ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดปทุมธานี

            จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙๕๐,๐๐๐ ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๘ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงคือ
            ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
            ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
            ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กับเขตดอนเมืองและเขตบางเขน กรุงเทพ ฯ
            ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
            พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สูงประมาณ ๒.๓๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่ส่วนกลางของจังหวัด ทำให้พื้นที่จังหวัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ พื้นที่ของอำเภอเมือง ฯ บางส่วน พื้นที่ของอำเภอลาดหลุมแก้วทั้งหมด และพื้นที่ของอำเภอสามโคกบางส่วน พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง ฯ พื้นที่บางส่วนของอำเภอสามโคก พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอลำลูกกา และอำเภอหนองเสือ

            ปกติในช่วงฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบริเวณกว้าง และก่อให้เกิดปัญหาด้านอุทกภัยในบางปี โดยเฉพาะฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จะประสบปัญหาเฉพาะ บริเวณที่อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำเท่านั้น
            พื้นที่ภายในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินเป็นดินเหนียวจัดมีสภาพเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดจัด สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มดินนาดีมีอยู่ประมาณร้อยละ ๓๐ และกลุ่มดินนาที่มีสภาพเป็นกรดจัดประมาณร้อยละ ๗๐
            เนื่องจากดินเป็นดินเหนียวทำให้ระบายน้ำได้ไม่ดี การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินช้า ทำให้การปลูกพืชไร่ และข้าวได้ผลผลิตต่ำ ต้องมีการปรับปรุงดิน โดยใช้ปูนขาวหรือปูนมาร์ล ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อให้การเพาะปลูกได้ผลดี
แหล่งน้ำ

            จังหวัดปทุมธานี  มีแหล่งน้ำสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญของจังหวัด เฉพาะช่วงที่ไหลผ่านอำเภอเมือง ฯ มีความยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีคลองอีกประมาณ ๘๔ คลอง รวมความยาวประมาณ ๑,๐๖๐ กิโลเมตร แบ่งเป็น
            คลองชลประทาน  มี ๒๙ คลอง เป็นคลองระบายน้ำ ๑๓ คลอง คลองส่งน้ำ ๙ คลอง และคลองอื่น ๆ อีก ๗ คลอง คลองเหล่านี้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ ๖๘๓,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณร้อยละ ๗๒ ของพื้นที่ทั้งหมด
            ระบบชลประทานจะส่งผ่านคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งเป็นคลองชลประทานเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำนครนายก คลองพระอุดม และคลองซอยอีก ๑๓ สาย ในเขตอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอลำลูกกา และอำเภอหนองเสือ
            คลองธรรมชาติ  ในเขตจังหวัดปทุมธานีมีอยู่ ๕๕ คลอง รวมความยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น คลองบางโพธิใต้ คลองบางหลวง คลองบางปะกอก คลองเชียงราก คลองเจ้าเมือง คลองบางโพธิเหนือ คลองบางเตย คลองหวาย คลองสระ คลองเชียงรากน้อย คลองเปรมประชากร ฯลฯ
            สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินในเขตจังหวัดปทุมธานี มีอยู่สองประเภทคือ แหล่งน้ำใต้ดินให้ปริมาณน้ำน้อย น้ำมีคุณภาพดี แต่บางพื้นที่เป็นน้ำกร่อย มีตะกอนสนิมเจือปน พบในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา แหล่งน้ำใต้ดินมีปริมาณมาก น้ำมีคุณภาพดี พบในพื้นที่อำเภอสามโคก อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอเมือง ฯ
            จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างรวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเล มีตะกอนทับถมจนเกิดเป็นชั้น ประกอบด้วยชั้นกรวดทราย และแทรกสลับด้วยดินเหนียว ในระดับความลึกประมาณ ๖๕๐ เมตร ตะกอนเหล่านี้แบ่งออกเป็น ๘ ชั้น ตามลำดับคือ ชั้นน้ำกรุงเทพ ฯ ชั้นน้ำพระประแดง ชั้นน้ำนครหลวง ชั้นน้ำสามโคก ชั้นน้ำพญาไท ชั้นน้ำธัญบุรี และชั้นน้ำปากน้ำ แต่ละชั้นแยกจากกันโดยดินเหนียวกันอยู่ ชั้นน้ำสามโคกอยู่ในระดับความลึก ๓๐๐ เมตร ชั้นน้ำธัญบุรีอยู่ในระดับความลึก ๔๕๐ เมตร

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์