www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
พัฒนากาทางประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน
จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาไฟมาก่อน จึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญอยู่ทั่วไปที่สำคัญได้แก่
แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำนางรอง ลำปลายมาศ และลำจังหับ เป็นต้น เป็นปัจจัยที่เกื้อกูลต่อการตั้งถิ่นฐาน
ฐานการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ และการสำรวจขุดค้นทางโบราคดี ได้พบหลักฐานต่าง
ๆ เป็นจำนวนมาก ที่แสดงถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ได้สำรวจพบชุมชนโบราณกว่า ๑๔๔ แห่ง จากการขุดค้นที่บ้านดงพลอง
อำเภอสตึก ที่บ้านตะโก อำเภอเมือง ฯ และที่บ้านเมืองไผ่ อำเภอกระสัง ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก
เช่น โครงกระดูก ขวานหินขัด ขวานสำริด ขวานเหล็ก กำไลสำริด และเครื่องปั้นดินเผาหยาบหนา
ตลอดจนเศษอาหารที่เป็นกระดูกสัตว์ และเปลือกหอยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จากหลักฐานดังกล่าว
สามารถบอกให้ทราบถึงวิถีชีวิต คติ ความเชื่อ และระบบนิเวศของคนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
หลักฐานที่ขุดพบที่บ้านเมืองไผ่
ในระดับความลึก ๔.๖๐ เมตร พบว่ามีอายุระหว่าง ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี สอดคล้องกับหลักฐานแวดล้อมอื่น
ๆ ที่ได้จากการขุดค้น เช่น ขวานหิน ขวานสำริด ขวานเหล็ก และภาชนะดินเผาหยาบหนา
อันเป็นลักษณะของเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคหินใหม่ เป็นสังคมที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย
หลักฐานที่สำคัญ เช่น มีการฝังศพ ไม่ได้เผาแบบอินเดีย มีการใช้ภาษาดั้งเดิม
สภาพสังคมเมืองน่าจะเริ่มต้นแต่สมัยนี้
สมัยรับวัฒนธรรมเดีย
(สมัยทวารวดี)
มีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปรากฏชุมชนโบราณเป็นรูปวงรี และรูปทรงอื่น
ๆ มีคูน้ำล้อมรอบตั้งแต่ชั้นเดียวถึงสามชั้น พบอยู่หนาแน่นตามสองฝั่งแม่น้ำมูล
และลำน้ำสาขาบางชุมชนมีการสร้างทับซ้อนกับชุมชนในสมัยก่อน ชุมชนจะอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มทั้งสิ้น
เช่น บ้านปะเคียบ บ้านดงพลอง และบ้านทุ่งวังเป็นต้น ชุมชนดังกล่าว อาจวิเคราะห์ได้ตามรูปลักษณะ
และสภาพแวดล้อมได้ดังนี้
แบบที่เป็นเนินสูง จากระดับ
๕ เมตรขึ้นไป จากที่ราบสูงในบริเวณรอบ ๆ ไม่มีคูน้ำ และคันดินล้อมรอบ บางแห่งก็เป็นเนินเดี่ยว
บางแห่งก็เป็นสองสามเนินติดต่อกัน ตามเนินดินจะมีเศษเครื่องปั้นดินเผา ที่สำคัญได้แก่
บ้านกระเบื้อง
ซึ่งเป็นเนินดินขนาดใหญ่สามเนินติดต่อกัน จากชั้นดินลึกประมาณ ๓ - ๔ เมตร
แสดงให้เห็นถึงชั้นดินที่มีการอยู่อาศัยสืบต่อกันมาอย่างน้อย ๒ - ๓ ชั้น ชั้นต่ำสุดสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบหนาและหยาบ
เปลือกหอยและกระดูกสัตว์ ซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบบาง มีลายเชือกทาบ
นอกจากนั้นยังพบเศษของซากแร่โลหะ
แบบที่เป็นเนินดินที่มีคูน้ำล้อมรอบ
ได้แก่ บ้านแพ บ้านโคก บ้านเมืองไซ บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอย บ้านโคกเมือง
และบ้านทุ่งวัง ชุมชนโบราณเหล่านี้ บางแห่งมีคูน้ำล้อมรอบชั้นเดียว บางแห่งก็มีคูน้ำล้อมรอบหลายชั้นขึ้นไป
เช่น บ้านดงพลอย และบ้านโคกเมือง บ้านดงพลอง
มีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่
มีคูน้ำล้อมรอบสองชั้น พบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่กระดูกที่ตายแล้ว
และเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล แสดงให้เห็นว่า ชุมชนคงอยู่สืบต่อมาจนถึงสมัยลพบุรี
(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗) บ้านโคกเมือง
เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นชุมชนแบบรูปวงกลม
มีคูน้ำล้อมลอบถึงสามชั้น ภายในชุมชนพบเศษภาชนะดินเผา หม้อใส่กระดูก และขี้โลหะที่ถลุงแล้ว
เป็นจำนวนมาก
บ้านทุ่งวัง
เป็นเนินดินสองสามเนิน มีคูน้ำโอบรอบเข้าหากัน พบเสมาหินทรายแบบทวารวดี และเนินดิ
เป็นแหล่งถลุงโลหะโดยเฉพาะ นอกจากนั้นพบเทวรูป และเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมร
ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ลงมา บ้านปะเคียบ
ได้พบเนินดินที่ใช้เป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้เป็นที่ฝังอัฐิคนตายที่บรรจุไว้ในหม้อดิน
ต่อมาบริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา มีเสมาหินที่สลักเป็นรูปและฐานกลีบบัวปักอยู่หลายหลัก
มีชิ้นส่วนของธรณีประตูหิน อันแสดงว่าเคยมีการสร้างอาคารในรูปของวิหารที่เนินนี้ด้วย
ได้พบชิ้นส่วนของสำริดรูปวงกลม และชิ้นส่วนของเทวรูปในบริเวณนี้ด้วย แสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีวิวัฒนาการสืบต่อกันมา
จนถึงสมัยทวารวดี และลพบุรี
ทางด้านเหนือของแม่น้ำมูล ในรัศมี ๒ - ๗ กิโลเมตร ได้สำรวจแห่งโบราณคดีจำนวน
๑๗ แห่งคือ บ้านเมืองไผ่ บ้านขี้เหล็ก บ้านจาน บ้านน้ำอ้อยใหญ่ บ้านแสนสุข
บ้านยะวัก บ้านขี้ตุ่น บ้านน้ำออม บ้านกระเบื้องใหญ่ บ้านกระเบื้องน้อย บ้านหัวมาคำ
บ้านตึกชุม บ้านโนนยาว บ้านเข้โค้ง บ้านกระเบื้อง แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ เหมือนกับทางตอนใต้ของแม่น้ำมูล
คือ แบ่งออกเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ แบบที่เป็นเนินดินไม่มีคูน้ำล้อมรอบ และแบบที่มีคูน้ำล้อมรอบ
แบบที่ไม่มีคูน้ำล้อมรอบ
ที่น่าสนใจได้แก่ บ้านกระเบื้องใหญ่
ตำบลยะวึก เป็นเนินดินขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการทับถมของที่อยู่อาศัยหลายสมัย
จุดที่สูงสุดของเนินดินปัจจุบันเป็นเขตวัดประจำหมู่บ้าน น่าจะถูกจัดไว้เป็นที่ศักดิ์สิทธิของชุมชนสมัยโบราณ
เนื่องจากพบเครื่องปั้นดินเผา ที่ใช้บรรจุกระดูกคนตายอยู่หนาแน่นมากกว่าที่อื่น
เนินดินที่บ้านโนนยางร้าง
ตั้งอยู่กับแม่น้ำมูลในเขตตำบลบ้านกระเบื้อง อำเภอชุมพลคีรี พบชั้นดินที่อยู่อาศัยชั้นล่างสุดที่ลึกถึง
๔ เมตร
มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่บ้านเมืองฝ้าย
อำเภอหนองหงส์ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ที่อำเภอพุทไธสง
ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์
มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ที่บ้านปะเคียบ อำเภอเมือง ฯ พบใบเสมาหินขนาดสูง
๖๐ - ๘๐ เซนติเมตร บนเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พบใบเสมาขัดเรียบสลักรูปเจดีย์ไว้ตรงกลาง
และเล่าเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนาไว้ด้วย พบพระพุทธรูปที่บ้านวังปลัด เป็นพระพุทธรูปสำริดที่มีลักษณะพิเศษ
แตกต่างจากรูปแบบที่อื่น มีทั้งปางประทานพร และปางนาคปรก มีเค้าศิลปะคุปตะชัดเจนมาก
ชุมชนโบราณดังกล่าว มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ ๕๐ - ๑๐๐ ไร่ การใช้พื้นที่บริเวณตัวเมืองจึงแตกต่างกันออกไป
ที่อาศัยอาจอยู่ภายในหรือภายนอกคูน้ำคันดิน บางแห่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยของหัวหน้าหรือชนชั้นปกครอง
หรือศาสนสถาน ความแตกต่างของขนาดพื้นที่ และจำนวนคูน้ำที่ล้อมรอบชุมชนเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงจำนวนประชากร
และศักยภาพในการควบคุมพลเมืองในชุมชนแต่ละแห่ง ในการนำแรงงานมาช่วยกันขุดน้ำให้แก่ชุมชน
เมืองโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบ อาศัยสระหรือบาราย
ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
มี ๑๔๔ แห่ง
การกำหนดอายุชุมชนโบราณที่มีผังเมืองเป็นรูปวงกลม หรือวงรี มีคูน้ำล้อมรอบ
ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จาการศึกษาโดยเปรียบเทียบรูปแบบผังเมือง ร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดีแบบเดียวกัน
ชุมชนโบราณบ้านสองชั้น บ้านเมืองไผ่ บ้านโคกเมือง พบเครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดแก้ว
ลูกปัดดินเผา มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ในสมัยทวารวดี ร่วมสมัยกับชุมชนโบราณสมัยทวารวดีภาคกลาง
การกำหนดอายุชุมชนโบราณโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ยังมีไม่มากนัก มีอยู่เพียงชุมชนโบราณบ้านพลอง
และบ้านตะโคง ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่ อำเภอกระสัง ด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ ปรากฏว่า
ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่มีอายุประมาณ ๒,๘๐๐ ปี นอกจากนี้ยังพลเครื่องปั้นดินเผา
ใบเสมาหินรูปเคารพทางศาสนา และศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๖ - ๑๙ ด้วย
สมัยวัฒนธรรมเขมร
(สมัยลพบุรี)
ศูนย์กลางความเจริญได้เปลี่ยนจากบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำมูล ไปอยู่บริเวณที่ราบสูงทางตอนใต้ของแม่น้ำมูล
โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาดงรัก ปรากฏชุมชนเกิดขึ้นใหม่ในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างหนาแน่น
มีการพัฒนาโครงสร้างทางสังคม ได้แก่ การปกครอง วิถีชีวิต และคติความเชื่อต่าง
ๆ แตกต่างออกไปจากชุมชนบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำมูลเป็นอันมาก มีพัฒนาการของชุมชนบริเวณนี้หลายประการด้วยกันคือ
พัฒนาการด้านผังเมือง มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างผังเมืองที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ
มีคูน้ำคันดินหลายชั้นมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ไม่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ
แต่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า
บาราย
พร้อมทั้งศาสนสถาน และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ชุมชนบริเวณปราสาทเมืองต่ำ
และปราสาทพนมรุ้ง
เป็นต้น
ยังมีเมืองโบราณที่มีการสร้างผังเมืองแบบเดิมที่กล่าวมาแล้ว ยังคงเป็นเมืองตลอดมาจนถึงสมัยนี้
แต่ลักษณะบางอย่างที่เป็นวัฒนธรรมเขมรเข้ามาเพิ่มเติม คือ มีการสร้างศาสนสถาน
สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ และอ่างเก็บน้ำเป็นต้น
พัฒนาการทางด้านศาสนา และความเชื่อ
หลักฐานที่แสดงให้เห็นในเรื่องนี้ได้แก่ โบราณ และโบราณวัตถุ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก
โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เป็นของใช้ในศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันไปตามกาลสมัย
และขนาดความสำคัญของชุมชน ส่วนศาสนสถานโดยทั่วไปมักทำคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีสระน้ำอยู่ใกล้ บางแห่งมีสระน้ำขนาดใหญ่ถึง ๒ - ๓ สระอยู่ใกล้ ๆ ถ้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่
ก็มักจะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือบารายไว้ใกล้ ๆ เช่นเดียวกัน
การสร้างเทวาลัย มีการเกณฑ์แรงงานคนมาสร้าง ซึ่งจะมีแรงงานอยู่ ๒ ประเภทคือ
กลุ่มแรงงานธรรมดา เกณฑ์มาจากราษฎรและชาวเมือง
เพื่อใช้ในการจัดทำ และเคลื่อนย้ายวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐ หินทราย และศิลาแลง
ช่างฝีมือ จะเป็นช่างที่กษัตริย์หรือเจ้านายชุบเลี้ยงไว้
ทำหน้าที่แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบสถาปัตยกรรม ศาสนสถานขนาดใหญ่
ๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเขาพระวิหาร มีการสร้างไม่แล้วเสร็จในรัชกาลเดียว
ปราสาทในจังหวัดบุรีรัมย์
ทั้งที่เป็นปราสาทอิฐ หินทราย และศิลาแลง เท่าที่สำรวจพบในปัจจุบัน มีอยู่
๖๙ แห่ง กระจายอยู่ในเขตอำเภอต่าง
ๆ ที่มีมากที่สุดคือ อำเภอประโคนชัย มีอยู่ถึง ๑๓ แห่ง น้อยที่สุดคือ อำเภอหนองกี่
มีอยู่เพียงแห่งเดียว ส่วนที่ตัวอำเภอเมือง ฯ มีอยู่ ๓ แห่ง
พัฒนาการอุตสาหกรรม
ประกอบด้วย เครื่องเคลือบ และโลหะกรรม
เตาเผาเครื่องเคลือบ
พบกระจายอยู่บริเวณเขาดงรัก ตั้งแต่เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอละหานทราย
อำเภอบ้านกรวด จากการสำรวจพบเตาเผาเคลือบดินมากกว่า ๓๐๐
เตา นับว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ จากการขุดค้นพบว่าภายในเตาเผามีการกั้นแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยใช้คันดินกั้นแต่ละห้องที่เป็นที่เผาเคาาาารื่องปั้นดินเผาแต่ละชนิด เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเครื่องเคลือบสีน้ำตาลแก่
สีขาวนวล และสีเขียวอ่อน มีขนาดและชนิดต่าง ๆ กันตั้งแต่ไหขนาดใหญ่ คนโท โถ
จาน ชาม ตลอดจนขวด และกระปุกเล็ก ๆ โถ และกระปุกบางชนิด ทำเป็นรูปผลไม้ และรูปสัตว์
เช่น นก ช้าง ไก่ กระต่าย หมี ฯลฯ ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีการเคลือบสองสีในใบเดียวกัน
บริเวณปากภาชนะเคลือบสีเขียว ตัวภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแก่
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งจากเตาเผาเหล่านี้คือ เครื่องประดับสถาปัตยกรรมได้แก่
กระเบื้องเคลือบมุงหลังคากระเบื้องชายคามีลวดลาย และบราลี เป็นต้น เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากเตาเผาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์
พบกระจายอยู่ทั่วไปตามเมืองโบราณ และชุมชนต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำมูล แม่น้ำชี
และแม่น้ำโขง นอกจากนั้นยังขยายไปยังบริเวณภาคกลางของประเทศไทยด้วย เช่น ที่เมืองสุโขทัย
ลพบุรี ศรีสัชนาลัย และที่เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
แหล่งโลหะกรรม
หรือแหล่งที่พบตะกรันขี้แร่ ซึ่งเกิดจากการหลอมหรือแปรรูปโลหะ วิธีการถลุงโลหะคงใช้วิธีพื้นฐาน
คือ ใช้ถ่านให้ความร้อนแก่ท่อ และเบ้าหลอม ซึ่งทำด้วยดินเผา ทั้งสองอย่างนี้จะพบอยู่ทั่วไปโดยปะปนอยู่กับตะกรัน
ส่วนสูบที่น่าจะเป็นท่อไม้คู่ ไม่เหลือซากให้เห็น
แหล่งถลุงโลหะมีการกระจายอยู่ทุกอำเภอ มี่พบมากอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ (บ้านยาง
บ้านรุน บ้านโคตรีทอง) อำเภอคูเมือง (บ้านโนนมาลัย) อำเภอบ้านกรวด (บ้านสายโท
ฯ บ้านเขาดิน) อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก (บ้านชุมแสง บ้านโคกเมือง)
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนในเขตเมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง เมืองตลุง เมืองนางรอง
ต่างก็ขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงแห่งเมืองนครราชสีมา มีเมืองนางรองเป็นเมืองเอก
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้ทรงตั้งให้พระยายมราช ครองเมืองนครราชสีมา
และในสมัยนั้นเมืองนครราชสีมามีเมืองขึ้นอยู่ ๕ เมืองคือ นครจันทึก ชัยภูมิ
พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง
ต่อมาได้ขยายเป็น ๙ เมืองคือ จตุรัส ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ ชนบท พุทไธสง ประโคนชัย
รัตนบุรี ปักธงชัย และบำเหน็จณรงค์
สมัยกรุงธนบุรี
ในสมัยกรุงธนบุรี พระยานางรอง เจ้าเมืองนางรอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา
เอาเมืองนางรองไปขึ้นต่อเจ้าโอ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระอยู่
พระยานครราชสีมาจึงแจ้งเข้ามายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ จึงโปรดเกล้า
ฯ ให้เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเมืองนางรอง เมืองนครจำปาศักดิ์
โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์คุมกำลังไปช่วยเหลือ เจ้าโอและเจ้าอินแห่งนครจำปาศักดิ์
สู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป กองทัพไทยตามจับได้ที่เมืองสีทันดร
หลังจากพระยาจักรีตีได้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร และเมืองอัตบือแล้ว
เจ้าพระยาจักรีได้เกลี้ยกล่อมหัวเมืองเขมรป่าดง คือ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ
เมืองขุขันธ์ ให้มาอยู่ในอำนาจของกรุงธนบุรี ระหว่างเดินทัพกลับได้พบเมืองร้างที่ลุ่มแม่น้ำห้วยจระเข้มาก
เห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเมือง แต่สถานที่เดิมเป็นป่าดงดิบมีไข้ป่าชุกชุม
จึงได้อพยพผู้คนที่อยู่กระจัดกระจายอยู่รอบนอก ให้มาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณบ้านโคกหัวช้าง
บ้านทะมาน (บริเวณรอบ ๆ วัดกลางบุรีรัมย์ในปัจจุบัน แล้วตั้งเมืองใหม่เรียกว่า
เมืองแปะ อันเป็นที่มาของการก่อกำเนิดเมืองบุรีรัมย์ในเวลาต่อมา แล้วให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมัน
เป็นผู้ครองเมืองแปะ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยานครภักดี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในปี พ.ศ.๒๓๗๐ เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกทัพมากวาดต้อนผู้คน
และเสบียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองนางรอง และเมืองแปะ พระนครภักดี (หงส์)
นำราษฎรออกต่อสู้ แต่มีกำลังน้อยกว่า จึงได้ถอยหนีไปตั้งอยู่ที่เมืองพุทไธสง
พวกเวียงจันทน์ติดตามจับพระนครภักดี และครอบครัวได้ที่ช่องเสม็ด นำไปให้เจ้าราชวงศ์
ซึ่งตั้งทัพรออยู่ที่ทุ่งสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด) พระนครภักดีถูกฆ่าตาย
ต่อมาเมื่อทัพหลวงของไทยตีกองทัพเจ้าอนุเวียงจันทน์แตกกลับไปแล้ว จึงได้ตั้งให้หลวงปลัด
บุตรชายพระนครภักดี (หงส์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทน
เมืองแปะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์ น่าจะอยู่ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ เมื่อมีการปรับปรุงการปกครอง เมืองบุรีรัมย์ได้เปลี่ยนไปขึ้นต่อหัวเมืองฝ่ายเหนือ
มีเมืองขึ้น ๑ เมืองคือ เมืองนางรอง ส่วนเมืองอื่น ๆ บางเมืองเช่น พุทไธสง
ตะลุง (ประโคนชัย) ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภออยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เปลี่ยนเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา
และขึ้นต่อหัวเมืองลาวกลาง
ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลง กำหนดชื่อและพื้นที่มณฑลขึ้นใหม่ เมืองนางรอง
บุรีรัมย์ ประโคนชัย พุทไธสง และเมืองรัตนบุรี รวมเรียกว่า บริเวณนางรอง
ได้ใหม่ให้เรียกว่า เมืองนางรองยกให้เป็นเมืองจัตวา
ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทย ปรับปรุงหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นมณฑล เมืองและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา มีอำเภอในสังกัด
๔ อำเภอคือ อำเภอพุทไธสง รัตนบุรี นางรอง และอำเภอประโคนชัย
ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ มณฑลอีสานแบ่งออกเป็นสองมณฑลคือ มณฑลอุบล ฯ และมณฑลร้อยเอ็ด
ต่อมามฌฑลทั้งสอง ดังกล่าวได้รวมเข้ากับมณฑลนครราชสีมา
ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้มีการปรับปรุงชื่อเขตและอำนาจบริหารหลายครั้งจนเป็นจังหวัด
อำเภอและตำบล อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
หลังปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖
จัดระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด อำเภอ และตำบล
|