ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

 
ประวัติ|การปกครอง|ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ|อาชีพ|วัฒนธรรม|ประเพณี|แหล่งท่องเที่ยว|ไทยกับลาว|Home

ประวัติ

           อาณาจักรลาว ลาวเชื่อกันว่าเป็นสาขาหนึ่งของคนเผ่าไทย อพยพจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน บริเวณที่เรียกว่า ลานช้าง ระยะแรกอยู้ภายใต้อำนาจของกัมพูชา ในปีค.ศ.1355 เจ้าฟ้างุ้ม ผู้นำลาวถือโอกาสในระยะที่กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทยสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ปลีกตัวเป็นอิสระจากกัมพูชา โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้านิพัทธบท กษัตริย์กัมพูชาที่ซึ่งหลบหลีกเข้ามาอาศัยในลาว โดยได้พระราชทานพระบางให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวลาว ต่อมาลาวต้องสูญเสียเอกราชให้แก่กษัตริย์เวียดนามในปีค.ศ. 1479 ในสมัยพระเจ้าโพธิสาร ลาวสร้าง เมืองเวียงจันทร์ ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งที่สอง รองจากเมืองหลวงพระบาง เพราะลาวต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมากขึ้น และได้ใช้เมืองหลวงใหม่เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าของลาวด้วย และได้ขยายการปกครอง ต่อมาได้มีการขัดแย้งกับพม่าในระหว่างปี ค.ศ. 1556-1563 ในสมัยบุเรงนองกษัตริย์ของพม่าในสมัยนั้นเมื่อบุเรงนองสิ้นพระชนม์ พระหนอแก้วกุมาร จึงประกาศอิสระภาพให้แก่ลาวในปีค.ส. 1591 ตั้งราชธานีที่เวียงจันทน์ และต่อจากนั้นมีการแย่งชิงอำนาจกันเรื่อยมา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1778 อาณาจักรลาวได้รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะประเทศราชของไทย
           ลาวภายใต้การปกครองของฝรั่งเศลโดยที่ลาวจัดเป็นรัฐอารักขา ในระยะแรกขึ้นตรงต่อกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยินยอมให้ผู้ปกครองเดิมปกครองชาวเมืองเดิมปกครองต่อไป ทางฝ่ายฝรั่งเศลเพียงแต่ถือสิทธิ์ในการที่จะแต่งตั้ง หรือสนับสนุนให้ผู้ใดขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นนั้น ทางด้านการบริหารงานของกษัตริย์ จะมีคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเหลือ คณะรัฐมนตรีสามารถดำเนินงานได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเฉพาะเรื่องศาสนา
           ความเคลื่อนไหวทางชาตินิยมในลาว เกิดขึ้นในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระยะดังกล่าวญี่ปุ่นได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับไทย และบังคับให้รัฐบาลริชีของฝรั่งเศส คืนดินแดนบางส่วนให้แก่ไทย ฝรั่งเศสปกครองดินแดนส่วนที่เหลือ โดยมีพระเจ้าศรีสว่างวงศ์เป็นกษัตริย์ เจ้าเพชรราชเป็นนายยกรัฐมนตรี ฝรั่งเศสได้ปรับปรุงการบริหารงานของลาวขึ้นใหม่ เพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ ปรับปรุงคุณภาพของข้าราชการ ปรับปรุงคุณภาพของข้าราชการ จำกัดชาวเวียดนามในลาว ปรับปรุงเศษฐกิจและการศึกษา ในเดือนมีนาคมค.ศ.145 ญี่ปุ่นได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจาอินโดจีน และให้ลาวประกาศเอกราช พระเจ้าศรีสว่างวงศ์และสว่างวัฒนาราชโอรส เป็นกลุ่มชาวลาวที่นิยมฝรั่งเศส จึงได้รวมชาวลาวเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ญี่ปุ่นบังคับให้พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ประกาศเอกราช โดยมีเจ้าเพชรราชเป็นนายยกรัฐมนตรีอย่างเดิม เจ้าเพชรราชยอมร่วมมือกับญี่ปุ่นเพราะเห็นว่าสามารถคุ้มครองลาว ให้พ้นจากอิทธิของเวียดนาม ญี่ปุ่นไม่ได้ให้ความสนใจต่อลาวมากนัก เพียงแต่แต่งตั่งที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นประจำในลาวเท่านั้น เจ้าเพชรราชจึงมีจึงประกาศอิสระในการปกครอง และได้เตรียมการเพื่อให้ลาวมีเอกราชโดยสมบูรณ์ และขจัดอิทธิพลเวียดนามในลาวด้วย
           ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 1945 ญี่ปุ่แพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงให้จีนเป็นผู้ปลดปล่อยอาวุธญี่ปุ่นในลาว เจ้าเพชรราชไม่ยอมรับรู้ ประกาศเอกราชในลาวเมื่อวันที่ 1 กันยายนค.ศ.1945 รวบรวมชาวลาวก่อตั้งขบวนการอิสระ มีจุดมุ่งประสงค์เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ผู้นำคนดังกล่าวได่แก่ เจ้าสุวรรณภูมิ เจ้าสภานุวงศ์ อนุชาของเจ้าเพชรราช และหลังจากนั้น วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2497 ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศล และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันชาติ
Top

การปกครอง

            การปกครองในปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ประธานของประเทศคือ ฯพณฯ คำไต สีพันดอน นายกรัฐมนตรี พันเอก บุนยัง วอละจิด พื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง(จังหวัด)1 กำแพงนคร และ 1 เขตพิเศษ เมืองหลวง กำแพงนครเวียงจันทน์ เป็นเขตเมืองหลวง เหมือน กทม. (ส่วนแขวงเวียงจันทน์ก็เป็นอีกแขวงหนึ่ง) ภาษา ภาษาลาว
Top

ลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศ

           ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศภูมิประเทศ พื้นที่ประมาณ 7,000 ิตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบและภูเขา โดยพื้นที่ราบจะอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก ด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือ จรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศ ตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพรลงมาสู่ พื้นราบทางทิศตะวันตก และไหลลงแม่น้ำโขงในที่สุด
           ภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย 29 - 33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,500-2,000 มิลลิเมตร ลักษณะอากาศทั่วไป ลาวมี 3 ฤดูกาล ช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว คือ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เดือนพฤศจิกายน เหมาะแก่การล่องเรือชมทัศนียภาพงดงามตามลำน้ำ
Top

อาชีพ

            อาชีพ ส่วนมากประชากรจะอาศัยอยู่บริเวณที่ราบหุบเขาแม่น้ำโขง คนลาวในประเทศลาวและลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีความสัมพันธ์ กันมาช้านาน หมู่บ้านชาวลาวจะตั้งอยู่ติดแม่น้ำ แวดล้อมด้วยสวนมะพร้าว และนาข้าว ตัวบ้านสร้างจากไม้ไผ่ ยกพื้นสูง มีบันได อยู่ด้านหน้า บนเรือนจะกั้นเป็นห้องนอน และพื้นที่ทำงาน ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือทำนาทำไร และใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนยุ้งข้าวจะปลูกอยู่ห่างจาก ตัวเรือนออกไป คนลาวประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชที่ปลูกคือข้าวเหนียว อ้อย ถั่ว ยาสูบ ข้าวโพด ฝ้าย พริกไท มะเขือเทศ มะม่วง มะละกอ สับปะรด เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ไก่ เป็ด หมู นอกจากนั้นยังมีการจับปลาเป็นอาหาร ชาวลาวยังทำอุตสาหกรรมใน ครัวเรือน เช่น ปั้นหม้อ สานตะกร้า ทอผ้า เป็นต้น ผู้หญิงลาวจะมีหน้าที่ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ตำข้าว เตรียมอาหาร ทำครัว เพาะปลูกเก็บเกี่ยว ส่วนผู้ชายจะทำงานหว่านไถนา
Top

วัฒนธรรม

           วัฒนธรรม ชาวลาวมีการนับถือญาติทั้งสองฝ่าย เมื่อชายหญิงแต่งงานแล้ว จะอาศัยอยู่บ้านฝ่ายหญิงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะย้ายออก ไปตั้งครัวเรือนใหม่ (neolocality) ลูกสาวมักจะได้รับมรดกที่ดินและบ้านจากพ่อแม่และมักจะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนหลังจาก แต่งงาน (Lebars and others 1964, p.217-218) ชาวลาวนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศาสนาพราหมณ์ซึ่งปรากฏในพิธีกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้านลาวจะมีวัดเป็นศูนย์กลาง ในการประกอบพิธีกรรม วัดยังเป็นโรงเรียนสอนหนังสือให้เด็ก ๆ เด็กชายจะมีความใกล้ชิดกับวัด เพราะใช้เป็นสถานที่เรียน บวชเณร และอุปสมบทตามลำดับ นอกจากนั้นชาวลาวยังมีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ เช่นผีในต้นไม้ แม่น้ำ ในบ้าน ในไร่นา ผีประจำหมู่บ้าน และผีบรรพบุรุษ จะมีพิธีเซ่นไหว้ผีเป็นประจำ ในฤดูเก็บเกี่ยวหรือเพาะปลูกข้าว เวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ชาวลาวเชื่อว่ามีสาเหตุจากผีและ ขวัญออกจากร่าง ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบพิธีรักษาโรค และเรียกขวัญ เช่นพระสงฆ์ นอกจากนั้น ยังเชื่อเรื่องผีปอบ ซึ่งเป็นคนที่ถูกวิญญาณ ชั่วร้ายเข้าสิง และสามารถทำร้ายผู้อื่นได้ (Lebar and others 1964, p.220)
Top

ประเพณี
           ประเพณีงานปีใหม่ ลาวจัดขึ้นในวันที่ 13,14 และ15 เมษายน ปีใหม่หมายถึงวันขึ้นต้นปีใหม่ที่นับตามแบบจันทรคติ เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีใหม่ประจำชาติ ในวันนี้ชาวบ้านจะทำพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปประจำวัดต่าง ๆและแห่ไปตามถนนเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสสรงน้ำ รวมถึงรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ ซึ่งเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา
           งานนมัสการพระธาตุหลวง และงานแสดงสินค้า ที่กำแพงนครเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 26-31 ตุลาคมปีนี้จะมีการจัดงานบุญบริเวณโดยรอบพระธาตุหลวง ปูชนียสถานสำคัญประจำชาติของลาว ณ สถานที่แห่งนี้ประชาชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์นับร้อยรูป ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการเล่นดอกไม้ไฟ อันตระการตา และงานแสดงสินค้านานาชาติรวมทั้งงานแสดงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในลาวและประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ตลอดจนภูมิภาคในลุ่มแม่น้ำโขงด้วย
Top

สถานที่ท่องเที่ยว

           วัดเชียงทอง งดงามด้วยสถาปัตยกรรมอันวิจิตร หากมองในรายละเอียดสิ่งแรกที่สังเกตเห็นคือ หลังคาอุโบสถ 3 ชั้น ครอบต่ำ มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำตาล ทุกลายเส้นสายของงานปูนบอกถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสกุลล้านช้าง จุดน่าสนใจอีกแห่งในวัดเชียงทองก็คือ หอพระเล็ก ๆ ข้างอุโบสถใหญ่ ที่ทาพื้นผนังปูนสีชมพูสด ประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ ดูแปลกตาแต่ก็ลงตัวยิ่งนักหน้าพระอุโบสถ มีโรงเก็บราชรถที่เคยใช้อัญเชิญพระโกศบรรจุองค์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ โรงเก็บราชรถนี้ประกอบด้วยไม้ทาพื้นสีแดง มีลวดลายสลักปิดทองอร่ามไปทั้งหลัง เป็นงานศิลป์รุ่นใหม่ที่ชาวหลวงพระบางภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

           วัดวิชุลราชสัทธารามเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระบาง...พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวลาว ปัจจุบันองค์พระถูกอัญเชิญไปไว้ในพระราชวังหลังจากเมืองหลวงพระบางถูก พวกฮ่อบุกปล้นทำลาย จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งก็คือ องค์พระธาตุหมากโมสถูปเก่าแก่รูปทรงคล้าย แตงโมครึ่งซีก พระธาตุองค์นี้เคยทรุดพังทลายลงมาหลายครั้งและถูกฮ่อรื้อค้นหาสมบัติ แต่ปรากฎว่า เพิ่งมีการค้นพบกรุพระพุทธรูปทองคำ ศิลปวัตถุ เครื่องเงิน เครื่องทอง จำนวนมากในการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2427 ปัจจุบันมรดกสำคัญเหล่านี้ตั้งแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ หรือวังเจ้ามหาชีวิตเก่านั่นเอง โดยรวมแล้วสถาปัตย์ศิลป์วัดวิชุลราชสัทธาราม ผ่านการซ่อมแซมบูรณะหลายครั้งหลายสมัย จนกลายเป็นแหล่งรวมผลงานฝีมือตระกูลช่างต่าง ๆ ทั้งแบบไทลื้อ สิบสองปันนา ไทพวน เมืองเชียงขวาง และลาวล้านช้างเข้าด้วยกัน จนมีความโดดเด่นแตกต่างไปจากพุทธสีมาใด ๆ ในหลวงพระบาง

           วัดจอมภูสี ธรรมสถานสำคัญอีกแห่งที่แม้จะมีอายุไม่เกินหนึ่งศตวรรษ แต่ความโดดเด่นอร่ามเรืองที่สถิตสูงเหนือสิ่งอื่นใดในหลวงพระบาง บวกกับตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ รอยพระพุทธบาท และถ้ำฤาษี ทำให้พระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุหลักเมือง และเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง ห่างออกไปนอกเมืองหลวงพระบาง ยังมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ขึ้นชื่ออยู่อีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดกวางชี ที่ต้องนั่งรถออกไปทางใต้ของตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร
Top

ไทยกับลาว

           สะพานมิตรภาพไทยลาว เป็นโครงการที่ร่วมมือกัน ระหว่างรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ แห่งหนึ่งของโลก มีความยาวประมาณ 4,000 กิโลเมตร และยาวที่สุด ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไหลผ่านประเทศจีนตอนใต้, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม สะพานนี้เป็นสะพานข้ามแม่นำโขงแห่งแรก ที่เชื่อมสองประเทศ สถานที่ก่อสร้างในประเทศไทย ตั้งอยู่ หาดจอมมณี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ท่านาแล้ง ถนนท่าเดื่อ ห่างจากนครเวียงจันทร์ 20 กิโลเมตร สนับสนุนด้านการเงิน โดยรัฐบาลของออสเตรเลีย เป็นค่าใช้จ่ายในการออกแบบ และก่อสร้างประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สะพานแห่งนี้เป็นประตูสู่อินโดจีน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความร่วมมือ ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อยังความสงบสุขสันติ ในภูมิภาคนี้ ตลอดจนแหลมอินโดจีน
           ความร่วมมือระหว่างไทยกับสปป.ลาวด้านพลังงานรัฐบาลไทย และรัฐบาล สปป. ลาว ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding : MOU ) ฉบับแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 เพื่อส่งเสริมและให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงการในการผลิตไฟฟ้าใน สปป. ลาว เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จำนวน 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2543…” ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป. ลาว) มีความผูกพันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเป็นระยะเวลายาวนาน และพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ อันเนื่องมาจากการมีอาณาเขตติดต่อกัน โดยเฉพาะรัฐบาลไทย และรัฐบาล สปป. ลาว ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU ) ฉบับแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 เพื่อส่งเสริมและให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาโครงการในการผลิตไฟฟ้าใน สปป. ลาว เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จำนวน 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2543 ต่อมาได้มีการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ฉบับที่สอง ในวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เพื่อขยายการรับซื้อไฟฟ้าให้ได้ 3,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2549 เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจที่ได้ร่วมลงนาม ทางฝ่ายไทยจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประสานความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าในสปป. ลาว (คปฟ-ล.) โดยมีผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นประธาน และมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ ทางฝ่าย สปป. ลาว ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติลาว (Lao National Committee for Energy : LNCE) โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว (ศาสตราจารย์ ดร. บูนเตียม พิดสะไหม) เป็นประธาน เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างไทยและ สปป. ลาว ด้านพลังงานไฟฟ้
Top
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์