ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดนครสวรรค์

            จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไทย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง หรือภาคกลางตอนบน พื้นที่ของจังหวัดมีลักษณะเป็นแนวยาว จากทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก รูปร่างคล้ายผีเสื้อกำลังกางปีกปิน
            โครงสร้างทางธรณีวิทยาทำให้นครสวรรค์ มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งกระทะ พื้นที่ตอนกลางของจังหวัดเป็นแอ่งต่ำมีน้ำท่วมถึง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๒ เมตร และค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โดยที่ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอแม่วงค์ พื้นที่มีระดับสูงถึง ๑,๗๘๐ เมตร ที่เขาตาจุโอ จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว จะแบ่งเป็นเขตย่อยได้ ๔ เขต คือ
            เขตภูเขาสูงด้านตะวันตก  อยู่ทางด้านตะวันตกของอำเภอแม่วงก์ เป็นต้นกำเนิดลำน้ำแม่วงก์และลำน้ำสะแกกรัง  ยังมีสภาพป่าดงดิบเหลืออยู่  เป็นที่ตั้งของป่าสงวนแห่งชาติแม่วงก์ - แม่เปิน  ภูเขาสำคัญในพื้นที่นี้คือ เขาชนกัน  มีลำน้ำแม่วงก์ไหลผ่านช่องเขาในลักษณะร่องน้ำ
            เขตที่ราบเนินตะกอนรูปพัด  เป็นพื้นที่ต่อเนื่องมาจากเขตภูเขาสูงด้านตะวันตก อยู่ในพื้นที่อำเภอลาดยาว  พื้นที่ลาดลงมาจากด้านทิศตะวันตก  จึงมีปัญหาน้ำหลากในฤดูฝน  พื้นที่ลาดเอียงส่วนนี้มีการปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ราบต่ำจะมีการทำนา  มีประชากรอยู่หนาแน่นบริเวณลุ่มน้ำ
            เขตที่ราบขั้นบันไดด้านตะวันออก  เป็นเขตต่อเนื่องมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาซึ่งสึกกร่อนมาก ภูเขาจึงไม่สูงมาก  พื้นที่เป็นลอนคลื่น มีการทำนาในที่ลุ่มที่เหลือปลูกพืชไร่ต่าง ๆ
            เขตที่ราบลุ่มตอนกลาง  เป็นพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน  มีพื้นที่กว้างขวางกว่าทุกเขต  เป็นที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การทำนาจึงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ให้ผลดีกว่าเขตอื่น ๆ  มีการปลูกพืชไร่ในพื้นที่ที่สูงขึ้นไป
            เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  จึงเป็นที่รองรับลำน้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน ทำให้เกิดแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศไทย  และมีบึงบรเพ็ดซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีลำคลองและหนองน้ำอยู่อีกเป็นจำนวนมาก

            แม่น้ำเจ้าพระยา  เกิดจากการไหลมารวมกันของแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน ที่บริเวณปากน้ำโพ แล้วไหลลงใต้ผ่านที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้  ออกสู่ทะเลที่อ่าวไทย
            แม่น้ำยม  ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งอยู่ทางเหนือ มาบรรจบแม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง
            แม่น้ำปิง  ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ทางเหนือ เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอบรรพตพิสัย  ผ่านอำเภอเก้าเลี้ยว แล้วมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลปากน้ำโพ
            แม่น้ำน่าน  ไหลผ่านจังหวัดพิจิตรซึ่งอยู่ทางเหนือ แล้วไหลเข้าสู่นครสวรรค์ ที่อำเภอชุมแสง อำเภอเมือง ฯ แล้วมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ตำบลปากน้ำโพ
            ลำน้ำแม่วงก์  เกิดจากเทือกเขาสูงในเขตจังหวัดตาก ไหลเข้าสู่นครสวรรค์ ที่อำเภอลาดยาว เป็นแม่น้ำวังม้า แล้วไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดอุทัยธานี  เป็นลำน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปี
            คลองโพธิ  มีกำเนิดจากเขาสูงในเขตอำเภอลาดยาว  ทางทิศตะวันตกของจังหวัด  ไหลเลียบเขตจังหวัด มารวมกับลำน้ำแม่วงก์ ในเขตจังหวัดอุทัยธานี
            คลองบางไผ่ - บางประมุง  แยกตัวออกจากแม่น้ำปิงที่อำเภอบรรพตพิสัย  ไหลผ่านตำบลท่าชุด  แล้วไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ
            บึงบรเพ็ด  เป็นบึงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมสามอำเภอคือ อำเภอเมือง ฯ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๓,๐๐๐ ไร่

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            จากหลักฐานทางโบราณคดี  จังหวัดนครสวรรค์เป็นดินแดนที่มีความเจริญมายาวนาน ตั้งแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคปัจจุบัน  ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานประมาณ ๓๐๐๐ - ๒๗๐๐ ปีมาแล้ว  จากแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล  ตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี  บ้านพุขมิ้น  บ้านพุช้างล้วง  บ้านจันเสนในอำเภอตาคลี บ้านหนองใหญ่  บ้านพุนิมิต  บ้านซับตะเคียน ในอำเภอตากฟ้า  แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มากกว่า ๑ สมัย  โบราณวัตถุที่ขุดพบมีหลายประเภท  ส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำด้วยหินขัด  ดินเผา  เปลือกหอยทะเล  สำริด  และเหล็ก  บางแห่งก็มีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยทวาราวดี เช่นที่จันเสน เป็นต้น
            ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก  รู้จักถลุงโลหะ และหล่อสำริดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้  ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งโลหะสำคัญคือ ทองแดงและเหล็ก  ซึ่งมีอยู่ที่เขาวงพระจันทร์  เขาทับควายในเขตอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี  และบริเวณเขาแม่เหล็กในเขตอำเภอพยุหคีรี  จังหวัดนครสวรรค์  ชุมชนเหล่านี้มีการติดต่อสัมพันธ์ และร่วมวัฒนธรรมกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

            จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี  ได้พบชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีมากกว่า ๒๐ เมือง  กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ เช่น จันเสน ในพื้นที่อำเภอตาคลี  เมืองบน ในพื้นที่อำเภอพยุหคีรี  เมืองทัพชุมพล ในพื้นที่อำเภอเมือง ฯ  เมืองดอนคา  เมืองหัวถนน ในพื้นที่อำเภอท่าตะโก และเมืองดงแม่นางเมือง ในพื้นที่อำเภอบรรพตพิสัยเป็นต้น  ได้พบร่องรอยของเมืองที่มีคูน้ำคันดิน ทั้งแบบชั้นเดียวและสองชั้น สระน้ำ  ตลอดจนโบราณสถาน และโบราณวัตถุ  อยู่ในที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว  มีความคล้ายคลึงกับเมืองสมัยทวาราวดีอื่น ๆ เช่นอู่ทอง  พงตึก  นครปฐม เป็นต้น
            ดินแดนนครสวรรค์ในสมัยทวาราวดี  เป็นชุมชนที่มีการติดต่อกับเมืองไกลต่างประเทศ  เช่นอินเดีย  ทำให้นครสวรรค์มีบทบาทและความสำคัญในฐานะที่เป็นรัฐกึ่งกลาง ที่เชื่อมโยงระหว่างดินแดนทางทิศตะวันตก และดินแดนทางทิศตะวันออก  เป็นจุดส่งต่ออารยธรรมอินเดียไปทางเขมร และเวียตนามภาคกลางในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมใกล้ชิดกับชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
สมัยสุโขทัย

            พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐ เมืองเมืองดงแม่นางเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็หมดความสำคัญลง  บทบาทและความสำคัญของนครสวรรค์ได้ย้ายไปที่ลพบุรี  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมเขมรในภาคกลางของไทย  ในสมัยสุโขทัย เมืองนครสวรรค์มีชื่อว่า เมืองพระบาง  แทนเมืองดงแม่นางที่เสื่อมไป  เมืองพระบางมีความสำคัญ และเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย  ที่คอยกันหัวเมืองทางใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่จะขึ้นมายังกรุงสุโขทัย  ในศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธบาท ๔ แห่งในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย  หนึ่งในจำนวนนั้นคือ  พระบาทเหนือจอมเขาที่ปากพระบาง  ซึ่งก็คือพระพุทธบาทที่ยอดเขากบ ในปัจจุบัน
สมัยอยุธยา
            เมื่ออาณาจักรอยุธยาขึ้นมามีอำนาจ  นับจากเมื่อราชวงศ์ สุพรรณบุรีมีชัยชนะเหนืออาณาจักรสุโขทัยแล้ว  นครสวรรค์ก็กลายเป็นรัฐกึ่งกลางในอาณาจักรอยุธยา  เมื่อเกิดการแย่งชิงราชสมบัติที่กรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๖๒ ระหว่างโอรสของพระเจ้าไสยลือไทย (พระมหาธรรมราชาที่ ๓)  สมเด็จพระอินทราชาธิราช  ได้ทรงยกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา ขึ้นไปตั้งคุมเชิงอยู่ที่เมืองพระบาง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองปลายเขตแดนของกรุงศรีอยุธยา  ทำให้พระยาบาลเมืองและพระยารามโอรส พระเจ้าไสยลือไทย  ต้องออกมาถวายบังคมต่อสมเด็จพระอินทราชา  ต่อมาสมเด็จพระอินทราชาจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระยาบาลเมือง ขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ครองเมืองพิษณุโลก  และให้พระยาราม  ครองกรุงสุโขทัย
            ในสมัยอยุธยา นครสวรรค์นอกจากจะเป็นชุมทางสินค้า  อันเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว  ยังเป็นเมืองประชุมพล  เมื่อเกิดสงครามไทยกับพม่า  เมื่อพม่ายกเข้ามาตีไทยจากทางเหนือ  นับตั้งแต่สงครามช้างเผือกในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นต้นมา  ตามพงศาวดารพม่าระบุว่า การเดินทัพจากกรุงหงสาวดี ตามเส้นทางเข้าด่านแม่ละเมา เข้าสู่ตำบลระแหง แขวงเมืองตาก แล้วเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ ใช้เวลาเดินทัพเป็นเวลา ๔๗ วัน
สมัยธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงดำเนินการยุทธที่ไม่ยอมให้พม่าใช้นครสวรรค์เป็นที่ประชุมพลอีกต่อไป  โดยพระองค์ได้ขึ้นไปตั้งรับกองทัพข้าศึกเหนือนครสวรรค์ และใช้นครสวรรค์เป็นเมืองส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพที่ยกขึ้นไปรับศึกทางเหนือ เช่น ที่ปากพิง พิษณุโลก และเหนือขึ้นไป  นครสวรรค์จึงกลายเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการป้องกันข้าศึกที่ยกกำลังมาทางเหนือ

            ในสมัยรัตนโกสินทร์  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อมีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง  ก่อให้เกิดการค้าเสรีนิยมขึ้น  นครสวรรค์ก็ได้กลายเป็นแหล่งรวมสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว และไม้สักที่มาจากภาคเหนือ เพื่อส่งต่อไปยังกรุงเทพ ฯ มีโรงสีเหนือ โรงสีกลาง และโรงสีใต้  บริษัทค้าไม้อิสท์เอเซียติก บริษัทแม่เงา  ห้างไม้มิสหลุยส์  มีโรงเลื่อย  โรงน้ำแข็ง  และโกดังสินค้าต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  ข้าวจะส่งมาทางแม่น้ำน่าน โดยการขนส่งทางเรือยนต์เป็นหลัก  คนจีนอพยพเข้ามาขายแรงงานและการประกอบการค้าในนครสวรรค์มากขึ้น  การค้าของนครสวรรค์ได้ย้ายศูนย์กลางจากฝั่งตะวันออก มายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายตัวเมืองมาตั้งบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ  คนจีนในนครสวรรค์มีมากเป็นอันดับสาม รองลงมาจากกรุงเทพ ฯ และภูเก็ต  ส่วนใหญ่เป็นพวกแต้จิ๋วและไหหลำ  การค้าของนครสวรรค์เจริญสูงสุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
            บริเวณปากน้ำโพ มีสภาพเป็นชุมทางการค้า  เป็นแหล่งชุมนุมเรือค้าข้าวที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกรุงเทพ ฯ ไม้ซุงสักจากภาคเหนือนับหมื่นนับแสนท่อน  จะถูกล่องลงมาตามลำน้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา มารวมกันที่ปากน้ำโพ ก่อนที่จะแยกส่งไปยังที่ต่าง ๆ  บรรดาพ่อค้าจากกรุงเทพ ฯ จะมาชุมนุมกันที่ปากน้ำโพเพื่อเลือกซื้อสินค้า  ศูนย์กลางการค้าของนครสวรรค์มีอยู่ ๓ แห่งคือ
            ตลาดยาว  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง  เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างนครสวรรค์กับหัวเมืองทางเหนือ เช่น กำแพงเพชร  ตาก  และเชียงใหม่ เป็นต้น  ชาวนครสวรรค์เรียกคนไทยทางเหนือว่าลาว จึงเรียกตลาดนี้ว่า ตลาดลาว  ชาวเหนือจะนำสินค้าประเภทไม้สัก และของป่า เช่น  หวาย  ชัน  น้ำมันยาง  สีเสียด  เปลือกไม้  น้ำผึ้ง ฯลฯ มาขาย  ขากลับก็จะซื้อข้าวและเกลือกลับไป
            ตลาดสะพานดำ  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่าง อำเภอต่าง ๆ ของนครสวรรค์ เช่น อำเภอโกรกพระ  อำเภอพยุหคีรี  อำเภอบรรพตพิสัย  สินค้าที่นำมาขายมีข้าว สัตว์ป่า และของป่า
            ตลาดท่าชุด  อยู่ริมคลองบางประมุง ตำบลท่าชุด  เป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของนครสวรรค์กับจังหวัดที่อยู่โดยรอบ เช่น พิจิตร  กำแพงเพชร  ตาก  พ่อค้าชาวจีนจะมารับซื้อข้าว ณ ที่นี้ แล้วนำสิ้นค้าล่องลงกรุงเทพ ฯ ทางแม่น้ำเจ้าพระยาโดยใช้เรือกระแซงใหญ่  ขากลับ (ขาขึ้น) จะบรรทุกเกลือ  มะพร้าว และน้ำตาลปีบมาขายที่นครสวรรค์

            เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ก่อนสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เล็กน้อย  ประกอบกับมีเส้นทางรถไฟสายเหนือไปถึงเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ และภายหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘  ได้มีการสร้างสถานีรถไฟขึ้นที่ตำบลหนองปลิง  ซึ่งเป็นสถานีรถไฟนครสวรรค์ในปัจจุบัน  ทำให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำลดลง  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เปิดสะพานเดชาติวงศ์  เพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่งทางบกตามเส้นทางถนนพหลโยธิน  ทำให้นครสวรรค์คลายความสำคัญทางเศรษฐกิจในด้านเป็นแหล่งกลางแลกเปลี่ยนสินค้าลงไป  และกลายเป็นเมืองผ่าน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค  นครสวรรค์ได้เป็นที่ตั้งมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ มณฑลที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๘  มณฑลนครสวรรค์ครอบคลุม ๘ เมืองคือ  นครสวรรค์  ชัยนาท  อุทัยธานี  พยุหคีรี  มโนรมย์  สรรค์บุรี และกำแพงเพชร  โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่  โลหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕  ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ และให้เมืองต่าง ๆ ของมณฑลนี้ไปขึ้นกับมณฑลอยุธยา ยกเว้นกำแพงเพชร และตากให้ไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์