื้นที่ โดยเฉพาะเขียดแลว พบมากในบริเวณน้ำแม่เงา

ปลา จะพบอยู่ตามลำน้ำสายต่างๆ ได้แก่ ปลากระทิง ปลาแรด ปลาเขียวหางแดง ปลาบู่ ปลากดคัง ปลาแข้ เป็นต้น

แม่น้ำเงา
เป็นแม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่นี้เหตุที่ว่าแม่เงา เนื่องจากน้ำที่มีความใสมากจนแลเห็นเงาในน้ำได้ ลักษณะของลำน้ำจะมีความคดเคี้ยวไปตามเกาะแก่งต่างๆ ในฤดูฝนกระแสน้ำจะเชี่ยวมาก ในฤดูแล้งจะเหมาะแก่การล่องแพชมธรรมชาติ เพราะสองฝั่งของลำน้ำจะมีต้นไม้ พันธุ์ไม้ออกดอกให้เห็น เช่น อินทนิล ซึ่งอยู่ริมน้ำจำนวนมาก บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นจุดกางเต็นท์นอนริมแม่น้ำเงาที่สะดวกที่สุด บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเงาเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวกะเหรี่ยงหลายหมู่บ้านที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม สามารถนั่งเรือหางยาวเข้าไปเที่ยวชมหมู่บ้านเหล่านี้ในช่วงเดือนมิถุนายน-มกราคม
กิจกรรม -ชมวัฒนธรรมประเพณี - ล่องแพ/ล่องเรือ - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้

ป่าสักธรรมชาติ
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา พบว่า มีไม้สักที่เกิดตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งป่าสักในสภาพนี้นับวันจะหาดูได้ยากขึ้น นอกจากไม้สักแล้วยังมีพันธุ์ไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะไม้พื้นล่างที่มีลักษณะแปลก ๆ อีกมากมาย จึงเหมาะที่จะจัดให้เป็นที่เดินป่า เพื่อศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ ตลอดจนเป็นสถานที่ค้นคว้าวิจัยอย่างดีต่อไป
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ถ้ำปลา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ อยู่ใกล้กับแม่น้ำเงาทางเหนือของหมู่บ้านอุมโล๊ะ ปัจจุบันเป็นจุดที่ตั้งของบ้านสบแม่แพ ภายในถ้ำจะมีปลาอยู่จำนวนมาก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าปลานี้เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ หากใครนำมารับประทานจะพบภัยพิบัติ
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

น้ำตกโอโละโกร
เกิดจากลำห้วยโอโละโกร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่ เป็นน้ำตกที่สูงใหญ่สวยงามมาก มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เมตร มีน้ำตกตลอดปีแสดงให้เห็นสภาพป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีเส้นทางคมนาคมที่จะเข้าไปถึงน้ำตกแห่งนี้ นอกจากเดินเท้าใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ รวม 2 คืน 3 วัน โดยระหว่างทางจะต้องมีการพักค้างแรมที่บ้านชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง 1 คืน จากนั้นออกเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ถึงน้ำตก เวลากลับจะพักค้างคืนบ้านชาวเขาอีก 1 คืน เดินทางกลับ
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมวัฒนธรรมประเพณี - เดินป่าระยะไกล - เที่ยวน้ำตก

ยอดดอยปุยหลวง
สถานที่อยู่บนสันเขาดอยปุยหลวงใกล้กับบ้านผาแดง ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกโอโละโกร ปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางคมเข้าไปถึง นอกจากการเดินเท้าใช้เวลาไป-กลับ รวม 2 วัน สำหรับจุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความสูงระดับ 1,600-1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล สันดอยจะทอดยาวตลอดแนวไปจนถึงเขตอำเภออมก๋อย ในฤดูหนาวจะมองเห็นคลื่นทะเลหมอกอย่างสวยงาม สภาพภูมิอากาศจะหนาวเย็นและคลื่นลมตลอดปี เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่าแบบผจญภัย และกางเต็นท์พักแรม
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าระยะไกล 

ยอดดอยปุย
สถานที่อยู่ใกล้หมู่บ้านแม่ปะหลวง เส้นทางเข้ามีอยู่ 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกเข้าทางบ้านห้วยม่วงและแม่ปะหลวง เส้นทางนี้สามารถใช้ยานพาหนะได้ เส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางสายบ้านกองอูม ทางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมเดินป่าผจญภัย ทางเข้าสู่หมู่บ้านต่างๆ ไปจนถึงจุดยอดดอยปุย สำหรับจุดชมทิวทัศน์มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ไปได้ไกลถึงพื้นที่อำเภออมก๋อย โดยเฉพาะฤดูหนาวจะมองเห็นคลื่นทะเลหมอกอย่างสวยงาม สภาพภูมิอากาศหนาวเย็นและคลื่นลมตลอดปี
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี

น้ำตกแม่วะหลวง
เกิดจากลำห้วยแม่วะอยู่ที่บ้านแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ความสูงประมาณ 35 เมตร ลดหลั่นกันลงไปหลายชั้น สำหรับเส้นทางเดินเท้า จะเริ่มเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เงาขึ้นสู่น้ำตก ระหว่างการเดินทางจะแวะชมพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ หรือส่องนกพันธุ์แปลกๆ ก็ได้
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่แจ
เกิดจากลำห้วยแม่ลาคีไหลลงสู่แม่น้ำเงา อยู่ในบริเวณบ้านแม่ลาคี เดินทางจากริมถนนสายแม่สอด-แม่สะเรียง เข้าจุดน้ำตกประมาณ 1 กิโลเมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่ลออ
เกิดจากลำห้วยแม่ลออไหลลงสู่น้ำเงา ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางสายอำเภอแม่สอด-แม่สะเรียง เป็นน้ำตกที่สวยงาม เส้นทางเดินเท้าเข้าไปประมาณ 400 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

ถ้ำแม่อมกิ
จุดที่ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านแม่อมกิ ลักษณะเป็นถ้ำน้ำลอดไหลออกมาสู่ปากถ้ำ สภาพภายใน ถ้ำยังมีหินงอก หินย้อยที่สวยงามมาก
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

น้ำตกบูรณประภา
เกิดจากลำห้วยทีเปอโกร อยู่ใกล้เส้นทางสายอำเภอแม่สอด-แม่สะเรียง บ้านแม่เหว่ยโพคี เส้นทางเดินเท้าเข้าไปประมาณ 500 เมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่เงา
บ้านแม่เงา หมู่ 8 ต.แม่สวด อ. สบเมย จ. แม่ฮ่องสอน 58110 

การเดินทาง
รถยนต์
เริ่มจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอแม่สะเรียง แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ถึงอำเภอสบเมย ระยะทาง 25 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก 15 กิโลเมตร ถึงบ้านแม่เงา แยกซ้ายไปตามถนนคอนกรีต ระยะทาง 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เงา ในฤดูฝนและฤดูหนาวสามารถเดินทางโดยเรือยนต ์จากบ้านแม่เงาไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติถึงบ้านแม่เงาได้

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง



ขุนเขาทุ่งหญ้าทะเลหมอกที่ดอยปุยหลวง
เปิดศักราชปีใหม่ด้วยไปค้นหาภาพความงามของดอยปุยหลวง หรือดอยคุยหลวง ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา ที่มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก

จุดเริ่มต้นของการเดินทางเพื่อค้นหาภาพความงามของขุนดอยปุยหลวง อยู่ที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา เป็นอุทยานฯ ที่มีจุดพักตั้งแคมป์ที่สวยงามท่ามกลางป่าสักธรรมชาติ และบรรยากาศสายน้ำแม่เงาที่ไหลผ่าน ก่อนที่จะไปบรรจบกับลำน้ำยวมต่อไป ชื่อดอยปุยหลวงแห่งนี้ ค่อนข้างจะสับสนชื่อกับดอยปุยหลวง บ้านห้วยฮี้ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีชื่อเหมือนกัน ดังนั้นอาจต้องจำแนกไปเป็นดอยปุยหลวงแม่เงาก็น่าจะแบ่งแยกได้ชัดเจนที่สุด

การเดินทางสำรวจยอดปุยหลวง ในอุทยานแห่งชาติแม่เงา เป็นการค้นหาภาพทะเลหมอกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเมืองไทย  เราต้องหาโอกาสจังหวะช่วงฤดูกาลที่เหมาะสม  ควรเป็นช่วงฤดูหนาวภาพของทะเลหมอที่เกาะตัวกันแน่น รวมถึงทุ่งหญ้าสีทอง พระอาทิตย์ดวงกลมโต และความหนาวเย็นที่เป็นบรรยากาศของการเดินทางท่องเที่ยวป่า “คุณต้องไปเริ่มต้นเดินป่าที่บ้านกะเหรี่ยงแม่หลุยหลวง ต้องใช้รถโฟร์วิลเข้าไปส่ง และเริ่มเดินจากหมู่บ้านใช้เวลาประมาณ  4-5 ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง และถ้าจะเอาลูกหาบ ก็จะจัดหาให้”

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา ได้ชี้แจงข้อมูลการเดินป่าดอยปุยหลวง ที่เราได้เลือกเส้นทางเดินป่าขึ้นดอยปุยหลวง โดยใช้เวลา 2 วัน 1 คืน เพื่อพิสูจน์หาความงามของขุนเขาและสายหมอกที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก แต่  เริ่มต้นจากอุทยานฯ แม่เงา  ไปยังบ้านแม่หลุยหลวง ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงกับระยะทาง 20 กม. บางช่วงต้องใช้ทักษะการขับออฟโรดเต็มรูปแบบ เส้นทางสูงชัน ทางแคบ กว่าจะถึงหมู่บ้านก็ลุ้นจนเหงื่อตกเหมือนกัน ผืนฟ้าที่อึมครึมเป็นสีขาวเทา ไม่มีแสง ผืนฟ้าถูกปกคลุมด้วยกลุ่มเมฆหมอก จนหวั่นใจไปว่าสภาพอากาศที่เห็นแจ่มใสที่ผ่านมา ต้องเป็นมาเช่นนี้ซึ่งจะส่งผลให้สภาพอากาศที่ดอยปุยหลวงต้องเปลี่ยนไปเป็นความขุ่นมัว  “เป็นหมอกอย่างนี้ทุกวัน กว่าจะเห็นแสงแดดได้ก็เกือบเที่ยงเลยครับ”

กะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่หลุยหลวงบอกให้เราทราบ จึงโล่งใจว่าสภาพอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามที่คิด และก็เป็นสิ่งที่ดีว่าตอนเดินป่า เพราะอากาศไม่ร้อน แม้ว่าจะเป็นยามสายแล้ว ทำให้เราเดินป่าได้สบาย และน่าเป็นที่ดีใจที่เราได้ยินเสียงชะนีร้องโหยหวนอยู่ในป่า ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผืนป่านี้ยังสมบูรณ์มาก และชุมชนหมู่บ้านก็ยังช่วยดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่

การเดินป่าครั้งป่ามีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทาง และมีกะเหรี่ยงหนุ่มบ้านแม่หลุยหลวงเป็นลูกหาบช่วยแบกสัมภาระอาหาร อุปกรณ์แคมป์ที่ต้องใช้พักพักแรมบนยอดดอยปุย ระหว่างทางเราผ่านไร่ข้าวของชาวกะเหรี่ยง จนกระทั่งเข้าสู่ป่าดงทึบ ที่เราเริ่มเห็นแสงตะวันและผืนฟ้าสีครามขึ้นมาบ้างแล้ว  และเราได้หยุดพักกินข้าวเที่ยง ก่อนที่จะต้องผ่านทางสูงชันยาวของแนวเทือกอีก 2 ลูก

ลักษณะสภาพป่าบนแนวเทือกดอยปุยหลวง (หรือดอยคุยหลวง) มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าก่อ จะพบกล้วยไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสกุลสิงโต สกุลเอื้อง ฟ้ามุ่ย  และที่สะดุดตามากๆ ก็เป็น เอื้องแซะหลวง เป็นกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก ในสมัยโบราณเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนจะนำไปถวายเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่

ข้ามเนินยอดเขาลูกที่สองไปแล้ว เราก็ได้เห็นแนวเทือกดอยปุยหลวง ที่เป็นทุ่งหญ้าบนสันเขา มีแนวทางเดินจนมาถึงสันดอยที่เป็นทุ่งหญ้า มองเห็นยอดเขาอยู่ไม่ไกลนัก ส่วนทางด้านหุบเขาก็เป็นป่าดงทึบและเป็นหุบเขามองเห็นซอกหลืบน้ำตกโอโละโกร ลักษณะสภาพป่ายังคงเป็นดงทึบ ยังได้ยินเสียงนกกกร้องอยู่ไม่ไกลนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นป่าแห่งนี้ยังมีระบบธรรมชาติที่สมบูรณ์ ร่องรอยขี้สัตว์ผู้ล่าก็มีให้เห็นอยู่ด้วย

  เราเลือกพักตั้งแคมป์บนสันดอยที่เป็นทุ่งหญ้าก็น่าจะดีที่สุด เพราะจะได้เห็นพระอาทิตย์ตก แล้วก็จะได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นในบริเวณเดียวกัน อีกทั้งช่วงยามเช้าก็จะเห็นทะเลหมอกขึ้นอยู่ในหุบเบื้องหน้านี้เอง

  ส่วนน้ำทางบุญส่งและนพดลก็ลงไปหา เราเลือกหาทำเลตั้งแคมป์แล้ว ก็เลือกหามุมถ่ายภาพในยามพระอาทิตย์ตก โดยขึ้นไปยังยอดเขาสูง มีระดับความสูงประมาณ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นทำเลที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้รอบด้าน มองเห็นแนวสันดอยที่เป็นทุ่งหญ้าและมีเหลี่ยมผาที่สูงชัน คล้ายกับดอยม่อนจอง

  ยามเย็นที่เราเฝ้ารอแสงสีทองสาดลงทุ่งหญ้า ภาพที่เห็นจึงเป็นทุ่งหญ้าสีทองอร่ามสดสวยกว่าแสงธรรมดา กระทั่งพระอาทิตย์ใกล้ลับเหลี่ยมเขา ภาพความงามของสีสันในธรรมชาติบนดอยก็ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพระอาทิตย์จะพ้นหลังเขาไปแล้ว สีสันที่ปรากฏบนผืนฟ้าก็ยังสวยสดอยู่เสมอ พระจันทร์ดวงเสี้ยวสว่างสดใสอยู่บนพื้นสีที่เราเฝ้าดูอย่างตลอดเวลา จนสิ้นสุดเมื่อความมืดเข้ามาครอบคลุม

  คืนดาวกระจ่างฟ้า ยิ่งเป็นคืนเดือนมืดเราสามารถมองเห็นดงดาวพร่างพราวเต็มผืนฟ้า ทีแรกคิดว่าจะมานอนดูหนาว แต่มิอาจต้านลมหนาวได้จึงต้องเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในเต็นท์ในถุงนอนซะดีกว่า

 ราวตี 5 กว่าๆ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสช่วงเวลาที่สำคัญในการบันทึกภาพแสงสีในห้วงยามเช้า เปิดประตูเต็นท์ออกมาเราก็เห็นทะเลหมอกเกาะตัวอยู่หนาแน่น อยู่ในหุบเขาเบื้องหน้านั่นเอง แต่มุมถ่ายภาพเราอยู่บนมุมสูงที่ต้องเดินขึ้นไปยังยอดเขา สามารถมองเห็นสันทุ่งหญ้าและผืนทะเลหมอกอันกว้างไพศาลได้อย่างมีมิติ

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง ผืนฟ้าเริ่มสว่างขึ้นพร้อมถ่ายทอดแสงสีออกมาอย่างงามตา เราได้เห็นปุยหมอกสีขาวกอดตัวสงบนิ่งอยู่ในหุบเขาเบื้องล่าง แสงสีทองเริ่มสาดจับผืนทุ่งหญ้าจนกลายเป็นสีเหลืองทอง ความงดงามที่ปรากฏจึงเป็นภาพที่ก่อตัวรวมกันทั้งผืนทะเลหมอก ทุ่งหญ้าสีทอง ผืนฟ้าที่ขับสีออกมา จึงภาพที่สวยงามที่ลงตัวอย่างสุดยอดทีเดียว

 ภาพความงดงามที่เกิดขึ้นดอยดอยปุยหลวงนี้  จะมีปัจจัยของด้านสภาพธรรมชาติที่เป็นผืนป่าแหล่งขุนน้ำ มีป่าทึบ มีหุบเขาที่ไม่เป็นช่องลม ประกอบกับสภาพอากาศหนาวเย็นจึงทำให้เกิดทะเลหมอกขึ้นอย่างที่ได้เห็นอย่างหนาแน่น แม้ว่าตะวันจะสายไปนานแล้ว ทะเลหมอกก็ยังสงบนิ่งเป็นปุยขาวครอบคลุมอาณาจักรขุนเขาอย่างกว้างใหญ่

ดอยปุยหลวง หรือ ดอยคุยหลวง เป็นแนวเทือกดอยที่มีอาณาเขตติดต่อกับป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่ ดังนั้นเราจึงได้เห็นเส้นทางสัญจรของชาวบ้านกะเหรี่ยงที่เดินไปมาหาสู่ระหว่างบ้านแม่แพหลวง บ้านแม่หลุยหลวง ทางฝั่งแม่เงากับบ้านยางเคียน เขตอำเภออมก๋อย โดยมีเส้นทางเดินป่าที่ชัดเจนราวกับเป็นเส้นทางหลวงนั่นเอง

  ดอยปุยหลวง อุทยานแห่งชาติแม่เงาที่เราได้พบเป็นความอลังการแห่งขุนเขาในรูปแบบทะเลหมอกและทุ่งหญ้าสีทองที่งดงาม  เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติแห่งใหม่ที่ยังรอให้ทุกคนได้เข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง ยิ่งเป็นช่วงหน้าหนาว รับรองว่า ทะเลหมอกนั้นงามแท้ๆ ทีเดียว       

ข้อมูลการเดินทาง

                กรุงเทพฯ-อช.แม่เงา เป็นระยะทางที่ไกลมาก ไม่มีรถทัวร์ประจำทางจากกรุงเทพฯ ผ่าน เราต้องเลือกใช้เส้นทางรถสายกรุงเทพฯ-แม่สะเรียง จากแม่สะเรียง-บ้านแม่เงา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 มายังบ้านบ้านแม่เงา อ.สบเมย  เป็นระยะทาง 40 กม. แล้วแยกเข้าอุทยานฯ อีก 4 กม.

หรือจะให้สะดวกก็เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หรือเช่ารถตู้มาเอง จะเลือกมาทางแม่สอด-ท่าสองยาง- บ้านแม่เงา-อช.แม่เงา ก็ได้ หรือจะใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด-แม่สะเรียง- .สบเมย-บ้านแม่เงา-อช.แม่เงา

                จากอช.แม่เงา-บ้านแม่หลุยหลวง ระยะทาง 25 กม. ช่วงแยกเข้าหมู่บ้านสภาพเส้นทางสูงชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ สามารถติดต่อผ่านอช.แม่เงา ช่วยหารถไปส่งไปรับได้

อุทยานแห่งชาติแม่เงา บ้านแม่เงา หมู่ 8 .แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน 58110

ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ควรเลือกเที่ยวดอยปุยหลวงช่วงฤดูหนาวหรือช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกทิ้งช่วง เพราะจะได้พบกับทะเลหมอกอย่างงามตาทีเดียว ช่วงเวลาในการเที่ยวป่าในเส้นทางสายนี้ก็ 2 วัน 1 คืน   


 

รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่เงา

 
แม่ฮ่องสอน/Information of MAEHONGSON

 

General Information
Mae-ngao National Park is situated in Mae Hong Son Province, covering an approximate area of 257,650 rai. The National Park is a beautiful natural sightseeing spot and being the source of many rivers flowing into Salaween River.

The topography of the National Park consist of high mountains, which are the sources of many rivers flowing westwards into Salawin River of Myanmar.The waterway system of the National Park is similar to pattern of the tree diagram, consisting of a large river and its branches. Major rivers and gullies, include:

Mae-ngao River Mae-ngao River is the longest and most important river, passing the areas of the National Park for approximately 42 kilometers long, starting from Ban Sob-khong, flowing northwards to Sob-ngao and meeting Mae-yuam River. Mae-ngao River is the provincial boundary, whereas, the western part of the River is Tha Song-yang District of Tak Province, and the eastern part thereof is Sob-mei District of Mae Hong Son Province. The River is approximately 10-12 meters wide and the water is so clear that it is called Mae-ngao River. In the rainy season, the River, which is used as a water transport route to Sob-mei District by tribesmen, has the very rapid water. Many gullies within the National Park, which flow into Mae-ngao River, include Huai Mae Loh-noi, Huai Mae-bang, Huai Mae Lela-kro, Huai Oloh-gro, Huai Kong-oum, etc.

Mae-yuam River Mae-yuam River flows from Khun-yuam District, passing Mae La-noi District and meeting Mae-ngao River at Ban Sob-ngao, Sub-District Mae-sod of Sob-mei District and meeting Mei District at Ban Sob-yuam, Sub-District Mae Sam-laeb and flowing into Salaween River. The River is approximately 215 kilometers long, and being considered as one of the major rivers of Mae Hong Son Province.The River flows southwards, passing the western area of the National Park for approximately 14 kilometers long.

Rid River The River is situated in the north of the National Park, flowing westwards to Sub-District Kong-koi, Sub-District Mae-suad, and meeting Mae-yuam River in the south of Ban Mae-suad.

Huai Mae-khong The Gully flows from Om-koi District and meets Mae-ngao River at Ban Sob-khong.

Climate
Since the topography of the National Park consist of high mountains and water sources, the weather at the National Park can be divided into 3 seasons including the rainy season (June-October) of which average rainfall is 1,120 mm/year; winter (November-February), when the weather is cold and foggy; and summer (March-May), when the average highest temperature is 35?C.

Flora and Fauna
There are various kinds of forests within the areas of the National Park, including mixed deciduous forests of which major plants include teaks, Xylia xylocarpa (redwood plants), Terminalia arjuna (Rokfa), Black Wood, Dalbergia assamica (Ked-dum), Leguminosae (Pradoo), etc.; evergreen forests of which major plants include Lithocarpus cantleyanus (Kor), Aristolochia indica Linn. (Kra-chao Sida), moss, and lower plants include ferns, Bromheadia finlaysoniana Reichb.f. (ground orchids), ginger, etc.; timber forests, which can be found in the areas of hills, shoulders, foothills, and of which major plants include timbers, Shorea siamensis (Rang), Dipterocarpus tuberculatus (Pluang), Dipterocarpus intricatus (Hiang), Dillenia aurea Smith (Ma-San), Malacca tree, Morinda elliptica (Yor-Pa), and lower plants include grasses.

Wild Animals
Since the topography of the National Park consist of high mountains and virgin forests,wild animals found in the areas of the National Park can be divided into categories, as follows

Mammals
According to the exploration of the National Park, there are different kinds of mammals including wild boars, masked palm civets, Asiatic black bears, Muntiacus muntjak, monkeys, langur, gibbons, goral, flying squirrels, foxes, Asiatic wild dogs, wild rabbits, small bamboo rats, etc.

Birds
Birds found in the areas of the National Park include red jungle fowls, Malayan koel, singing myna, turtle doves, Drongo, blue magpie, coucal, stripe-breasted quail, Ga-hang, Nuthatch, Greater Green-billed Malkoha, barn owls, Kra-wan, Trogon, tailor-bird, black-billed roller, etc.

Reptiles
Reptiles found in the areas of the National Park include cobra, banded krait, constrictors, rat snakes, etc.

Amphibians
Amphibians inhabiting in the areas of the National Park include small green frogs found in Mae-ngao River.

Fish
Fish found in rivers include spiny eels, giant gourami, green fish, gobies, estuarine catfish, crocodile fish, etc.

Ngao River
Sai Nam-ngao is a major river within the area of the National Park, in which water is so clear that it is called Mae-ngao River. The River is tortuous along islets and reefs. In the rainy season, the River has the very rapid water. In the dry season, the River is suitable for rafting and sightseeing since there are a lot of trees and flowering plants such as Lagerstroemia speciosa(Inthanin) on both sides of the River.

Natural Teak Forest
There are a lot of rare, natural teak forests and strange lower plants found in the areas of the National Park, which is suitable for jungle tours and natural study.

Tham Pla
The topography of Pla caves are similar to those of Tham (cave ) Pla-Pha Sua National Park. Pla caves is situated in the north of Ban Om-loh (near Mae-ngao River). At present, it is the location of Ban Sob Mae-pae. There are a good deal of fish inhabiting in the cave since villagers believe that they are sacred fish and whoever eat the fish will face the disaster.

Oloh-gro Waterfall
The Waterfall is a large and beautiful waterfall with the flowing water throughout the year, situated in the north of Ban Om-loh (near Mae-ngao River). The Waterfall is about 150 meters high, originating from Oloh-gro Gully. There are virgin forests in the area of the Waterfall but no vehicle route is built to access the Waterfall, except a jungle route, which takes you 2 nights and 3 days for round trip on foot (on the way to the Waterfall, you need to stay overnight at the Karen’s village, then, travel on foot for approximately 3 hours to the Waterfall; and on the way back home, you need to stay overnight at the Karen’s village for another night).

Doi Pui Luang
At present, there is no vehicle route to the mountain ridge of Doi Pui-luang, except a jungle route, which takes you 2 days for round trip on foot. The Sightseeing Spot is located at the altitude of 1,600-1,700 meters above the medium sea level. The mountain ridges extend to the area of Om-koi District. In winter, you can view the beautiful sea of fogs; and the weather is cold and breezy. The Sightseeing Spot is suitable for tourists who enjoy jungle travelling and camping.

Doi Pui
The Sightseeing Spot is located at the altitude of 1,000 meters above the medium sea level. And you can see a distant view of the areas in Om-koi District. Particularly in winter, you can see the beautiful sea of fogs; and the weather is cold and breezy.

Mae Wa-luang Waterfall
The Waterfall is a beautiful multi-step waterfall, situated at Ban Mae Wa-luang of Tah Song-yang District, Tak Province. The Waterfall originated from Mae-wa Gully. You may start the travelling by walking from the National Park’s office and on the way to the Waterfall, you can view different kinds of wild plants and strange birds.

Mae-jae Waterfall
The Waterfall is situated at Baan Mae La-kee. And you may travel on foot from the side of Mae-sod – Mae Sa-riang Road for approximately 1 kilometer to the site of the Waterfall. The Waterfall originated from Mae La-kee Gully, flowing into Mae-ngao River.

Mae La-or Waterfall
The Waterfall, originating from Mae La-or Gully, is situated near the route of Mae-sod – Mae Sa-riang and flowing into Mae-ngao River. And you may travel on foot for approximately 400 meters.

Tham Mae Om-ki
The Cave is situated near Ban Mae Ob-ki. There are beautiful stalagmites and stalactites inside the Cave. And there are some streams of water flowing out of the Cave’s entrance.

Burana-prapa Waterfall
The Waterfall is situated near the route of Mae-sod Mae Sa-riang at Ban Mae-wei Boki. And you may travel on foot for approximately 500 meters.

Contact Address
Mae Ngao National Park
Mu 8, Ban Mae-Ngao, Mae Suad Sub-district, Amphur Sop Mei Mae Hong Son Thailand 58110

How to go?
By Car
From the city of Chiang Mai, you may take Highway No.108 until reaching Mae Sa-riang District, then, take Highway No.105 until reaching Sob-mei District (for approximately 25 kilometers) and go straight on for 15 kilometers until reaching Ban Mae-ngao, then, make a left hand turn to a temporary road, which can be used only in the dry season, for 5 kilometers until reaching the National Park’s office. In the rainy season, you may take a motorboat from the National Park to Ban Mae-ngao.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

แม่ฮ่องสอน ข้อมูลท่องเที่ยวเเม่ฮ่องสอน
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมือง


น้ำตกซู่ซ่า

Susa Waterfall
(แม่ฮ่องสอน)


วัดจองคำ

Wat Chong Kham
(แม่ฮ่องสอน)


บ่อน้ำร้อนผาบ่่อง

Pha Bong Hot Spring
(แม่ฮ่องสอน)


บ้านยอดดอย

Ban Yot Doi
(แม่ฮ่องสอน)
อำเภอแม่สะเรียง


ถ้ำเง้า

Ngao Cave
(แม่ฮ่องสอน)


วัดแสนทอง

Wat Saen Thong
(แม่ฮ่องสอน)


แม่สามแลบ
Mae Sam Laep
(แม่ฮ่องสอน)

อำเภอขุนยวม


ยอดดอยปุย
Pui hill
(แม่ฮ่องสอน)


วัดต่อแพ
Wat To Phae
(แม่ฮ่องสอน)
 
อำเภอปางมะผ้า
อำเภอปาย


แม่น้ำปาย
Pai River
(แม่ฮ่องสอน)


วัดกลาง
Wat Klang
(แม่ฮ่องสอน)


วัดน้ำฮู

Wat Nam Hu
(แม่ฮ่องสอน)


กองแลน

Kong Laen
(แม่ฮ่องสอน)

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน

(ขอขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาพบางส่วนจากเว็บท่องเที่ยวต่างๆผ่านการค้นหาของกูเกิล)

อำเภอสบเมย
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน/map of MAEHONGSON
รายชื่อโรงแรมในแม่ฮ่องสอน/Hotel of MAEHONGSON

โรงแรมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ดูข้อมูลโรงแรมทั้งหมดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน คลิกที่นี่

ร้านอาหารในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์