ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกรุงเทพ >วัดเทพธิดาราม/ 

วัดเทพธิดาราม/

 

วัดเทพธิดารามวรวิหาร จะเป็นพระอารามหลวงแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเกาะรัตน์โกสินทร์ ของกรุงเทพมหานคร มากว่า 170 ปีแล้ว แต่เชื่อว่าคนกรุงรุ่นใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่าวัดแห่งนี้มีความสำคัญ และมีความงดงามอ่อนหวานผสานแทรกอยู่ในศิลปะต่างๆ ภายในวัด ด้วยเพราะพระอารามนี้เป็น

 

อารามที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ สร้างให้กับ ‘พระราชธิดา’ ผู้เป็นที่รัก
วัดเทพธิดารามวรวิหาร ชื่อนี้อาจไม่เด่นไม่ดัง แต่มีมนต์ขลังที่จับจิตจับใจได้หลายอย่าง มันเริ่มจากที่ได้ไปอ่าน “รำพันพิลาป” ของท่านสุนทรภู่ ซึ่งเป็นนิราศที่แสดงถึงความในใจและประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในหลายๆ ส่วน ในตอนหนึ่งท่านได้บรรยายถึงวัดเทพธิดารามว่า


พระอุโบสถวัดเทพธิดาราม ความงดงามของศิลปะสมัยรัชกาลที่ 3

“พระปรางค์มีสี่ทิศพิสดาร
โบสถ์วิหารการเปรียญล้วนเขียนทอง
ที่หน้าบันปั้นอย่างเมืองกวางตุ้ง
ดูเรืองรุ่งรูปนกผกผยอง
กระเบื้องเคลือบเหลือบสลับเหลี่ยมรับรอง
ศาลาสองหน้ารอบขอบกำแพง
สิงโตจีนตีนตัวน่ากลัวกลอก
ขยับขยอกแยกเขี้ยวเสียวแสยง
ที่ตึกก่อช่อฟ้าใบระกาแดง
ริมกำแพงตะพานขวางเคียงข้างคลอง”


จากรสคำและรสความของท่านสุนทรภู่ที่บรรยายจนเห็นภาพนี้เอง ที่ทำให้ต้องมนต์จนอยากจะตามไปดูของจริง จึงไม่รอช้า มุ่งหน้าไปที่ “วัดเทพธิดารามวรวิหาร” ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” วัดที่มีโลหะปราสาทตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่นั่นเอง

พระบรมฉายาลักษณ์และพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 3 ในพระอุโบสถ

“วัดเทพธิดารามวรวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดพระยาไกรสวนหลวง” โดยตั้งชื่อตามสถานที่สร้างวัด ที่แต่เดิมเป็นเรือกสวนไร่นาของพระยาไกร ซึ่งเป็นเจ้านายหรือขุนนางในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระราชโอรส เป็นแม่กองในการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ที่พระราชบิดาทรงพระเมตตาและโปรดปรานเป็นพิเศษเพราะทรงมีพระปรีชาสามารถรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างใกล้ชิด และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอันมาก จนได้รับการสถาปนาขึ้นทรงกรม มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2381
 

            ซึ่งคำว่า “เทพธิดา” ในชื่อวัดนี้น่าจะหมายถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ผู้มีพระสิริโฉมงดงาม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพยังได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากเพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามในการนี้ด้วย

จากมุมนี้จะเห็น “พระปรางค์” ตั้งอยู่ประจำทิศทั้ง 4 ของ “พระอุโบสถ”

            ที่รู้มาอีกอย่างก็คือ วัดนี้มีการจัดวางแผนผังอาคารในเขตพุทธาวาสที่มีรูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรมพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ พระอุโบสถอยู่ตรงกลาง แล้วตั้งเรียงด้วยพระวิหาร และศาลาการเปรียญ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากหลายวัดที่ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ ไม่ได้ตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน

            นอกจากนี้สิ่งแปลกและแตกต่างของวัดนี้ยังมีอีกมาก เพราะเพียงแว้บแรกที่มองสำรวจ ก็ว่าวัดนี้หน้าตาแปลกๆ ดูโล่งๆ ยังไงไม่รู้ เพ่งมองสักระยะ จึงสังเกตเห็นว่าทั้งโบสถ์ ทั้งวิหาร ทั้งศาลาการเปรียญ ของวัดนี้ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ คือไม่มีเครื่องบน ส่วนที่หน้าบันก็ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายแบบจีนแทน

            พระพุทธเทววิลาสหรือหลวงพ่อขาว พระประธานในพระอุโบสถ
เป็นอย่างนี้จึงถึงบางอ้อ...เพราะลืมไปว่าศิลปะในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เนื่องจากเศรษฐกิจและสังคมในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 มีการค้าขายกับจีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ศิลปะและวัฒนธรรมจีนเข้ามามีบทบาทในงานสถาปัตยกรรมไทย รวมทั้งอาจจะเพราะด้วยที่คนไทยส่วนมากมักจะเป็นช่างไม้ ไม่ถนัดในงานปูน เมื่อมีงานก่อสร้างที่เป็นงานปูน จึงอาศัยช่างชาวจีนเป็นกำลังสำคัญ ฉะนั้นเมื่อช่างชาวจีนมีโอกาสได้ทำงานก็ย่อมที่จะนำเอาศิลปะของตนเองเสนอเข้ามาในการก่อสร้างด้วย

และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อพระอารามที่ได้เฉลิมพระเกียรติแก่เจ้านายที่เป็นผู้หญิง ด้วยเหตุนี้สิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในวัดก็จึงล้วนแต่มีลักษณะงดงามอ่อนหวาน

จนอดคิดไม่ได้ว่า วัดนี้น่าจะเป็น Unseen Bangkok อีกแห่งหนึ่ง
รูปหล่อหมู่พระอริยสาวิกาในอิริยาบถต่างๆ ในพระวิหาร
สำหรับพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม ก็เหมือนกับพระอุโบสถวัดอื่นๆ ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หน้าบันจะประดับด้วยชามกระเบื้องเป็นลวดลายดอกไม้ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ถือเป็นเอกลักษณ์ของการสร้างวัดในรัชสมัยนั้น

ครั้นเมื่อเข้าไป “พระอุโบสถ” ก็สังเกตเห็นพระพุทธรูปต่างๆ ล้วนแต่มีใบหน้ายิ้มละมุน ลักษณะอ่อนช้อย ดูไม่นิ่งแข็ง ส่วนพระประธานปางมารวิชัยนั้น มีความงดงามอ่อนหวาน สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 19 นิ้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงให้อัญเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง มาประดิษฐานไว้เหนือเวชยันต์บุษบกอย่างสวยงาม ชาวบ้านทั่วไปเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อขาว” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธเทววิลาส” ตามพระนามเดิมของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

ทั้งนี้ มีพระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานอยู่สองข้างของเวชยันต์บุษบก บุษบกนั้นเป็นไม้จำหลักลายปิดทอง ประดับด้วยกระจก ลวดลายละเอียดประณีตงดงามอย่างยิ่ง คงเป็นฝีมือของช่างในราชสำนัก อันสะท้อนถึงความศรัทธาความร่มเย็นของบ้านเมืองในยุคนั้น ที่ทำให้ช่างมีเวลามาออกแบบรังสรรค์งานอันประณีตนี้ได้
ภาพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ ไม่ได้เป็นรูปจิตรกรรมฝาผนังเหมือนที่หลายวัดจะนิยมวาดเป็นชาดก นอกจากนี้ยังมีภาพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีพระสิริโฉมงดงามจริงๆ

ในส่วนของ “พระวิหาร” นั้น ที่หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีรูปหงส์ ซึ่งคติจีนถือว่าหงส์ เป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของสตรีผู้สูงศักดิ์ และภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารก็เป็นภาพหงส์เช่นเดียวกัน ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย หน้าตัก 75 นิ้ว สูง 95 นิ้ว ด้านซ้ายและด้านขวามีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติอยู่ข้างละ 1 องค์ และมีรูปปั้นพระมหากัจจายนเถระ หน้าตัก 30 นิ้ว สูง 29 นิ้ว

เมื่อเข้าไปในพระวิหาร ก็ยิ่งต้องตกตะลึงระคนแปลกใจ เพราะด้านหน้ารอบพระประธานมี รูปหล่อหมู่พระอริยสาวิกา (ภิกษุณี) ที่ส่วนหนึ่งเป็นเอตทัคคะ หล่อด้วยดีบุก ลงรักปิดทอง หน้าตัก 11 นิ้ว สูง 21 นิ้ว จำนวนถึง 52 องค์ ประดิษฐานบนแท่นหน้าองค์พระประธาน โดยแต่ละองค์จะมีใบหน้าและอิริยาบถที่แตกต่างกัน
โดยตรงกลางเป็นรูปหล่อของ “พระนางปชาบดีโคตมี” (เอตทัคคะด้านรัตตัญูญู) พระน้านางของพระพุทธเจ้า และถือเป็นภิกษุณีองค์แรกที่มีส่วนในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่สตรี
พระประธานในพระวิหาร
ก็ไม่รู้ว่าที่วัดอื่นจะมีรูปหล่อของหมู่ภิกษุณีมากมายเท่าที่วัดนี้หรือไม่ แต่สิ่งที่เป็นความรู้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นก็คือ การจะเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องมีใจศรัทธาที่มุ่งมั่นแรงกล้า เพราะต้องยึดและปฏิบัติตาม

 

 เงื่อนไขหรือครุธรรม 8 ประการ ที่ยากยิ่งนัก อันได้แก่

                         (1) ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว 100 ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ                                                          
ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(2) ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(3) ภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการ คือ ถามวันอุโบสถ 1
เข้าไปฟังคำสั่งสอน 1 จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(4) ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง 3
คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(5) ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ 2 ฝ่าย
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(6) ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ 2 ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา
อันศึกษาแล้ว ในธรรม 6 ประการครบ 2 ปีแล้ว
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(7) ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

(8) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ
เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี
ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
รูปหล่อ “พระนางปชาบดีโคตมี”



            
แม้จะเป็นเงื่อนไขที่ยาก แต่พระนางปชาบดีโคตมีก็ทรงยินดีรับ และพระพุทธองค์ก็ได้ทรงอนุญาต พระนางปชาบดีโคตมีจึงได้บวชเป็นภิกษุณี ซึ่งถือว่าเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา สตรีศากยวงศ์อีก 500 ที่ปรารถนาจะบวชก็พลอยได้รับอุปสมบทด้วย เมื่อพระนางได้บวชเป็นภิกษุณีแล้วก็พากเพียรบำเพ็ญธรรมทั้งปวง ไม่นานนักก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก ได้ความเป็นเลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในด้านรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน (บวชนาน รู้เหตุการณ์ต่างๆ มาก) ด้านภิกษุณีเหล่าศากยวงศ์ก็บรรลุธรรมเช่นกัน พระนางปชาบดีโคตมีจึงเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ให้ภิกษุณีสงฆ์ได้อาศัย

             สำหรับรูปหล่อหมู่พระอริยสาวิกาหรือภิกษุณี จำนวน 52 องค์นี้ มีผู้เข้าใจผิดว่าทั้งหมดเป็นภิกษุณีเอตทัคคะ จริงๆ แล้ว “เอตทัคคะ” หมายถึง ผู้ประเสริฐสุดในทางใดทางหนึ่ง เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่นๆ ในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่งพระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียงท่านเดียวเท่านั้น
รูปหล่อหมู่พระอริยสาวิกาในอิริยาบถต่างๆ ในพระวิหาร
ภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะที่มีบทบาทสำคัญในการประกาศศาสนา มีทั้งหมด 13 รูป ดังนี้
1. พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
2. พระเขมาเถรี เอตทัคคะในทางมีปัญญามาก
3. พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก
4. พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
5. พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางเพ่งด้วยฌาน
6. พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก
7. พระโสณาเถรี เอตทัคคะในทางปรารภความเพียร
8. พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในทางมีทิพยจักษุ
9. พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือตรัสรู้ฉับพลัน
10. พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในทางผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติ
11. พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในทางบรรลุมหาอภิญญา
12. พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง
13. พระสิคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต หรือน้อมใจไปตามความศรัทธา

อนึ่ง จำนวนภิกษุณีครั้งพุทธกาลที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยสาวิกานั้น มีมากกว่า 52 รูป

ถ้าเห็นพระพุทธรูปลักษณะนี้ ให้ทราบว่านี่คือ “พระศรีอาริย์”

              นอกจากนี้ภายในพระวิหารยังมี พระพุทธรูปหล่อของพระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตร ที่จะตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกมนุษย์หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระพุทธเจ้าโคตมะแล้ว 5,000 ปี ให้ชาวพุทธได้กราบไหว้ ส่วนถ้าใครจะอธิษฐานขอให้ได้เกิดในยุคนั้น ก็ควรจะรีบเร่งปฏิบัติตนเป็นคนดี บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาเสียตั้งแต่ชาตินี้จะดีกว่า

            
 สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างที่วัดนี้มีก็คือ “พระปรางค์จตุรทิศ” ที่มีความงดงาม ก่ออิฐถือปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ มีความสูงประมาณ 15 เมตร ซึ่งตั้งอยู่บนลานทักษิณสูง ประจำทิศทั้ง 4 ของมุมพระอุโบสถ ฐานพระปรางค์แต่ละองค์มีรูปท้าวจตุโลกบาล คือ ท้าวกุเวร ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก และท้าววิรุฬปักข์ เทวดาที่รักษาทุกข์สุขของมนุษย์โลกไว้ทั้งสี่ทิศ และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่มนุษย์โลก อำนวยความสุขความเจริญให้แก่มนุษย์โลกทั้งหลายอีกด้วย รวมทั้งมี “พระเจดีย์” ทรงกลมบ้าง ทรงเหลี่ยมบ้าง รายรอบพระวิหารจำนวน 13 องค์, “หอระฆัง” และ “ซุ้มเสมา” ที่เป็นลักษณะเก๋งจีน ตุ๊กตาหินสลักเป็นรูปหญิงไทย แสดงถึงความรักความผูกพันของแม่กับลูก  ตุ๊กตาหินสลักเป็นรูปหญิงไทย หน้าบันไดพระอุโบสถ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าวัดเทพธิดารามมีสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะแบบจีนอยู่มากมาย ซึ่งก็รวมถึงเครื่องประดับพระอารามรอบพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ ที่เป็น ตุ๊กตาจีนหินสลัก มีทั้งรูปคนและรูปสัตว์ และที่น่าสนใจก็คือตุ๊กตาหินในวัดนี้ส่วนมากเป็นรูปผู้หญิง ทั้งผู้หญิงจีนและไทย ต่างจากตุ๊กตาหินของวัดอื่นๆ ที่จะเป็นรูปคนจีนทั้งหมด คงเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัดซึ่งสร้างให้กับเจ้านายผู้หญิง ช่างที่สลักตุ๊กตานั้นเป็นช่างชาวจีน แกะสลักตุ๊กตาที่เลียนแบบลักษณะท่าทางและการแต่งกายของผู้หญิงไทยตามสายตาของช่างชาวจีน


               มิน่าล่ะ...หน้าตาของตุ๊กตาถึงได้ออกแนวหมวยๆ แต่ก็ถือว่าดูแปลกตาน่าชมไปอีกแบบ คืออาจจะดูเป็นคนไทยที่มีหน้าตาออกไปทางเชื้อสายจีนมากสักหน่อย ต่างจากตุ๊กตาหินของวัดอื่นๆ ที่จะเป็นรูปคนจีนทั้งหมด ซึ่งตุ๊กตาหินก็มีมากมาย ไล่เรียงดูแล้วไม่มีเบื่อ บางตัวสลักเป็นรูปหญิงไทยไว้ผมปีกแบบโบราณนั่งอุ้มลูก บางตัวเป็นตุ๊กตาชาววังนั่งพับเพียบเรียบร้อย เท้าแขนอ่อนช้อยเสียจนอดนึกสงสัยไม่ได้ว่าแขนของเธอปกติดีหรือไม่  “กุฏิสุนทรภู่” ที่พำนักในช่วงบั้นปลายของสุนทรภู่ เมื่อครั้งบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม
 

               เมื่อเดินออกจากเขตพุทธาวาส เพื่อไปต่อยังเขตสังฆาวาส ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้จัดระเบียบ “หมู่กุฏิสงฆ์” ไว้อย่างงดงามมาก โดยทำกุฏิทรงแปลกไม่ซ้ำแบบกัน แต่กุฏิหนึ่งที่ไม่ลืมจะไปเยือน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำให้ต้องมาที่วัดเทพธิดารามแห่งนี้ นั่นก็คือ “กุฏิสุนทรภู่” กวีเอกของโลก ดังมีปรากฏในนิราศรำพันพิลาป บทหนึ่งว่า

“เคยอยู่กินถิ่นที่กระฎีก่อ
เป็นตึกต่อต่างกำแพงฝากแฝงฝา
เป็นสองฝ่ายท้ายวัดวิปัสสนา
ข้างโบสถ์บาเรียนเรียงเคียงเคียงกัน”

               เป็นกุฏิที่ท่านสุนทรภู่ กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยจำพรรษาขณะบวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างปี พ.ศ.2383-2385 และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีพรรณนาถึงความงามของพระอาราม รวมทั้งปูชนียสถานและปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด

ภายใน “กุฏิสุนทรภู่” ที่เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์  
เพื่อผู้สนใจได้เข้าชมและสักการะกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปัจจุบันทางวัดได้อนุรักษ์กุฏิไว้และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมได้ทุกวัน โดยเก็บรักษาสิ่งของเครื่องใช้ของท่านขณะจำพรรษาไว้เป็นอย่างดี มีรูปหล่อครึ่งตัวของท่านเมื่อยังเป็นพระภิกษุ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ ตั้งเด่นอยู่ที่มุมห้องด้านใน และมีทั้งสมุดข่อย 200 ปี คัมภีร์พระมาลัย ตำรารักษาโรคต่างๆ รวมถึงเครื่องใช้เล่นแร่แปรธาตุ และอีกหลายอย่าง

ด้านนอกของ “กุฏิสุนทรภู่” มีไม้ดัดเป็นรูปนางยักษ์ผีเสื้อสมุทร ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญในเรื่องพระอภัยมณี ผลงานเลื่องชื่อของสุนทรภู่ ตั้งยืนเด่นอยู่ข้างๆ นอกจากนี้ทางวัดยังมีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงกวีเอกผู้นี้ในวันที่ 26 มิถุนายน เป็นประจำทุกปี

สุนทรภู่ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2398 รวมอายุได้ 70 ปี คาดว่าคงจะได้รับพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดสระเกศหรือวัดสุวรรณาราม วัดใดวัดหนึ่ง

อย่างนี้สงสัยว่าวันหน้า ต้องหาโอกาสมาที่วัดเทพธิดารามอีกครั้งเป็นแน่แท้
ไม้ดัดนางยักษ์ผีเสื้อสมุทร ที่ยืนเด่นอยู่ข้างๆ กุฏิสุนทรภู่
วัดเทพธิดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2379 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2382
ตั้งอยู่ที่ริมถนนมหาไชย ใกล้วัดราชนัดดาราม พอลงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เลี้ยวซ้ายจะถึงวัดราชนัดดาราม เลยไปอีกนิดจะเป็นวัดเทพธิดาราม การเข้าชมพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญนั้น ต้องขออนุญาตจากทางวัดเสียก่อน

 


Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดเทพธิดาราม

 
กรุงเทพ/Information of BANGKOK

  วัดเทพธิดาราม

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพ กรุงเทพ แผนที่ กรุงเทพ โรงแรม กรุงเทพ แผนที่กรุงเทพฯ แผนที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพ โรงแรมในกรุงเทพฯ ที่พัก ริมน้ำ ในกรุงเทพฯ แผนที่ถนนกรุงเทพ โปรแกรมเที่ยวกรุงเทพ

โรงแรมและที่พักในกรุงเทพคลิกที่นี่ครับ เลือกพักตามสบายนะ
List of Hotel in Bangkok Click!



สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ



วัดพระเชตุพนวิมล
มังคลาราม

Wat Phra Che Tu Phon Wimon Mang Khla Ram

(กรุงเทพ)



วัดอินทรารามวิหาร
Wat In Thra Ram Wihan
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ

SinlaPaChip Museum
(กรุงเทพ)



พระที่นั่งอนันตสมาคมและรัฐภา

Anandhasmakhom Palace
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

National Museum
(กรุงเทพ)



หอศิลป์แห่งชาติ

The National Arts Gallery
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาตเรือพระราช

Royal Barge National Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์
เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง

Museum of Sciences and Planetarium
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bank of Thailand Museum
(กรุงเทพ)



พิพิธพัณฑ์แร่และหิน

Rare Stone Museum
(กรุงเทพ)



หอเกียรติภูมิรถไฟ

Hall of Railway Heritage
(กรุงเทพ)



พิพิธภัณฑ์ปราสาท
มิวเซียม

Prasat Mio Sian Museum
(กรุงเทพ)



วังสวนผักกาด

Suan Pakkad Palace
(กรุงเทพ)



บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์

Bangkok Doll Museum
(กรุงเทพ)



ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Thailand cultural Centre
(กรุงเทพ)



สะพานพระราม 9

Phra Ram 9 Bridge
(กรุงเทพ)


 
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK
 


แผนที่ท่องเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ


แผนที่จังหวัดกรุงเทพ/map of BANGKOK นี้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

โรงแรมทั้งหมดในกรุงเทพ โปรโมชั่นพิเศษสุด!!

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์