www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางธรรมชาติ
พื้นที่ป่า
พืชพันธุ์ไม้ และสัตว์
พื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำลาก บริเวณทุ่งรังสิตในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะ
สลับหนองน้ำและทุ่งนามีต้นไม้อยู่หลายชนิด โดยมีไม้สะแกเป็นไม้ใหญ่ในป่าสลับด้วยต้นคาง
ต้นกระทุ่ม ต้นสะเดา ต้นหมากเม่า ต้นกุ่ม ต้นตะโก ต้นตะขบ ต้นไผ่ป่า ฯลฯ สำหรับไม้เถามีไม้จำพวกมันนก
เถาวัลย์ ต้นเชือกเขา ไม่พุ่ม เช่น ต้นเล็บเหยี่ยว ต้นหนามแดง ต้นชำมะเลียง
ฯลฯ ไม้หัวไม้ดอก เช่น ต้นพลับพลึง ต้นตะขาบ ต้นหนามสามสิบ
นอกจากนี้ยังมีไม้เศรษฐกิจคือ ต้นตาล
มีอยู่มากในเขตอำเภอเมือง ฯ และอำเภอสามโคก ไม้ใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่
และอายุยืนคือ ต้นยาง
ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น
วัดเทียนถวาย วัดโบสถ์ วัดมะขาม วัดสำแล วัดตำหนัก วัดชัยสิทธาวาส วัดเชิงท่า
บางวัดมีต้นตะเคียน อายุนับร้อยปี เช่น วัดสวนมะม่วง
บริเวณทุ่งรังสิตในอดีตยังเคยเป็นที่อยู่ของโขลงช้าง กวาง และสมัน สัตว์ป่าของจังหวัดปทุมธานี
ที่อาศัยอยู่ตามป่าละเมาะเช่น กระรอก เสือปลา ตัวนิ่ม งูเหลือม งูเห่า ตะกวด
กิ้งก่า หนู จำพวกนกได้แก่ นกตะขาบ นกเอี้ยง นกกิ้งโครง นกเขา นกกระแวน นกกางเขน
นกกินปลา นกหัวขวาน นกกระปูด นกกวัก นกอีดำอีแดง นกอีลุ้ม นกปากห่าง เป็นต้น
นกบางชนิดอยู่กันเป็นฝูง บางชนิดอยู่กันเป็นคู่ เช่น นกสาริกา นกบางชนิดส่งเสียงบอกสภาพดินฟ้าอากาศได้
เช่น นกกวัก นกกระปูด
จะส่งเสียงร้องดังติดต่อกันนาน
บอกเป็นสัญญาณว่าน้ำจะขึ้น นกดุเหว่าร้องบอกเวลาว่าใกล้สว่าง (ใกล้รุ่ง) แล้วนกบางชนิด
เช่น เหยี่ยวแดง เหยี่ยวรุ้ง ไล่ล่าหนูเป็นอาหาร ทำให้หนูมีไม่มากเกินไป นกแร้งช่วยขจัดซากสัตว์ที่ตายแล้ว
นกปากห่างที่วัดไผ่ล้อมที่มารวมตัวอยู่กันเป็นจำนวนมาก มีส่วนช่วยชาวนาจับหอยเชอรี่ที่เป็นอันตรายต่อพืช
มากินเป็นอาหาร
สำหรับสัตว์น้ำ เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่จังหวัดและมีคูคลองโยงใยกันเป็นตาหมากรุก
ทำให้มีสัตว์น้ำอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะปลาน้ำจืดได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลาตะโกก
ปลาแป้น ปลาพรหม ปลาข้าวเม่า ปลาหมู ปลาเทโพ ปลาแบบ ปลาเสือ ปลาแขยง ปลากระดี่
ปลาหมอ ปลาลิ้นหมา ปลากระทิง ปลาหลด ปลาแดง ปลาเนื้ออ่อน ปลากด ปลาดุก ปลาช่อน
ปลาชะโด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลากะโห้ ซึ่งมีน้ำหนัก ๕๐ -
๑๐๐ กิโลกรัม และปลาราหู ซึ่งเป็นปลากระเบนขนาดใหญ่
สัตว์น้ำบางชนิดมีราคาแพงเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง
ซึ่งเป็นอาหารจานเด็ดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปทุมธานี
นกปากห่าง
เป็นนกต่างถิ่นจากประเทศอินเดีย ที่พากันอพยพมาพักอาศัยในประเทศไทย บริเวณวัดไผ่ล้อม
ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก เมื่อมาพักอาศัยหาคู่ ออกไข่ ออกลูกแล้วก็จะพากันบินกลับถิ่นเดิมของตน
และเมื่อถึงฤดูออกไข่ก็จะพากันอพยพเข้ามาพักอาศัย ณ ที่นี้อีกเป็นประจำทุกปี
วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่ริมซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมบริเวณวัดมีต้นไผ่ขึ้นอยู่หนาแน่น
มีทั้งไผ่ป่าและไผ่ที่ปลูกขึ้น รวมมากกว่าหนึ่งพันกอ บริเวณวัดโดยทั่วไปยังเป็นป่าละเมาะรก
ไม่มีบ้านคนอยู่อาศัย เดิมบริเวณป่าจะมีฝูงลิงเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ต่อมาได้หายไป และกลับมีค้างคาวจำนวนมาก นับหมื่นตัวเข้ามาอยู่แทน เป็นเวลาหลายสิบปี
ได้อาศัยผลไม้ป่าบริเวณวัดกินเป็นอาหาร ต่อมาเริ่มมีนกปากห่างปรากฎตัวขึ้นและทะยอยกันมาเรื่อย
ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกปี จนปัจจุบันมีนับหมื่นคัว ค้างคาวที่เคยมีอยู่เดิมก็หายไป
ในสมัยก่อนพื้นที่บริเวณวัดไผ่ล้อมมีสัตว์ป่าต่าง ๆ อยู่มาก จำพวกหมูป่า ไก่ป่า
ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า เสือปลา ฯลฯ ปัจจุบันเหลือให้เห็นอยู่เพียงตะกวด ซึ่งจะคอยจับลูกนกปากห่างที่อ่อนแอ
หรือตกจากรังกินเป็นอาหาร
นกปากห่างจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับนกกระสา มีขนาดลำตัวยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร
สูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสีขาวปนเทา ขนที่ปลายปีกปลายหางมีสีดำเป็นเงา
ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย อาหารที่ชอบคือ หอยน้ำจืดทุกชนิด ที่ชอบมากคือ
หอยโข่ง รองลงไปคือ หอยกาบ หอยขม หอยตาวัว และหอยทราย
การเดินทางอพยพ
ประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือประมาณช่วงเทศกาลทอดกฐินของไทยทุกปี ฝูงนกปากห่างจะทะยอยบินอพยพเข้ามาในประเทศไทย
พักอาศัยหาคู่ ออกไข่ ออกลูก ขยายพันธุ์ ณ บริเวณวัดไผ่ล้อมเพียงแห่งเดียว
ในประเทศไทย และจะพักอาศัยอยู่ประมาณ ๕ - ๖ เดือน จากนั้นจะเริ่มพากันบินกลับไปเป็นฝูง
ๆ จนหมดฝูงสุดท้ายประมาณเดือนพฤษภาคม
การหาคู่และออกไข่
นกปากห่างจะเกี้ยวพาราสีกันไปมาด้วยเสียงร้องดัง กั๊บ ๆ และฮ่า ฮ่า ฮ่า ด้วยท่าทางที่อ่อนหวาน
ถ้าเสียงร้องดังกล่าวเป็นที่ต้องใจของอีกฝ่ายหนึ่ง นกปากห่างทั้งคู่จะพากันอ้าปาก
ร้องประสานเสียงกันไพเราะ แล้วก็ขยับคออันยาวของมันเกยกันไปมา แปลงอาการตกลงปลงใจ
จากนั้นจะช่วยกันสร้างรังแบบง่าย ๆ โดยใช้ปากหักกิ่งไม้เล็ก ๆ มาขัดสานกันไปมาจนเป็นวงกลมโดยมีขอบรังยกสูงขึ้นเหมือนปากชาม
นกปากห่างจะออกไข่ประมาณครั้งละสี่ฟอง มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับไข่ไก่ เปลือกไข่สีขาวเนื้อหยาบ
ด้านบนเหมือนหินปูน
นกปากห่างทั้งคู่จะช่วยกัน โดยจะผลัดกันกกไข่ และผลัดกันบินออกไปหากิน จนไข่ถูกฟักออกเป็นตัว
ซึ่งจะมีขนาดเท่าลูกไก่ แต่มีลักษณะอ่อนแอกว่า ที่ลำตัวมีสีแดงไม่มีขน พ่อแม่นกจะช่วยกันหาอาหารมาเลี้ยงลูกจนโต
พร้อมจะฝึกบินได้ ลูกนกจะฝึกบินกับพ่อแม่โดยเริ่มแรกจะโผไปตามกิ่งไม้ใกล้
ๆ ก่อน จนมีความชำนาญในการทรงตัว ลูกนกก็จะออกบินไปหาอาหารได้เองต่อไป
แหล่งน้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดปทุมธานี ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีคูคลองต่าง
ๆ แยกสาขาฉีกเข้าไปในแผ่นดิน
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดปทุมธานี โดยเริ่มจากท้ายเกาะใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตติดต่อของอำเภอบางไทร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไหลไปสุดเขตจังหวัดปทุมธานีตอนใต้ในตำบลบ้านใหม่
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ณ บริเวณที่เรียกว่า คุ้งน้ำวัดกิ่งทอง
สำหรับการขุดคลองลัดคุ้มน้ำเพื่อลดระยะทาง ที่เรียกว่า คลองลัดเตร็ด
หรือคลองลัดเกร็ด
ซึ่งขุดขึ้นในสมัยอยุธยาคลองลัดเตร็ดใหญ่ ขุดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
สันนิษฐานว่า ขุดตั้งแต่ท้ายบ้านสามโคกหน้าวัดไก่เตี้ยไปถึงหน้าวัดศาลเจ้า
บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้น้ำไหลสะดวก ลำคลองจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำสายใหม่
ส่วนแม่น้ำสายเดิมก็ตื้นเขินขึ้นตามลำดับจนกลายเป็นคลองไป
คลองสำคัญของปทุมธานี
คลองรังสิตประยูรศักดิ์
เป็นคลองขุดที่สำคัญที่สุดสายหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตข้าวเพื่อส่งออก
มีการสัมปทานขุดคลอง โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการสัมปทาน ๒๕ ปี ขุดคลองรวม ๕๙ สาย ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
คลองเปรมประชากร
เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๓
เพื่อย่นระยะทางเดินเรือจากกรุงเทพ ฯ ไปยังพระนครศรีอยุธยา และเพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูกให้มากขึ้น
เริ่มขุดจากบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมตอนที่ผ่านหน้าวัดโสมนัสวิหาร ไปทะลุที่เกาะใหญ่
แขวงกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นระยะทางประมาณ ๑,๒๗๐ เส้น โดยได้โปรดเกล้า
ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการขุดคลอง
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ สมุหกลาโหม เป็นแม่กอง พระชลธารวินิจฉัย เป็นผู้ปักหมายกรุย
ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๓,๕๒๘ บาท โดยจ้างจีนขุด
คลองประปา
ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องจัดหาน้ำสะอาดให้ประชาชน ได้ใช้บริโภค โดยนำเอาวิทยาการสมัยใหม่แบบตะวันตกเข้ามาช่วย
พระองค์ได้พระราชทานทุนดำเนินการเริ่มต้นจำนวน ๓ ล้านบาท มอบให้กรมสุขาภิบาลรับไปดำเนินการจัดหาน้ำสะอาดมาใช้ในพระนคร
และได้พระราชทานชื่อกิจการนี้ว่า การประปา
โดยว่าจ้างช่างชาวฝรั่งเศสมาเป็นนายช่างใหญ่ เริ่มขุดคลองสายนี้ขึ้น เพื่อนำน้ำเข้าโรงสูบน้ำที่สามเสน
กิจการนี้สำเร็จ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คลองประปานี้แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา
ในเขตจังหวัดปทุมธานี
คลองอื่น ๆ
มีคลองที่ขุดขึ้นในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดปทุมธานี เช่น ในอำเภอสามโคก
ได้แก่ คลองแม่น้ำอ้อม คลองบ้านพร้าว คลองวัดปทุม คลองคู คลองโคกตาเขียว คลองวัดพลับ
คลองเชียงรากน้อย คลองบางโพธิ์เหนือ คลองบางนา คลองใหญ่ คลองเกาะปิ้ง คลองบางเตย
คลองควาย คลองสระ คลองพี่เลี้ยง คลองยายหอม คลองในอำเภอเมือง
ฯ ได้แก่ คลองบางพูน คลองบ้านใหม่ คลองบางโพธิ์เหนือ
คลองบางปรอก คลองบางโพธิ์ใต้ คลองบางหลวงไหว้พระ คลองบางคูวัด และคลองบางคาไนย์
เป็นต้น
|