ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดบุรีรัมย์

            จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
            ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และสุรินทร์
            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
            ทิศใต้  ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว และประเทศกัมพูชา
            ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
            จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๓๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖,๔๕๑,๐๐๐ ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
            พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีมาแล้ว สามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญออกเป็นสองลักษณะคือ
            พื้นที่และภูเขาตอนใต้  เป็นพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลึก ภูเขาบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ภูเขาสันกำแพง มีความสูงตั้งแต่ ๒๐๐ - ๖๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่จังหวัดได้แก่ บริเวณด้านทิศใต้ของอำเภอบ้านกรวด ละหานทราย โนนดินแดง ปะคำ นางรอง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอหนองหงส์
            พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด  มีความสูงประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่จะทอดขนานเป็นแนวยาวทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่จังหวัดได้แก่ บริเวณอำเภอประโคนชัย พลับพลาชัย กระสัง ลำปลายมาศ ชำนิ บ้านด่าน ห้วยราช และอำเภอเมือง ฯ กับบางส่วนของอำเภอนางรอง หนองกี่ และอำเภอหนองหงส์
            พื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล  มีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า ๑๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอพุทไธสง คูเมือง แดนดง และอำเภอสตึก กับบริเวณลำสะแทค ละฟังชู ลำชี ได้แก่ บริเวณบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอนาโพธิ์ และบางส่วนของอำเภอพุทไธสง
ภูเขา

            ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มีเทือกเขาและภูเขาอันเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน ในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
            เทือกเขาสันกำแพง  เป็นเทือกเขาที่ต่อจากเทือกเขาดงพญาเย็น เริ่มตั้งแต่เขาในเขตอำเภอเมืองนครนายก ไปสิ้นสุดที่ช่องตะโก อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีความยาวประมาณ ๑๓๗ กิโลเมตร ยอดเขาสูงของเทือกเขาสันกำแพงได้แก่  เขาเขียว (๑,๐๙๐ เมตร)  ภูสามง่าม (๙๙๐ เมตร)  เขาเคลียด (๑๖๐ เมตร)  เขาตำแย (๔๔๕ เมตร)  เขาช้างชลูด (๘๒๐ เมตร)  เขาใหญ่ (๘๕๐ เมตร) เขาจมูกแขก (๔๖๐ เมตร)  ภูลำใย (๔๘๕)  เขากำแพง (๘๗๕ เมตร)  ภูสองชั้น (๓๗๐ เมตร)  เขาโปร่งฉนวน (๑,๐๙๐ เมตร)  เขาลอย (๕๖๐ เมตร)
            เทือกเขาพนมดงรัก  เป็นเทือกเขาที่เริ่มจากช่องตะโก ในเขตอำเภอโนนดินแดง ทอกยาวไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ ๓๓๕ กิโลเมตร ยอดเขาสูงที่สำคัญในเทือกเขาพนมดงรักได้แก่  เขาตะแบก (๓๓๕ เมตร) เขาคันนา (๔๕๐ เมตร เขาตะแบง (๓๕๐ เมตร) เขาแหลม (๔๑๕ เมตร) เขาตะทอง (๔๐๕ เมตร) พนมตะบัน (๕๘๐ เมตร) พนมกระบานตึง (๕๖๐ เมตร)  พนมสวาย (๖๑๕ เมตร)  พนมตาเหมือน (๖๐๕ เมตร)  พนมแหลม (๖๐๕ เมตร)  เขาพรานเตี้ย (๖๖๕ เมตร)  พนมอ้ายนาก (๖๔๐ เมตร)  พนมชำนิกาย (๕๕๕ เมตร)  พนมเปาะ (๔๕๐ เมตร)   ภูโคกใหญ่ (๖๙๕)   ภูเจ็บท้อง (๖๙๕ เมตร)  ภูขี่ซีก (๖๙๐ เมตร)
            เขตติดต่อกับกัมพูชาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ มีช่องเขาที่สำคัญได้แก่ ช่องตะโก  อยู่ที่บ้านสะเสม็ด อำเภอโนนดินแดน  ช่องตาเพ็ด ช่องตากิ่ว และช่องบาระแนะ ในเขตอำเภอละหานทวาย ช่องจันทร์กระฮอม ช่องไซท์ตะกู ช่องจันทร์แดง ช่องเมฆา ช่องโอบก ช่องจันทร์ทบเพชร ในเขตอำเภอบ้านกรวด
            ภูเขาพนมรุ้ง  เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิท อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เนินเขาที่มีไหล่เขาสูงชัน ๖ - ๑๕ องศา มีพื้นที่ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ตัวเนินภูเขาไฟสูงประมาณ ๓๘๐ เมตร มีปากปล่องขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ ๑.๕ ตารางกิโลเมตร ขอบปล่องทางด้านทิศใต้เป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง เนินเขาลูกนี้เป็นต้นน้ำของลำห้อยต่าง ๆ เช่น คลองปูน คลองบุรี คลองลุงโพธิ์ เป็นต้น ลำห้วยเหล่านี้ไหลไปรวมกับลำปลายมา ในเขตอำเภอนางรอง
            ภูเขาอังคาร  อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ห่างจากภูเขาพนมรุ้งไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๘๐ ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงสุด ๓๓๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องอยู่บริเวณเกือบศูนย์กลางของภูเขา มีพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้น ยังมีปากปล่องภูเขาไฟขนากเล็กอยู่ตามไหล่เขา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกหลายปล่อง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร ภูเขาอังคารเป็นต้นกำเนินของห้วยคลองหลายสาย เช่น ห้วยสวายสอ ห้วยมะกอก คลองชะล่าง คลองไผ่ คลองหินลาด คลองตาเขียว เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ไหลลงสู่ลำนางรอง และลำปลายมาศ
            ภูเขาหลุบ  อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาอังคาร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีพื้นที่ประมาณ ๖ ตารางกิโลเมตร มีซากปากปล่องเหนืออยู่เป็นรูปโค้ง บนยอดเขามีร่องรอยวัดโบราณตั้งอยู่
            ภูเขากระโดง  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖ กิโลเมตร ลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่กลางทุ่งนา มียอดสูงประมาณ ๒๖๕ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑๐ ตารางกิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปากปล่องมีลักษณะยาวรี ขอบปล่องทางด้านทิศเหนือ ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ไกลถึง ๑๐ กิโลเมตร
            ภูเขาดอก  อยู่ในเขตอำเภอเขาดอก อำเภอประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ประมาณ ๖๖ กิโลเมตร เป็นเนินเขาไม่สูงนัก เป็นต้นกำเนิดห้วยเสว ในเขตอำเภอประโคนชัย
            ภูโคกหรือเขาหญ้าคา  อยู่ที่บ้านโคกเขาพัฒนา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ อยู่ห่างจากตัวอำเภอทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ใกล้เคียงเขาลูกนี้มีถ้ำโบราณถ้ำหนึ่งชื่อ ถ้ำเป็ดทอง ภายในถ้ำมีศิลาจารึกโบราณอายุประมาณ พ.ศ.๑๑๕๕
ลำน้ำธรรมชาติ
            ลำน้ำธรรมชาติที่อยู่ในเขต และไหลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ที่สำคัญคือ

            แม่น้ำมูล  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกำแพง แล้วไหลผ่านอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตอำเภอพุทไธสง อำเภอคูเมือง กิ่งอำเภอแดนดง และอำเภอสตึก แล้วไหลผ่านเข้าสู่เขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบล แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง มีความยาวประมาณ ๖๔๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมูลในช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ กับจังหวัดสุรินทร์
            ลำปลายมาศ   มีต้นกำเนินจากเทือกเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ไหลเข้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตอำเภอปะคำ ในช่วงฤดูฝนลำปลายมาศมีปริมาณน้ำมาก ไหลผ่านบ้านหนองหว้า อำเภอนางรอง ที่บ้านโคกมักตับ อำเภอหนองกี่ มีลำไทรโยงไหลมาบรรจบ ที่อำเภอปลายมาศ มีลำนางรองและลำปะเทียไหลมาบรรจบ ทำให้ลำปลายมาศมีขนาดใหญ่ขึ้น มีน้ำเอ่อล้นฝั่งในฤดูฝนทุกปี แต่ในฤดูแล้งลำปลายมาศจะขาดน้ำเป็นช่วง ๆ ลำปลายมาศมีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร
            ลำนางรอง  มีต้นกำเนินจากบริเวณเทือกเขาสันกำแพง ที่รอยต่อจังหวัดบุรีรัมย์ กับจังหวัดสระแก้ว แล้วไหลผ่านอำเภอโนนดินแดง มีเขื่อนลำนางรอง ซึ่งเป็นเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่บ้านป่าไม้สหกรณ์ จากนั้นลำนางรองไหลผ่านอำเภอละหานทรายไปบรรจบลำจังหันในเขตอำเภอปะคำ แล้วไหลเข้าสู่อำเภอนางรอง มีลำน้ำเล็ก ๆ หลายสายจากเขาอังคารไหลมาบรรจบ ช่วงนี้ลำน้ำมีความกว้างประมาณ ๘ เมตร แล้วไหลผ่านอำเภอชำนิ จากนั้นได้ไหลเข้าสู่ที่ราบ ลำนางรองมีความยาวประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร
            ลำปะเทีย  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณพรมแดนไทย - กัมพูชา เป็นลำธาร ๆ ไหลมารวมกันที่บริเวณบ้านผไทรวมพล ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย มีเขื่อนกักเก็บน้ำ แล้วไหลผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีคลองตาพรหม และคลองลาดกล้วย ซึ่งเกิดจากภูเขาอังคารไหลมาบรรจบ แล้วไหลผ่านอำเภอนางรอง อำเภอชำนิ แล้วไหลไปบรรจบลำนางรอง ที่บ้านโคกละอาด อำเภอชำนิ ช่วงนี้ลำปะเทียมีความกว้าประมาณ ๑๕ เมตร ลำปะเทียมีความยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
            ลำจังหัน  มีต้นกำเนิดจากบริเวณเนินเขาพนมดงรัก พรมแดนไทย - กัมพูชา ในเขตอำเภอละหานทราย มีเขื่อนกักเก็บน้ำที่บริเวณบ้านสันติสุข อำเภอละหานทราย
            ลำไทรโยง  มีต้นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอหนองกี่ เกิดจากลำธารสายเล็ก ๆ หลายสายไหลมารวมกัน ลำไทรโยงไหลไปบรรจบกับลำปลายมาศที่บ้านโคกมักตัน อำเภอหนองกี่
            ลำชี  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลผ่านอำเภอละหานทราย อำเภอบ้านกรวด มีลำห้วยเล็ก ๆ ไหลมาบรรจบ ในช่วงนี้ลำธารเล็ก ๆ คือ ห้วยเสว ห้วยจะแบก ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ และห้วยเสนงในเขตจังหวัดสุรินทร์ไหลมาบรรจบ และในช่วงที่ลำชีไหลผ่านอำเภอประโคนชัยมีห้วยสายตะกู ห้วยโอกระน้อม ไหลมาบรรจบ ทำให้ลำชีมีขนาดใหญ่ ในฤดูน้ำหลาบจะมีน้ำล้นฝั่ง มีพื้นที่น้ำท่วมกว้างประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร ผ่านอำเภอพลับพลาชัย อำเภอกระสัง อำเภอสตึก แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำมูลในเขตจังหวัดสุรินทร์
            ห้วยเสว  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอบ้านกรวด น้ำไหลเร็วและแรงในฤดูฝน เป็นร่องน้ำและธารหลายสายไหลมารวมกัน แล้วไหลไปบรรจบกับลำชีที่บ้านละเวี้ย อำเภอประโคนชัย มีความกว้างประมาณ ๕ - ๘ เมตร
            ลำตะโคง  มีต้นกำเนิดจากเนินเขากระโดง อำเภอเมือง ฯ มีลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยจระเข้มาก ห้วยตลาด ห้วยกระโดง ห้วยราช ห้วยยาง ไหลมาบรรจบ เกิดเป็นลำตะโคง แล้วไหลไปทางเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอเมือง ฯ กิ่งอำเภอบ้านด่าน อำเภอสตึก แล้วไหลลงสู่แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ ๕๖ กิโลเมตร
            ลำทะเมนชัย  มี้นกำเนิดจากที่สูงบริเวณตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ แล้วไหลไปบรรจบกับห้วยศรีษะแรด ที่บ้านทะเมนชัย แล้วไหลไปทางทิศเหนือ ไปบรรจบแม่น้ำมูล ในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีความยาวประมาณ ๗๕ กิโลเมตร
            ลำพังชู  มีต้นกำเนิดจากลำน้ำหลายสายในที่สูงของเขตอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น และเขตอำเภอนาโพธิ์ กลายเป็นลำพังชู ไหลผ่านอำเภอพุทไธสง และเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอนี้ กับจังหวัดมหาสารคาม แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ที่บ้านหนองเรือ ตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง
            ห้วยแอก  มีต้นกำเนิดจากบริเวณที่สูงในเขตจังหวัดขอนแก่น เกิดเป็นธารน้ำเล็ก ๆ หลายสายไหลมารวมกันที่หมู่บ้านตลาดแบ้ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำมูลที่บ้านหนองเสือ ตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง
ป่าไม้

            ปัจจุบันป่าไม้ในจังหวัดบุรีรัมย์มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกันคือ
            ป่าถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี  มีพื้นที่ประมาณ ๔๐,๕๐๐ ไร่
            ป่าสงวนแห่งชาติ  มีอยู่ ๒๒ ป่า เป็นพื้นที่ประมาณ ๑,๗๕๑ ไร่ เป็นป่าไม้เพื่ออนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมตามธรรมชาติประมาณ ๖๗๒,๕๐๐ ไร่ เป็นป่าเศรษฐกิจประมาณ ๑,๐๔๖,๕๐๐ ไร่ และเป็นป่าที่เหมาะต่อการเกษตรประมาณ ๓๑,๐๐๐ ไร่
            ป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
                 -  ป่าอนุรักษ์ป่าดงใหญ่  อยู่ในเขตอำเภอปะคำ โนนดินแดง และละหานทราย มีพื้นที่ประมาณ ๓๗๐,๕๐๐ ไร่
                 -  ป่าบ้านกรวดแปลง ๕  อยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด มีพื้นที่ประมาณ ๖๙,๐๐๐ ไร่
                 -  ป่าโคกโจดแปลง ๒  อยู่ในเขตอำเภอสตึก มีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่
                 -  ป่าโคกใหญ่ - หนองกระสรวล และป่าหนองหมี  อยู่ในเขตอำเภอปะคำ นางรอง และละหานทราย มีพื้นที่ประมาณ ๘,๐๐๐ ไร่
                 -  ป่าเขาอังคาร  อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ประมาณ ๒๙,๐๐๐ ไร่
                 -  ป่าเขาพนมรุ้ง  อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่
                 -  ป่าดงพลอง  อยู่ในเขตอำเภอแคนดง คูเมือง มีพื้นที่ประมาณ ๘,๐๐๐ ไร่
            ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย  มีอยู่สองป่าด้วยกันคือ
                 -  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่  อยู่ในเขตอำเภอปะคำ โนนดินแดง มีพื้นที่ประมาณ ๑๙๕,๕๐๐ ไร่
                 -  อุทยานแห่งชาติตาพระยา  อยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด โนนดินแดง ละหานทราย มีพ้นที่ประมาณ ๒๒๗,๕๐๐ ไร่ เมื่อรวมกับที่อยู่ในเขตจังหวัดสระแก้วอีก ๑๓๔,๐๐๐ ไร่ จะเป็นพื้นที่ประมาณ ๓๖๑,๕๐๐ ไร่
            สวนป่า  ในส่วนที่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่

                 -  สวนป่าดงเค็ง  อยู่ในเขตตำบลหนองขมาร อำเภอคูเมือง มีพื้นที่ประมาณ ๕,๒๕๐ ไร่
                 -  สวนป่บ้านกรวด  อยู่ในเขตตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด มีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๗๐ ไร่
                 -  สวนป่าโคกโจด  อยู่ในเขตตำบลสตึก อำเภอสตึก มีพื้นที่ประมาณ ๕,๗๐๐ ไร่
                 -  ป่าดงพลอง - โคกโจด  อยู่ในเขตตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก มีพื้นที่ประมาณ ๗,๖๐๐ ไร่
                 -  วนอุทยานเขากระโดง  อยู่ในเขตตำบลเสม็ด อำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่
                 -  ป่าดงใหญ่ ๑  อยู่ในเขตอำเภอโนนดินแดง มีพื้นที่ประมาณ ๑๑,๗๕๐ ไร่
                 -  ป่าดงใหญ่ ๒  อยู่ในเขตอำเภอปะคำ มีพื้นที่ประมาณ ๗,๒๐๐ ไร่
                 -  ป่าดงใหญ่ ๓  อยู่ในเขตอำเภอละหานทราย มีพื้นที่ประมาณ ๕,๗๐๐ ไร่
                 -  ป่าดงใหญ่ ๔  อยู่ในเขตอำเภอปะคำ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๒๕๐ ไร่
                 -  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าปะคำโนนดินแดง มีพื้นที่ประมาณ ๑๙๘,๕๐๐ ไร่
                 -  อุทยานแห่งชาติตาพระยา  อยู่ในเขตอำเภอโนนดินแดง ละหานทราย บ้านกรวด มีพื้นที่ประมาณ ๓๖๑,๐๐๐ ไร่
                 -  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (นก)  อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง ฯ พื้นที่ประมาณ ๓,๖๐๐ ไร่
                 -  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (นก)  อ่างเก็บน้ำห้วยสนามบิน อำเภอประโคนชัย พื้นที่ประมาณ ๔,๕๐๐ ไร่
                 -  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง ฯ พื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่
ประชากร
            ประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยชาวไทยเขมร ไทยลาว ไทยโคราช และไทยส่วย มีภาษาพูดที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันสี่ภาษาด้วยกันดังนี้
            ภาษาไทยอีสาน (ลาว)  มีคนใช้อยู่ประมาณร้อยละ ๕๐ มีใช้มากในอำเภอลำปลายมาศ อำเภอพุทไธสง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอโพธิและหนองหงส์ บางส่วนของอำเภอสตึก อำเภอโนนดินแดง อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอหนองกี่ อำเภอคูเมือง อำเภอประคำ และอำเภอเมือง ฯ
            ภาษาไทยเขมร (เขมร)  มีคนใชอยู่ประมาณร้อยละ ๑๘ ใช้มากในอำเภอเมือง ฯ อำเภอห้วยราช อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสัง อำเภอบ้านกรวด บางส่วนของอำเภอเมือง และอำเภอพลับพลาชัย
            ภาษาไทยโคราช (สำเนียงโคราช)  มีคนใช้อยู่ประมาณร้อยละ ๓๐ ใช้มากในอำเภอนางรอง อำเภอละหานทราย อำเภอชะคำ อำเภอชำนิ อำเภอหนอกี่ และบางส่วนของอำเภอเมือง ฯ
            ภาษาไทยส่วย (ส่วย)  มีคนใช้อยู่เล็กน้อยประมาณร้อยละ ๒ ในพื้นที่บางส่วนของอำเภอสตึก กิ่งอำเภอบ้านด่าน อำเภอห้วยราช อำเภอประโคนชัย อำเภอหนองกี่ และอำเภอหนองหงส์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์