ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดนครศรีธรรมราช

            จังหวัดนครศรีธรรมราช  ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๙,๙๔๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖,๒๑๔ ล้านไร่ มากเป็นอันดับสองของภาคใต้รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
            ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
            ทิศตะวันออก   ติดต่อกับอ่าวไทย
            ทิศใต้   ติดต่อกับจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง
            ทิศตะวันตก   ติดต่อกับจังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลักษณะภูมิประเทศ
            จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทั้งภูเขา เนินเขา และที่ราบชายทะเล แบ่งออกได้เป็นสามเขต ดังนี้

            เขตเทือกเขาตอนกลาง  เทือกเขานครศรีธรรมราช ทอดตัวยาวเป็นแกนของแผ่นดินในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องจากเทือกเขาบรรทัด เทือกเขานครศรีธรรมราชตอนเหนือเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแบ่งพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชออกเป็นสองเขตคือ เขตที่ราบตะวันออกและเขตที่ราบตะวันตก
            เทือกเขานครศรีธรรมราช  เป็นต้นน้ำหลายสายในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง เช่น แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตาปี และแม่น้ำตรัง บริเวณเทือกเขาเป็นป่าฝนเขตร้อน ยอดสูงสุดของเทือกเขานี้คือ เขาหลวง สูงประมาณ ๑,๘๓๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
            พื้นที่ที่อยู่ในเขตนี้ได้แก่ อำเภอเมือง ฯ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอพรหมคีรี อำเภอลานสกา อำเภอพระพรหม อำเภอร่อนพิบูลย์ และกิ่งอำเภอนบพิตำ

            เขตที่ราบตะวันออก  มีอาณาเขตตั้งแต่เทือกเขานครศรีธรรมราช ไปทางด้านทิศตะวันออกจนถึงชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ทางตอนเหนือเป็นที่ราบแคบ แล้วค่อยขยายกว้างออกทางตอนใต้ แผ่นดินบริเวณนี้มีลักษณะเป็นสันทราย เกิดจากการทับถมของตะกอน ทะเลบางตอนมีลักษณะเป็นสันทรายตามแนวเหนือใต้ บริเวณอ่าวที่มีแหลมตะลุมพุกเป็นปีกอ่าวเรียกว่า อ่าวนครศรีธรรมราชหรืออ่าวนคร มีความลึกเฉลี่ยประมาณ ๑๐ เมตร ในระยะห่างจากชายฝั่งประมาณ ๔ กิโลเมตร
            พื้นที่ที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอจุฬาภรณ์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

            เขตที่ราบตะวันตก  มีอาณาเขตตั้งแต่ด้านตะวันตกของเทือกเขาตอนกลาง มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาหรือที่ราบหุบเขา มีเนินเขาเป็นระยะ สลับกับที่บราบ มีลำน้ำที่เกิดจากเทือกเขาด้านตะวันตกของพื้นที่นี้ เข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนลงทะเลอ่าวไทยคือ แม่น้ำตาปีหรือแม่น้ำหลวง
            พื้นที่ที่อยู่ในเขตนี้ได้แก่ อำเภอทุ่งสง อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน อำเภอนาบอน อำเภอฉวาง อำเภอพิปูน อำเภอถ้ำพรรณรา และกิ่งอำเภอช้างกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขตพื้นที่ลุ่มน้ำตาปี
            จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีความยาวของชายฝั่งทะเลตั้งแต่เหนือจดใต้ เป็นระยะทาง ๒๒๕ กิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดของประเทศไทย จากอำเภอเหนือสุดคืออำเภอขนอม ต่อลงมาคืออำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง ฯ อำเภอปากพนัง จนถึงอำเภอหัวไทร ซึ่งอยู่ล่างสุด ชายฝั่งทะเลค่อนข้างเหยียดตรงเว้นแต่บริเวณตอนเหนือของอำเภอปากพนัง อำเภอเมือง ฯ และอำเภอท่าศาลาที่เป็นเวิ้งอ่าว และเป็นปีกแหลมตะลุมพุก ภูมิประเทศชายฝั่งอำเภอขนอม อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลา ส่วนใหญ่เป็นหาดทราย ส่วนชายฝั่งอำเภอเมือง ฯ อำเภอปากพนังและอำเภอหัวไทร ส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทรายและมีป่าชายเลนขึ้นอยู่ทั่วไป
            ระดับความลึกของน้ำทะเลชายฝั่งอ่าวนคร เฉลี่ยประมาณ ๑๐ เมตร ในระยะห่างฝั่ง ๔ กิโลเมตร เมื่อห่างจากชายฝั่งออกไปประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จะลึกประมาณ ๑๘ เมตร ยกเว้นชายฝั่งอำเภอขนอมและอำเภอสิชล เมื่อห่างจากชายฝั่งออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จะลึก ๑๘ เมตร
น้ำและแหล่งน้ำ

            แหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาบรรทัด
            แม่น้ำปากพนัง  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ในเขตอำเภอวังอ่าง อำเภอชะอวด ไหลผ่านอำเภอเชียรใหญ่ มาบรรจบกับลำน้ำจากอำเภอหัวไทร ที่บ้านปากแพรกกลายเป็นแม่น้ำปากพนัง แล้วไหลลงสู่อ่าวนคร นับเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะการเกษตรกรรม บริเวณลุ่มแม่น้ำปากพนังและสาขาซึ่งเป็นที่ราบทำนา มีพื้นที่ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ไร่ เคยเป็นแหล่งปลูกข้าวขนาดใหญ่ของภาคใต้เมื่อร้อยปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันได้เสื่อมโทรมลง
            แม่น้ำปากพนัง  เคยเป็นเส้นทางคมนาคมหลักระหว่างอำเภอปากพนังกับอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอชะอวด มานาน แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลงไป
            แม่น้ำตาปี  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ด้านตะวันตกในเขตอำเภอพิปูน แล้วไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ แล้วไหลเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเขตอำเภอพระแสง ไหลผ่านอำเภอนาสาร ไปรวมกับแม่น้ำคีรีรัฐนิคม (แม่น้ำพุมดวง) ที่อำเภอพุนพิน เรียกว่า แม่น้ำตาปี แล้วไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของภาคใต้
            แม่น้ำตรัง  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านตะวันตก จากน้ำตกโยง ในเขตอำเภอทุ่งสง ไปบรรจบกับคลองเลา คลองทุ่งโจน คลองวังหีบ และคลองปาง แล้วไหลเข้าเขตจังหวัดตรัง ที่อำเภอห้วยยอด ผ่านอำเภอเมืองตรัง แล้วไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ในเขตอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
            คลองปากพูน  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชบริเวณน้ำตกพรหมโลก แล้วไหลผ่านตำบลพรหมโลก ตำบลบ้านเกาะ ตำบลนาเรียง ตำบลอินคีรี แล้วไหลลงสู่อ่าวนครที่ตำบลปากพูน เรียกคลองช่วงนี้ว่า คลองนอกท่า เมื่อใกล้ปากน้ำจึงเรียกว่าคลองปากพูน เป็นคลองที่เคยมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีชื่อปรากฎในประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            คลองปากพญา - คลองปากนคร  ต้นน้ำเกิดจากแหล่งน้ำหลายสาขาในเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช ที่บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลายสกา ตอนต้นน้ำเรียกว่า คลองท่าดี เมื่อผ่านตำบลกำแพงเซาตำบลไชยมนตรี ตำบลมะม่วงสองต้น เรียกว่า คลองมะม่วงสองต้น และเมื่อไหลผ่านสันทรายซึ่งเป็นที่ตั้งตัวเมืองนครศรีธรรมราช คลองก็แบ่งออกเป็นสามสาย คือ
            สายที่หนึ่ง ไหลเลียบคูเมืองด้านตะวันตกไปทางทิศเหนือ ผ่านตัวเมืองที่สะพานราเมศวร์ ผ่านตำบลท่าวัง ตำบลท่าชัก ไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากพญา เรียกว่า คลองปากพญา หรือ คลองท่าชัก  แต่เดิมกว้างและลึก ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เคยมีเรือขนาดใหญ่เข้ามาขนถ่ายสินค้าถึงตัวเมือง พบซากเรือใหญ่ และปืนใหญ่ที่ปากน้ำปากพญา
            สายที่สอง ไหลเลียบคลองคูเมืองด้านตะวันตกไปทางทิศเหนือ แล้ววกเข้าคลองคูเมือง ผ่านสะพานนครน้อยไปบรรจบกับคลองหัวตรุษ ที่ตำบลปากนคร เรียกว่า คลองปากนคร คลองสายนี้มีแนวตรง เนื่องจากเป็นคลองขุดในสมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นเจ้าเมืองนคร ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพล และอาวุธไปออกอ่าวไทยให้รวดเร็วกว่าคลองสายแรก
            สายที่สาม ไหลเลียบคูเมืองด้านตะวันตกไปทางทิศใต้ ผ่านสะพานป่าหล้า (สะพานเทวีจรดล) ไปบรรจบคลองหัวตรุด ที่ตำบลท่าไร่ เรียกว่า คลองป่าหล้า แล้วไหลลงสู่อ่าวนคร ที่ตำบลปากนคร  คลองสายนี้มีแนวทางค่อนข้างตรง และขนานกับคลองปากนคร  เดิมใช้เป็นทางสัญจรระหว่างตัวเมืองนคร ฯ กับเมืองปากพนัง
            คลองเสาธง  ต้นน้ำเกิดจากน้ำตกกะโรม ในเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอลานสกา ลำคลองช่วงนี้เรียกว่า คลองเขาแก้ว แล้วไหลเข้าเขตอำเภอร่อนพิบูลย์ ที่ตำบลเสาธง คลองช่วงนี้เรียกว่าคลองเสาธง แล้วไหลผ่านโคกคราม บ้านชะเมาเรียกว่า คลองชะเมา เมื่อถึงบ้านหนองน้ำมนต์ก็แยกเป็นสองสาย สายหนึ่งไปบรรจบกับคลองหัวตรุด (คลองปากนคร)  อีกสายหนึ่งไหลไปลงสู่ทะเลที่ตำบลบางจาก อำเภอเมือง ฯ คลองช่วงนี้เรียกว่า คลองบางจาก
            คลองสายนี้กว้างและลึก มีปริมาณน้ำมากตลอดปี  เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม) เมื่อครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ขุดคลองเชื่อมกับแม่น้ำปากพนัง เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดไปยังเมืองปากพนัง ชาวบ้านจึงเรียกว่า คลองสุขุม
            คลองกลาย  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตกิ่งอำเภอนบพิตำ แล้วไหลผ่านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จึงได้ชื่อว่าคลองกลาย ไหลลงสู่ทะเลในเขตอำเภอท่าศาลา
            คลองท่าทน  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ในเขตอำเภอสิชล และไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอสิชล
            คลองมีน  ต้นน้ำเกิดจากเขาสามจอบ ในเขตอำเภอทุ่งใหญ่ แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำตาปี
            คลองท่าเลา  ต้นน้ำเกิดจากเขาวังหีบ ในเขตอำเภอทุ่งสง แล้วไหลไปทางใต้ผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ไหลเข้าสู่อำเภอห้วยยอด อำเภอเมืองตรัง แล้วไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ในเขตอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  เป็นคลองสาขาที่ยาวที่สุดของแม่น้ำตรัง
            นอกจากคลองสายหลักดังกล่าวมาแล้ว ยังมีคลองสายสั้น ๆ อีกหลายสาย ในเขตเทือกเขาตอนกลาง (เขตลุ่มน้ำท่าดี - กลาย) คลองในเขตที่ราบตะวันออก (เขตลุ่มแม่น้ำปากพนัง) และคลองในเขตที่ราบตะวันตก (เขตลุ่มน้ำตาปี)
ประชากร
            ประชากรร้อยละ ๙๕ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๕.๗๔ นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นเป็นศาสนาอื่น
            โดยเหตุที่เมืองนคร ฯ เคยเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงมีวัดและพุทธศาสนิกชนมากจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระ  ชาวนคร ฯ มีความผูกพันกับพระบรมธาตุเจดีย์เป็นอย่างมาก  เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงมีผู้คนจากทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาสักการะพระบรมเจดีย์อย่างล้นหลามทุกปี
            ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองกลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี  มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในแถบอำเภอเมือง ฯ และอำเภอท่าศาลา  นอกนั้นมีอยู่ประปรายในเขตอำเภอสิชล อำเภอหัวไทร และอำเภอร่อนพิบูลย์  มีมัสยิดรวม ๙๒ แห่ง
การปกครอง
            เมืองนคร ฯ เป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดเมืองหนึ่ง มีตำนานที่กล่าวถึงชาวอินเดียทางตอนใต้ มาติดต่อค้าขายแต่โบราณ สถานภาพของเมืองในครั้งนั้นคงมีลักษณะเป็นนครรัฐคือเป็นอิสระของตนเอง ในสมัยสุโขทัย เมืองนคร เป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัย ควบคุมเส้นทางการค้าในช่องแคบมะละกา ในสมัยอยุธยา เมืองนคร ฯ มีฐานะเป็นเมืองพระยานคร ในศักดินาทหารระบุว่าเป็นเมืองเอก เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา ที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการไปให้กรุงศรีอยุธยาตามประเพณี
            ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงยกย่องเจ้าเมืองนคร ฯ ให้มีเกียรติเสมอเจ้าประเทศราช
            ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงลดบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเป็นเจ้าพระยานคร ฯ และให้ลดตำแหน่งเสนาบดีเมืองนคร ฯ ลงมาเป็นกรมการเมือง ไม่ให้ควบคุมดูแลประเทศราชมลายู ยกเว้นเมืองไทรบุรี
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙  มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในมณฑล

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์