ประวัติ
วัดสุทัศน์เทพราราม
วัดสุทัศน์เทพวราราม อยู่ที่ถนนบำรุงเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มีพระราชประสงค์จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหาร วัดพนัญเชิง
เป็นศรีสง่าแก่พระนคร ได้พระราชทานนามไว้ว่า "วัดมหาสุทธาวาศ"
แต่สร้างยังไม่ทันเสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงดำเนินงานต่อ และพระราชทานนามว่า
"วัดสุทัศน์เทพวราราม" สร้างเสร็จสมบูรณ์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่วัดสุทัศน์ไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่น ๆ เพราะมีสัตตมหาสถานเป็นอุเทสิกเจดีย์
(ต้นไม้ สำคัญในพุทธศาสนา 7
ชนิด) แทนที่อยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต)
พระประธานของวัดที่ใด้ ชะลอมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
และบานประตูพระวิหาร ซึ่งเป็นศิปกรรมชั้นเยี่ยมทางด้านการแกะสลักในสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะคู่ที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติครับ
นามวัด
๑ . วัดพระใหญ่
๒. วัดพระโต
๓. วัดเสาชิงช้า
๔. วัดมหาสุทธาวาส
๕. วัดสุทัศน์เทพราราม
ผู้สร้างและมูลเหตุที่สร้าง
วัดนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้
มีเรื่องราวปรากฏมาว่า เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว
ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า
ครั้งบ้านเมืองดี
รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา
ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ
เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑
ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น
๒
อนึ่งในหนังสือ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวถึงตำนานของวัดไว้ตอนหนึ่งความว่า
๒๑๖.
พระโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนครให้สูงเท่าวัดพนัญเชิง
ให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปรับพระใหญ่ ณ เมืองสุโขทัย ๓ ชะลอเลื่อนลงมากรุง
ประทับท่าสมโภช ๗ วัน ณ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ยกทรงเลื่อนชักตามทางสถลมารค
พระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระ ทุกหน้าวัง หน้าบ้านร้านตลาด
ตลอดจนถึงที่ประชวรอยู่แล้ว
แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมีหวังที่หน่วงโพธิญาณจะโปรดสัตว์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่จนถึงพลับพลา
เสด็จขึ้นเซพลาด เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรา รับทรงพระองค์ไว้
๒๒๐. พระศรีศากยมุนี
มีรายจารึกไว้ในแผ่นศิลาตั้งศักราชว่า ไปข้างหน้าลุงจะให้สัตย์ต่อหลาน
ผู้น้อยจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้น้อย จารึกไว้แต่แรกสร้างยังอยู่
๒๒๑. แล้วยกพระขึ้นที่ เสด็จ กลับ
ออกพระโอษฐ์เป็นที่สุดเพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่ สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว
จดหมายเหตุฉบับเดียวกันกล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า
แล้วทรงพระดำริให้ช่างเขียนอย่างลายเส้นบานประตู
วัดพระใหญ่ ยกเข้าไปทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพ
กับกรมหมื่นจิตรภักดี ๔ ฯลฯ o ณ วันพุธ เดือน ๑ แรม ๑ ค่ำ
พระโองการรับสั่งให้ชักพระประธานทรงหล่อหน้าตัก ๓ มาประทับสมโภชมีการมหรสพพร้อม
ณ พระทวารวิเศษไชยศรี
ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑ แรม ๒ ค่ำ
ชักพระพุทธรูปทรงเลื่อน ชักแห่ประโคมฆ้องกลองชัยชนะครื้นครั้นสนั่นเสียง
มโหรีจีนไทยแขกมอญมีโรงโขนละครงิ้วมอญรำหุ่นฝุ่นเมืองเหนือหนุนมานมัสการ
ทั้งได้ดูงานสมโภช สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดินทร์บรมบาทเสด็จทรงพระราชยาน
เสด็จตามชินาจารย์พระพุทะองค์เสด็จประทับยังพลับพลา
แล้วชะลอเลื่อนข้ามตะพานมาตลอดพ้น ราษฎรเกลื่อนกล่นกว่าหมื่นพันชวนกันมาวันทา
เข้าชักพร้อมหน้าจนถึงที่สถิตสถานพระอุโบสถปรากฏการมหรสพสมโภช
สำเนียงเสียงเสนาะโสตปราโมทย์โมทนาพิณพาทย์ทำบูชาสัก ๑๐๐ วง ฉลองพระองค์ชินวร
สโมสรแสนเกษมเปี่ยมเปรมอิ่มด้วยศรัทธาถ้วนหน้าประชาชน
พระโอการรับสั่งขนานนามวัดให้ชื่อ วัดสุทัศนเทพธาราม
๕
พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่าด้วยจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีทรงไว้ว่า
๒๑๖. วัดสุทัศน์นี้เป็นกึ่งกลางพระนครจึงตั้งเทวสถานมีเสาชิงช้า
ณ ที่นั้น ตามประเพณีพระนครโบราณ ข้อซึ่งว่า จะให้สูงเท่าวัดพนัญเชิงนั้น
ก็ชอบกลเพราะถมพื้นสูงขึ้นไปมาก ในพระนครซึ่งเป็นที่ลุ่ม
พระฤกษ์ก่อรากพระวิหาร
เรื่อง
สร้างวัดสุทัศน์นี้ ค้นหมายได้ในกระทรวงวัง
ตั้งแต่ขุดรากไปจนก่อฤกษ์และการสมโภชพระพุทธรูปใหญ่
ซึ่งเชิญลงมาแต่เมืองสุโขทัย ได้ความว่าพระราชดำริเดิมได้พระราชทานนามวัดว่า
มหาสุทธาวาศ
ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสุทัศน์ ใจความที่ได้จากในหมายนั้นดังนี้
ฉบับหนึ่ง ด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ์รับสั่งใส่เกล้าฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า พระฤกษ์จะได้ขุดรากพระวิหาร วัดทำใหม่
ณ เสาชิงช้า พระราชาคณะ ๒๐ รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ ณ วัน ๑ ฯ ๔ ๓ ค่ำ
ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐ เพลาบ่าย ครั้นสวดพระพุทธมนต์จบแล้ว
พระสงฆ์ราชาคณะ ๕ รูปจะได้ประน้ำพระพุทธมนต์
คนผู้กระทำการเครื่องหัตถกรรมและที่ขุดทั้งปวง แล้วโหรจะได้บูชาเทวดา ๘ ทิศ
และพระภูมิเจ้าที่กรุงพาลีตามประเพณีไสยศาสตร์นั้น ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน ๒ ฯ ๕ ๓
ค่ำ เพลาย่ำฆ้องรุ่งจะได้ตั้งบายศรีซ้ายขวาบูชาพระฤกษ์ ครั้น เถิงเพลาเช้า โมง
๓ บาท ได้พระมหาพิชัยฤกษ์ ให้ลงมือขุดรากพระวิหารให้พร้อมกัน
ครั้นพระสงฆ์ถวายชัยมงคลแล้ว จะได้พระราชทานฉัน ให้นายด้านกองวัดปลูกโรงมีพาไล
ประดับด้วยราชวัติฉัตรกระดาษผูกต้นกล้วยต้นอ้อย
สำหรับพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์โรงหนึ่ง
ให้ตำรวจเอาเตียงมีเสาโครงเพดานไปตั้งสำหรับพระพุทธรูปเตียงหนึ่ง
เตียงรองเครื่องนมัสการเตียงหนึ่ง สังฆการีเชิญพระพุทธรูปห้ามสมุทรไปตั้งเป็นประธานองค์หนึ่ง
บาตรน้ำ ๕ มีเทียนติดปากบาตร ต่อนั้นไปก็สั่งตามเคย
แปลกแต่ให้ราวรับสายสิญจน์รอบจังหวัดที่จะขุด
และให้เกณฑ์คนส่งให้นายด้านที่จะขุดราก ๑ , ๒๐๐ คน
อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง อาหารเวลานั้นช่างถูกจริงๆ ข้าวสารจ่ายตากหาก
ส่วนราคากับข้าว สำรับคาวสำรับละสลึงเฟื้อง หวานสำรับละสลึง
ให้มีขนมจีนน้ำยาด้วย
อีกฉบับหนึ่ง ด้วยพระยามหาอำมาตย์
รับสั่งใส่เกล้าฯ สั่งว่า หลวงโลกทีปโหรมีชื่อว่า
กำหนดพระฤกษ์จะได้ก่อรากพระวิหาร วัดมหาสุทธาวาศ ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ ๔ ฯ ๑๐ ๖ ค่ำ
ปีมะโรงสัมฤทธิศก (จุลศักราช ๑๑๗๐) เพลาบ่าย ๒ โมง ๖ บาท พระราชาคณะ ๕๐ รูป
จะได้สวดพระพุทธมนต์ ครั้นรุ่ง ขึ้น ณ วัน ๕ ฯ ๑๑ ๖ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ โมง ๖
บาท พระฤกษ์จะได้ก่อพระวิหาร แล้วพระสงฆ์จได้รับพระราชทานฉันให้นายด้านปลูกโรงสำหรับพระสงฆ์โรงหนึ่ง
มีราชวัติธงประดับต้นกล้วยต้นอ้อย ศาลเทวดา ๔ ศาล
ให้ปักไม้พาดราวรับด้วยสายสิญจน์ให้รอบพระวิหาร
แล้วให้เอาธงจีนไปปักปลายเสาแบบให้ครบทุกเสา ให้แปดตำรวจปลูกพลับพลาข้างหน้าข้างใน
ฉนวนที่สรงที่ลงพระบังคนให้พร้อม ตั้งเตียงพระพุทธรูป
เชิญพระห้ามสมุทรไปตั้งเป็นประธานองค์หนึ่ง มีหม้อน้ำพระพุทธมนต์ ๕ ทราย ๕
ให้สนมรับเครื่องนมัสการทองน้อยต่อท่านข้างในไปตั้งให้สัสดีเกณฑ์ราชวัติฉัตรเบญจรงค์ปัก
๘ ทิศ เครื่องทองน้อยในที่นี้เห็นจะเป็นเครื่องทองทิศ เวลานั้นจะเรียกทองน้อย
เพราะมีข้อบังคับว่า ให้มีธูปเทียนพุ่มข้าวตอกดอกไม้ สำหรับเครื่องให้พร้อม
นอกนั้นก็เรื่องเลี้ยงพระตามเคย
พระศรีศายมุนีมาถึง
อีกฉบับหนึ่ง ด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรับสั่งใส่เกล้าฯ
ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาให้อาราธนาพระพุทธรูปซึ่งอยู่
ณ เมืองสุโขทัยลงมากรุงเทพฯแล้ว ทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้า พระตำหนักแพ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการมหรสพสมโภชเพลากลางวัน กลางคืน ครั้นถึงวัน ๓ ฯ ๙
๕ ค่ำ (ไม่มีปี ไม่มีศักราช เห็นจะเป็นปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐)
เพลาเช้า พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันที่เรือบัลลังก์ แล้วเถิงเพลาบ่าย ๒ โมง
จะได้ตั้งบายศรี ทอง เงินตอง ที่เรือหน้าพระพุทธรูป สมโภชเวียนพระเทียนนั้น
ให้ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนมารับแว่นเวียนพระเทียนให้พร้อม
จงทุกหมู่ทุกกรม อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
สั่งบายศรีแปลกอยู่ บายศรีเงินสำรับ ๑ ทองสำรับ ๑ ตอง
๒ สำรับ รวม ๔ สำรับให้มีพุ่มข้าว ขันเชิงพานรองนำวักแว่น (สำหรับ) เวียนเทียน
ติดเทียน เทียนยอดบายศรีแป้งหอม น้ำมันหอม
อนึ่ง พระพุทธรูปนั้นไม่ใช่องค์เดียวเห็นจะ ๓ องค์
จึงสั่งเครื่องนมัสการให้สนมพลเรือนรับเครื่องทองน้อย
สำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำรับ ๑
เครื่องกระบะมุกสำหรับบูชาพระพุทธรูปองค์น้อย ๒ สำรับ
เชิญพระศรีศากยมุนีสถิตวัดสุทัศนเทพวราราม
หมายฉบับที่ ๓ นี้ ควรจะอยู่ที่ ๒
แต่เหตุไฉนเขาจึงจดไว้เป็นที่ ๓ ก็ไม่ทราบ ครั้นจะคัดขึ้นไปไว้ที่ ๒ เกรงจะผิด
เหตุด้วยหมายฉบับหลังไม่มีปีและศักราช จึงได้ลงเรียงไว้ตามลำดับเดิม
แต่ไม่เห็นมีท่าทางที่จะผิดด้วยการที่หล่อแก้ซ่อมแปลง ได้ทำที่วัดสุทัศน์
มีเดือนปีปรากฏว่าเป็นเดือนยี่ปีมะโรงสัมฤทธิศก สมโภชพระเดือน ๕
ปีมะเส็งเอกศกไม่ได้ เพราะพระไม่ได้ไปถึงที่ดังนี้
๒๑๗. ณ ๒ ๑ ฯ ๕ ๖ ค่ำ
ทรงยกเลื่อนชักตามทางสถลมารค
พระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวังหน้าบ้านร้านตลาดจนถึงที่
๒๑๗. การชักเลื่อนพระตามทางบกนั้น
แพพระพุทธรูปได้มาเทียบที่ท่าช้าง แต่ที่ท่าช้างประตูเมืองไม่ตรงถนน
ถึงว่าจะตรงถนน พระก็ใหญ่กว่าประตูเข้าไม่ได้ จึงต้องรื้อกำแพง
เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่
ด้วยเหตุนั้นในราชการจึงเรียกเป็นท่าพระมาทุกวันนี้
๒๑๘. ทรงพระประชวรอยู่แล้ว
แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมี หวังที่หน่วงโพธิญาณจะโปรดสัตว์ ทำนุกบำรุงพระศาสนา
เสด็จพระดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นเซพลาด
๒๑๘.
เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทตามกระบวนนี้
ดูเป็นลักษณะอย่างเดียวกันกับแบกตัวลำยอง (กรมหลวงพระราชวังบวรทรงแบกตัวไม้ลำยองด้วยพระองค์เอง
ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกจนถึงยอดเขาพระพุทธบาท) เห็นจะเสด็จพระราชดำเนินได้จริง
เพราะการชักพระเช่นนี้คงจะเดินไปช้าๆ และไปติดไปขัด ต้องหยุดเอะอะกันบ่อยๆ
เป็นเวลาได้ทรงพัก แต่คงจะทรงเหนื่อยมาก เพราะทรงพระประชวรอยู่แล้วจึงได้เซ
๒๑๙.
เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรารับพระองค์ไว้
๒๑๙. กรมขุนกษัตราองค์นี้
คือเจ้าฟ้าเหม็น เดิมเป็นเจ้าฟ้าสุพันธุพงษ์ แล้วเปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์
ได้เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต
๒๒๐. พระศรีศากยมุนี ๖ (ทำเนียบนามภาค
๑ หน้า ๓ เป็น พระศรีสากยมุนี (วิจิตร))มีลายจารึกไว้(ใน)
แผ่นศิลาตั้งศักราชว่า ไปข้างหน้าลุงจะให้สัตย์ต่อหลาน ผู้น้อยจะเป็นผู้ใหญ่ ๆ
จะได้เป็นผู้น้อย จารึกไว้แต่แรกสร้าง(มี)อยู่
๒๒๐. คำจารึกแผ่นศิลาที่พระศรีศากยมุนี
ซึ่งผู้แต่งนำลงไว้ในที่นี้ เห็นจะเป็นด้วยเห็นจริงในใจว่า
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์เป็นอาว์
ถวายสัตย์ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นหลาน
๒๒๑. แล้วยกพระขึ้นที่
เสด็จกลับออกพระโอษฐ์ในที่สุดเพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สุดเท่านั้นแล้ว
๒๒๑. ซึ่งกรมหลวงนรินทรเทวี
กล่าวถึงยกพระขึ้นที่ในข้อนี้ เมื่อตรวจสอบสวนหลายแห่งเข้าใจได้ความว่า
ท่านไม่ได้หวังจะกล่าวว่าพอแห่พระไปถึงแล้ว
ก็เชิญขึ้นตั้งที่ทีเดียวเป็นอันได้ความ
การเชิญพระขึ้นตั้งที่นั้นควรเป็นปีมะเส็งเอกศกต้นปี จวนสวรรคตอยู่แล้ว
ถ้าลำดับการวัดสุทัศน์ และแห่พระศรีศากยมุนี ทั้งน้ำทั้งบกเห็นจะเป็นดังนี้
เดือน ๓ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙
ขุดราก
เดือน ๕ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช
๑๑๗๐ พระศรีศากยมุนีลงมาถึงสมโภช
ดือน ๖ แห่ขึ้นทางบก
ขึ้นไปวัดสุทัศน์ในเดือน ๖ นั้นเอง ก่อฤกษ์แต่ได้ความต่อไปว่า
ได้ทรงปฏิสังขรณ์แก้ไขพระศรีศากยมุนี เททองใหม่ที่วัดสุทัศน์นั้นเอง
แรกที่จะรู้เรื่องนี้ได้เห็นคำอาราธนาเทวดา สำหรับราชบัณฑิตอ่าน
ซึ่งได้มาแต่หอสมุด มีเนื้อความขึ้นนโม ๓ จบ อิติปิโสจบแล้ว
จึงอาราธนาออกชื่อว่า ข้าพระพุทธเจ้า พระยาธรรมปรีชา หลวงธรรมสุนทร หลวงเมธาธิบดี
ขุนศรีวรโวหาร ราชบัณฑิตยาจารย์ทั้งปวง พร้อมกันทำอัชเฌสนกิจอาราธนาสัตยาธิษฐาน
เฉพาะพระพักตร์ พระศรีรัตนตรัยเจ้า ด้วยสมเด็จพระบรมขัตติยาธิบดินทร์ปื่นประชามหาสมมติเทวราช
พระบาทบพิตรพระเจ้าอยู่หัว (ต่อไปก็สรรเสริญพระบารมีและพระราชศรัทธาบำรุงพระพุทธศาสนาแผ่พระราชกุศล
แล้วจึงดำเนินความต่อไปว่า) บัดนี้ทรงพระราชศรัทธากระทำการปฏิสังขรณ์
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ตรำแดดตรำฝน ต้องเพลิงป่า หาผู้จะพิทักษ์รักษามิได้
อยู่ที่เมืองสุโขทัยนั้น
ทรงพระกรุณาเจดีย์ฐาน
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ไหว้ที่สักการบูชา
ลักขณะอันใดมิได้ต้องด้วยพุทธลักขณะผิดจากบาลีและอรรถกถานั้น
ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้ต้องด้วยพระอรรถกถาและพระบาลี ตั้งพระทัยจะให้พระราชพิธี
ปฏิสังขรณ์นี้สำเร็จโดยสิริสวัสดิ์ปราศจากพิบัติบกพร่อง
การที่จะใส่ไฟสำรอกขี้ผึ้งเททองนั้นจะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ต้องด้วยพระราชประสงค์จงทุกประการ จึงมีพระราชบริหารดำรัสสั่ง
ให้อาราธนาพระเถรานุเถระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี
มีสมเด็จพระสังฆราชาธิบดีเป็นประธาน ให้มาประชุมกันเจริญพระปริตร
ขอพระรัตนตรัยให้ช่วยอภิบาลบำรุงรักษาข้าพระพุทธเจ้าราชบัณฑิตมาอาราธนาอันเชิญ
เทพยเจ้าทุกสถาน สัคเค กาเม จรูเป ฯลฯ ลงท้ายเป็นคำสัตยาธิษฐาน ยัง กินจิ
รัตนัง โลเก ฯลฯ แล้วก็จบ
เมื่อได้เห็นเช่นนี้
ถึงว่าจะเชื่อว่าเป็นประกาศรัชกาลที่ ๑ ก็ยังไม่สู้แน่
ภายหลังได้พบหมายเป็นข้อความต้องกัน จึงเอาเป็นแน่ได้ ในหมายฉบับนี้ว่า
พระชำนิรจนารับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
ซึ่งสั่งไปแต่ก่อนว่าจะได้หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดเสาชิงช้า ณ วัน ๓ ฯ ๒ ๔
ปีมะเส งสัมฤทธิศก เพลาบ่ายสามโมงนั้นบัดนี้โหรมีชื่อ คำนวณพระฤกษ์ทูลเกล้าฯ
ถวายเลื่อนเข้ามา พระสงฆ์ ๓๐ รูปจะได้เจริญพระพุทธมนต์ เพลาบ่ายวันขึ้น ๒ ค่ำ ๓
ค่ำ ๔ ค่ำ ครั้น ณ วัน ๔ ฯ ๕ ๒ เพลาเช้า ๒ โมง บาท ๑ พระฤกษ์จะได้เททอง
พระสงฆ์ที่สวดมนต์จะได้รับฉัน ให้นายด้านวัดปลูกโรงทึมสงฆ์ให้พอพระสงฆ์
ละสั่งอื่นๆ ต่อไปตามตำราหมาย
มีข้อยันกันว่า
อนึ่งให้พระราชบัณฑิตแต่งคำอาราธนาเทวดา
แล้วนุ่งผ้าขาวสวมเสื้อครุยไปอาราธนาเทวดา ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ
เพลาบ่าย ๕ ค่ำ เช้าทั้ง ๔ วัน มีบูชาจุฬาฐทิศทั้ง ๔ วัน
มีเกณฑ์ดอกไม้แขวน
แต่เรียกชอบกลว่า แล้วให้เย็บพวงมะโหด ร้อยพู่กลิ่นส่งให้สนมพลเรือน
ออกไปแขวนบูชาวันละ ๑๐๐ พวงทั้ง ๔ วัน
และมีกำหนดอีกหนึ่งว่าให้ล้อมวังเหลาไม้กลัดเข้าไปส่ง ณ ทิมดาบชาววัง
จะได้ส่งให้ท่านข้างในเย็บพวงมะโหด ๕๐ กำๆ ละ ๓๐ อัน ให้ส่งทั้ง ๓ วัน
เมื่อมีการต้องหล่อแก้อยู่เช่นนี้
ก็ต้องกินเวลาไปอีกช้านาน
เป็นเวลาที่ได้ก่อพื้นพระอุโบสถและฐานพระขึ้นไปถึงที่ทับ กันกับการตกแต่ง
คงจะได้ไปแล้วเสร็จยกพระพุทธรูปขึ้น ในที่ปีมะเส็งเอกศกใกล้เวลาเสด็จสวรรคต
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในเวลาพระขึ้นตั้งที่
อันเป็นเป็นเวลาทรงพระประชวรมากอยู่แล้ว จึงรับสั่งว่า
เพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว
เหตุด้วยทรงเป็นห่วงกลัวจะสวรรคตเสียก่อนที่ได้เชิญพระขึ้นที่ การแต่งพระศรีศากยมุนี
และการก่อฐานพระคงจะได้ทรงเร่งรัดอยู่มาก
ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นเชิญพระขึ้นที่ทันสมพระราชประสงค์
ทรงพระโสมนัสจึงทรงเปล่งอุทานว่า สิ้นธุระแล้ว
กรมหลวงนรินทรเทวี
นำมากล่าวในที่นี้ด้วยความยินดี ต่อพระราชศรัทธาพระราชอุตสาหะ
ทั้งหวังจะสรรเสริญพระราชสติสัมปชัญญะ ซึ่งทรงกำหนดทราบกาลของพระองค์
ถ้าหากว่าไม่ทรงประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และมิได้ผูกพันพระราชหฤทัย
ในการที่จะได้ทอดพระเนตรเห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ไม่ทรงเร่งรัดให้การนั้นสำเร็จไปพร้อมกัน
ช้าไปอีกไม่เท่าใดก็จะไม่ได้ทอดพระเนตรเห็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ได้ทรงสร้างปราสาทราชมนเทียรพระราชวัง พระนครและพระอารามใหญ่ อย่างวัดพระเชตุพนเป็นต้น
มิได้ทอดทิ้งให้การนั้นติดค้างอยู่เลย
ย่อมทำให้แล้วสำเร็จทันทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นไว้แต่วัดสุทัศนเทพวราราม
ซึ่งได้ลงมือเมื่อปลายแผ่นดินเสียแล้ว
จึงไม่ทรงหวังพระราชหฤทัยว่าจะได้ทอดพระเนตรการพระอารามนั้นแล้วสำเร็จ
ทรงกำหนดพระราชหฤทัยไว้แต่เพียงให้ได้เห็นพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งที่ก็เป็นอันพอพระราชประสงค์
ความที่ทรงมุ่งหมายนั้นได้สำเร็จดังพระราชประสงค์ คำซึ่งรับสั่งว่าสิ้นธุระนั้น
กรมหลวงนรินทรเทวีจึงถือว่าเป็นคำปลงพระชนมายุ ณ เดือน ๗ เดือน ๘
ทรงพระประชวรหนักลง ณ วัน ๕ฯ ๑๓ ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒)
ปีมะเส็งเอกศก เวลา ๓ ยาม ๘ บาท เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๘ ปี
(สิ้นประวัติการก่อฤกษ์พระวิหารพระศรีศากยมุนีเพียงนี้)
สมัยรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เสวยราชสมบัติในปีนั้น
เมื่อได้ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว เมื่อปีมะแมตรีศก จุลศักราช
๑๑๗๓ ถึงปีระกาเบญจศกจุลศักราช ๑๑๗๕ จึงได้ทรงสร้างวัดสุทัศน์ต่อมา
โดยพระราชดำริว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้น
สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระดำริจะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนคร
พอก่อรากพระวิหารประดิษฐานพระศรีศากยมุนีแล้ว ก็พอสิ้นรัชกาล
ยังมิได้ประดิษฐานเป็นสังฆาราม ซี่งเรียกกันในเวลานั้นว่า วัดพระโต
จึงโปรดให้สถาปนาต่อมา สร้างพระวิหารยังไม่แล้ว แล้วทรงพระดำริให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่ยกเข้าไป
ทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพกับกรมหมื่นจิตรภักดี
เรื่องบานประตูวัดพระใหญ่ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าพระโต
คือพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์นี้ได้ความชัดเจนดีนัก ประหลาดที่ไม่ใคร่จะมีใครรู้
เล่ากันไปต่างๆ นานา แต่ที่ทรงเองเห็นจะเป็นบานกลาง เมื่อรัชกาลที่ ๔
ทรงสร้างพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์
มีพระราชประสงค์อยากจะให้สลักบานอย่างพระวิหารพระศรีศากยมุนี
โปรดให้กรมขุนราชสีห์และช่างสลักมีพระยาจินดารังสรรค์เป็นต้น
ไปคิดอ่านสลักให้เหมือนเช่นนั้นไม่สำเร็จต้องสลักเป็นสองชั้นซ้อนกันลงเพราะถากไม้ไม่เป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงถากรูปหุ่นดีนัก
จึงได้ถากลายบานนี้ได้เพราะเป็นการเหลือวิสัย ที่ช่างเขียนหรือช่างสลักจะทำ
ไม้บานประตูพระวิหารนี้
เป็นไม้กระดานแผ่นเดียวสลักดีไม่มีที่ไหนเหมือน
อันเป็นของที่ควรชมอยู่ทุกวันนี้ ไม้บานหนา ๑๖ เซ็นต์ หน้ากว้าง ๑.๓๐ เมตร
ยาวหรือสูง ๕.๖๔ เมตร สลักลึกลงไป ๑๔ เซ็นต์ เป็นรูปภูเขาต้นไม้ มีถ้ำคูหา
และรูปสัตว์ต่างๆ เสือ ลิง กวาง หมู จะขาบ งู อึ่งอ่าง นก และอื่นๆ อีกมาก
สลักเป็นรูปเด่นเป็นตัว สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ น่าพิศวงมาก
ซึ่งไม่เห็นมีที่ไหนจะทำได้เหมือนอย่างนี้ มีคำเล่าสืบกันมาว่า
ช่างที่สลักบานพระวิหารพระโตนี้ เมื่อทำการเสร็จแล้ว
ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือน จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสีย
ข้อนี้ทางสันนิษฐานเห็นว่า เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักนั้น
ให้ประดิษฐ์ทำขึ้นใช้ทำการอื่นอีกไม่ได้ต้องยุบทำอย่างอื่นต่อไป
มีคำเล่ากันว่าเมื่อมีความประสงค์จะต้องการเครื่องมือเล็กใหญ่รูปคดโค้งอย่างไร
ก็สั่งให้ช่างเหล็กทำขึ้นอย่างนั้นสำหรับใช้ในการนั้น
ครั้นเสร็จการนั้นแล้วเครื่องมือนั้นก็ใช้การอื่นไม่ได้
เป็นเหมือนเอาเครื่องมือทิ้งน้ำ คงเอาไว้แต่ลายฝีมือ ข้อนี้เป็นความสันนิษฐาน
แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นไม่ทราบ สุดแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณาลงสันนิษฐานฯ
การสร้างพระวิหารพระศรีศากยมุนี
ในรัชกาลที่ ๒ เพียงแต่ตัวประธานพระวิหารยังไม่มีมุขเด็จหน้าหลังทั้ง ๒ ด้าน
ช้านานประมาณ ๑๐ ปี ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ ยังไม่ได้ยกช่อฟ้าใบระกา
และยกบานประตูหน้าต่าง ทรงสลักบานประตูยังค้างอยู่ ก็ทรงพระประชวร ครั้นถึงวัน
๔ฯ ๑๓ ๘ ค่ำ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ ก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ ปี ๑๐
เดือน ๑๔ วัน (๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗)
สมัยรัชกาลที่ ๓
ต่อมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดสุทัศนเทพวรารามอีก
และในรัชกาลนี้เองได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามพระอารามว่า
วัดสุทัศนเทพวราราม
ดังมีความปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า
ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโต เสาชิงช้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมื่อปลายแผ่นดินก็โปรดให้ทำพิหารใหญ่ขึ้น การยังไม่ทันแล้วเสร็จ
เชิญเสด็จพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้ การที่อื่นยังมิได้ทำ
ก็พอสิ้นแผ่นดินไปครั้งนี้จะต้องทำเสียให้เป็นวัดขึ้นให้ได้
จึงให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองดูทั่วไปทั้งวัดให้พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นพิทักษเทเวศรทำพระอุโบสถใหญ่และทำพระระเบียงล้อมพระวิหารการนั้นก็แล้วสำเร็จทั่วทุกแห่งทั้งกุฏิสงฆ์ด้วย
จึงให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกอยู่วัดเกาะแก้ว
ตั้งเป็นพระพิมลธรรมเป็นเจ้าอธิการจัดเอาพระภิกษุในวัดพระเชตุพนวัดมหาธาตุ
วัดราชบุรณะ รวมได้ ๓๐๐ รูปไปอยู่เป็นอันดับพระราชทานชื่อ วัดสุทัศนเทพวราราม
แต่ในหนังสือเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่
๓ ฉบับกรมราชบัณฑิตพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ ว่า ต่อมา
จุลศักราช ๑๑๙๖ (พ.ศ. ๒๓๗๗) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโตนั้น
เมื่อในปัจฉิมรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ก็ได้โปรดให้ทำพระวิหารใหญ่ขึ้น การก็ยังไม่ทันแล้ว เชิญพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้
การอื่นก็ยังมิได้กระทำอะไรลง ก็พอเสด็จสวรรคตล่วงไป
ครั้งนี้จะต้องขวนขวายให้เสร็จจงได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศ
กับพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ปันหน้าที่กันดูแลทำทั่วไปทั้งพระอาราม
ครั้นการเสร็จแล้วพระราชทานนามว่าวัดสุทัศนเทพวราราม แล้วสร้างพระวิหารจนสำเร็จ
และโปรดให้สร้างพระอุโบสถ
ส่วนพระประธานในพระอุโบสถนั้นหล่อขึ้นใหม่ที่โรงหล่อในพระบรมมหาราชวัง
จะเป็นวันเดือนปีใดยังไม่พบหมาย
เป็นแต่ได้ความตามหนังสือตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ
ซึ่งราชบัณฑิตยสถานรวบรวมมีความย่อๆ ว่า
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อเมื่อทรงสถาปนาพระอารามใหญ่กว่าพระที่หล่อในกรุงรัตนโกสินทร์องค์อื่นๆ
หน้าตักกว้างถึง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ
ดังนี้ แต่ในจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า ณ วัน ๔ฯ ๑๑ ๑ ค่ำ
(ปีระกานพศก จุล
ศักราช ๑๑๙๙) พระโองการรับสั่งให้ชักพระประธานทรงหล่อหน้าตัก ๓ (๒ วา ๓ ศอก ๑
คืบ) มาประทับสมโภช
มีการมหรสพพร้อมที่พระทวารวิเศษไชยศรี
(ยังไม่ได้สอบสวนให้แน่) ณ วัน ๕ฯ ๒ ๑ ค่ำ
ชักพระพุทธรูปทรงเลื่อนชักแห่ประโคมฆ้องกลองชัยชนะครื้นครั่นสนั่นเสียงมโหรี
จีนไทยแขกมอญ มีโรงโขนละคร งิ้ว มอญรำ หุ่น ฝุ่นเมืองเหนือหนุนมานมัสการ
ทั้งได้ดูงานสมโภช สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดินทร์บรมบาทเสด็จทรงพระราชยานเสด็จตามชินาจารย์พระพุทธองค์
ประทับทรงเสด็จยังพลับพลา
แล้วชะลอเลื่อนข้ามตะพานมาตลอดพ้นราษฎรกล่นเกลื่อนกว่าหมื่นพันชวนกันมาวันทา
เข้าชักพร้อมหน้าจนถึงที่สถิตสถานพระอุโบสถ ปรากฏการมหรสพสมโภช
สำเนียงเสียงเสนาะโสต ปราโมทย์โมทนาพิณพาทย์ทำบูชาสัก ๑๐๐ วง ฉลองพระพุทธองค์ชินวร
สโมสรแสนเกษม เปี่ยมเปรมอิ่มด้วยศรัทธา ถ้วนหน้าประชาชน
พระโองการรับสั่งขนานนามวัดให้ชื่อ วัดสุทัศนเทพธาราม (สิ้นข้อความจดหมายเหตุเพียงนี้)
ผูกพัทธสีมา
ครั้นต่อมาเมื่อปีเถาะเบญจศก
จุลศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ทรงพระกรุณาโปรดให้ผูกพัทธเสมาพระอุโบสถ กำหนด ณ
วันขึ้น ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ เพลาบ่ายทั้ง ๓ วัน
พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ครั้น ณ วัน ฯ ๑ ๒ ค่ำ พระราชาคณะ ฐานานุกรม ๔๐๐ รูป
ประชุมพร้อมกันผูกพัทธเสมาพระอุโบสถ รุ่งขึ้นวัน ฯ ๒ ๒ ค่ำ พระสงฆ์ ๔๐๐ รูป
รับพระราชทานฉันแล้วถวายไทยทาน
เจ้าพนักงานชาวพระเครื่องต้นกองในออกไปทำเครื่องถวาย
เจ้าต่างกรมและหากรมมิได้ทำสำรับเลี้ยง พระสงฆ์ ขุนนาง ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๒ ไปจนถึงแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่นั้น
ให้กรมนาจ่ายข้าวสารให้เจ้าพนักงานเครื่องต้นทำเครื่อง ข้าวเหนียวดำ ๓ ถัง ขาว
๓ ถัง ข้าวสารข้าวเจ้าที่ขาวเป็นตัวดี ๑๐ ถัง ให้เข้าโรงครัววัดสุทัศน์ฯ ณ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ให้กับวิเศษพวกหุงเลี้ยงพระสงฆ์เป็นตัวขาวดี ๔๐ ถัง
ขุนหมื่นนายด้านนาย งาน ๒๐ ถัง จ่ายให้แต่ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒
ให้เร่งเอาไปส่งจ่ายให้ทันกำหนด
อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายฟืนแสมสานขนาดกลางให้กับชาวพระเครื่องต้นทำสำรับ
๑๕๐๐ ดุ้น และวิเศษพวกหุงข้าวเลี้ยงพระสงฆ์นายด้านนาย งาน ๘๐๐ ดุ้น
เร่งจ่ายให้แต่ ณ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ อนึ่ง ให้นาย ศักดิ์ พันพุฒ
พันเทพราช จ่ายเลขเข้าโรงครัว ๒๐ คน ให้กับวิเศษ ๑๐ คน
สำหรับจะได้ตักน้ำผ่าฟืนใช้เบ็ดเสร็จ
ให้มีนายหมวดคุมไปส่งให้กับจะหมื่นอินทภาษที่โรงครัววัดสุทัศน์ฯ แต่ ณ วันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือนยี่เพลาเช้า อนึ่งให้นายแดงกองส่วนจัดใบตองมาส่งวันละ ๓๐ มัดๆ ๒๐
ยอด ให้มาส่ง ณ ทิมดาบชาววัง ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓, ๑๔,
๑๕ ค่ำทั้ง ๓ วัน ให้เอามาส่งที่โรงครัววัดสุทัศน์ฯ ณ
วันเดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรมค่ำ ๒ ค่ำทั้ง ๓ วัน
อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์สานกระจาดก้นกว้าง ๔๓๐ ใบ
ให้เจ๊กผูกหวายปิดกระดาษให้งามดีให้เอาไป
ส่งให้เสมียนตรากรมวังที่วัดสุทัศน์ แต่ ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตามรับสั่ง
จดหมายอีกฉบับหนึ่ง
ด้วยพระยารักษามณเฑียรรับพระราชโองการใส่เกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า
กำหนดจะได้อาราธนาพระสงฆ์ฐานานุกรมอันดับตั้งสวดพระพุทธมนต์ ณ
พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓, ๑๔,
๑๕ ค่ำ เป็นการคำรบ ๓ วัน ครั้นรุ่งขึ้น
ณ วัน ฯ ๑ ๒ ค่ำ
พระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรมอันดับจะได้ตั้งสวดพระพุทธมนต์ผูกพัทธสีมา
มีเครื่องเล่นสมโภชต่างๆ นั้น ให้เกณฑ์ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนพระราชวังหลวง
ราชวังบวร ซึ่งต้องเกณฑ์ราชวัติฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น
ในการพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุลาไล
มาปักตั้งแต่สะพานถ่านถึงสะพานเสาชิงช้ารอบกำแพง โดยยาวถึง ๒๔ เส้น ๑๘ วา
ฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น คันหนึ่ง ให้มีฉัตรกระดาษ ๖ ชั้นๆ ละ ๕ ชั้น โคมดอกบัว
ตามประทีป ๑๒ ดอก ราชวัติสำหรับฉัตร ๖ ผืน ให้มีนางสิงห์ด้วยจงทุกผืน
น้ำมันมะพร้าวตามประทีปให้ไปเบิกต่อคลังราชการและให้เจ้ากรมปลัดกรมสมุห์บัญชีเร่งรัดจัดแจงซ่อมแซมให้ดีงาม
ทำให้แล้วตามกำหนดแล้วให้เอาไปปักตั้งแต่ ณ วัน ๗ฯ ๑๐ ๒ ค่ำ
ครั้นเพลาพลบค่ำแล้ว
ให้เจ้าพนักงานผู้ต้องเกณฑ์จุดประทีปบูชาพระรัตนตรัยให้พร้อมกันทั้ง ๔ คืน
แต่โคมดอกบัวนั้นให้มาดูตัวอย่างที่วังกรมรักษ์รณเรศร์
จงทุกกรมแล้วให้ผู้ต้องเกณฑ์ทั้งนี้มาเฝ้าพิทักษ์รักษาฉัตรราชวัติ โคม
อย่าให้เป็นอันตรายได้ จนกว่าจะเสร็จการ
อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ผู้ต้องเกณฑ์ตามประทีปเสมอ วันละ
๑๒ ทะนาน อย่าให้ขาดได้ และสั่งอื่นๆ อีกตามตำราหมายฯ
บรรจุพระบรมธาตุ
ต่อมา ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ
โปรดให้แห่พระบรมธาตุไปบรรจุพระประธานในพระอุโบสถมีข้อความในหมายเหตุว่าด้วยพระยารักษามณเฑียร
รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ
เวลาเช้าจะได้แห่พระบรมธาตุไปบรรจุพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศน์นั้น
ให้เกณฑ์ทูลละอองเป็นคู่เคียงพระบรมธาตุ พระเทพรักษ์รณฤทธิ์ ๑ พระมหาสมบัติ ๑
ให้นุ่งสมปักลาย ใส่เสื้อครุยลำนอกเท้าให้เร่งมาเตรียมคู่เคียงให้ทันกำหนด
อีกฉบับหนึ่ง
สั่งว่าจะเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารค ทรงปิดทองพระประธานวัดสุทัศน์ ณ วันเดือน
๔ แรม ๙, ๑๐ ค่ำ เพลาบ่ายเพลาเช้าทั้ง ๒ เพลา
เกณฑ์ข้าราชการตั้งกองรายรับทางเสด็จ ตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีจนถึงวัดสุทัศน์ฯ
เป็นจำนวนคน ๒๘๗ คนนั้น ให้เจ้าพนักงานคลังราชการจ่ายไต้ ๒๘๗ ไปๆ
คอยจ่ายให้กับผู้ต้องเกณฑ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ
เพลาบ่าย กองพระยากำแหง กองหลวงจตุรงค์โยธา กองพระราชพิทไภย ๒๙ กองหลวงพลภาพ
กองหลวงปราบพลแสน ๓๐ กองหลวงวิจารย์สารี หลวงโภชยากร ๔๐
กองหลวงสุรินทรเดชหลวงเทพเดช ๔๐ กองหลวงเทเพนทร์ หลวงสรรพเพธ ๔๐ กองหลวง
ณรายฤทธาขุนวิจิตรจอมราช ๓๐
กับให้ผู้ต้องเกณฑ์มารับเอาไต้ต่อชาวพระคลังราชการที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แต่ ณ วัน ฯ ๙ ๔ ค่ำ เพลาบ่าย อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
อีกฉบับหนึ่งว่า
ด้วยพระยารักษามณเฑียรรับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า
จะเสด็จพระราชดำเนินไปวัดสุทัศน์ฯ ณ วัน ฯ๔ ค่ำ เพลาบ่าย
เสด็จทางพระวิหารออกทางพระวิหาร แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าเสด็จทางถนนตีทอง
ออกถนนตีทองนั้น ให้พันพุฒ พันเทพราช เกณฑ์จุกช่องถือคบเพลิงฟังการให้พร้อม
ให้คลังราชการเอาเสื่อลวดไปเตรียมรับเสด็จให้พร้อมตามสั่งรับ
อาราธนาเจ้าอาวาสองค์แรก
ต่อมาในปีเถาะจุลศักราช
๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ทรงสถาปนาสร้างกุฎีสงฆ์เสร็จแล้ว ถึง ณ วัน ๔ฯ ๑๑ ๖ ค่ำ
โปรดให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกาจารย์ ๑ วัดเกาะแก้วลังการาม (วัดสัมพันธวงศ์)
มาครองวัดสุทัศน์เป็นองค์แรก ภายหลังทรงเลื่อนขึ้นเป็นพระพิมลธรรม
และเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
ยกบานประตูพระอุโบสถ
ลุจุลศักราช
๑๒๐๖ (พ.ศ. ๒๓๘๗) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบานประตูพระอุโบสถ
มีข้อความในจดหมายกระทรวงวังว่าด้วยหลวงนายฤทธิ์มหาดเล็ก รับราชโองการใส่เกล้าฯ
สั่งว่ากำหนดฤกษ์จะได้ยกบานประตูพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ณ วัน ๘ฯ ๑๔ ๒ ค่ำ
เพลาเช้า ๓ โมงนั้น ให้ชาวพนักงานคลังฝ่ายซ้ายจัดขันล้างหน้า ๑ ใบ
ชาวพระคลังวิเศษจัดผ้าขาวกว้างคงปัก ยาว ๓ แขนผืน ๑
ไปส่งให้กับผู้รับสั่งสำหรับจะได้เป็นกำนันช่าง
อนึ่งให้เจ้าพนักงานพิณพาทย์สำรับ ๑ ฆ้องชัยสำรับ ๑ แตรสำรับ ๑ สังข์สำรับ ๑
กลองแปดสำรับ ๑ ให้ไปเตรียมคอยประโคมให้ทันฤกษ์ตามรับสั่ง
หล่อพระเจดีย์
สร้างสัตตมหาสถาน
ครั้นต่อมา ณ วัน ฯ ๕ ๑๑ ค่ำ
โปรดให้ช่างหล่อ หล่อพระเจดีย์หลังซุ้มเสมาวัดสุทัศนเทพวราราม
ให้กรมนาจ่ายข้าวสารให้แก่วิเศษหุงเลี้ยงช่างหล่อ ๒๐ ทะนาน
เพลาเช้าเหมือนอย่างทุกครั้ง ครั้นมาเมื่อ ณ วัน ๑๒ ฯ๑๒ ค่ำ โปรดให้ช่างหล่อๆ
แผ่นหน้าโขน หลังซุ้มเสมาและระฆังฝรั่งใส่วัดสุทัศน์ฯ (การหล่อพระเจดีย์และแผ่นหน้าโขนหลังซุ้มเสมานั้นหล่อด้วยดีบุกยังปรากฏอยู่
ณ บัดนี้) และโปรดให้สร้างสัตตมหาสถานเจดีย์ ๗
สถานก่อเป็นแท่นด้วยอิฐประดับด้วยศิลาแกะสลักสัตตมหาสถานที่สร้างนี้
ปลูกต้นไม้โพธิ์ ไม้ไทร ไม้จิก ไม้เกต และรูปเรือนแก้ว เป็นรูปเก๋งจีน
ทำด้วยศิลาล้วน กับทรงสร้างพระพุทธรูปปางประทับ
ในสัตตมหาสถานหล่อด้วยทองแดงขัดเกลี้ยง (ด้วยศิลาเนื้อละเอียด)
ปางมารวิชัยนั่งใต้ไม้โพธิ์ ๑ ปางยืนถวายเนตรประสานพระหัตถ์ที่พระเพลา ๑
ปางจงกรมแก้วพระศิลา ๑ ปางทรงพิจารณาธรรมนั่งสมาธิ ๑
ปางทรงประทับใต้ไม้ไทรสมาธิ ๑ ปางนาคปรก ๑ ปางทรงรับผลสมอ บาตร ข้าวสัตตุ
นั่งสมาธิใต้ต้นไทร กับโปรดให้หล่อรูปพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
ด้วยทองแดงขัดเกลี้ยง
หล่อรูปม้า
ลุจุลศักราช
๑๒๐๘ (พ.ศ. ๒๓๘๙) ณ วัน ฯ ๖ ๓ ค่ำ โปรดให้หล่อรูปม้า ๒ ตัว ใส่ที่พระวิหาร
ต่อมา ณ วัน ๗ฯ ๑๒ ค่ำ ในปีนั้น โปรดให้หล่อใหม่เพิ่มเติมอีก
สมโภชพระอาราม
ลุจุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐)
ในศกนี้โปรดให้มีการสมโภช มีข้อความในหมายว่า
ด้วยพระยาบำเรอรักษ์รับพระราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า
วันวิสาขบูชาให้เจ้าต่างกรม และหากรมมิได้ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย
ออกไปปฏิบัติเลี้ยงพระสงฆ์วัดสุทัศน์ จะให้มีละครดอกไม้เพลิงในการสมโภชฉลองทั้ง
๓ วัน ครั้น ณ วัน ฯ ๑๓ ๖ ค่ำ เพลาบ่าย พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ณ วัน ฯ ๑๔ ๖ ค่ำ
เพลาเช้าพระสงฆ์รับพระราชทานฉัน ณ วัน ฯ ๑๕ ๖ ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชา
มีการเวียนเทียนสมโภชบูชาฯ
๑.
อู่ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
ถ้าจะลำดับการสร้างวัดสุทัศน์ฯ
ในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สถาปนา ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๙๖ (พ.ศ. ๒๓๗๗) จนถึงจุลศักราช
๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐) ซึ่งเป็นปีสมโภชรวม ๑๓ ปี
ถ้าจะลำดับการสร้างตั้งแต่ขุดรากก่อฤกษ์พระวิหารในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีเถาะ
จุลศักราช ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ จุลศักราช ๑๒๐๙ (พ.ศ. ๒๓๙๐)
อันเป็นปีสมโภชรวม ๔๐ ปี
สมัยรัชกาลที่ ๔
ลุถึงรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างเพิ่มเติมต่อมาเมื่อจุลศักราช
๑๒๑๕ (พ.ศ. ๒๓๙๖) ทรงดำริว่า
วัดสุทัศน์นั้น พระศาสดา
ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยไปเชิญเอามาแต่วัดบางอ้อยช้างในกรุงเทพฯ
มาไว้ที่วัดประดู่ ทรงเห็นว่า พระศาสดา พระชินราช พระชินสีห์
ท่านอยู่วัดเดียวกันจะให้ไปอยู่วัดในเรือกสวนนั้นไม่สมควร
จึงให้ไปเชิญมาไว้หน้าพระอุโบสถต่อพระประธานใหญ่ออกมา
ภายหลังวิหารวัดบวรนิเวศแล้ว
ก็ให้เชิญพระศาสดาไปไว้แล้วให้สร้างพระพุทธรูปใช้ใหม่องค์ ๑ พระอสีติมหาสาวก ๘๐
องค์นั่งฟังธรรมเทศนา
ประดิษฐานแทนไว้ในพระอุโบสถแล้วถวายนามพระประธานในวิหารว่า
พระพุทธศรีศากยมุนี
พระประธานในพระอุโบสถถวายพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ ๑
โปรดให้เชิญพระพุทธศาสดามาวัดสุทัศน์
ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิการ เสนาบดี
รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
พระพุทธศาสดาหน้าตักกว้าง ๖ ศอก อยู่วัดประดู่ จะชักลงเรือสำปั้นแห่มาท่าพระ ณ
วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า จะได้เชิญพระลงเรือ
แห่มาแต่วัดประดู่มาประทับอยู่ท่าพระสมโภชคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน ฯ ๕ ๑๐
ค่ำ เพลาเช้า
จะได้ชักขึ้นจากท่าแห่ไปทางประตูวิเศษไชยศรีเลี้ยวป้อมเผด็จดัษกรถนนโรงม้า
ตรงไปถนนเสาชิงช้าไปไว้หน้ามุขพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม
ให้กรมนครบาลป่าวประกาศ ประชาราษฎรไทย จีน ตั้งเครื่องบูชาตามบก เรือ แพ
แล้วให้ไล่ โรงร้าน เรือ แพ อย่าให้กีดขวางทางที่จะแห่พระพุทธรูปได้เป็นอันขาด
อนึ่ง ให้พันจันทนุมาตย์เกณฑ์เรือกราด เรือราชการยาว ๙ ถึง ๑๐ วา ๓๐ ลำ
มีธงมังกรปักจำลองหน้าท้ายลำละ ๒ คัน ไปแห่ชักพระพุทธรูป
แต่วัดประดู่มาจนถึงท่าประตูท่าพระ ให้มีเชือกชักจูงทุกลำ แล้วให้เกณฑ์พิณพาทย์
๔ สำรับลงเรือพระพุทธรูป ๔ มุมเรือ ให้ไปลงเรือพระพุทธรูปที่วัดประดู่แต่ ณ วัน
ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งให้ทันกำหนด แล้วให้บอกบุญแก่กันกับนักเลงเพลง ปรบไก่
ดอกสร้อย สักวา ตามประดาที่มีอยู่ในกรุงเทพฯ ให้มาเล่นสมโภชพระพุทธรูปที่ท่าพระ
แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาค่ำ คืนหนึ่ง
อนึ่งให้แผ่พระราชกุศลไปในพระบวรราชวงศ์และให้จัดเรือญวน แจว ๑๐ ลำ ให้มีนาย
เรือ เชือกชัก ไปจูงเรือพระพุทธรูปที่วัดประดู่มาจนถึงท่าพระ
ให้นุ่งห่มตามประสา แล้วให้มีพิณพาทย์ จีน ไทย ลงเรือตีประโคมให้ครึกครื้น
อนึ่งให้ชาวพระคลังพิมานอากาศจ่ายโคมแก้วให้ ๔ ตำรวจ ๑๖ ใบ
ไปแขวนเรื่อยมาใส่พระพุทธรูปให้ทันกำหนด
อนึ่งให้ชาวพระคลังราชการจ่ายน้ำมันมะพร้าวให้ ๔ ตำรวจ ตามโคมแก้ว ๑๖
ใบให้พอคืนหนึ่ง อนึ่งให้กรมท่าพระจัดพิณพาทย์ ๔
สำรับไปแห่พระพุทธรูปแต่วัดประดู่ แต่วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ
เพลาเช้าให้หาเรือไปตามชอบใจ
อนึ่งให้สนมพลเรือนรับพวงดอกไม้ต่อท่านข้างในไปแขวนเพดาน พระพุทธรูปให้งามดี ๓๐
พวง ให้เร่งไปแขวนแต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ
เพลาย่ำรุ่งให้ไปแขวนที่ท่าวัดประดู่ให้ทันกำหนด อนึ่งให้พันพุฒ พันเทพราช
เกณฑ์เลขไพร่หลวง ๓๐๐ คน ให้มีนายหมวดกำกับดูแล แล้วให้ส่งต่อพระอินทรเทพ แต่ ณ
วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาบ่าย อนึ่งให้ชาวพระคลังวิเศษจ่ายผ้าขาวดิบให้ ๔ ตำรวจ
ทำเพดานระบายให้พอเรือ ประมาณพระพุทธรูปให้ทันกำหนดอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
๑.
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.๔ ฉบับสำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้า
๗๗๕-๗๗๖ (วิจิตร)
สร้างศาลาโรงธรรม
ลุจุลศักราช
๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกศาลาโรงธรรม มีหมายสั่งว่า
ด้วยจะหมื่นจงขวารับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ สั่งว่า
กำหนดฤกษ์จะได้ยกศาลาโรงธรรมที่วัดสุทัศนเทพวราราม ณ วัน ฯ ๑๒ ๙ ค่ำ
เพลาเช้าย่ำรุ่ง ให้พันพุฒ พันเทพราช จ่ายเลข ๓๐ คนกับนายการแต่ ณ วัน ฯ ๑๑ ๙
ค่ำ เพลาบ่าย
หล่อพระพุทธเสฏฐมุนี
พระพุทธรูปประธานในการเปรียญนั้น
หล่อในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีกุนเอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ (พ.ศ. ๒๓๘๒)
ด้วยกลักฝิ่นที่จับมาเผาเสีย หน้าตัก ๔ ศอก-คืบ-นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ถวายพระนามว่า พระพุทธเสฏฐมุนีฯ
ได้ความเพิ่มเติมว่า
ทรงปราบเรียบตั้งแต่ภาคกลางลงไปจนภาคใต้
คราวที่ใหญ่ที่สุดปราบตั้งแต่ปราณจนถึงนครฯ ฟากหนึ่ง ตะกั่วป่าถึงถลางอีกฟากหนึ่ง
ได้ฝิ่นดิบเข้ามา ๓,๗๐๐ หาบเศษ ฝิ่นสุก ๒ หาบ
โปรดให้เผาที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ครั้งนั้นพวกขี้ยาได้กลิ่นคงแทบขาดใจตาย
กลักฝิ่นเอามาหล่อพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์ฯ
๑
ฉลองศาลาดิน
ลุจุลศักราช
๑๒๒๐ (พ.ศ. ๒๔๐๑) ปีมะเมียสัมฤทธิศก โปรดฯ ให้จัดการฉลองศาลาดินริมวัดสุทัศน์
มีกำหนดว่า ณ วัน ฯ ๑๐ ๔ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก
สั่งให้ชาวพระคลังอากาศทำโคมนาฬิกา ๑๐ โคม เสา ๖ ทำให้แล้วแต่วัน ฯ ๑ ๔ ค่ำ
ปิดทองบานหน้าต่างพระวิหาร
ลุถึงปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑
(พ.ศ. ๒๔๐๒) โปรดให้ปิดทองบานหน้าต่างพระวิหาร มีใจความในหมายสั่งว่า
ด้วยจะหมื่นจงขวารับพระราชวังบวรกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติใส่เกล้าฯ สั่งว่า
ช่างทำหน้าต่างพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามเสร็จแล้วยังหาได้ปิดทองนั้นไม่
ให้เจ้าพนักงานคลังทองจ่ายทองกับรักไปให้ เช็ดรักปิดทองให้พอให้ปิดแต่วัน ฯ ๑๐
๑๐ ค่ำ เพลาเช้านั้น ให้ แวง วัง คลัง นา ข้าราชการไปกำกับดูแล
อย่าให้ของหลวงขาดหายไป ให้ไปดูแลทุกวันจนกว่าจะเสร็จ
การปิดทองบานหน้าต่างพระวิหารนั้น
ปิดทองที่ทรงโปรดให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่
บานหน้าต่างพระวิหารเดิมที่ทรงสร้างในรัชกาลที่ ๓
แกะสลักเป็นรูปแก้วชิงดวงตลอดทั้งบาน ปิดทองประดับกระจก มาในรัชกาลที่ ๔
โปรดให้ปั้นลายด้วยปูนน้ำมันเป็นรูปเครือต้นไม้ และรูปสัตว์ทับลงบนลายของเดิม
แต่หาปิดทับลายเดิมจนมิดไม่ แล้วจึงให้ปิดทองรูปลายที่ปั้นใหม่นั้น
๑. จาก-
แผ่นดินที่สาม ของ นาย สมภพ จันทรประภา ฉบับพิมพ์ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ หน้า ๒๓
(วิจิตร)
เชิญพระศาสดาไปสถิตวัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๖ (พ.ศ. ๒๔๐๗)
ปีชวด โปรดให้ชักพระพุทธรูปพระศาสดา ๑ ไปวัดบวรนิเวศได้ความตามหมายสั่งว่า
ด้วยพระบำเรอภักดิ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
พระสงฆ์ ๑๐ รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ณ วัน ฯ ๗ ๕ ค่ำ
เพลาบ่าย ครั้น ณ วัน ฯ ๘ ๕ ค่ำ เพลาเช้า
ฉันแล้วจะได้ชักพระพุทธรูปไปวัดบวรนิเวศ (ต่อนั้นไปก็สั่งจัดการสมโภชที่วัดบวรนิเวศ)
พระพุทธศาสดา
ได้มาประทับอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ๑๐ ปี ๖ เดือน แล้วเชิญไปวัดบวรนิเวศฯ
จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปและพระอสีติมหาสาวกขึ้นแทนไว้ในพระอุโบสถ
ปั้นด้วยปูนระบายสี มิได้ลงรักปิดทอง
สมัยรัชกาลที่ ๕
ต่อมาในรัชกาลที่ ๕
สมัยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นเจ้าอาวาส ๒
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) จัดการซ่อมพระวิหารพระศรีศากยมุนีเป็นครั้งใหญ่
ได้ลงมือซ่อม เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๕๗ ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๓๘)
มีรายการที่ได้ซ่อมทำไปแล้ว แจ้งต่อไปนี้
๑. หลังคาพระวิหาร
ตัวไม้และกระเบื้องชำรุดมาก ได้รื้อออกเปลี่ยนเชิงกลอนใหม่ต่ออกไก่ต่อแปหัวเสา
ต่อขื่อใหญ่ในปธานและซ่อมกลอนระแนง แล้วมุงกระเบื้องซึ่งรื้อออก
ที่ยังดีใช้ได้แต่ไม่พอ ได้รื้อกระเบื้องที่เฉลียงไปมุงเพิ่มเติม แล้วได้ถือปูน
อกไก่ และเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ ที่หน้าบัน ได้ซ่อมเทวรูปและกระจัง
แล้วลงรักปิดทองประดับกระจกที่ตัวช้างเอราวรรณและรูปพระอินทร์แล้วเสร็จ
ที่หน้าบันมุขเด็จและหน้าบันเฉลียงได้ซ่อมกระจังกับม่านสาหร่าย
ลงรักปิดทองแล้วทั้งสองหน้า
๒. หลังคาเฉลียงในปธาน ชั้นบน
ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ได้เปลี่ยนเชิงกลอนใหม่แล เปลี่ยนแปจันทัน แลต่อคอสอง
เปลี่ยนกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
๓. หลังคามุขลดในปธาน แลเฉลียงมุขลด
ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นต่ำ เปลี่ยนเชิงกลอน แปหัวเสา จันทันกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้า
เปลี่ยนกรอบแว่น มุงกระเบื้องใหม่ แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ทั้ง ๔ ด้าน
๔. มุขเด็จในปธานแลเฉลียงมุขเด็จ
ได้เปลี่ยนเชิงกลอน ไม้ทับหลังเชิงกลอนแปหัวเสา แปลาน จันทัน กลอน
ระแนงเปลี่ยนกรอบแว่น เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
๕. มุขลดมุขเด็จและเฉลียง
เปลี่ยนเชิงกลอน กลอน ระแนง แปลาน จันทันไม้ทับ หลังเชิงกลอน
เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
๖. ผนังพระวิหารภายนอก
เสาเฉลียงและเสามุขเด็จ ได้ซ่อมปูนทรายแลถือปูนผิวใหม่ ภาพชำรุดเป็นแห่งๆ
ยังไม่ได้ซ่อม
๗. ซุ้มหน้าต่าง ๑๐ ซุ้ม ชำรุดมาก
ได้ทำ ๑ ซุ้ม นอกนั้นชำรุดเล็กๆ
น้อยเป็นแต่ซ่อมตัวนาคหางหงส์และกระจังแล้วลงรักปิดทอง
บานหน้าต่างตัวไม้ยังดีอยู่เป็นแต่ที่ปิดทองไว้เดิมลบเลือนไป
ได้ลงรักปิดทองใหม่ตามลวดลาย แต่พื้นยังหาได้ลงรักปิดทองไม่
๘. ซุ้มประตู ๖ ซุ้ม
ได้ซ่อมแลลงรักปิดทองทาสีแล้ว ๓ ซุ้ม ด้านหลังยังไม่ได้ซ่อมค้างอยู่ ๓ ซุ้ม
๙.
บัวปลายเสาติดผนังพระวิหาร ๔ ต้น บัวปลายเสามุขเด็จ ๘ ต้น
ได้ลงรักปิดทองและประดับกระจกเหมือนอย่างเดิม
แต่บัวปลายเสาที่เสารายมุขเด็จกับเสาเฉลียงพระวิหาร
ได้ซ่อมแลทาสีเหลืองเท่านั้น หาได้ลงรักปิดทองประดับกระจกเหมือนของเก่าไม่
๑๐.
พื้นในองค์พระวิหารเดิมปูกระเบื้องหน้างัว ได้เปลี่ยนใหม่ปูด้วยศิลาอ่อน
ปูแล้วไปประมาณ ๙ ส่วนใน ๑๐ ส่วน ยังค้างอยู่ข้างพระประธานด้านตะวันออก
๑๑.
กำแพงแก้วได้ซ่อมปูนทรายแลถือปูนผิวทั้ง ๒ ชั้น
๑๒.
วิหารทิศตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนเชิงกลอนใหม่
แลเฉลียงวิหารทิศเปลี่ยนแปลานเชิงกลอนกับซ่อมฝ้าแลซ่อมกลอนระแนง
มุขลดวิหารทิศเปลี่ยนเชิงกลอน เฉลียงมุขลดเปลี่ยนเชิงกลอนแลช่อฟ้า
ใบระกาหางหงส์ แต่หน้าบันยังไม่ได้ปิดทอง ประดับกระจก
วิหารทิศตะวันออกเฉียงใต้ซ่อมกลอนระแนง แลเปลี่ยนเชิงกลอน แลซ่อมฝ้ากลอนระแนง
แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ใหม่ หน้าบันยังไม่ได้ลงรักปิดทองแลประดับกระจก
วิหารทิศด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มุขลดแลเฉลียง
เปลี่ยนเชิงกลอนแลซ่อมกลอนระแนงเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ใหม่
หน้าบันลงรักปิดทองได้หน้า ๑ ยังค้างอยู่หน้า ๑ วิหารทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ซ่อมกลอนระแนง ที่มุขลดเปลี่ยนเชิงกลอน แลซ่อมกลอนระแนงเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา
แลเปลี่ยนฝ้าใหม่ หน้าบันปิดทองแล้ว ๑ หน้า ยังค้างอยู่อีก ๑ หน้า
๑๓. ฝ้าเพดานหลังคาเฉลียงในปธาน
หลังคามุขลด ในปธานแลเฉลียง มุขเด็จในปธานแลเฉลียงมุขลดมุขเด็จแลเฉลียงที่เปลี่ยนตัวไม้ใหม่บ้างเหล่านี้ไม่ได้ลงรักปิดทองลายฉลุเหมือนของเดิมเป็นแต่ทาสีแดงเท่านั้น
๑๔.
บานประตูพระวิหารทั้งด้านหน้าด้านหลัง ๖
ประตูของเก่านั้นสลักเป็นลายเครือไม้ลงรักปิดทอง แต่ทองลบเลือนไปมาก
ตัวไม้บานประตูแลลายสลักนั้นยังดีอยู่ ยังไม่ได้ลงรักปิดทอง
๑๕ . พระระเบียงด้านหน้า
บางแห่งได้เปลี่ยนเชิงกลอน แปลานจันทันกระเบื้อง
แลได้ซ่อมปูนทรายถือปูนผิวบนอกไก่ แลที่ซุ้มประตูได้เปลี่ยน ช่อฟ้า ใบระกา
หางหงส์ ประดับกระจกใหม่ แล้วไปด้านหนึ่ง ค้างอยู่ ๑ ด้าน