ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

จังหวัดอุทัยธานี

            จังหวัดอุทัยธานี  ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางตอนบน บริเวณลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งไหลมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอมโนรมยย์ จังหวัดชัยนาท อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ไปทางเหนือตามเส้นทางสายเอเซีย ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังงหวัดต่าง ๆ
            ทิศเหนือ  ติดต่อกับอำเภอโกรกพระ อำเภอพยุหคีรี อำเภอลาดยาว จังหวัดสนครสวรรค์
            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
            ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอสิงห์ กิ่งอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาทและอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
            ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและธรณีวิทยา

            จังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่ประมาณ ๖,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔.๒ ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูงสลับซับซ้อน ลาดเอียง จากตะวันตกลงมาทางยตะวันออก ตอนกลางของพื้นที่จังหวัดเป็นที่ดอนคล้ายลูกคลื่น
            พื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานีเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของประเทศ (ลักษณะภูมิอากาศ มีตั้งแต่อากาศแบบกึ่งร้อน จนถึงอากาศแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกในบริเวณป่าเขา ทางด้านตะวันออกของจังหวัด อากาศร้อนและแห้งแล้ง)  เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำทับเสลา ภูเขาในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน
            พื้นที่ตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่เป็นคลื่นลูกระนาดสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ ดินเป็นดินเหนียวปนทราย ระบายน้ำได้ดี
            พื้นที่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเป็นที่ลุ่มลาดเทลง มีหน้าดินบาง เป็นดินปนทรายไม่เก็บกักน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เมื่อถูกน้ำจะเหลวเละ แต่เมื่อแห้งแล้งจะเแข็งมาก
ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และสัตว์

            ทรัพยากรน้ำ  จากลักษณะภูมิประเทศทางทิศตะวันตกของจังหวัด เป็นเทือกเขาทอดตัวไปตามแนวทิศเหนือใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าว เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของจังหวัดหลายสาย ได้แก่
               แม่น้ำสะแกกรัง  เกิดจากทิวเขาแม่ลงที่เรียกว่า ยอดเขาโมโคจู อยู่ทางตอนใต้ของทิวเขาถนนธงชัย ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร แม่น้ำสายนี้มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่านคือ
                   คลองแม่เร่ - แม่วง  คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอคลองขลุง อำเภอขานุวรลักษณบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์จนถึงเขาชนกัน
                   แม่น้ำวังม้า  คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
                   แม่น้ำตากแดด  คือ ช่วงไหลผ่านเขตอำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน และอำเภอเมือง ฯ จนถึงปากคลองขุมทรัพย์
                   แม่น้ำสะแกกรัง  คือ ช่วงตั้งแต่ปากคลองขุมทรัพย์ หรือคลองอีเติ่ง ที่บ้านจักษา อำเภอเมือง ฯ หรือตรงปลายแม่น้ำตากแดด ณ จุดที่แม่น้ำตากแดดไหลมาบรรจบกับคลองขุมทรัพย์ ซึ่งน้ำจะเป็นสองสี แล้วไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มีความยาวจากต้นน้ำถึงจุดที่บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ ๑๐๘ กิโลเมตร
               ลำห้วยทับเสลา  มีต้นกำเนิดจากปลายห้วยขาแข้ง ในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ไหลผ่านไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านตำบลลายสักไปทางทิศตะวันออก เข้าเขตอำเภอหนองฉาง ผ่านตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลอุทัยเก่า แล้ววกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเขตอำเภอทัพทัน ทางตำบลตลุกคู่ ตำบลหนองสระ ตำบลหนองกลางดง ตำบลทัพ และตำบลทุ่งนาไทย แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำตากแดดในตำบลเขาขี้ฝอย
               ลำห้วยทับเสลา  ยาวประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร ในฤดูฝนน้ำจะไหลเชี่ยวมาก
               ลำห้วยคลองโพธิ์  ต้นน้ำกำเนิดจากภูเขาแม่กะสี ในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงนี้เรียกว่า ลำห้วยแม่เปิน ไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านตำบลพลวงสองนาง อำเภอสว่างอารมณ์ ไปบรรจบแม่น้ำตากแดดในตำบลหนองยายดา อำเภอทัพทัน มีความยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
               ลำห้วยขวี  ต้นกำเนิดจากภูเขาในพื้นที่ตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านตำบลหนองฉาง ตำบลหนองนางนวล แล้วไหลเข้าเขตอำเภอหนองขาหย่าง ผ่านตำบลหนองไผ่ ตำบลดงขวาง และตำบลหมกแถว แล้วไหลเข้าเขตอำเภอเมือง ฯ ไหลลงบึงทับแต้ ในตำบลน้ำซึม มีความยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
               ลำห้วยใหญ่  ต้นกำเนิดจากภูเขาเต่า ในตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ ไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านตำบลห้วยแห้ง ตำบลวังหิน แล้วไหลเป็นแนวแบ่งแขตอำเภอหนองขาหย่าง และแบ่งเขตอำเภอหนองฉาง กับอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ ๗๒ กิโลเมตร ลำห้วยนี้มีหลายชื่อคือ ลำห้วยคลองคด ลำห้วยขุนแก้ว และลำห้วยกระทง
               ลำห้วยคอกควาย  ต้นกำเนิดเกิดจากภูเขาในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านตำบลคอกควาย อำเภอห้วยคด ไหลไปบรรจบกับลำห้วยใหญ่ ในตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ มีความยาวประมาณ ๕๓ กิโลเมตร
               คลองเนินขาม  ต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ ไหลไปทงทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเขตอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำมะขามเฒ่า ทางฝั่งขวามีชื่อเป็นตอน ๆ คือ ห้วยอีโศก ห้วยยง ห้วยวังตอไฟ และคลองบ้านเขื่อน มีความยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
               แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นด้วยระบบชลประทาน  ส่วนใหญ่ทำเป็นอ่างหรือฝาย กักเก็บน้ำขนาดเล็ก กระจายกันไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด โครงการชลประทานขนาดใหญ่มีอยู่สองแห่งคือ
                   เขื่อนวังร่มเกล้า  ตัวเขื่อนอยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ แต่พื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดอุทัยธานี
                   เขื่อนทับเสลา  ตัวเขื่อนอยู่ในตำบลระบำ อำเภอลานสัก เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ มีความจุ ๑๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ ๑๔๔,๐๐๐ ไร่

           ทรัพยากรป่าไม้  พื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยกด มีป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ตามสภาพภูมิประเทศ  และภูมิอากาศคือป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้ตะเคียนทอง ไม้มะค่าโมง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ
            พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจำแนกเป็นป่าไม้ตามกฎหมาย มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๒๘,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๔,๕๒๕ ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ ๖๗ ของพื้นที่จังหวัด
            ตามมติ ครม. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นสามเขตคือ
               เขตป่าเพื่อการอนุรักษ์  มีพื้นที่ประมาณ ๒,๑๕๒,๐๐๐ ไร่ เป็นป่าที่ยังคมมีสภาพสมบูรณ์ และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร
               เขตป่าเศรษฐกิจ  มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๗,๐๐๐ ไร่ เป็นสภาพป่าเสื่อมโทรม ราษฎรได้บุกรุกแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อพัฒนาให้เป็นป่าเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยการประโยชน์เป็นป่าใช้สอยแก่ประชาชนทั่วไป
               เขตป่าที่เหมาะสมแก่การเกษตร  มีพื้นที่ประมาณ ๖๕๔,๐๐๐ ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติที่หมดสภาพ ราษฎรได้บุกรุกเข้าไปทำการเกษตรเป็นระยะเวลายาวนาน ยากต่อการฟื้นฟูให้เป็นสภาพป่าดังเดิม

           ทรัพยากรสัตว์ป่า  จากการสำรวจพบว่าในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งรวมของสัตว์ป่านานาชนิด เนื่องจากเป็นป่าผืนใหญ่ มีพื้นที่กว้างขวาง มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า ได้จำแนกประเภทสัตว์ป่าไว้ดังนี้
            สัตวว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี ๖๗ ชนิด นก ๓๕๕ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน ๗๗ ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ๒๙ ชนิด ปลา ๕๔ ชนิด สัตว์ใกล้สูญพันธ์ ๒๑ ชนิด สัตว์ที่ถูกคุกคาม ๖๕ ชนิด
            สัตว์ใกล้สูญพันธ์ได้แก่ เลียงผา เนื้อทราย เสือไฟ เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน ลิงภูเขา ชะนีมือขาว หมาไน เก้งหม้อ วัวแดง ควายป่า ช้างป่า สมเสร็จ กระทิง นกเป็ดกา นกยูงไทย ปลาสะตือ และปลากะโห้
สภาพแวดล้อม

           สภาพทั่วไป ชาวอุทัยธานีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ความโอบอ้อมอารีมีไมตรีจิตต่อผู้มาเยือน เป็นเอกลักษณ์ของคนเมืองอุทัยธานี จนมีคำกล่าวว่า "มาอุทัยไม่ต้องอุทธรณ์ ค่ำแล้วก็นอนที่อุทัย"
            จังหวัดอุทัยธานีได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา มีสิ่งสำคัญของโลกเช่น ห้วยขาแข้ง เป็นป่าสมบูรณ์ผืนสุดท้ายของประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และมีหมุดกำหนดแผนที่โลก ที่ใช้เป็นหมุดหลักฐาน (งานสามเหลี่ยมขั้นที่ ๑) เพื่อคำนวณหาค่าพิกัดของหมุด หลักฐานต่อเนื่องมาจากจุดศูนย์กำเนิดที่เขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย ผ่านประเทศพม่า ซึ่งกรมแผนที่ทหารใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๗ จนถึงปัจจุบัน
ประชากรและการปกครอง

            ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ จังหวัดอุทัยธานีมีประชากร ประมาณ ๓๒๙,๐๐๐ คน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม ประชากรมีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย มีความเป็นชาววพุทธอย่างเต็มเปี่ยม ครอบครัวมีขนาดเล็ก เฉลี่ย ๓ - ๕ คน
            ชนเผ่าต่าง ๆ ในเขตอุทัยธานี มีอยู่สามชนเผ่าใหญ่คือ ชาวกะเหรี่ยง ประมาณ ๑,๑๐๐ คน ละว้า ประมาณ ๒๕๐ คน และขมุ ประมาณ ๔๕๐ คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต
           รายนามเจ้าเมืองอุทัยธานี ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ มีดังนี้
               สมัยอยุธยา  ที่ปรากฎมีอยู่สามท่านคือ พระตะเปิด (เจ้าเมืองอุทัยเก่า) พระยาราชนิกุล (ทองคำ) และพระยาอุไทยธานี (ไม่ปรากฎนาม)
               สมัยธนบุรี  มีอยู่สองท่านคือ ขุนสรวิชิต (หน) และพระรามรณคบ (ไม่ปรากฎนาม)
               สมัยรัตนโกสินทร์  มีอยู่แปดท่านด้วยกันคือ
                    หลวงณรค์ (ไม่ปรากฎนาม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
                    พระยาอุไทยธานี (ไม่ปรากฎนาม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                    พระยาอุไทยธานี (ไม่ปรากฎนาม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    พระยาอุไทยธานี (เพชร) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    พระยาอุไทยธานี (แสง) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    พระยาอุไทยธานี (ไม่ปรากฎนาม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    พระยาอุไทยธานี (เสือ  พยัคฆวิเชียร) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                    พระยาอุไทยธานี (รอด รัตนวราหะ) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เป็น พระยานคโรทัย
           รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี  เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีอยู่สี่ท่านคือพระยาพิไชยสุนทร (ชุ่ม) พระยาพิไชยสุนทร (ชม รัตนวราหะ) พระยาพิไชยสุนทร (ออน) และพระยาพิไชยสุนทร (ม.ล.อั้น  เสนีวงศ์)
               รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีอยู่ห้าท่านคือ พระยายอดเมืองขวาง (บุญเกิด) พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันต์สิงห์) พระยาพิไชยสุนทร (ทอง จันทรางศุ) พระยาราชพงศานุรักษ์ (ชาย บุนนาค) และพระยาสัจจาภิรมอุดมราชภักดี (สรวจ ศรีเพ็ญ)
               รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีอยู่สี่ท่านคือ พระยาพิไชยสุนทร (ทอกสุก บุณยะสีมานนท์) พระยาประสาทวิริยกิจ (เลี่ยม) พระยาสุรินทรฤาชัย (จันทร์ คุงคะสวัสดิ์) และพระยาศรีมหาเกษตร (ชวน สมุทรานนท์)

| หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์