วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๑ สถานที่ตั้ง
หลังพระบรมมหาราชวัง ถนนสนามไชย เขตพระนคร
วัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า
วัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยธนบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โดยสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร
ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๔๔ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"
เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนฯ
ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่างๆ
ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐานไว้ตามศาลารายต่างๆ ในรัชสมัย
"วัดโพธิ์"
หรือนามทางราชการว่า
"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ราชวรมหาวิหาร"
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่
1
แห่งราชวงศ์จักรี
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนา "วัดโพธาราม"
วัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง
และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ
พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย โดยพระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50
ไร่ 38 ตารางวาอยู่
ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย
ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน
ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน
มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง
2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ)
ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม
ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2331
ใช้เวลา 7 ปี 5
เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ
2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ"
ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น
"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่นานถึง
16 ปี 7 เดือน
ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวน
มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถาน
ในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด
เมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี พ.ศ. 2525
เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ
ทั้งนี้
เนื่องจากสมัยรัชกาลที่
3
ยังไม่มีการพิมพ์หนังสือการศึกษา ที่มีเรียนก็อยู่ตามวัด
ทำให้คนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เรียน
ด้วยทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีแหล่งเล่าเรียนความรู้ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมและเลือกสรรตำรับตำรามาจารึกที่แผ่นศิลาไว้โดยรอบวัดเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน
วัดพระเชตุพนฯ จึงได้ชื่อว่าเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย"
นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมี "พระพุทธไสยาสน์"
(พระนอนวัดโพธิ์) องค์ใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่
3 ฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์
ยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร
ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108
ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย
ต่อมาได้ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์, มี "พระพุทธเทวปฏิมากร"
ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่นพระอุโบสถ ภายในองค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ที่ฐานชุกชีประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 1 และ
"พระเจดีย์"
อาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรแห่งเจดีย์ มี 99 องค์
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีความพิเศษคือ "พระมหาเจดีย์
4 องค์"์
อย่างไรก็ตาม นอกจากอาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่างๆ
แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น "รูปปั้นฤๅษีดัดตน"
โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม
พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและ ศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้
รวมทั้งได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ ไว้ด้วย
ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1
นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3
ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า
โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย
นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตน ทั้ง
80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น
รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น
รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24
ท่าเท่านั้น "ยักษ์วัดโพธิ์"
ที่ตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว
ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ "ลั่นถัน"
นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ นอกจากนี้
ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนใน
ปัจจุบัน นั่นคือ
ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแล
วัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน
วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์
เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง
2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน
แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2
ตน
เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด
เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้
จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์
และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา
Loading...
|