ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดอ่างทอง


            อ่างทองเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของไทย  เคยเป็นแหล่งชุมชนยุคโบราณทางประวัติศาสตร์  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย  เดิมตั้งเมืองอยู่ที่วิเศษชัยชาญ ริมแม่น้ำน้อย  ได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านบางแก้ว  ประมาณปลายสมัยกรุงธนบุรี และได้ชื่อว่าเมืองอ่างทอง อาจเป็นเพราะที่ตั้งเมืองอยู่ในพื้นที่ลุ่มคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุ  แต่เป็นอู่ข้าว อู่น้ำและอู่ปลา มาแต่สมัยโบราณ  หรืออีกอย่างหนึ่งได้ชื่อนี้ตามชื่อบ้านอ่างทอง เมื่อครั้งย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ ที่แห่งนี้
            นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า   ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดี  ได้พบร่องรอยคูเมือง ที่มีลักษณะเป็นคูน้ำใหญ่ล้อมรอบเมือง ตามรูปแบบคูน้ำคันดินรอบชวากทะเล  คือบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางบริเวณ สิงห์บุรี  ชัยนาท และอ่างทอง  คูเมืองดังกล่าวอยู่ที่บ้านคูเมือง  ตำบลหัวไผ่  อำเภอแสวงหา
            บ้านคูเมืองเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ  มีคลองขุดเชื่อมกับคูเมืองและแม่น้ำธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 250,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 150 ไร่  เมืองโบราณที่บ้านคูเมืองนี้ มีร่องรอยการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่แรกเริ่มประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มาจนถึงสมัยทวาราวดี  ได้ค้นพบวัดร้าง และพระพุทธรูปก่อนสมัยลพบุรี  พบเศษกระเบื้องถ้วยชามเป็นดินเผา ลายเชือกทาบ และเคลือบสี  รวมทั้งได้พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอีกจำนวนหนึ่ง ได้พบพระพุทธรูปหิน มีทั้งหินทรายสีชมพู และสีเทาอมเขียว เป็นจำนวนมาก ศิลปะอโยธยา (พุทธศตวรรษที่ 14-18)  แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา  ที่ได้แผ่มาสู่ดินแดนส่วนนี้มาแล้ว  อย่างกว้างขวางเป็นปึกแผ่นมานานแล้ว
            ในสมัยสุโขทัย เมืองอ่างทองได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัย  ดังปรากฎมีพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอยู่ไม่น้อย เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล  และพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร
            ในสมัยอยุธยา  เมืองอ่างทองอยู่ในเส้นทางเดินทัพของพม่าที่มาจากทางทิศตะวันตก จากเมืองสุพรรณบุรี และที่มาทางทิศเหนือจากเมืองลพบุรี  และเป็นพื้นที่สนามรบระหว่างไทยกับพม่าหลายครั้งหลายหน  ตั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2091  จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2310
            ในสมัยกรุงธนบุรี  ได้มีการย้ายเมืองเป็นครั้งแรก  จากเมืองวิเศษชัยชาญริมแม่น้ำน้อย มาตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามวัดไชยสงคราม  ทางฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา  และได้ชื่อว่าเมืองอ่างทองในครั้งนี้
            ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เจ้าเมืองอ่างทองมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  ที่พระยาอ่างทอง ในขณะที่อีกหลายเมือง
เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น พระ เช่น พระนครสวรรค์ เป็นต้น


แหล่งโบราณคดี และแหล่งประวัติศาสตร์

บ้านคูเมือง


            เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญที่สุดของจังหวัดอ่างทอง อยู่ที่ตำบลแสวงหา อำเภอแสวงหา พื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมมน กว้างยาวประมาณด้านละ 300-400 เมตร  มีคูน้ำล้อมรอบกว้างประมาณ 20 เมตร  เป็นที่ตั้งของชุมชนระดับเมือง  มีอายุสมัยทวาราวดี  ได้พบโบราณวัตถุในบริเวณนี้หลายชนิด เช่น  กระดิ่งสำริด  แท่งหินบดยาทำด้วยหินทรายแดง  พระพิมพ์ดินเผา  เศษภาชนะดินเผา  ในยุคนั้น
เนินดินยี่ล้น
            เป็นเนินดินที่เก่าที่หมู่บ้านยี่ล้น ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ  บนเนินดังกล่าวมีร่องรอยวัดร้างตั้งอยู่  ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหญ่  สันนิฐานว่า เนินแห่งนี้เป็นฐานที่ตั้งกองกำลังของพวกกบฎญาณพิเชียร ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกของพื้นที่นี้ เป็นคลองยี่ล้น  ด้านทิศตะวันออกและด้านใต้เป็นทุ่งโล่ง สามารถมองเห็นได้ไกลถึงแม่น้ำน้อย เป็นชัยภูมิที่ใช้ป้องกันตนเอง จากฝ่ายตรงข้ามได้ดี
สะตือสี่ต้น
            เป็นบริเวณที่มีการสู้รบ ระหว่างกำลังฝ่ายไทย และกำลังฝ่ายพม่าในศึกบางระจัน เป็นครั้งที่ 4  โดยเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่า ได้จัดกำลังจำนวน 1,000 คน  มีสุรินจอข้องเป็นนายทัพ  ยกกำลังไปปราบปรามชาวบ้านบางระจัน  ได้ยกกำลังไปถึงทุ่งห้วยไผ่ ใกล้บ้านบางระจัน  แล้วตั้งค่ายลง ณ ที่นั้น ด้านชาวบ้านบางระจันยกกำลังจำนวน 600 คน  แบ่งกำลังออกเป็น 3 กอง  เมื่อไปถึงที่สะตือสี่ต้น ริมคลองบางระจัน ก็วางกำลังรายรับพม่าอยู่ทางฝั่งเหนือ ส่วนพม่าอยู่ทางฝั่งใต้
ตำบลจรเข้ร้อง
            ตำบลจรเข้ร้อง มีที่มาจากพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนเถรขวาด แปลงกายเป็นจรเข้ใหญ่ ล่องลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา จากเมืองเหนือลงไปอาละวาดทางเมืองใต้คือ กรุงศรีอยุธยา เพื่อแก้แค้นพลายชุมพลแทนนางสร้อยฟ้า  ซึ่งต่อมานิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ได้ร้อยกรองเป็นกลอนเสภา จนกลายเป็นวรรณคดีที่สำคัญอย่างดีของไทยเรื่องหนึ่ง
            เมื่อเถรขวาดเดินทางจากเมืองเชียงใหม่มาถึงคลองบางแมว ก็ใช้วิชาอาคมแปลงร่างเป็นจระเข้ใหญ่ว่ายไปในแม่น้ำเจ้าพระยา  ส่งเสียงร้องคำรามดังไปทั่ว  บริเวณตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า บ้านจระเข้ร้อง


พระตำหนักคำหยาดหรือพระที่นั่งคำหยาด


            อยู่ในทุ่งนา  ตำบลคำหยาด  อำเภอโพธิทอง  มีลักษณะเช่นเดียวกับตำหนักทุ่งหันตรา  คือก่อเป็นตึกสูงจากพื้นดิน 5 ศอก  ผนังชั้นล่างเป็นช่องคูหา ปูพื้นกระดาน  ชั้นบนซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มจรนำ  หลังคาในประธาน 3 ห้อง  มุขลดหน้าท้าย รวมเป็น 5 ห้อง  มีมุขเด็จทั้งหน้าหลัง  ด้านข้างมุขเด็จเสาหาร  มีอัฒจันทร์ขึ้นข้างมุข  หลังอุดฝาตัน  เจาะช่องหน้าต่างไว้สูง  ที่หว่างผนังด้านหุ้มกลองเจาะเป็นคูหา  ทั้งข้างหน้าข้างหลังมีช่องคอสอง  เป็นฝีมือช่างแบบลพบุรี ยาวตลอดหลัง 9 วา 2 ศอก ขื่อกว้าง 5 วา  อุดหน้าต่างมุขลดด้านหลังทั้ง 2 ด้าน  หันหน้าไปทางตะวันออก  ข้างด้านใต้มีวิหารเล็ก หรือหอพระหลังหนึ่ง  แยกอยู่คนละโคก
            พระตำหนักหลังนี้สันนิฐานว่า  กรมขุนพรพินิตหรือเจ้าฟ้าอุทุมพร หรือที่เรียกอีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงหาวัด  พระอนุชา สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ เมื่อครั้งเสด็จออกทรงผนวชที่วัดโพธิทอง  ซึ่งอยู่ห่างจากพระตำหนักนี้ประมาณ 2 กิโลเมตร


วัดไทรย์นิโคธาราม
            เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1950  สิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่ยังคงปรากฎอยู่ในบริเวณวัดคือ หอระฆังก่ออิฐถือปูน  ขนาดกว้างด้านละ 7.50 เมตร  ฐานมีลักษณะโค้งท้องสำเภาย่อมุมไม้ยี่สิบ  รูปทรงของหอระฆังเป็นทรงมณฑป  แต่เครื่องยอดชำรุดหักพังหมดแล้ว  บันไดขึ้นลงเป็นทางโค้งก่ออิฐถือปูน ไม่ปรากฎว่ามีลวดลายใดๆ  หอระฆังนี้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก 


วัดป่าโมกวรวิหาร
           ตั้งอยู่อำเภอป่าโมก  ตามพงศาวดารเมืองเหนือกล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัย วัดนี้เป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งสงครามยุทธหัตถี เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกรีฑาทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา  พระองค์ได้เสด็จมาชุมนุมพล และสักการะพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์นี้ พระองค์ได้ประทับพักแรมและทรงสุบินนิมิตรว่า ได้ทรงลุยน้ำไปพบจระเข้ ได้ทรงต่อสู้กับจระเข้ และทรงฆ่าจระเข้ตาย  ต่อมา เมื่อทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาก็ทรงมีชัย ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชา สิ้นพระชนม์บนคอช้าง
            ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2271 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  กระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เซาะตลิ่งทะลายลงมาตามลำดับ จนใกล้ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอองค์พระออกมาห่างจากตลิ่ง ให้พ้นเขตน้ำเซาะ และได้สร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ ได้แก่ พระอุโบสถและวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารเขียน ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
            ตามพงศาวดารเมืองเหนือได้กล่าวถึงวัดป่าโมกอยู่ตอนหนึ่งว่า พระมหาเถรไลลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธตุ ของพระพุทธเจ้า 650 พระองค์ กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ 2 ต้น มาจากเมืองลังกา และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก 36 พระองค์
            ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า  เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1480  พระมหาพุทธสาคร เชื้อพระวงศ์กษัตริย์ทางเมืองเหนือ  ได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระพุทธไสยาสน์องค์นี้  จึงประมวลเรื่องได้ว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 1480 พระมหาพุทธสาคร  กษัตริย์ทางภาคเหนือ และพระมหาเถรไลลาย ได้ร่วมกันบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก


       พระวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร
            อยู่ที่อำเภอป่าโมก  สร้างในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย  ก่ออิฐถือปูนเครื่องบนเป็นไม้  รูปทรงฐานและหลังคาโค้ง  ทรงสำเภา หรือโค้งท้องช้าง  ผนังด้านตะวันออกเจาะเป็นช่องประตู 1 ช่อง ตรงกับฉนวนทางเข้าพระวิหาร ที่เหลือเจาะเป็นช่องหน้าต่างรวม 6 ช่อง  มีเพิงหลังคาคลุมโดยมีเสากลมรองรับสี่ต้น  ปลายเสาประดับด้วยบัวกลุ่ม ผนังด้านทิศใต้ทึบ  หลังคาทำเป็นสองชั้นซ้อน 3 ชั้น ลด  มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยดินเผาชนิดไม่เคลือบ  กระเบื้องเชิงชายเป็นลายนูนริ้วคล้ายใบไม้  หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์  หน้าบันทั้งสองด้าน เป็นเครื่องไม้คั่นตัว เป็นลายประกน  ระหว่างช่องประกนประดับลวดลายเฉพาะช่อง เป็นลายก้านขดศิลปอยุธยา  เป็นงานแกะไม้ลงรักปิดทอง  ด้านล่างประดับกระจังปฏิภาณและกระจังรวน  บานประตูหน้าต่างประดับลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ หน้าขบก้านแย่ง  เพดานกรุไม้ทึบ  พื้นสีแดงชาด  ลายฉลุปิดด้วยทองคำเปลว มีเสาสี่เหลี่ยมหลบมุม มีบัวปลายเสาจำนวน 16 ต้น รองรับเครื่องบน


วัดขุนอินทประมูล


           ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพลัด  อำเภอโพธิทอง  เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 50 เมตร  เดิมพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีวิหารสร้างคลุมอยู่ แต่ต่อมาเกิดไฟไหม้เสียหาย และเมื่อสร้าขึ้นมาใหม่ก็ถูกฟ้าผ่าไฟไหม้อีก  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันจึงไม่มีการสร้างใหม่อีก คงเหลือแต่ร่องรอยเดิม ที่เหลือแต่เสาวิหารบางส่วนยังปรากฎอยู่ นอกจากวิหารแล้วยังมีซากอุโบสถ และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม  ซึ่งสร้างอยู่บนเนินประทักษิณขนาดใหญ่

            ประวัติการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลมีว่า สมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพระยาเลอไท พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน จากกรุงสุโขทัยโดยชลมารค  มานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะเขาสมอคอน ในเขตเมืองละโว้ โดยได้เสด็จมาทางลำน้ำยม แล้วเข้าสู่ลำน้ำปิง และแม่น้ำเจ้าพระยาตามลำดับ จากนั้นได้แยกเข้าแม่น้ำมหาศร เข้ามาถึงเขาสมอคอน อันเป็นที่อยู่ของ พระฤาษีสุกกะทันตะ ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระองค์ และของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
            พระยาเลอไทยได้เข้านมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ แล้วประทับแรมอยู่ที่เขาสมอคอน เป็นเวลา 5 วัน  จากนั้นได้เสด็จผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วล่องลงมาตามลำแม่น้ำน้อย และตามลำคลองบางพลับ เพื่อประพาสท้องทุ่ง เนื่องจากขณะนั้นเป็นห้วงเวลาน้ำเหนือบ่า  เมื่อถึงเวลาค่ำได้ทรงหยุดประทับแรม ณ โคกบ้านบางพลับ  ครั้นเวลายามสามได้เกิดศุภนิมิต เป็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นมาเหนือยอดไม้ แล้วหายไปในท้องฟ้าทางทิศตะวันออก  พระองค์ทอดพระเนตรเห็นศุภนิมิตนั้น แล้วก็ทรงปิติโสมนัส  จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ด้วยคติว่า พระองค์ได้เสด็จมาบรรทมพักแรมอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น
            ในการสร้างพระพุทธไสยาสน์ดังกล่าว  ได้ทรงให้นายบ้านเกณฑ์แรงงาน จากบรรดาผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมด ได้ประมาณพันคนเศษมาช่วยกันสร้าง  โดยให้ขุดหลุมกว้าง 200 วา  แล้วนำท่อนซุงเป็นจำนวนมากมาวางขัดเป็นตาราง เพื่อใช้เป็นฐานราก แล้วให้ระดมกำลังกันทำอิฐเผา (ปัจจุบัน ยังมีโคกที่เรียกว่า โคกเผาอิฐ และตำบลบ้านทำอิฐ อยู่ในเขตอำเภอโพธิทอง)  การสร้างพระพุทธไสยาสน์ ใช้เวลาถึง 5 เดือน จึงแล้วแสร็จ เมื่อ เดือน 5 พ.ศ. 1870  องค์พระยาว 20 วา  สูง 5 วา  ทรงขนามนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทนิมิต  ทรงมอบหมายให้นายบ้านเป็นผู้ดูแลพร้อมทั้งแต่งตั้งทาสวัดไว้ 5 คน  แล้วเสด็จกลับกรุงสุโขทัย


วัดไชโยวรวิหาร


            เดิมเป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด  ต่อมาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม  ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ใช้เวลาสร้างนานถึงสามปี เสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้ถวายให้เป็นวัดหลวง  ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเกษไชโย  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในปี พ.ศ. 2430 ได้มีการบูรณปฎิสังขรวัด  สร้างอุโบสถและวิหารพระโต  การก่อสร้างครั้งนี้ทำให้พระพุทธรูปที่สร้างไว้เดิมพังลง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงโปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างองค์พระขึ้นใหม่  ใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงเสร็จ  พระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์  วิหารที่ประดิษฐาน พระพุทธพิมพ์มีขนาดสูงใหญ่มาก  และมีรูปทรงที่แปลกตาไปจากที่เคยเห็นโดยทั่วไป  มีศิลปะแบบโกธิคผสมอยู่ด้วย  ตัววิหารเชื่อมติดกับ พระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก
            ด้านหน้าพระวิหารมีมุขลด 2 ชั้น  เมื่อมองด้านหน้าตรงจนเห็นหลังคาประกอบด้วยหน้าบัน 3 ชั้น  ลดหลั่นลงมาอย่างงดงาม  หน้าบันแรกเป็นหน้าบันตัวพระวิหาร  หน้าบันกลางเป็นหน้าบันมุขลด และหน้าบันสุดท้ายล่างสุดเป็นหน้าบันพระอุโบสถ
            ด้านหลังพระวิหารมีมุขลด 2 ชั้น เช่นเดียวกับด้านหน้า  ตัวมุขทะยอยต่ำลงมาเป็นจังหวะได้สัดส่วนงดงาม  พร้อมทั้งลดขนาดลงมาตามลำดับในแนวเดียวกับมุขลด  หลังแรกที่ลดจากพระวิหาร มีกันสาดยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านข้าง  รองรับด้วยเสานางเรียงทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่า  เฉพาะด้านหน้าและด้านหลังพระวิหารซ้ายขวา ข้างละ 3 ต้น  ด้านข้างซ้ายขวามีช่องประตูโค้งแหลม ด้านละ 1 ประตู
            ด้านข้างพระวิหารก่อผนังเป็น 2 ระยะ  ผนังด้านจรดหลังคามีช่องหน้าต่างโค้งแหลม ด้านละ 5 ช่อง  ผนังช่องที่ 2 จากหลังคากันสาดจนถึงพื้นซึ่งเป็นช่องที่สูงมาก  ด้านล่างเจาะช่องหน้าต่างโค้งแหลมด้านละ 5 ช่อง
            หลังคาพระวิหารสร้างเป็น 2 ชั้น ซ้อน 4 ชั้นลด  ส่วนหลังคามุขลดทั้งหมดสร้างเป็น 3 ชั้นลด  หลังคากันสาดสร้างเป็น 3 ชั้นซ้อน  หน้าบันมีจำนวน 6 หน้า  ประดับด้วยลายปูนปั้น เป็นรูปพระเกี้ยววางอยู่บนพาน  มีฉัตรอยู่ทั้งสองข้างซ้ายขวา  ด้านล่างเป็นรูปตราราชสีห์  รวมทั้งหมดประกอบด้วยลวดลายพรรณพฤกษา  สำหรับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์  ออกแบบให้ผสมผสานกับศิลปะยุโรป  แต่ภาพโดยรวมแล้วคล้ายศิลปะไทย

            ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธพิมพ์  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิแบบขัดสมาธิราบ  ห่มจีวรริ้วมีขนาดใหญ่โต จนเป็นที่กล่าวขานกันมาแต่โบราณ  มีพุทธลักษณะคลายลงมาจากของเดิม จนคล้ายกับมนุษย์ทั่วไป เช่น มีพระกรรณสั้น  การห่มจีวรที่มีริ้วเป็นไปตามธรรมชาติ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เขียนเป็นภาพพุทธประวัติมีสภาพสมบูรณ์  บานประตูหน้าต่างและด้านในพระอุโบสถมีลายเขียนสีรูปเครื่องบูชาแบบจีน  ด้านนอกเป็นลายรดน้ำเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์  เทพพนม  ก้านแย่ง  ลายหน้าบันทั้งของพระอุโบสถ และพระวิหารเป็นลายปูนปั้น ตรงกลางเป็นรูปสิงห์อยู่ในวงกลม  เหนือขึ้นไปเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์