ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2435 ณ พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อพระชันษาได้ 13 พรรษา และเมื่อเข้าพิธีโสกัณต์แล้ว ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2447 และลาผนวชเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2447 ด้วยสมเด็จพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ พระองค์จึงได้เสด็จไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2448 ณ โรงเรียนกินนอน แฮร์โรว์ เมื่อทรงศึกษาจบจากโรงเรียนแห่งนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2450 จึงเสด็จไปศึกษาต่อที่ Royal Prussian Military College เมืองโพสต์แดม ( Potsdam)ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นทรงย้ายไปศึกษาต่อที่ Imperial German Naval College Flensburg และทรงจบการศึกษาในปี พ.ศ.2454 โดยทรงสอบไล่ได้ในอันดับที่ 2 นอกจากนั้นยังทรงชนะการประกวดออกแบบเรือดำน้ำอีกด้วย
            หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในวิชาทหารเรือ ทรงเสด็จนิวัติกลับประเทศ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือประจำกรมเสนาธิการ ในตำแหน่ง นายเรือตรี นายเรือโท และนาวาเอก ตามลำดับ หลังจากนั้นทรงลาออกจากราชการทหารเรือ เพื่อศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน"
            ในปี พ.ศ. 2460 ทรงเดินทางไปศึกษาต่อวิชาเตรียมแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2462 ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาสาธารณสุขและปรีคลินิกบางส่วนที่ School of Health office Harvard University and the Massachusetts Institute of Technology ในปี พ.ศ.2463 ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นิวัติกลับประเทศครั้งหนึ่งเนื่องในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชริทรา บรมราชินีนาถ ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทยทรงได้เข้าปฎิบัติร่วมกับนักศึกษา และเจ้าหน้าที่แพทย์ ภายในห้องทดลองวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชทรงเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนเตรียมแพทย์ แผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระองค์พระราชทานทุนการศึกษาในต่างประเทศให้กับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาในวิชาแพทย์ ชีววิทยา ฟิสิกส์และเคมีเป็นจำนวนเงินถึง 200,000 บาท อีกทั้งยังทรงนิพนธ์หนังสือชื่อว่า Tuberculosis เพื่อจัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หลังจากนั้นจึงเสด็จกลับไปศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2464 ทรงได้รับประกาศนียบัตร C.P.H. เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วจึงเสด็จประพาสยุโรป ในระหว่างนั้นทางกระทรวงธรรมการกำลังเจรจาขอทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯได้ทรงรับมอบอำนาจในการเจรจาครั้งนั้น เนื่องจากทรงมีความรู้ความชำนาญในวิชาแพทย์มากกว่าผู้ใด ทรงเจรจาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในการขยายและปรับปรุงด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งทางมุลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์มามาถึง 6 ท่าน และมอบเงินเพื่อจัดสร้างตึกในโรงพยาบาลศิริราชเป็นจำนวนเงินถึง 400,000 บาท อีกทั้งยังมอบทุนให้กับแพทย์เพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศอีกด้วย นับว่าเป็นผลอันเกิดจากการเจรจาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
            ในปี พ.ศ. 2466 ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ Edinburg Schotland University แต่เนื่องจากอากาศหนาวจัดทำให้ประชวรจึงต้องเดินทางกลับประเทศไทย ในระหว่างนั้นทรงเข้ารับราชการ ทรงมีส่วนสำคัญในการพิจารณา แก้ไขข้อขัดข้องต่างๆ ในพระราชบัญญัติการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนประกาศเป็นพระราชบัญญัติฉบับแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2467 ทรงเข้าร่วมการอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑล โดยทรงสอนวิชาปฎิบัติการสุขาภิบาลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ ซึ่งทรงพระนิพนธ์ตำราอีกเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาล คือ วิธีการปฎิบัติสุขาภิบาล แต่เนื่องจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาต่อในวิชาแพทย์เฉพาะทางดังนั้นในปี พ.ศ.2469 จึงเสด็จไปศึกษาต่อในในวิชากุมารเวชศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และทรงสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2471 ทรงได้รับปริญญา Doctor of Medicine (M.D.) ด้วยระดับคะแนนเกียรตินิยมชั้น Cum Laude นอกจากนี้ยังทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ Alpha Omerga Alpha เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจึงนิวัติกลับประเทศไทย ทรงเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค จ.เชียงใหม่ และทรงช่วยเหลือโรงพยาบาลศิราราชในเรื่องการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาล
            พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่ง คือ เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น ทรงดัดแปลงโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสำหรับคลอดบุตร และเป็นศูนย์อบรมพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมศาสตร์ และหมอตำแย เพื่อให้การคลอดบุตรมีความทันสมัย และปลอดภัยมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมิใช่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลเท่านั้นที่พระราชทานความช่วยเหลือจนมีความเจริญ แต่ยังพระราชทานความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ อีก เช่น พระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ จำนวน 16,000 บาท และเพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์อีก จำนวน 6,750 บาท และพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลสงขลาอีกปีละ 5,000 บาทเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกกรมต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล
            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาล ตะละภัฏ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่
    1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
    2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชการที่ 8
    3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9
            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประชวรด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกน ประชวรนานถึง 4 เดือน ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดโรคพระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะแทรกซ้อน และพระหทัยวายในที่สุด และเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472

              Home       Back
 

ที่มา :
            ศิริวรรณ คุ้มโห้ ; วันและประเพณีสำคัญ , บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด, กทม. 245 น.
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์