ประวัติความเป็นมาและความสำคัญทางประวัติศาสตร์
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/001.jpg)
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/002.jpg)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ อยู่ทางใต้ของวังหน้าเป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาเดิมเรียกกันว่า
.วัดสลัก. หรือ .วัดฉลัก.ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงสร้างกรุงธนบุรีคร่อมตำบลบางกอกไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
แล้ว วัดฉลักมีฐานเป็นพระอารามหลวงเป็นที่พำนักจำพรรษาของพระราชาคณะตลอดสมัยธนบุรี
ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นบนฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี
เพียงฝั่งเดียว
ได้กำหนดที่จะสร้างพระราชวังหลวงและพระราชวังบวรแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
ก็ทรงรับจะสร้างวัดพระแก้วและวัดโพธาราม
(ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพน)
ให้งดงามสมกับที่เป็นวัดอยู่ภายในเขตพระราชวังวัดหนึ่ง
และอยู่ชิดพระราชวังวัดหนึ่ง
พร้อมกันนั้นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ก็ทรงรับจะบูรณะวัดสลักขึ้นให้งดงามสมเหตุผลอย่างเดียวกันกับสมเด็จพระบรมเชษฐาอย่างหนึ่ง
และอาจเพื่อทรงแก้บนที่ทรงให้ไว้ในคราวหนีพม่าไป
เมืองราชบุรี
โดยมีเรื่องเล่ากันว่าขณะที่จวนจะเสียกรุงศรีอยุธยา
ใน พ.ศ. ๒๓๑๐
นั้น กรมพระราชวังบวรฯ (พระนาม
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCACIOZJF.jpg)
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCA1YD4LT.jpg)
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCA1JQ641.jpg)
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCASSVQCO.jpg)
เดิม
.บุญมา.)
ได้ชวนเพื่อนชายลงเรือเล็กหนีล่องลงมาตามลำน้ำ
เพื่อจะไปหาหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง)ที่ชายเมืองราชบุรี
เมื่อหลบหลีกพม่าลงมาถึงหน้าวัดสลักก่อนจะเลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่
ต้นทางที่จะไปเมืองราชบุรีก็ต้องและเข้าจอดพักหน้าวัดดูลาดเลาก่อน
เพราะเกรงว่าพม่าบนป้อมธนบุรีจะเห็นขณะนั้นก็พอดีมีเรือลาดตระเวนของพม่าแล่น
สวนขึ้นมาหลายลำจะหนีไปก็ไม่ทันจึงชวนกันพลิกเรือคว่ำครอบทั้งสี่คนไว้ริมท่าเมื่อหมู่เรือพม่าผ่านไปไกลแล้วจึงแอบเข้าปากคลองบางกอกใหญ่ต่อไป
ระหว่างรอที่จะให้เป็นเวลาค่ำนั้น
กรมพระราชวังบวรฯได้อธิษฐานพระพุทธรูปในพระอุโบสถว่าขอให้ช่วยให้รอดพ้นข้าศึกไปได้ปลอดโปร่งเป็นใหญ่ในภายหน้าเมื่อใด
จะมาปฏิสังขรณ์วัดสลักให้ใหญ่โต
เข้าใจว่ากรมพระราชวังบวร ฯ ทรงเริ่มการปฏิสังขรณ์วัดสลักใน พ.ศ.
๒๓๒๖ พร้อมกับการสร้างพระราชวังบวร
ในชั้นที่ ๒ อันเป็นขั้นสร้างถาวรก่ออิฐถือปูน
ขณะนั้นฐานของพระนครมั่นคงขึ้นแล้ว
และคงจะได้กำหนดเขตวังหน้าขึ้นก่อนและแผนผังวังหน้าจะต้องวางให้ประสานกับพระราชวังหลวง
ปรากฏว่าแนวกำแพงพระนครที่สร้างขึ้นใหม่
ผ่านกลางวัดสลักพอดีจึงต้องตัดพื้นที่หน้าวัด
ซึ่งติดริมน้ำออกไป
แต่ได้ขยายวัดออกไปเชื่อมระหว่างวังหลวงกับวังหน้าและขยายลงมาทางใต้ด้วย
ด้านเหนือจั้นจรดกำแพงหน้าวังเพียงแต่มีถนนคั่นและด้านตะวันตกจรดกำแพงพระนครขยาย
แนวด้านนั้นอีกไม่ได้
ทั้งได้เปลี่ยนหน้าวัดมาอยู่ทางด้านตะวันออกเหมือนอย่างวัดพระเชตุพน ฯ การปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น
เนื่องจากได้กลับหลังวัดมาเป็นหน้าวัดชิดกับมุมตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างพระมณฑป พระวิหาร
พระระเบียง ล้อมรอบเขตพุทธาวาส
พระปรางค์ พระเจดีย์ราย
หอไตร หอระฆัง
ศาลาการเปรียญ
หมู่กุฏิเครื่องไม้
ศาลารายหน้าวัดจะสร้างเสร็จในปีใดไม่ปรากฎแต่เมื่อเสร็จแล้วสมเด็จพระราชวังบวรฯ
ได้พระราชทานนามว่า
.วัดนิพพานนาราม.
และในเวลาต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดพระศรีสรรเพชรญ์"
ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๓๓๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
กับสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ได้อารธนาพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ
และเชี่ยวชาญในพุทธศาสนาทำสังคายนาพระไตรปิฎก
โดยใช้วัดพระศรีสรรเพชรญ์เป็น
สถานที่ประชุมชำระเพราะอยู่ระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวังบวร
สะดวกต่อการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดูแล
ปรนนิบัติพระราชาคณะ
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑ ว่า ก่อนที่จะเริ่มชำระพระไตรปิฎก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเปลี่ยนชื่อ .วัดพระศรีสรรเพชญ์.
เป็นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร.
เรียกสั้น ๆ ว่า .วัดมหาธาตุ
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCAHKFENN.jpg)
![](http://www.dooasia.com/database/pic/006/006k015/imagesCACB91FT.jpg)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ ๒ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
(ต่อมาเสด็จเสวยราชย์เป็น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ซึ่งมีพระชันษาครบ ๑๓ ปี ให้ทรงผนวชเป็นสามเณร
ประทับอยู่วัดมหาธาตุ ๗ เดือน
ต่อมาเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว
ก็ได้เสด็จมาประทับศึกษาทางปริยัติธรรมในวัดมหาธาตุอีก ๕ ปี
ก่อนเสด็จไปประทับ ณ วัดอื่น ๆ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔
โปรดให้สร้างพระวิหารน้อยที่เรียกว่า.วิหารโพธิลังกา.โดยสร้างบริเวณที่ตำหนัก
ซึ่งพระองค์เคยประทับอยู่เมื่อทรงผนวชข้างหน้ามีต้นมหาโพธิ์มีซุ้มประตูทั้งหน้าและหลังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕
ใน พ.ศ.
๒๓๓๒ โปรดให้ปลูกพระเมรุสำหรับพระราชทานเพลิงศพเจ้านายขึ้นข้างหน้าวัด
โดยดัดแปลงศาลาเรียนหนังสือ ๔ หลัก
ใช้เป็นพลับพลาที่ประทับที่พักของเจ้าภาพ
ที่รับแขกขั้นตามแนวกำแพงวัดด้านนั้นเป็นส่วนประกอบนอกจากนั้นยั
งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้ง
วิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ๒ แห่ง แห่งแรกเป็นที่เล่าเรียนของสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย
ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พระราชทานนามว่า
มหามกุฎราชวิทยาลัย
เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์
แห่งที่สองสร้างขึ้นในวัดมหาธาตุ แล้วพระราชทานนามว่า
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ใน
พ.ศ. ๒๔๓๙
ในสมัยรัชกาลที่ ๕
โปรดให้มีการปฎิสังขรณ์วัดมหาธาตุจากพระราชบิดาแล้วเสร็จในปีชวด พ.ศ.
๒๔๔๓ นอกจากนั้นจึงโปรดให้เพิ่มสร้างนามพระอารามเฉลิมพระเกียรติยศ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ว่า
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สิ่งสำคัญภายในวัด
๑.
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
สร้างในปี พ.ศ..
๒๕๒๒ บรรดาศิษยานุศิษย์วัดมหาธาตุ และบรรดาประชาชน และพลเรือน
ข้าราชกาลร่วมกันสร้างโดยมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
เป็นประธาน เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
และคุณความดีของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ที่ปกป้องชาติไทยให้คงอยู่สืบไปด้วยการกอบกู้เอกราชของชาติร่วมกับพระเจ้าตากสิน
และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวมทั้งยังได้ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นอย่างมาก เช่น สถาปนาวัดพระธาตุ
วัดชนะสงคราม วัดบางลำภู
วัดสมอแครง วัดส้มเกลี้ยง วัดสามแพรก(วัดสำเพ็ง)ภายในอนุสาวรีย์
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถนี้
บรรจุเนื้อดินซึ่งเก็บจากแผ่นดินที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
เสด็จกรีฑาทัพเข้าเหยียบรวมทั้งสิ้น ๒๘ แห่ง บรรจุไว้ใต้ฐานพระบรมรูปพระบรมราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทนี้ถือว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง
สมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป
๒.
พระอุโบสถ
ก่ออิฐถือปูนหลังคาทรงไทยชั้นเดียวมี ๔ ตับ
มุงกระเบื้องเคลือบสีหน้าบันเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค,
เทพ และลายใบเทศล้อมรอบประดับกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า
ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ซุ้มประตู หน้าต่าง
เป็นปูนปั้นซ้อน ๑
ชั้น มีลายกนกเครือเถาอยู่ตรงกลางซุ้ม บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ทาสีดำ ปัจจุบันไม่ปรากฏลวดลายใด ๆ เสาประดับซุ้มประตูหน้าต่างเป็นเสาเหลี่ยม ปลายเสาประดับลวดลายบัวแวงและบัวคอเสื้อ ส่วนฐานเสาซุ้มประดับด้วยกาบพรหมศร
ส่วนล่างของซุ้มหน้าต่างเป็นลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังรวมและกระจังตาอ้อย
เสาพระอุโบสถเป็นเสาเหลี่ยมไม่มีลายที่ปลายเสา
เว้นแต่เสาที่มุมพระอุโบสถประดับใบเสมาเป็นลายครุฑยุดนาคอยู่ภายใน พื้นหินอ่อน
ฐานสิงห์ ตรงระเบียงคต ก่ออิฐถือปูน
หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันเป็นลายใบเทศประดับกระจกสีปิดทอง
เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย
ซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นปูนปั้น ซ้อน ๒ ชั้น มีลายกนกเครือเถาอยู่กลางซุ้ม
บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ทาสีดำไม่ปรากฏลวดลายใด ๆ เสาประดับด้วยกาบพรหมศร
ส่วนล่างซุ้มหน้าต่างเป็นลายประจำยามก้ามปู พนักระเบียงประดับกระเบื้องปรุสีเขียวลายดอกประจำยาม หัวเสาพนักระเบียงทรงมณฑป
พื้นหินอ่อนฐานสิงห์
๓.
พระประธานในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๗ เมตร
สูง ๙ เมตร
รัศมีเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก ชายสังฆาฏิปลายมนลักษณพระพักตร์คล้ายกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปนอู่ทอง
แต่มีลักษณะความมีชีวิตจิตใจลดน้อยลง
ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑
ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์ช่างวังหน้าประทับนั่งบนฐานแอ่นโค้ง
ลายบัวหงายประจำยาม
และลายกระจังลงรักปิดทองประดับกระจกสีมีพระสาวก ๘ รูป
ปูนปั้นลงรักปิดทองฝีมือพระยาเทวารังสรรค์
เช่นเดียวกันนั่งชันเข่าประนมหัตถ์สูง ๑.๕๐
ม. อยู่โดยรอบ
๔.
รูปเหมือนเจ้าอาวาส
เป็นรูปเหมือนปูนปั้นขัดสมาธิมี ๕ องค์ อยู่ระหว่างเสากลางข้างพระประธาน
๕.
วิหารน้อยโพธิลังกา
ก่ออิฐ ถือปูน
หลังซ้อน ๒ ชั้น มี ๒ ตับ มุงกระเบื้องเคลือบหน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกสีปิดทองรูปมหามงกุฎมีพานรองรับรายรอบด้วยลายกนกเปลว ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจกลายดอกพุดตาน บานประตูหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ ลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์
เสาสี่เหลี่ยมลบมุมมีลวดลายบัวทองที่ปลายเสาพื้นหินอ่อนฐานสิงห์
๖.
เจดีย์ทอง
ประดิษฐานในพระมณฑปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒
ฐานสิงห์ องค์ระฆังทรงเครื่อง
ปล้องไฉนเป็นบัวกลุ่มมีปลียอด
และเม็ดน้ำค้างระหว่างชั้นฐานเจดีย์มีสิงห์นั่งครุฑแบกประกอบพระเจดีย์ลงรักปิดทองประดับกระจกสีอยู่ภายในมณฑปทรงอีกชั้นหนึ่งสูง ๑๐ วาเศษ
หลังคาพระมณฑปทองยอดเจดีย์เสาทั้งสี่มุมประดับกระจกสีอย่างสวยงามกล่าวว่าแต่เดิมเมื่อคราวไฟไหม้หลังคาพระมณฑปและมณฑปทองภายในจึงโปรดให้ทำหลังคาใหม่ดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้
๗.
พระปรางค์
อยู่บริเวณด้านหลังพระอุโบสถและพระวิหาร มี ๒ องค์ มีฐานสูงรอบเป็นลานทักษิณ ฐานพระปรางค์เป็นฐานสิงห์มีซุ้มคูหาทั้ง ๔ ทิศ
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย เนื้อโลหะ พระปรางค์อีก ๒ องค์
อยู่ด้านข้างพระอุโบสถและพระวิหารด้านละ ๑ องค์เป็นพระปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบ
ฐานพระปรางค์นี้เป็นฐานสิงห์มีซุ้มคูหา ๔ ทิศ ประดับด้วยลายปูนปั้น
๘.
มณฑป
ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงไทยชั้นเดียวมี ๓ ตับ
ตับล่างเป็นปีกนกรอบมุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑ,
เทพชุมนุม และลายในเทศประดับกระจกสีปิดทอง
เช่นเดียวกันกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูเป็นปูนปั้นทรงมณฑปยอดเจดีย์ ซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นซ้อน ๒ ชั้น มีลายกนก
เครือเถาอยู่ตรงกลางซุ้มบานประตูหน้าต่างไม่มีลวดลาย พื้นหินอ่อน ฐานสิงห์
๙.
พระพุทธรูปรายรอบพระระเบียง
ประมาณ ๑๓๒ องค์
ลักษณะเช่นเดียวกันหมดคือ
ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบปูนปั้นลงรักปิดทอง
รัศมีเป็นเปลวขมวดเกศเล็กปลายสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบพระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปนอู่ทอง
หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ ม.สูง
๒ ม. ประทับนั่งบนฐานปูนปั้นลายบัวหงาย
ประจำยามปิดทองประดับกระจกสีสันนิษฐานว่า
เชิญมาจากอู่ทองหรืออยุธยา ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑
แล้วปั้นเลียนแบบกันเพื่อประดิษฐานไว้รายรอบพระระเบียง
๑๐.พระประธานในวิหาร
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบลงรักปิดทองหน้าตัก กว้าง ๓ เมตร
สูง ๕ เมตร
ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์ช่างวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๑
ลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาปนอู่ทอง
แต่ลักษณะความมีชีวิตจิตใจลดน้อยลงไป
อีกด้านหน้าพระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัยหล่อโลหะ ๑.๕๐
ม.๒ องค์
ขนาบข้าง