ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดฉะเชิงเทรา

            จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดชายทะเลตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป มีที่ดินดอนเป็นบางส่วน ประกอบด้วยภูเขาเตี้ย ๆ หลายลูก บางส่วนของพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึงประมาณ ๒๐ เมตร แต่ก็มีบางส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะแถบชายฝั่งแม่น้ำบางปะกงที่น้ำทะเลท่วมถึง จึงได้มีการทำเขื่อนกั้นน้ำทะเล ทำให้เกิดพื้นที่สวนมาแต่อดีต
            แม่น้ำบางปะกงไหลผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉะเชิงเทราคือ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า กิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอเมือง ฯ อำเภอบ้านโพธิ์ แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ทำให้เกิดที่ราบลุ่มภาคตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ที่มีการทำนามากแห่งหนึ่งของประเทศ มีชื่อเรียกว่าที่ราบฉนวนไทย นับได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ ของภาคตะวันออกของไทย
            พื้นที่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออก และทางเหนือที่ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัดได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ กับบางส่วนของอำเภอพนมสารคาม และอำเภอแปลงยาว เป็นเขตที่ดอนและที่ราบลูกฟูก ส่วนเขตที่ราบสูงและภูเขาจะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ
            แหล่งน้ำตามธรรมชาติจากผิวดินหรือน้ำท่าที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีคลองต่าง ๆ ได้แก่ คลองท่าลาดในเขตอำเภอพนมสารคาม คลองสียัด และคลองระบม ในเขตอำเภอสนามชัยเขต และยังมีคลองที่เชื่อมต่อกรุงเทพ ฯ และจังหวัดสมุทรปราการหลายคลอง เช่น คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองท่าไข่ คลองบางขนาก และคลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองดังกล่าวทั้งหมดใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญรองลงมาจากแม่น้ำบางปะกง
            สภาพภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราส่วนใหญ่ เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่เพาะปลูกอาจแบ่งได้กว้าง ๆ เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นที่ราบลูกฟูกจะเหมาะแก่การทำไร่ และปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ส่วนในที่ราบ และที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด พื้นที่ส่วนนี้อยู่ในเขตชลประทาน จึงเหมาะแก่การทำนาข้าว การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
            ในอดีต จังหวัดฉะเชิงเทรามีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จากรูปปูนปั้น บนเชิงชายของอุโบสถวัดสัมปทวนนอก นับเป็นการบันทึกที่เก่าแก่ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของบรรพบุรุษชาวแปดริ้ว ผู้เป็นเกษตรกรที่มีความสามารถทางชลประทาน รู้จักการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งแม่น้ำบางปะกงที่มีน้ำทะเลท่วมถึง คลองบางขนากเป็นคลองที่ขุดขึ้นเป็นคลองแรกเพื่อขยายพื้นที่การปลูกข้าว และใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าข้าว คลองนี้ขุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ระหว่างที่ไทยทำสงครามกับญวน เพื่อใช้ประโยชน์ในทางทหาร

            กลุ่มชนต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรามีอยู่หลายเชื้อชาติด้วยกันคือ เขมร ลาว รามัญ และจีน โดยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนหนึ่งถูกกวาดต้อนมา
            ชาวจีน  เข้ามาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชั้นแรกได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตเมืองฉะเชิงเทรา และเมืองปราจีนบุรี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจีนที่อยู่ที่เมืองฉะเชิงเทราได้ขยายตัวมาตั้งหลักแหล่ง ในเขตบ้านท่าเกวียนและบ้านเกาะขนุน เพราะเป็นแหล่งชุมชนทางการค้าและการคมนาคม บ้านท่าเกวียน เป็นชุมทางเกวียนที่เดินทางมาจากอำเภอโคกปีบ บ้านท่าลาด เป็นแหล่งที่นำสินค้าของป่ามาลงเรือ เพื่อไปยังเมืองฉะเชิงเทรา
            ชาวลาว  ได้อพยพมาจากเวียงจันทน์เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองกาย อำเภอพนมสารคาม นอกจากนี้ยังตั้งถิ่นฐานที่คลองท่าไข่ อำเภอเมือง ฯ และอำเภอสนามชัยเขต มีทั้งลาวพวน ลาวเวียง และลาวเมืองพลาน ที่อำเภอสนามชัยเขตมีลาวเวียง ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดอนท่านา ตำบลคู้ยายหมี
            ชาวรามัญ  ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณคลอง ๑๔ ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และที่ตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี
            ชาวเขมร  ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดงยาง และบ้านสระสองตอน ในเขตอำเภอพนมสารคาม ในอดีตได้มีชาวเขมรถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเขตพนมสารคามจำนวนหนึ่ง และให้สังกัดกรมกองตามระบบในสมัยนั้น และมีหน้าที่ทำงานให้แก่ทางราชการเช่นเป็นเลกคงเมือง อยู่เวรประจำการ ทำงานโยธาในเมืองนั้นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นเลกส่วยส่งส่วยให้หลวง เช่น ส่วยทองคำ ส่วยเร่ว ยังมีชาวเขมรอยู่ที่บ้านแปลงยาว และบ้านหัวสำโรงในเขตอำเภอแปลงยาว ได้มีการสร้างวัดประจำหมู่บ้าน และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภาษาของตนไว้

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์