ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

 
        
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ซึ่งในขนะนั้นทรงมีอาวโสและประสบการณ์น้อยกว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่าน แต่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงพระปรีชาสามารถในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องจากขณะนั้นทรงรับผิดชอบงานด้านการศึกษา และพัฒนางานทางด้านการศึกษาให้ได้รับความก้าวหน้าเป็นอย่างดี เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงต้องรับภาระในการบริหารงานอย่างหนัก ด้วยเป็นระยะแห่งการปฏิรูปการปกครอง เนื่องด้วยก่อนหน้านั้นประเทศไทยยังปกครองแบบ มีหัวเมืองประเทศราช มีเจ้าเมืองปกครองดินแดนของตนอย่างเป็นอิสระ เหมือนเช่นที่เคยเป็นก่อนที่จะเป็นเมืองประเทศราช แต่ต้องแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และต้องรับรองว่าดินแดงที่ตนปกครองอยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย การปกครองเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถพัฒนาประเทศได้สะดวก อีกทั้งในยุคนั้นเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกหัวเมืองประเทศราชซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นดินแดนที่อยู่รอบนอกสุดของราชอาณาจักรเกือบทุกด้านเป็นการง่ายที่ชาติตะวันตกจะยึดเป็นอาณานิคม แม้ต่อมาพระมหากษัตริย์จะทรงส่งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง แต่เนื่องจากที่อยู่ห่างไกลจึงยากที่จะควบคุม ให้อยู่ในพระราชอำนาจได้ อีกทั้งการปกครองก็ไม่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียเอกราชได้อย่างง่ายดาย
        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบนโยบายให้กับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ที่รับนโยบายทั้ง 4 ประการ มาปฏิบัติ ได้แก่
        1.ให้แก้ลักษณะการปกครองแบบประเทศราช มาเป็นพระราชอาณาจักรของประเทศไทยรวมกัน
        2. ให้รวมการบังคับบัญชาการหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กรม คือ มหาดไทย กลาโหม และ กรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่เพียงกระทรวงเดียว
        3. ทำให้จัดรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิประเทศให้สะดวกแก่การปกครองโดยสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาทุกทณฑล
        4. การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพระราชดำรินี้ ให้ค่อยจัดทำไปเป็นขั้น ๆ มิให้เกิดความยุ่งเหยิงในการที่จะเปลี่ยนแปลง
        ทรงดำเนินงานตามนโยบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยทรงริเริ่มการแกครองในแบบมณฑลเทศาภิบาลปกครองท้องที่ คือ ยกเลิก หัวเมืองประเทศราชทั้งหมด จัดตั้งหมู้บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง และมณฑล ซึ่งเป็นการรวมอำนาจทั้งหมดมาอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดเอกภาพในการบริหารประเทศให้เกิดความสงบเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้นการเปลี่ยนแบบแผนการปกครอง ทำให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของต่างชาติ
        เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงวางรากฐานระเบียบปฏิบัติภายในกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในระยะแรกทรงปรับปรุงงานของกรมหลัก 3 กรม ได้แก่
        1.กรมมหาดไทยพลำภัง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ทั่วไปภายในพระราชอาณาจักร มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
        2.กรมมหาดไทยเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผุ้ร้าย เจ้าหน้าที่ฝ่ายอัยการ และการต่างประเทศมีเจ้ากรมเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
        3.กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทุกอย่าง เว้นแต่ที่กรมอื่นมีหน้าที่รับผิดชอบ มีปลัดทูลฉลองเป็นเจ้ากรม ซึ่งมีอำนาจรองแต่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น
        นอกจากนี้ยังทรงวางระเบียบเกี่ยวกับการบรรจุข้าราชการฝ่ายปกครองในตำแหน่งต่าง ๆ อีกทั้งคุณสมบัติของบุคลากรที่จะเข้ารับราชการภายในกระทรวงมหาดไทย รวมถึงทรงก่อตั้ง โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครองของมณฑ,เทศาภิบาล เพื่อผลิตบุคลากร ในการปกครองขึ้นด้วย โรงเรียนแห่งนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนข้าราชพลเรือน และเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว งานอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ทรงวางระเบียบแบบแผนงานทางด้านเอกสาร โดยทรงนำวิธีการของประเทศในแถบยุโรปมาใช้ คือ ให้จดบันทึกด้วยดินสิฝรั่งลงในกระดาษฝรั่ง และจัดเก็บเอกสารให้เป็นสัดส่วน ซึ่งก่อนหน้านั้นกระทรวงมหาดไทยบันทึกลงในกระดาษดำและเขียนด้วยดินสอถ่านสีขาว และเก็บไว้บนเพดานสำนักงานกระทรวงอย่างไม่เป็นระเบียบ
        ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2458 รวมระยะเวลาถึง 23 ปี ทรงปฏิบัติภารกิจที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนชาวไทย และประเทศชาติ อย่างมากมายมหาศาล เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการที่ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าเช่นปัจจุบันนี้ อีกทั้งทรงทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นประเทศราชในยุคแห่งการล่าอาณานิคม
        
        เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชากรมทหารมหาดเล็ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให่ก่อตั้งโดรงเรียนฝึกสอนทหารขึ้นภายในกรม ทหารมหาดเล็กนั้น และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนั้นว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบมีผู้สนใจมาสมัครเรียนเป็นจำนวนมากจนเกินความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสำหรับประชาชนโดยทั่วไป มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบพระองค์แรก และด้วยเหตุที่การศึกษาในสมัยนั้นเป็นของใหม่มากทำให้ต้องดำเนินการด้วยพระองค์เองทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ทรงร่างหลักสูตร เป้นครูผู้สอน ร่างข้อสอบ ดำเนินการสอบ ตรวจข้อสอบและเมื่อนักเรียนศึกษาสำเร็จ พระองค์ก็ทรงจัดทำประกาศนียบัตรด้วยพระองค์เอง ทรงเอาใจใส่เรื่องการสอนอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนทุกวันนี้

  
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วางรากฐานการศึกษาชั้นประถมขึ้น โดยมอบหน้าที่ให้พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นมรวัด และทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ ส่วนเรื่องแบบเรียนและงานธุรการต่าง ๆ ทางกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นเสนาบดีในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบ การประถมศึกษามีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงริเริ่มก่อตั้งกรมธรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องการศึกษา โดยตรงและทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการพระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ.2435 ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ และกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งพระราชบัณฑิตยสภาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุด และงานพิพิธภัณฑสถาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง นายกราชบัณฑิตยสภาพระองค์แรก ทรงอนุรักษ์หนังสือที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้จำนวนมาก อีกทั้งทรงชำระตรวจสอบหนังสือเหล่านี้ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทรงนิพนธ์หนังสือที่เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากกว่า 650 เรื่อง ได้แก่ ประวัติบุคคลสำคัญมากที่สุดถึง 180 เรื่อง รองลงมาได้แก่ การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี 146 เรื่อง ศิลปะวรรณคดี 111 เรื่อง ประวัติศาสตร์โบราณคดี 103 เรื่อง ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว 74 เรื่อง นอกจากนี้ยังมี กวีนิพนธ์ วรรณคดี อีกจำนวนหนึ่ง
                                          
[ ประวัติ ] [ ความสำคัญ ] [ พระกรณียกิจ ] [ back ]
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์