วัดอินทาราม
เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่
432 ถนนเทอดไทย แขวง
บางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับคลองบางกอกใหญ่ขนานตามลำคลองทิศใต้ ติดต่อกับคูและทางรถไฟสายมหาชัยทิศตะวันออก ติดกับคูของวัดทิศตะวันตก ติดกับคลองบางยี่เรือ
(คลองสำเหร่)
วัดอินทาราม
เป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อไรและใครเป็นผู้สร้าง เดิมเรียกวัดบางยี่เรือนอก คู่กับวัดราชคฤห์ ซึ่งเรียกวัดบางยี่เรือใน และวัดจันทาราม ซึ่งเรียกว่าวัดบางยี่เรือเพราะเหตุที่วัดอินทารามอยู่รอบนอกบริเวณนี้แม้ว่าวัดอินทารามเป็นเพียงวัดเล็กที่ทรุดโทรมมาก แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกลับทรงพอพระราชหฤทัย มีพระราชศรัทธาทรงสถาปนาบูรณะปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม เป็นต้นว่า
ขยายที่ดินเป็นธรณีสงฆ์ให้กว้างขวางกว่าเดิมขุดคูวัด บูรณะวัดพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ และสร้างเสนาสนะ
แล้วทรงสถาปนาขึ้นเป็นอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ นอกจากนั้นยังเสด็จมาทรงศีลบำเพ็ญพระกรรมฐานประทับแรม ณ
พระตำหนักในวัดอินทารามด้วย ในปี พ.ศ.
2319
ทรงถวายเรือโขมดยาปิดทองทึบหลังคาประขาวแก่วัดทรงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระจำวัดในกุฏิที่ทรงสร้าง
แล้วเกณฑ์ข้าราชการให้ปฏิบัติแก่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ด้วยทุกพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
นอกจากทรงสถาปนาซ่อมสร้างวัดอินทารามจนใหญ่โต พระองค์จึงโปรดให้มีการประกอบพระราชกุศล ณ
วัดนี้เสมอๆ อาทิงานถวายพระเพลิงและงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดนี้เสมอ
อาทิงานถวายพระเพลิงและงานบำเพ็ญพระ
สถานที่ตั้ง
ประวัติวัด
ราชกุศลพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง กรมพระพิทักษ์เทพามาตย์
งานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้านราสุริวงษ์ สุดท้ายเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี
พ .ศ.2325
นั้น ได้ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิงและบรรจุพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดนี้ด้วยวัดอินทารามยังคงเป็นอารามหลวงต่อมา หากแต่สภาพวัดทรุดโทรมมากจนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาศรีสหเทพ
(ทองเพ็ง ศรีเพ็ญ)
มีศรัทธา บูรณะปฏิสังขรณ์และปลูกสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ขึ้นใหม่ ตั้งแต่พระอุโบสถ
พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เจดีย์ปรางค์ หอพระไตรปิฏก หอระฆัง และกุฏิใหญ่น้อย เป็นต้น
จากนั้นจึงน้อมถวายฯสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงรับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
เรียกชื่อว่า
วัดอินทาราม
สืบต่อมาเนื่องจากได้มีการสถาปนาซ่อมสร้างวัดอินทารามครั้งใหญ่ถึง
2 ครั้ง ดังนั้นสิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดอินทารามจึงมีอยู่มากมาย
พระอุโบสถ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างเมื่อครั้งปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เดิมไม่มีหน้าต่าง แต่พระทักษินคณิสร
(สาย)อดีตเจ้าอาวาสได้เจาะผนังทำหน้าต่างปัจจุบันเป็นพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากนั้นพระอุโบสถเก่ายังเป็นที่เก็บพระพุทธรูปซึ่งอดีตเจ้าอาวาสได้รวบรวมมาจากที่ต่างๆ จำนวน
51 องค์ และใต้แท่นพระเป็นที่บรรจุอัฐิคนในตระกูลอินทรโยธิน และพิชเยนทรโยธินด้วยด้านหน้าพระอุโบสถเก่ามีพระบรมรูปทรงม้าถือดาบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ขนาดกว้าง17.90
เมตร ยาว 28.60
เมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยกระเทาะปูนที่เสาและผนังด้านในออกเพื่อโบกใหม่
เป็นที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งพระพุทธรูปหล่อบางวิชัยสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตักกว้าง
4 ฟุต 20
นิ้วครึ่ง ประดิษฐาน อยู่ภายในพระวิหารด้วย
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
พระเจดีย์กู้ชาติ
เป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยอดบัวกลุ่ม บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถเก่าคู่พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมปล้องไฉนซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระอัครมเหสี
พระปรางค์
คู่ซ้ายขวาด้านหลังอุโบสถ เป็นปรางค์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูงประดับเครื่องลายครามซึ่งพระตรีสหเทพสร้างไว้คู่กับพระอุโบสถใหม่
เก๊งจีนซ้ายขวา
ตั้งอยู่บนด้านหน้าประตูหน้าพระอุโบสถใหม่ พระยาศรีสหเทพสร้างพร้อมพระอุโบสถใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย เพิ่งบูรณะใหม่ พ.ศ.2511
วิหารคดซ้ายขวา
ตั้งอยู่บนกำแพงด้านหน้าพระอุโบสถใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปัจจุบันอยู่ในระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
ศาลาการเปรียญเก่า
ตั้งอยู่ด้านซ้ายพระอุโบสถใหม่ เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระประธานขนาดกว้าง
3 ศอกเศษ ผนังวิหารทำเป็นช่องสีมารอบทั้งสี่ทิศ
เป็นที่ไว้พระพุทธรูป 146 ช่องปัจจุบันทรุดโทรมมาก หลังคาเปิดโล่ง ผนังแตก ทางวัดยังมิได้ดำเนินการซ่อมแซม
เนื่องจากการหักพังได้ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุไว้เรียบร้อยแล้ว
สีมาใหญ่
อยู่หน้าพระอุโบสถใหม่ ฝังปูนไว้ ขนาดสูง
58 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร 18เซนติเมตร หนา
20.50 เซนติเมตร
เป็นจารึกอักษรขอมซึ่งเลือนมากแล้ว อ่านใจความไม่ได้ ถัดจากสีมาเป็นแท่นหินหนาใหญ่ที่พระยาศรีสหเทพทำขึ้น
การบูรณะปฏิสังขรณ์
นับแต่การสถาปนาซ่อมครั้งใหญ่โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาศรีสหเทพแล้ว วัดอินทารามก็ทรุดโทรมหักพังต่อๆ มา
จนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดฯ ให้อาราชธนาพระทักษิณคณิสรจากวัดโพธินิมิตรย้ายมาปกครองวัดอินทาราม ในปี พ.ศ.2448
ซึ่งพระทักษิณคณิสรได้เอาใจใส่ดำเนินการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมบริเวณวัดให้ดีขึ้นตลอดมา เช่นซ่อมแซมอุโบสถใหม่ สร้างกุฏิ และโรงเรียน
ปริยัติธรรมเป็นต้น หลังจากปีพ.ศ.2484
พระวิเชียรมุนีดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบจากพระทักษิณคณิสร ได้ทำหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทารามต่อมา
Loading...
|