ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดตราด

            ตราดเป็นเมืองทางชายทะเลด้านตะวันออก เมืองสุดท้ายของประเทศไทย มีฝั่งทะเลยาว ประมาณ ๑๖๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๖๐ ตารางกิโลเมตร มีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดิน และพื้นน้ำประกอบด้วยเทือกเขาสูง อุดมด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทางด้านตะวันออก ส่วนบริเวณหมู่เกาะต่าง ๆ ทางด้านใต้ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาเช่นกัน
ทางตอนเหนือเป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ แล้วลาดลงเป็นที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัด คือ ที่ราบบริเวณลุ่มน้ำ ที่ราบต่ำชายทะเล ที่ราบบริเวณภูเขา และที่สูงบริเวณภูเขา แต่ละบริเวณมีความแตกต่างกัน ทำให้การดำเนินชีวิตของประชากรในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน
            ที่ราบบริเวณลุ่มน้ำ  ได้แก่บริเวณที่ราบตอนกลางและตะวันออก มีแม่น้ำสำคัญอยู่หลายสายที่เกิดจากทิวเขาบรรทัดทางตอนเหนือ และตะวันออก มีพื้นที่ราบแคบๆ ทางด้านตะวันตก มีลำน้ำหลายสายจากภูเขาที่ไม่สูงนัก บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการทำนากันมาก
            ที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล  เป็นบริเวณที่รวมเอาตะกอนโคลนตม จากแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ มาทับถมกัน ได้แก่ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเวฬุ ตำบลแสนตุ้ง อำเภอท่าโสม และบางส่วนของตำบลบางปิด ซึ่งมีลำคลองหลายสายไหลลงสู่ทะเล บริเวณที่ราบต่ำมีอยู่ทั่วไป ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณที่กั้นไม่ให้น้ำทะเลท่วมถึงมีการทำนา ส่วนที่น้ำทะเลท่วมถึงมีป่าชายเลนตลอดแนว
            ที่ราบบริเวณภูเขา  เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมากเนื่องจากมีภูเขากระจายอยู่ในบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะทางตอนเหนือ ในเขตพื้นที่อำเภอบ่อไร่ เป็นเขตที่เคยมีป่าไม้ปกคลุมอยู่หนาแน่น มีความชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัด
            ที่สูงบริเวณภูเขา  มีพื้นที่กว้างขวางมากเช่นกัน อยู่ทางตอนเหนือแผ่ลงมาตอนใต้ตลอดแนวพรมแดนจนสุดเขตทางใต้ของจังหวัด เป็นบริเวณทิวเขาบรรทัดที่สลับซับซ้อน
            หมู่เกาะมีภูเขาครอบคลุมอยู่เกือบตลอดพื้นที่ ได้แก่ เกาะกูด หมู่เกาะช้าง เกาะเหล่านี้อยู่ห่างจากฝั่ง จึงได้รับผลกระทบจากตะกอนปากแม่น้ำบนแผ่นดินน้อยทำให้น้ำทะเลใส ประกอบกับมีที่ราบตามชายฝั่ง ทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด
แม่น้ำลำคลอง
            แม่น้ำในจังหวัดตราดส่วนใหญ่เกิดจากต้นน้ำบนทิวเขาบรรทัดตอนเหนือ มีลักษณะคดเคี้ยว ไหลลงสู่อ่าวตราด แม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำตราด และแม่น้ำเวฬุ
            แม่น้ำตราด  เป็นแม่น้ำใหญ่ที่สุดของจังหวัดตราด ยาวประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร มีชื่อเรียกต่างกันไปตามที่ไหลผ่าน ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาบรรทัดตอนเหนือที่สำคัญคือ คลองแอ่ง และคลองสะตอ แล้วไหลผ่านบริเวณ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง ช่วงนี้เรียกว่า คลองเขาสมิง หรือคลองใหญ่ เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในอดีต เมื่อไหลเข้าเขตอำเภอเมือง ฯ คลองเขาสมิงก็ได้บรรจบกับคลองห้วยแร้ง ที่บริเวณปากคลองห้วยแร้ง ที่หมู่บ้านจุฬามณี ตำบลห้วยแร้ง ในช่วงนี้เรียกว่าแม่น้ำตราด ณ จุดที่บรรจบกันนี้ จะเห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าดูคือ น้ำในคลองเขาสมิงจะมีสีแดงขุ่น และไหลเชี่ยว ส่วนน้ำในคลองห้วยแร้ง จะมีสีเขียวใสไหลเอื่อย ๆ มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำกว้างไหลผ่าน บ้านท่าเรือจ้าง ณ จุดนี้แม่น้ำตราดเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ที่ใช้ติดต่อทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กล่าวคือในอดีตจะมีเรือสำเภาแล่นเข้ามาที่บ้านท่าเรือจ้างเพื่อรับ - ส่งสินค้า ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือหลายแห่งเป็นที่ชุมนุมของเรือประมงตามสะพานปลา
            แม่น้ำเวฬุ  เป็นแม่น้ำที่ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง จังหวัดตราดกับ จังหวัดจันทบุรี ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี ที่เขาชะอมและเขาสระบาป ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดตราดมีความยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ไหลผ่านบ้านท่าจอด ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง แล้วไหลลงสู่ทะเลบริเวณอ่าวบ้านบางกระดาน อำเภอแหลมงอบ
            คลองต่าง ๆ ในจังหวัดตราดมีกำเนิดจากต้นน้ำบนทิวเขาบรรทัด แล้วไหลลงแม่น้ำตราดได้แก่ คลองลำสะตอน้อย คลองลำสะตอใหญ่ คลองพิด คลองห้วยแรง
          คลองวังพระ  เกิดจากเขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบ และอำเภอเมือง ฯ ไหลผ่านหมู่บ้านน้ำเชี่ยว แล้วไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน เป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน และใช้เป็นเส้นทางออกทะเล
          คลองบางพระ  ต้นน้ำเกิดจากเขาระกำ ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขาระกำ แล้วไหลผ่านตัวเมืองตราดไปบรรจบแม่น้ำตราดที่บ้านด่านเก่า คลองบางพระเคยมีความสำคัญในอดีต เพราะเป็นเส้นทางคมนาคม
ป่าไม้
            ป่าไม้ในเขตจังหวัดตราดมมีทั้งป่าบก และป่าน้ำ
            ป่าบก  คือ ป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ปัจจุบันตราดมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่ประมาณ ๘๕๔,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๔๘ ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่เพียงประมาณ ๔๙๐,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๒๘
            ป่าสมบูรณ์ที่เหลืออยู่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณตามแนวทิวเขาบรรทัดติดกับประเทศกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่ และที่บริเวณหมู่เกาะช้างซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ

            ป่าน้ำ หรือป่าชายเลน  ป่าชายเลนในจังหวัดตราด ถูกบุกรุกเพื่อทำนากุ้งกุลาดำ และกายขยายแหล่งท่องเที่ยวของภาคเอกชน มีการสร้างร้านอาหาร บ้านพักตากอากาศ สะพานท่าเทียบเรือ นอกจากนั้นการทำเหมืองพลอยในเขต อำเภอบ่อไร่ ได้ทำลายระบบนิเวศของป่าชายเลน ตามแม่น้ำลำคลอง จึงได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน เช่นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในโครงการทับทิมสยาม ๐๑ ในเขตอำเภอบ่อไร่ ซึ่งเป็นบริเวณที่เสียหายมากที่สุด เนื่องจากการทำเหมืองแร่ในอดีต การอนุรักษ์ป่าชายเลนดังกล่าวช่วยให้ป่าชายเลนเริ่มฟื้นตัวขึ้นในบางพื้นที่ เช่น ที่บ้านบ่อคลอง ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ และที่บ้านเปร็ด ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอเมือง ฯ
ทรัพยากรทางทะเล
            หาดทราย  หาดทรายในจังหวัดตราดหลายแห่ง มีความสวยงามเป็นที่รู้จัก และชื่นชมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีหาดทรายขาวยาว มีบรรดาหอยและปูตัวเล็ก ๆ ซุกตัวอยู่ใต้ทราย หาดดังกล่าวได้แก่ หาดทรายแก้วในเขตอำเภอเมือง ฯ  หาดบานชื่น และหาดไม้รูดในเขตอำเภอคลองใหญ่ หาดอ่าวตาลคู่ ในเขตอำเภอแหลมงอบ
            หาดต่าง ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง เช่น หาดบางเบ้า หาดคลองพร้าว หาดเกาะงาม หาดเกาะเหลายา หาดอ่าวคลองสน หาดทรายแก้ว หาดเกาะพร้าว หาดเกาะง่าม และหาดต้นเตย เป็นต้น
            หาดในเขตกิ่งอำเภอเกาะกูด ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่อีกมาก เช่น หาดหินดำ หาดตะเภา หาดอ่าวพร้าว และหาดเกาะกระดาษ เป็นต้น
            หาดเลน  เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยซากอินทรีย์วัตถุ ซึ่งเกิดจากซากพืช และซากสัตว์ที่ตายแล้ว ถูกย่อยสลายจมอยู่ในดินเลน เป็นอาหารของหอยต่าง ๆ ดังนั้นบริเวณหาดเลนจึงมีหอยชุกชุม เช่น หอยปากเปิด หอยนางรม และหอยขาว เป็นต้น หาดดังกล่าวได้แก่ หาดเลนบ้านคันนา ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง ฯ  หาดเลนบ้านสลัก ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง
            ปะการัง  มีแนวปะการังที่สวยงามอยู่ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในเขตจังหวัดตราด เช่น เกาะกระ เกาะรัง เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะคลุ้ม เกาะขาม และเกาะหมาก ลักษณะของแนวปะการังตามเกาะต่าง ๆ เป็นแนวปะการังระดับน้ำตื้นปานกลาง ซึ่งจะก่อตัวตั้งแต่ชายฝั่งลงไปถึงพื้นล่างที่ระดับความลึก ๘ - ๑๕ เมตร
            จุดชมปะการังในท้องทะเลตราดที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ ได้แก่ เกาะกระ พบปะการังทางด้านใต้ของเกาะ มีความสมบูรณ์ และสวยงามมาก ได้แก่ ปะการังเขากวาง ที่ระดับน้ำลึก ๓ - ๕ เมตร เป็นแหล่งปะการังที่มีความงาม สมบูรณ์ที่สุด ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
            ที่หมู่เกาะรังพบแนวปะการังทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ที่ระดับน้ำลึก ๖ เมตร ปะการังที่พบเป็นปะการังพุ่ม ปะการังเขากวาง และปะการังก้อน ส่วนปะการังที่เกาะหวาย ทางด้านทิศเหนือ และทิศคะวันตกของเกาะ
เป็นปะการังที่กำลังเติบโตสวยน่ารักเหมือนเด็ก
            ที่เกาะผีซึ่งเป็นเกาะน้ำลึก ปะการังที่เกาะนี้เป็นปะการังน้ำลึกที่สวยงามมาก ส่วนที่เกาะหยวกก็มีดอกไม้ทะเล ที่มีสีสรรสวยงาม น่าชมอยู่ในท้องทะเลลึก
ประชากร
            จังหวัดตราดนอกจะมีกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ -  เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วนชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีน เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต  ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส อยู่ที่บ้านน้ำเขียว ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน
            กลุ่มชนดังกล่าวทั้งหมดมีวิถีชีวิตประสมประสานกับคนไทยพื้นถิ่น สื่อสารกันด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อไปในแนวเดียวกัน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันแต่อย่างใด มีความผสมกลมกลืน ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวกัน
            ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาประมาณ ๙๕.๕ มีศาสนสถานที่เป็นวัด ๑๑๖ วัด นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๒.๕ มีมัสยิด ๑๐ แห่ง นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ ๒ มีโบสถ์นิกายโรมันคาทอลิกอยู่ ๑ แห่ง
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์