ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            จากหลักฐานทางโบราณคดีหลายสิ่งแสดงว่า พื้นที่ในเขตจังหวัดอุทัยธานี เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการพัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับหลายจังหวัดในภาคกลางเช่น จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสุพรรณบุรี
            บริเวณที่ราบภาคกลางรวมทั้งบริเวณจังหวัดอุทัยธานี เป็นแหล่งอารยธรรมของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังหลักฐานที่พบได้แก่ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาปลาร้า อำเภอลานสัก โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินสีต่าง ๆ ที่บ้านหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องมือที่ทำจากหินที่เขานาค อำเภอทัพทัน ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา ชวนาหินขัด ที่เขาปฐวี อำเภอทัพทัน
            ต่อมาชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีการจัดรูปแบบเมืองเป็นแบบมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีการกักน้ำไว้ใช้เพื่อการบริโภคและการเกษตร รู้จักการทำเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งจากวัสดุธรรมชาติและจากการหล่อโลหะ รู้จักการทอผ้า ต่อมารู้จักสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะอาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
การตั้งถิ่นฐาน
            จากหลักฐานทางโบราณคดี แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในเขตจังหวัดอุทัยธานี แบ่งออกเป็นสองสมัยคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
            บริเวณจังหวัดอุทัยธานีมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว พบหลักฐานหลายแห่งที่สำคัญคือ

            แหล่งโบราณคดีเขาปลาร้า  อยู่ที่บ้านชายเขา ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก บนภูเขาสูงชันตรงรอยต่อเขตแดน อำเภอลานสักกับอำเภอหนองฉาง พบภาพเขียนสีที่เพิงผาลาดเอียงประมาณ ๘๐ องศา ตอนบนมีชะโงกผายื่นออกมาคล้ายหลังคากันแดดกันฝน ช่วยทำให้ภาพมีอายุยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน
            ลักษณะของภาพเขียนมีอยู่ห้าแบบด้วยกันคือ แบบเงาทึบ แบบเงาทึบบางส่วน แบบโครงร่างภาพนอก แบบกิ่งไม้ และแบบเส้นร่าง
            เนื้อหาของภาพสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในครั้งนั้นอย่างเด่นชัด เช่น การเต้นรำ คนจูงวัว ขบวนแห่ การเลี้ยงสัตว์และนำมาเป็นอาหาร
            ศิลปะถ้ำเขาปลาร้าน่าจะเป็นงานรังสรรค์ของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว
            แหล่งโบราณคดีที่บ้านหลุมเข้า  จากการศึกษาโดยการขุดตรวจตามชั้นดินพบว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีคนอยู่อาศัยอย่างน้อยสองสมัยคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยปัจจุบัน
            การอยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีช่วงระยะเวลาการอยู่อาศัยเป็นเวลานาน จนวัตถุที่เป็นหลักฐานถูกทิ้งให้ทับถมกันเป็นชั้นหนาจนแยกได้ชัดเจน
            เมื่อพิจารณาจากลักษณะของภาชนะดินเผาพบว่า มีความแตกต่างจากโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่พบที่จันเสนและช่องแคอย่างเห็นได้ชัด และมีลักษณะใกล้เคียงกับภาชนะดินเผาที่พบในชั้นดินสมัยก่อนประวัติศาสตร์
            ที่บ้านหลุมเข้า พบลูกปัดทำด้วยแก้วและหินสีต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เป็นโบราณวัตถุที่พบเสมอตามแหล่งโบราณคดี ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้อีกทางหนึ่งว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์
            เครื่องใช้ของคนกลุ่มนี้ประกอบด้วยภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบขนาดและรูปทรงต่าง ๆ เช่นใช้ในการหุงต้มอาหาร และใส่เครื่องอุปโภคบริโภค มีการตกแต่งผิวด้านนอกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีแดง รมควันให้เป็นสีดำ ขัดผิวด้านนอกให้เป็นมัน ปั้นดินมาต่อเติมด้านนอกให้เป็นลวดลายแบบต่าง ๆ ใช้เชือกมากดหรือตบให้เกิดรอยประทับของเกลียวเชือกบนผิวภาชนะด้านนอก (ลายเชือกทาบ)
            นอกจากนั้นยังทำรูปตุ๊กตารูปสัตว์ ลูกกระสุนจากดินที่อาจใช้กับดินกระสุนสำหรับใช้ล่าสัตว์ขนาดเล็ก และทำแวดินเผาซึ่งเป็นเครื่องใช้ในการปั่นเส้นด้าย แสดงว่าคนในชุมชนนี้มีการทอผ้าใช้กันแล้ว
            จากการขุดพบหลุมฝังศพ จะขุดลึกประมาณ ๕๐ - ๗๐ เซนติเมตร นำภาชนะดินเผาแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันจำนวน ๓ - ๔ ใบ รองก้นหลุมก่อนนำศพลงฝัง  บางครั้งมีการใส่สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับคือ ลูกปัดแก้วและลูกปัดหินสีค่าง ๆ ลงไปในหลุมฝังศพด้วย มีการมัดตราสังศพ ฝังศพให้หันศีรษะไปทางทิศใต้
            ชุมชนร่วมสมัยกับชุมชนบ้านหลุมเข้ามีหลายแห่งในพื้นที่บริเวณนี้ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ แหล่งโบราณคดีบ้านท่าทอง  ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร นอกจากนี้ก็มีแหล่งโบราณคดีบ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี แหล่งโบราณคดีบ้านไร่สวนลาว อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            สมัยทวารวดี  ดินแดนในประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น เกิดการพัฒนารูปแบบทางวัฒนธรรมของตนเองขึ้นเรียกว่า วัฒนธรรมทวารวดี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาลักษณะการปกครอง เข้าสู่ยุคสังคมเมือง ก่อนจะพัฒนาไปสู่ความเจริญสูงสุดแบบนครรัฐ
            จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนลักษณะเมืองเกิดขึ้นหลายแห่ง มีคูน้ำคันดินล้อมรอบคล้ายวงกลม มีศาสนสถานอยู่ทั้งภายในและภายนอก เช่น เมืองการุ้ง บ้านด้าย บ้านคูเมือง บึงคอกช้าง เป็นต้น
            แหล่งโบราณคดีที่โคกไม้เคน และบ้านจันเสน เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีที่มีอาณาเขต และลักษณะใกล้เคียง กับแหล่งโบราณคดี ในเขตจังหวัดอุทัยธานีมากที่สุด
            สมัยสุโขทัย  ได้มีการสำรวจพบเครื่องสังคโลกสุโขทัย จำนวนไม่น้อยในบริเวณจังหวัดอุทัยธานี แสดงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เพราะเมืองอุทัยธานีเป็นทางผ่านตามแนวลำน้ำที่ใช้ขนถ่ายสินค้า ที่มาจากตอนเหนือสู่ชุมชนทางตอนใต้
            กล่าวกันว่าคำว่า อุไทย นั้น อาจจะมาจากคำว่า อู่ไทย ซึ่งหมายถึงถิ่นที่อยู่ของชาวไทย เป็นคำที่สอดคล้องกับคำที่นิยมเรียกชื่อเมืองว่า อู่ เช่น อู่บนหรือเมืองบน ที่บ้านโคกไม้เดน  อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมืองอู่ตะเภา ที่บ้านอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมืองอู่ทอง ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
            ส่วนเมืองอู่ล่าง คือ เมืองลพบุรี ดังมีคำพังเพยว่า "ฝูงกษัตริย์เมืองบน ฝูงชนเมืองล่าง" หมายถึง เมืองสุโขทัย เป็นเมืองหลวง มีกษัตริย์ปกครอง ส่วนเมืองลพบุรีเป็นเมืองล่าง ไม่ใช่เมืองกษัตริย์เป็นเมืองที่ขอมส่งคนมาปกครอง ถือเป็นที่อยู่ของผู้คน
            ในตำนานเมืองอุไทย ได้มีการทิ้งร้างเนื่องจากสายน้ำเปลี่ยนทางเดิน ทำให้ผู้คนพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น สภาพเมืองจึงกลายเป็นชุมชนเล็ก ๆ จนได้มีการพัฒนาพื้นที่ใหม่แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยมีการขุดทะเลสาบทางด้านทิศใต้ของตัวเมือง และตั้งเมืองขึ้นใหม่ ปรากฎชื่อเจ้าเมืองคนแรกตามตำนานว่า พะตะเบิด
            ชื่อเมืองอุทัยธานี มาใช้แทนคำว่า อุไทยธานี ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเปลี่ยนแต่เมื่อใด หนังสือฉบับแรกที่พบว่าใช้ชื่ออุทัยธานี เป็นหนังสือเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ จึงสันนิษฐานว่าคำนี้นำมาใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

            สมัยอยุธยา  ในสมัยอยุธยาตอนต้น เมืองอุไทยเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เพราะเป็นทางผ่านของกองทัพพม่า ที่จะเข้ามาตีเมืองไทยทางด่านเจดีย์สามองค์ ด่านเมาะตะมะและที่ผ่านมาทางด่านหนองหลวง และด่านสลักพระด้วย เมืองอุไทยจึงเป็นเมืองหน้าด่าน มีเหตุการณ์ที่สำคัญคือ
            ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรใหาราช  ได้โปรดให้จัดตั้งด่านป้องกันขึ้นคือ ด่านเมืองอุไทย (ที่บ้านคลองด่าน) ด่านแม่กลอง ด่านเขาปูน ด่านหนองหลวง ด่านสลักพระ โดยมีเมืองอุไทยเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก เจ้าเมืองอุไทยเป็นผู้ดูแลด่านต่าง ๆ เมืองอุไทยในสมัยนั้นมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเมืองแพรก (เมืองสรรคบุรี)  ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเมืองพระบาง (เมืองพังค่า จังหวัดนครสวรรค์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเมืองแปน (เมืองกำแพงเพชร) และเมืองฉอด (อยู่ในเขตจังหวัดตาก)  ถือแนวแม่น้ำและลำคลองเป็นแนวเขต เช่น แม่น้ำแม่กลอง คลองห้วยแก้ว ลำห้วยเปิน
            ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่ง โดยระบุอยู่ในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า เมืองอุไทยธานีเป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย
            ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  กองทัพพมาได้ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย ได้มีการเกณฑ์ผู้คนชาวด่านอุไทยธานีไปทำการสู้รบกับพม่าที่ไทรโยค
            ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เกิดศึกกลางเมือง ไม่มีไพร่พลปกป้องรักษาเมือง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชภักดีถือตราพระราชสีห์ ออกไปเกลี้ยกล่อมเลกพลที่พลัดอยู่ ณ หัวเมืองวิเศษชัยชาญ และเมืองอื่น ๆ มีเมืองอุไทยธานีรวมอยู่ด้วย
            ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์  เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าคุมพล ๔,๐๐๐ คน ยกมาทางเมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เมืองอุไทยธานี เมืองสรรคบุรี เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา มังมหานรธาเป็นแม่ทัพพม่าอีกคนหนึ่งคุมพล ๓,๐๐๐ คน มาตั้งค่ายอยู่ที่วัดป่าฝ้าย ปากน้ำประสบ ทางด้านเหนือสุรินทจอข่อง คุมกำลัง ๑,๐๐๐ คน ยกมาทางเมืองเมาะตะมะ เข้ามาทางด่านอุไทยธานี ตั้งทัพอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ พระยาเจ่งรามัญคุมกำลัง ๒,๐๐๐ คน ยกเข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ตั้งทัพที่ขนอนหลวงและวัดโปรดสัตว์ พม่าได้ออกเที่ยวจับคนทางเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสรรคบุรี เมืองสุพรรณ เมืองสิงห์ จนถึงเมืองอุไทยธานี กองทัพพม่าที่ยกมาทั้งหมดระดมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อปล้นทรีพย์สิน และกวาดต้อนผู้เป็นเชลยจำนวนมากแล้ว ได้ยกออกไปทางด่านเมืองอุไทยธานี

            สมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นความสำคัญของเมืองอุไทยธานี จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ ขุนสรวิชิต (หน) ผู้สามารถใช้ภาษามอญ และภาษาจีนได้ดีเป็นนายด่าน ไปตั้งกองด่านรักษาเมืองอุไทยธานี เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า ที่เข้ามาทางด่านหนองหลวง และด่านแม่กลอง เมื่อกองทัพพม่าส่งกำลังเข้ามาลาดตระเวณในเขตไทย ก็มักจะปล้น ตี ชิง เสบียงอาหาร เผาบ้านเรือนราษฎรเสียหายอยู่เสมอ เขตเมืองอุไทยธานีมีกองอาสามอญ ดังนั้นการตั้งขุนสรวิชิต เป็นนายด่านทำให้สามารถติดต่อกับชาวมอญ และพ่อค้าชาวจีนที่บ้านสะแกกรังได้เป็นอย่างดี
            เมืองอุไทยธานี มีที่ราบทำนาได้มาก มีธารน้ำไหลมาจากภูเขา สามารถเก็บกักนำมาใช้ในการทำนาได้ตลอด จึงมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนทำกินกัน มากจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ อยู่ห่างจากแม่น้ำสะแกกรังประมาณ ๕๐๐ เส้น ต่อมาเมื่อลำห้วยที่มีอยู่แห้งลง เนื่องจากน้ำเปลี่ยนทางเดิน เรือจึงขึ้นไปไม่ถึง ข้าวต้องบรรทุกเกวียนลงมาที่แม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักในการขนส่งในเขตเมืองชัยนาท การขนส่งในเขตเมืองชัยนาทและเมืองมโนรมย์ ดังนั้นบรรดาพ่อค้าชาวจีนที่รับซื้อผลผลิต และข้าวจากชาวเมืองอุไทยธานี (เก่า) ส่วนใหญ่จึงพากันไปตั้งบ้านเรือน และยุ้งฉางอยู่ที่บ้านสะแกกรังอย่างหนาแน่น จนกลายเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่และสำคัญที่สุด ของชาวเมืองอุไทยธานีและบริเวณใกล้เคียง เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า บ้านท่า
            ในปี พ.ศ.๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่ายกกองทัพใหญ่เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อจะไปตีเมืองเชียงหใม่ ทัพพม่าบางส่วนได้ยกลงมาทางใต้ ถึงเมืองกำแพงเพชร เห็นกองทัพไทยตั้งค่ายรักษาเมืองนครสวรรค์อยู่ พม่าจึงยกกำลังเข้าล้อมเมืองนครสวรรค์ แล้วยกลงมาทางเมืองอุไทยธานีเข้าปล้นเมือง และเผาเมืองเสีย เมื่ออะแซหวุ่นกี้ยกทัพกลับไปทางเมืองตากและด่านแม่ละเมา กำลังบางส่วนของพม่ายังตกค้างอยู่ กองทัพไทยจึงเข้าขับไล่กองทัพพม่าออกไปจนหมด

            สมัยรัตนโกสินทร์  เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมืองอุไทยธานีถูกข้าศึกเผาผลาญบ้านเรือนเสียหาย ทำลายวัดและโบราณสถาน จนยากที่จะบูรณะให้กลับคืนดีดังเดิมได้ วัดในตัวเมืองส่วนใหญ่ถูกทำลายเหลือแต่ซาก เช่น วัดยาง วัดหัวหมาก วัดกุฎิ ส่วนที่เหลือยังพอซ่อมแซมได้บ้างได้แก่ โบสถ์ และพระปรางค์วัดแจ้ง เป็นต้น
            นับแต่อดีต ชาวไทยพื้นถิ่นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่บ้านอู่ไทย บ้านท่าโพ บ้านพันสี บ้านหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง บ้านทุ่งแฝก บ้านเนินตูม บ้านหนองเต่า บ้านเนินกำแพง อำเภอเมือง ฯ ส่วนในเขตอำเภอหนองฉางนั้น มักเป็นหมู่บ้านของชาวไทยเชื้อสายมอญ ซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเก่าหินโจน บ้านป่าแดง บ้านทุ่งทอง ส่วนหมู่บ้านชาวไทยเชื้อสายลาวส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านไร่ และอำเภอสว่างอารมณ์ สำหรับชนเชื้อสายละว้า หรือกะเหรี่ยง จะอยู่ในเขตอำเภอหนองหลวง อำเภอแม่กลอง  (ปัจจุบันคืออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ) ซึ่งเป็นด่านสำคัญของเมืองอุไทยธานี มาตั้งแต่สมัยอยุธยาและได้โยกย้ายไปอยู่ในตำบลแก่นมะกรูด ตำบลคอกควาย ส่วนในเขตอำเภอบ้านไร่เดิมนั้น มีหมู่บ้านชาวไทยเชื้อสายลาวอาศัยอยู่ เช่น บ้านสะนำ บ้านทับหลวง บ้านทับคล้าย บ้านทับหมัน เป็นต้น
                สำหรับบ้านสะแกกรัง เป็นชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นหลายเชื้อชาติ โดยเฉพาะชาวจีนได้มาตั้งรกรากค้าขาย ตั้งแต่สมัอยุธยาสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เมืองอุไทยธานียังคงเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยระวังดูแลความเคลื่อนไหวของกองทัพพม่า ที่จะเข้ามาทางด่านแม่กลอง และด่านหนองหลวง โดยมีหลวงณรงค์ ตำแหน่งพระยาอุไทยธานีเป็นเจ้าเมือง
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ในงานพระเมรุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมืองอุไทยธานีได้ร่วมจัดส่งไม้ชื่อไม้เสา ไม้ไผ่ ไม้อุโลก หวาย น้ำมันยาง สีผึ้ง พร้อมกับผ้าขาว ๒๐๐ ชิ้น และขมิ้น เพื่อจัดทำผ้าสบงถวายพระสงฆ์สดับปกรณ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราถึงเมืองอุไทย ฯ ให้เจ้าเมือง กรรมการเมือง ฯ เลกพลเมือง ฯ และราษฎรโกนผมไว้ทุกข์ ยกเว้นกองสอดแนมลาดตระเวณไม่ต้องโกน
                นอกจากนี้ยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้เมืองอุไทยธานี จัดพิธีถือน้ำพระพิพัฒสัจจา ตามประเพณีที่วัดได้ ส่วนจะเป็นวัดใดนั้นไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมืองอุไทยธานีเป็นเมืองที่มีป่ามากมาย สิ่งของที่ต้องส่งให้เมืองหลวงส่วนใหญ่จึงเป็นของป่าเช่น กระวานปีละสองหาบ นอกจากนั้นยังส่งไม้เพื่อใช้ทำโขนเรือพระที่นั่ง ไม้ซ่อมตำหนักใน ไม้หลักเสาโซ่เมืองนครเขื่อนขันฑ์และเรือมาด ยาว ๙ วา กว้าง ๕ ศอกเศษ
                ในรัชสมัยนี้เมืองอุไทยธานีมีปัญหาเขตแดนทางชายแดนด้านตะวันตกที่ติดกับชายแดนพม่า และปัญหาเรื่องเขตแดนเมืองไชยนาทกับเมืองอุไทยธานี
                ในสมัยที่อังกฤษเข้ามาปกครองพม่า อังกฤษต้องการทราบว่าเขตแดนติดต่อระหว่างพม่ากับไทยอยู่ที่ใดบ้าง พระยาอุไทยธานี พระยากำแพงเพชรและพระยาตากได้รับคำสั่งให้ไปเจรจากับอังกฤษ จนสามารถตกลงเรื่องเขตแดนเมืองอุไทยธานีกับเมืองเมาะตำเลิมได้เรียบร้อย
                ปัญหาเขตแดนเมืองไชยนาทกับเมืองอุไทยธานีที่มีการล่วงล้ำเขตแดนกันอยู่ ตกลงให้ตัดโอนดินแดนที่บ้านสะแกกรัง ฝั่งคลองสะแกกรังฝั่งขวา ตั้งแต่ท้ายบ้านสะแกกรังไปจดเขตเมืองอุทัยธานี (เก่า) เป็นเขตของเมืองอุไทยธานี
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีพระบรมราชโองการให้เมืองอุทัยธานี จัดข้าราชการคอยฟังเหตุการณ์ชายแดนอย่าให้ขาด ให้ซ่อมแซมค่าย คู ประตูหอรบ ให้แข็งแรง ตรวจดูอาวุธปืนใหญ่ กระสุนดินดำ ดินประสิว ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ให้สำรวจเลกไพร่พลเมืองให้แน่นอน เมื่อถึงคราวเกณฑ์จะได้เกณฑ์ได้สะดวก ห้ามมีการซื้อขายของต้องห้ามผิดกฎหมาย
                ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ และปี พ.ศ.๒๔๐๗ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานผ้าพระกฐินแก่วัดขวิด ซึ่งมีพระครูสุนทรมุนี เจ้าคณะเมืองอุไทยธานีเป็นเจ้าอาวาส
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ พระไชยนฤนาท (ม.ล.อั้น เสนีวงศ์) ผู้ว่าการเมืองอุไทยธานี ได้จัดการย้ายที่ว่าการเมืองอุไทยธานีจากที่เก่าไปสร้างใหม่ ทางทิศใต้ของที่ว่าการเดิม ศาลากลางที่สร้างใหม่ กว้าง ๖ วา ยาว ๒๒ วา ๒ ศอก เป็นเงิน ๒๒,๕๐๐ บาท เป็นอาคารไม้ยาว ยกใต้ถุน ก่ออิฐเสาไม้ มีมุขยื่นเป็นนอกชานอยู่ตรงกลาง
                พ.ศ.๒๔๕๓ ได้มีการจัดทำถนนและรางน้ำก่ออิฐในตลาดสะแกกรังใหม่ ด้วยเงินบริจาคของข้าราชการและราษฎร สิ้นเงิน ๒,๙๒๕ บาท
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ได้รับใบบอกที่พระยาศิริไชยบุรินทร์ ส่งรายงานพระวิเชียรปราการว่า ท้องที่อำเภอหนองหลวงไกลจากเมืองอุทัยธานี ต้องใช้เวลาเดินทาง ๔ วัน การที่จะตรวจท้องที่ได้สะดวก ขออนุญาตยกอำเภอแม่กลองจากเมืองอุทัยธานีขึ้นไปเมืองกำแพงเพชร และจัดตำบลในอำเภอแม่กลองใหม่ไปรวมกับตำบลลานสักเป็น ๔ ตำบล ตั้งที่ว่าการอำเภอหนองหลวง ในตำบลคอกควายใต้
                ปี พ.ศ.๒๔๖๐ มีการเปลี่ยนเขตการปกครอง จากแขวงเป็นอำเภอ ในครั้งนั้นจังหวัดอุทัยธานี มีห้าอำเภอคืออำเภอน้ำซึม อำเภอคอกควาย อำเภอทัพทัน อำเภออุไทยเก่า และอำเภอหนองพลวง
                ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองหลวงไปตั้งที่เนินปอ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองขาหย่าง
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ โอนกิ่งอำเภอห้วยแห้ง ของจังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอคอกควายมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอำเภอบ้านไร่
                    พ.ศ.๒๔๗๐ ย้ายที่ว่าการอำเภออุไทยเก่า มาสร้างใหม่ที่ตำบลหนองฉาง แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอำเภอหนองฉาง
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  พ.ศ.๒๔๘๒ เปลี่ยนชื่ออำเภอน้ำซึมเป็นอำเภอเมือง ฯ
                    พ.ศ.๒๔๘๘ โอนตำบลท่าซุง ตำบลเกาะเทโพ ตำบลหาดทนง ในเขตอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาขึ้นกับอำเภอเมือง ฯ
                รัชสมัยปัจจุบัน  พ.ศ.๒๕๐๔ ตั้งกิ่งอำเภอสว่างอารมณ์ โดยแยกจากอำเภอทัพทัน
                    พ.ศ.๒๕๐๖ ยกฐานะกิ่งอำเภอสว่างอารมณ์เป็นอำเภอสว่างอารมณ์
                    พ.ศ.๒๕๐๘ สร้างศาลากลางจังหวัดแทนอาคารหลังเดิม
                    พ.ศ.๒๕๑๘  ตั้งกิ่งอำเภอลานสัก แยกออกจากอำเภอบ้านไร่
                    พ.ศ.๒๕๒๔ ยกฐานะกิ่งอำเภอลานสัก เป็นอำเภอลานสัก
                    พ.ศ.๒๕๒๗  ตั้งกิ่งอำเภอห้วยคต แยกจากอำเภอบ้านไร่ และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ.๒๕๓๖
เหตุการณ์สำคัญ
            ปัญหาชายแดนเมืองไชยนาทกับเมืองอุไทยธานี  ในปี พ.ศ.๒๓๒๘ ข้าราชการจากกรุงเทพ ฯ ผู้หนึ่งได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าเมืองอุไทยธานี เมื่อเดินทางมาถึงเมืองสะแกกรัง เห็นว่าเป็นสถานที่มีความสมบูรณ์ จึงขอตั้งบ้านเรือนบนฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง โดยอ้างว่ากลัวไข้ป่า ไม่กล้าขึ้นไปว่าราชการที่เมืองอุไทยธานี (เก่า)
            ในครั้งนั้น บ้านพักเจ้าเมืองอุไทยธานี เป็นที่ว่าการเมืองอุทัยธานีด้วย คณะกรมการเมืองอุไทยธานี ก็ย้ายตามมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรังด้วย จนถึงปี พ.ศ.๒๓๙๑ เกิดปัญหาเรื่องเงินสมพัตสร อากรตลาด เงินค่าเสนาอากร ไม่แนชัดว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายเก็บ เพราะเขตแดนเมืองอุไทยธานีกับเมืองไชยนาทไม่ถูกต้อง กรมการเมืองทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ พระยาไชยนาท และกรมการเมือง จึงมีหนังสือแจ้งไปยังกรุงเทพ ฯ ในที่สุดพระยามหาอำมาตย์ได้ให้กรมการขึ้นมาสอบเขตเมืองอุไทยธานี และเมืองไชยนาทที่ติดต่อกัน
            ในที่สุดได้ข้อยุติตามที่ปรากฎในหนังสือประชุมนิพนธ์ ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า เจ้าเมืองอุไทยธานีไม่ควรมาอยู่ในแขวงเมืองไชยนาท แต่เวลานั้นพวกเจ้าเมืองกรมการเมืองอุไทยธานีตั้งบ้านเรือนเป็นหลักมั่นคงเสียแล้ว จะไล่ไปก็จะเกิดเดือดร้อน จึงให้ตัดเขตบ้านสะแกกรังทางฝั่งคลองฟากใต้กว้าง ๑๐๐ เส้น ตั้งแต่ท้ายบ้านสะแกกรังไปจดแดนเมืองอุไทยเก่า โอนที่นั้นจากเมืองไชยนาทเป็นของเมืองอุไทยธานี เมืองอุทัยธานีจึงตั้งอยู่ปลายสุดเขตแดน ทางฝั่งคลองสะแกกรังฟากเหนือ ตรงบ้านเจ้าเมืองอุไทยธานี ข้ามไปก็เป็นเขตแดนเมืองมโนรมย์ ข้างใต้บ้านลงมาสักคุ้งน้ำหนึ่งก็เป็นแดนเมืองไชยนาท

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุไทยธานี  ในคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้เสด็จประพาสเมืองอุไทยธานีด้วย พระยาประธานนคโรไทย จางวางกำกับเมืองอุไทยธานี ไปรอรับเสด็จที่พลับพลาท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ เมืองไชยนาท
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จด้วยเรือพระที่นั่งกลไฟองครักษ์ล่องเข้าไปคลองโกรกกราก ที่ปากคลองตื้นเป็นคันช่อง ลัดปากคลองเข้าไปยังบ้านเรือนและแพอยู่บ้าง เป็นที่ลุ่มจนถึงพรมแดนเมืองอุไทยธานี ต่อเข้าไปจึงเป็นที่ดอน ฟากข้างขวามือป่ายางโดยมาก ทางในลำคลองประมาณชั่วโมงเศษ รวมทั้งที่ล่องน้ำ ๒ ชั่วโมง จึงถึงเมืองอุไทยธานี ตั้งพลับพลาที่ท้ายเมืองใกล้ที่ว่าการ ได้พระราชทานพระแสงราชศัสตรา เป็นพระแสงที่พระราชทานเป็นลำดับที่ห้า และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเสมาแก่ข้าราชการเมืองอุไทยธานี
            เวลาบ่ายเสด็จ ฯ ด้วยเรือพระที่นั่งแจวมีเรือไฟเล็กลากไปตามลำคลอง เสด็จ ฯ ขึ้นที่ท่าตลาดใต้วัดขวิด ตลาดมีผู้คนหนาแน่น บ้านเรือนหนาแน่น ราษฎรเป็นคนบริบูรณ์โดยมาก อาศัยการค้าข้าวอย่างเดียว
            เมืองอุไทยธานีเก่าตั้งอยู่ในที่ซึ่งเป็นที่ดอนห่างจากคลองสะแกกรังประมาณ ๕๐๐ เส้น
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กับธงช้างที่เมืองอุไทยธานี  ในคราวเสด็จ ฯ แปรพระราชฐานประพาสไปตามหัวเมืองชายน้ำ ทรงถือโอกาสตรวจราชการที่เมืองอุทัยธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙
            เรือยนต์พระที่นั่งประจำทวีป นำโดยเรือยนต์ของจังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยเรือพระที่นั่งรอง และเรือพระประเทียบทั้งหลาย แล่นเป็นขบวนลดหลั่นเป็นทิวแถวเข้าเทียบท่าหน้าเมืองอุทัยธานี ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายสดุดีต้อนรับอยู่กึกก้องของบรรดาข้าราชการและประชาชน ที่มาคอยเฝ้าแน่นสองฝั่งแม่น้ำสะแกกรังอย่างล้นหลาม
            พระองค์ได้ประทับแรม ณ พลับพลาไม้ไผ่มุงหลังคาจาก รูปลักษณะสี่เหลี่ยมทำนองศาลา แต่กั้นห้องเรียบร้อย
            วันรุ่งขึ้นเสด็จ ฯ ประพาสวัดเขาสะแกกรัง เสด็จขึ้นประทับนั่งพระแคร่หาม โดยพระตำรวจหลวงมีมหาดเล็กถวายพระกลดเดินเคียงไปใกล้ ๆ แวดล้อมด้วยราชองค์รักษ์ทั้งสี่และข้าราชการใหญ่น้อยตามลำดับชั้น เคลื่อนขบวนไปตามถนนเลียบเมือง บริเวณตลาดอันยาวเหยียดมีสภาพเป็นห้องแถวไม้หลังคามุงจากบ้าง สังกะสีบ้าง ตำรวจภูธรที่ฝ่ายบ้านเมืองจัดประจำเป็นระยะห่าง ๆ ทั้งสองข้างทาง เมื่อขบวนเสด็จผ่านฝูงชนที่มาคอยเฝ้ารับเสด็จ ก็พากันหมอบก้มกราบกับพื้นและแซ่ซ้องสาธุการ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์