ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดระยอง

            จังหวัดระยองอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย และเป็นจังหวัดชายทะเลของภาคตะวันออกตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๓,๕๕๒ ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ ๙.๘๐ ของพื้นที่ภาคตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
            ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อทองและอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
            ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
            ทิศใต้ ติดต่อกับชายทะเลอ่าวไทย
            ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอสัตหีบและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
            โดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับที่ดอนเป็นลูกคลื่น พื้นที่ทางทิศเหนือและทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบสลับภูเขาลาดต่ำลงสู่อ่าวไทย ทางทิศใต้ซึ่งมีชายฝั่งเว้าแหว่งติดต่อกับอ่าวไทย ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำระยอง มีความยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ไหลผ่านท้องที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่ายและอำเภอเมือง ฯ แล้วไหลลงสู่ทะเลในเขตตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ  แม่น้ำประแสร์ มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากทิวเขาจันทบุรี ไหลผ่านเขตอำเภอแกลง แล้วไหลลงสู่ทะเลในเขตตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง
            ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี แต่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ำ
            มีภูเขาเตี้ย ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาชะเมา อยู่ในเขตกิ่งอำเภอชะเมา สูง ๑,๐๓๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนั้นมีเขาขุนอิน เขาจอมแห เขาวังช้าง เขาท่าฉุด เขายายตา เขาตะเภาคว่ำ ในเขตอำเภอเมือง ฯ
ทรัพยากรธรรมชาติ

            ทรัพยากรน้ำ มีทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทาน
                แม่น้ำระยอง หรือคลองใหญ่  ต้นน้ำเกิดจากเขากองซองและเขาพนมศาสตร์ น้ำไหลมาตามลำห้วยต่าง ๆ หลายสาย แล้วมารวมกันเรียกว่า แม่น้ำระยอง แล้วไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ  มีความยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
                คลองทับมา  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาต่าง ๆ เช่น เขาจอมแห เขาเกตุ เขากระบอก ไหลมาตามห้วยและคลองต่าง ๆ เช่น คลองซากใหญ่ คลองหนองคล้าและคลองช้างตาย ไหลมารวมกันเป็นคลองทับมา แล้วไหลลงสู่แม่น้ำระยองที่บ้านเกาะกลอย อำเภอเมือง ฯ  มีความยาวประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
                คลองดอกกราย  ต้นน้ำเกิดจากเขาซากกล้วย ในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ไหลมารวมกับคลองหนองปลาไหล แล้วไปบรรจบกับคลองใหญ่ เป็นคลองดอกกราย มีความยาวประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
                คลองหนองปลาไหล  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาน้ำโจน เขาชมพูและเขตเรือนตกในเขตจังหวัดชลบุรี แล้วไหลมาตามลำห้วย และคลองต่าง ๆ เช่น คลองระเริง คลองกร่ำ คลองปลวกแดง แล้วไหลมารวมกันเป็นคลองหนองปลาไหล แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำระยองที่บ้านหัวทุ่ง ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย มีความยาวประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
                คลองโพ้ล  ต้นน้ำเกิดจากเขาชมูน เขาชะเอมและเขาปลายคลองโพ้ล แล้วไหลมารวมกันเป็นคลองโพ้ล ไหลไปบรรจบแม่น้ำประแสร์ที่บ้านท่ากระชาย อำเภอแกลง มีความยาวประมาณ ๓๘ กิโลเมตร
                แม่น้ำประแสร์  ต้นน้ำเกิดจากเขาใหญ่ เขาอ่างฤาไน เขาหินโรง เขาอ่างกระเต็น แล้วไหลมาตามคลองต่าง ๆ หลายสายคือ คลองกระแสร์ คลองปลิง คลองบ่อทอง ห้วยหินคม คลองเจว็ด คลองตากล้วย คลองชุมแสง คลองไผ่เหนือ คลองไผ่ใต้ คลองตวาด คลองผังหวาย คลองจำคา คลองใช้ คลองแหวน ของโพ้ล คลองท่าสีแก้วและคลองหนองเพลง ไหลมารวมกันในเขตอำเภอแกลง เป็นแม่น้ำประแสร์ มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
                คลองละโอก  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาชะเมา ไหลมาตามคลองต่าง ๆ เช่น คลองเขาอุท คลองสะท้อน คลองน้ำเป็น ไหลมารวมกันเป็นคลองละโอก แล้วไหลไปบรรจบคลองโพ้ล ที่บ้านเนินสุขสำรอง อำเภอแกลง มีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                แหล่งน้ำชลประทาน  มีโครงการใหญ่ ๆ อยู่สามโครงการคือโครงการอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล โครงการอ่างเก็บน้ำดอกกราย และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองละโอก มีความจุรวมประมาณ ๒๕๕ ล้านลูกบาศก์เมตร กำลังดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำประแสร์ สามารถกักเก็บน้ำได้ ๒๐๓ ล้านลูกบาศก์เมตร
            ทรัพยากรป่าไม้  พื้นที่ป่าสงวนส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบแล้ง นอกจากนั้นยังมีป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ และป่าละเมาะ เนื้อที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และพระราชกษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ประมาณ ๕๙๖,๐๐๐ ไร่ มีป่าสงวนแห่งชาติ ๘ แห่ง อุทยานแห่งชาติ ๒ แห่งคือ อุทยานแห่งชาติเชาชะเมา - เขาวง และอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด
            มีสวนรุกขชาติสองแห่งคือ สวนรุกขชาติเพ และสวนรุกขชาติหนองสนม
            มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหนึ่งแห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

            ทรัพยากรทางทะเล  จังหวัดระยองมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมงประมาณ ๖,๒๒๕,๐๐๐ ไร่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีเรือประมงที่มาจดทะเบียนที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาระยอง จำนวน ๘๖๐ ลำ มีสัตว์น้ำที่ผ่านท่าจับปลามูลค่า ๑,๒๙๖ ล้านบาท มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ๓๘๐ ล้านบาท
            ทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญได้แก่ สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่าง ๆ คือ ปู กปลา กุ้ง และหอยทะเลต่าง ๆ นอกจากนี้พื้นที่บริเวณเกาะมันใน ยังเป็นที่เพาะพันธุ์ และอนุรักษ์เต่าทะเล
            จังหวัดระยองยังเป็นที่ตั้งโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติที่ขุดเจาะในบริเวณอ่าวไทย ที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง ฯ นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ
            ทรัพยากรแร่ธาตุ  แร่ธาตุที่พบในเขตจังหวัดระยองประกอบด้วย
                แร่ทรายแก้ว  ในปี .ศ.๒๕๓๙ มีเหมืองทรายแก้วอยู่ ๑๓ แห่ง แร่ที่ผลิตได้มีจำนวนประมาณ ๑๓๗,๐๐๐ ตัน เหมืองส่วนใหญ่อยู่ในเขตตำบลซากพง ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมทรายแก้ว กระจก ขวด สารเคมี ตัวเร่งในปฎิกริยาในการถลุงโลหะเซรามิค
                แร่ดินขาว  มีเหมืองอยู่ในเขตตำบลเนินฆ้อ และตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง แร่ดินขาวใช้ในการทำอุตสาหกรรมเซรามิค สีกระเบื้อง กระดาษ ฯลฯ
                หินปูนเพื่อการก่อสร้าง  มีเหมืองที่ตำบลกองดิน อำเภอแกลง ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป
                หินแกรนิตเพื่อการก่อสร้าง  มีเหมืองในเขตตำบลห้วยโปร่ง อำเภอเมือง ฯ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป และยังใช้ในโครงการขนาดใหญ่ เช่น การถมทะเล เพื่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือ
                หินไนส์เพื่อการก่อสร้าง  ใช้ในการก่อสร้างและการถมทะเลได้ดี แหล่งแร่มีอยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย
                แร่หินประดับชนิดหินแกรนิต  มีเหมืองในเขตกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอบ้านค่าย ใช้เป็นหินประดับ จากอาคารปูพื้น และประดับฝาผนัง
สภาพแวดล้อม

            การคมนาคมขนส่ง  จังหวัดระยองมีระบบถนนเป็นระบบการคมนาคมทางบกที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวเชื่อมการติดต่อทั้งทางเรือและทางรถไฟ มีถนนสายหลัก ถนนสายรอง และทางหลวงท้องถิ่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (สุขุมวิท) เชื่อมจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ (บางละมุง - ระยอง) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ (บ้านบึง - แกลง)
            เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพ ฯ ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเส้นทางที่ใช้ขนส่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และสินค้าจากโรงงานในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และกำลังมีการสำรวจเส้นทางจากมาบตาพุดไปยังระยอง
           สนามบินอู่ตะเภา  ใช้เป็นสนามบินพาณิชย์ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านฉาง ซึ่งกำลังพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศนานาชาติ และศูนย์ซ่อมเครื่องบิน (Giobai Transpark) ในอนาคต
            ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด  ใช้เพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการขนส่งสินค้า

           แหล่งอุตสาหกรรม  จังหวัดระยองมีแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทะเล เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้า แหล่งอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็นสองพื้นที่คือ
                พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม  ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคม ฯ ตะวันออก นิคม ฯ ผาแดง ส่วนอุตสาหกรรมระยองอนดัสเตรียลปาร์ค กลุ่มอุตสาหกรรมเครือเจริญโภคภัณฑ์ สวนอุตสาหกรรมมาบข่า เขตประกอบการอุตสาหกรรม ทีพีไอ เขตประกอบการอุตสาหกรรมสยามอิสเทิร์นอินดัสเตรียลปาร์ค
                พื้นที่นอกเขตอุตสาหกรรม  มีโรงงานอยู่ ๖๘๖ แห่ง  มีพื้นที่ประกอบการประมาณ ๑๑,๐๐๐ ไร่ โดยมีลักษณะอุตสาหกรรมต่าง ๆ กัน เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ
ประชากร
            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีประชากรตามทะเบียนราษฎรประมาณ ๔๙๙,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ร้อยละ ๙๔.๔๔ มีวัด ๒๓๔ แห่ง เป็นคริสตศาสนิกชน ร้อยละ ๔.๐๒ มีโบสถ์ ๔ แห่ง และเป็นอิสามิกชน ร้อยละ ๑.๕๓ มีมัสยิด ๘ แห่ง

| หน้าต่อไป | บน |