พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณพลับพลาพระราชพิธี
มุมถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าวัดราชนัดดาราม สร้างขึ้นในปี
2533
โดยกรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการ เป็นพระรูปหล่อด้วยสำริด
ประทับบนพระที่นั่งสูงขนาดเท่าครึ่งของ พระองค์จริง ภายในบริเวณมีพลับพลา
ที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้รับราชอาคันตุกะ
นอกจากนั้นมีศาลาราย 3 หลัง และ
สวนสาธารณะ
พระที่นั่งเพนียดองค์นี้ เป็นที่สำหรับพระราชาธิบดีประทับทอด
พระเนตรการจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งนำมา
ใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและในเวลาสงคราม การจับช้างเถื่อนนี้
ถ้าหากมีแขกบ้านแขกเมืองเข้ามา ในฤดูที่พอจะจับช้าง ให้แขกเมืองชมทุกคราวไป
ดังเช่นปรากฏในจดหมายเหตุของเชวาเลีย เดอโชมองต ์ ราชฑูตฝรั่งเศส
ที่เข้ามาในแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชโปรดให้ชมการจับช้างเถื่อนที่เพนียด
เมืองลพบุรีครั้งนี้ ในรัชกาลที่
5
ซึ่งเป็นรัชกาล สุดท้ายที่พระราชาธิบดีแห่งประเทศไทย
โปรดให้มีการจับช้างเถื่อน พระที่นั่งเพนียด และตัวเพนียดที่ยังคงเหลือ
ซากอยู่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โปรดให้ซ่อมครั้งหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้กรมหลวงเทพพลภักดิ์เป็นแม่กอง ออกไปซ่อมอีกครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่
5 พระที่นั่งนี้ชำรุดจึงโปรดให้ซ่อมอีกครั้ง
ศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า)
ศาลากลางจังหวัดเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอกรุงเก่า สร้างเป็นตึก
3
ชั้น รูปร่างคล้ายตัวที ซึ่งได้ทำการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2484
สมัยหลวงบริหารชนบท (ส่าน)
เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด โดยการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น ซึ่งเป็นชาวอยุธยา
ที่ตัวตึกด้านหน้าศาลากลางจังหวัด ได้ก่อสร้างพระบรมรูป วีรกษัตริย์ วีรสตรี
ซึ่งได้ประกอบคุณานุประโยชน์ อย่างใหญ่หลวงแก่กรุงศรีอยุธยาและชาติไทย
ในครั้งอดีตรวม 6 พระองค์ คือ
1)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
พระหัตถ์ซ้ายถือปราสาทสังข์ ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ
พ.ศ.1793
2)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระหัตถ์ทั้งสองถือประมวลกฎหมายผู้ทรงพระปรีชาสามารถในทางปกครอง
3)
สมเด็จพระสุริโยทัย วีรสตรีซึ่งได้เสด็จออกไปสู้รบกับข้าศึก
เมื่อ พ.ศ.2093 และได้เสียสละพระชนม์ชีพ
เพื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชสวามี
4)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2033 -
พ.ศ.2148 ) พระหัตถ์ขวาถือ พระแสงของง้าว
พระหัตถ์ซ้ายถือพระมาลา ผู้ทรงกอบกู้พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเสียแก่พม่าครั้งแรกและได้สู้รบกับข้าศึกถึง 7
ครั้ง
5)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-
พ.ศ.2231) พระหัตถ์ทั้งสองถือพระราชสาสน์
ได้ทรงทำสัมพันธไมตรีกับ ต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่
14 และทรงนำเอาวัฒนธรรมทางตะวันตกมาเผยแพร่ไว้มาก
ครั้งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในรัชสมัยของพระองค์ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาก
6)
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ.2310 -
พ.ศ.2335) พระหัตถ์ทั้งสองถือดาบ
ได้ทรงกอบกู้ความเป็นเอกราช ไว้ได้ในคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.2310
และย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงธนบุรี
โบราณสถานในเกาะบางปะอิน เกาะบางปะอินอยู่ห่างจากเกาะเมือง
ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดพระ นครศรีอยุธยาออกไป
40
กิโลเมตร คือ
จากตัวจังหวัดไปตามถนนพหลโยธินเลี้ยวขวาเข้าทางแยกตรง กม. ที่ 35
เลี้ยวเข้าไป 7 กิโลเมตร ก็จะถึง
พระราชวังบางปะอิน อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท
เด็ก-นิสิต- นักศึกษา- ภิกษุ-สามเณร 20 บาท
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท
ภายในพระราชวังบางปะอิน มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างใน รัชกาลที่
5
เดิมสร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาลที่ 6
ทรงโปรดให้เปลี่ยนเสา และพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน เป็นท้องพระโรงอยู่ทางเหนือของ "สะพาน เสด็จ"
ซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง เดิมเป็นเรือน ไม้สองชั้น
เป็นที่ตั้งที่ประทับและท้องพระโรงร่วมกัน ต่อมารัชกาลที่
5
โปรดให้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารแบบฝรั่ง ใช้เป็นท้องพระโรง
สำหรับเสด็จออกขุนนางในงานพระราชพิธี สิ่งสำคัญในพระที่นั่ง
เป็นภาพชุดพระราชพงศาวดาร กับภาพเรื่องอิเหนา พระอภัยมณี และรามเกียรติ์
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ
เป็นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ น่าเสียดายที่ไฟไหม้หมด ไม่มีสิ่งใดเหลือ
นอกจากหอสูงก่ออิฐปูนรูปหกเหลี่ยมซึ่งเรียกว่า หอพระ เท่านั้น
พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ อยู่ตอนเหนือของพระราชวัง พระที่นั่งองค์ นี้พระยาโชฏึก
ราชเศรษฐี (ฟัก) สร้างถวายตามแบบพระราชวังจีน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
มักเสด็จประทับในฤดูหนาว
พระที่นั่งวิฑูรทัศนา เป็นหอสูง สร้างบนเกาะน้อย อยู่ระหว่างพระที่
นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ เป็นพระที่นั่ง
3
ชั้น มีบันไดเวียน ทรงใช้เป็นที่ทอดพระเนตรสภาพบ้านเมืองโดยรอบ
โรงละคร รัชกาลที่
6
โปรดให้สร้างขึ้นบริเวณที่ประทับฝ่ายใน เป็น พลับพลาไม้หลังเล็ก
ๆ สร้างในสวนริมสระต่อจากพระที่นั่งอุทยาน ภูมิเสถียรไปทางทิศตะวันตก
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม)
เป็นอนุสาวรีย์หินอ่อน บรรจุพระ สรีรังคาร ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา
อนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์และเจ้าฟ้าสามพระองค์
อยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์พระ นางเรือล่ม
สภาคารราชประยูร เป็นตึก
2
ชั้น อยู่ริมแม่น้ำนอกกำแพงพระราชวัง ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งวโรภาสพิมานด้าน
ทิศใต้ รัชกาลที่ 5 โปรดให้
สร้างเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้า
เหมมณเฑียรเทวราช เป็นศาลประดิษฐานเทวรูปรัชกาลที่
5
โปรดให้สร้างขึ้นตรงศาลเดิมที่ชาวบ้านสร้าง อุทิศถวายสมเด็จ-
พระเจ้าปราสาททอง
วัดชุมพลนิกายาราม อยู่บริเวณหัวเกาะตรงสะพานข้ามไปสถานีรถไฟ
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ สร้างเมื่อ พ.ศ.
2175
วัดพระนิเวศน์ธรรมประวัติ อยู่นอกเกาะทางด้านทิศใต้คนละฝั่งกับพระราชวัง
รัชกาลที่
5 โปรดให้สร้างให้ มีรูปทรงต่างจากจังหวัดอื่นๆ
เป็นศิลปะแบบกอทธิก สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2421
โปรดให้เป็นพระอาราม สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายนิกายธรรมยุติ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม หรือวังหน้า
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ใกล้ตลาดหัวรอ
สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
เมื่อ พ.ศ.2112
เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราช
และพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ.2310
วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมาก และถูกทิ้งร้าง
จนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้โปรดให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยา และพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับ
เมื่อเสด็จพระพาสพระนครศรีอยุธยา และสมัยรัชกาลที่ 7
โปรดให้เปลื่ยนเป็น ศาลากลางจังหวัด จนกระทั่งได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว
กรมศิลปากร
จึงได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์
อังคาร และวันหยุดขักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. -
16.00 น.
โบราณสถานที่น่าสนใจ กำแพงและประตูวัง เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่
4
ของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เป็นในปัจจุบัน
เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านในและพบซากอิฐในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง
พลับพลาจตุรมุข เป็นพลับพลาเครื่องไม้ตั้งอยู่บนศาลาใกล้ประตูด้านทิศตะวันออก
เดิมเป็นที่ประทับของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเวลาเสด็จประพาส
ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องลายครามของจีน อาวุธสมัยโบราณ
และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิมานรัตยา
เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวัง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี
ปัจจุบันแสดงพระพุทธรูป เทวรูป พระพิมพ์สมัยต่าง ๆ
และเครื่องไม้จำหลักสมัยอยุธยา พระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์ (หอส่องกล้อง)
เป็นหอสูงสี่ชั้น อยู่ริมพระราชวังด้านทิศตะวันตก สร้างในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2
หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 4
ตามรากฐานเดิม ทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดาว
วัดพระราม
สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระราม
ขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 (พระเจ้าอู่ทอง)
พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์
วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถ
และอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่
จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบัน
วัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสน
ใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร ภายในวัดยังปรากฎซากวิหารใหญ่
องค์พระปรางค์ที่มีระเบียงโอบล้อม
มีพระพุทธรูปศิลาปรักหักพังตั้งเรียงรายโดยรอบ และมีพระอุโบสถอยู่ทางทิศเหนือ