ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            เมืองนคร ฯ มีพัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งรวมตัวกันมาเป็นชุมชนเกษตรกรรม ยุคเริ่มแรกแล้วพัฒนามาเป็นเมืองท่า หรือสถานีการค้ามมีชื่อว่า ตามพรลิงค์ จนกระทั่งกลายเป็นชุมชนเมืองหรือนครรัฐที่รุ่งเรืองมีชื่อว่า นครศรีธรรมราช ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นนครแห่งพระพุทธศาสนา ในคาบสมุทรภาคใต้
การตั้งถิ่นฐาน

            หลักฐานทางโบราณคดีสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ในแหล่งที่เป็นถ้ำและเพิงผา ๑๕ แหล่ง ในจำนวนนี้มีสองแหล่งที่คาบเกี่ยวกับสมัยก่อนยุคหินใหม่ และมีหลักฐานที่เป็นแหล่งพื้นที่ราบ ๑๐ แหล่ง ในจำนวนนี้มีอยู่สองแหล่งที่คาบเกี่ยวกับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่า มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองนคร ฯ ตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นถ้ำ ในพื้นที่ป่าเขามาก่อน ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า และล่าสัตว์เป็นอาหาร ใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย และคงไม่ไกลจากลำน้ำที่ไหลผ่านที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน
            ลำน้ำซึ่งเกิดจากแนวทิวเขาใหญ่หรือภูเขาเล็ก ๆ นับเป็นแหล่งสำคัญที่นำเอาวัตถุจากธรรมชาติหรือหินจากภูเขาซึ่งกลายเป็นหินกรวดนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต
            ลำดับการพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในพื้นที่เมืองนคร ฯ อาจแบ่งออกได้เป็นสี่ห้วงเวลาดังนี้
            ชาวถ้ำหรือมนุษย์ถ้ำ จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้นำมาเปรียบเที่ยบกับเมืองนคร ฯ เชื่อว่าคนก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองนคร ฯ คงไม่แตกต่างกันมากนักคือ พักอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเพิงผา หาอาหารโดยการล่าสัตว์เก็บผลไม้ ใช้เครื่องมือหินประเภทครกและสาก สำหรับบดตำพืชประกอบอาหาร บางครั้งอาจใช้ใบมีดหรือขวานหิน สำหรับปอกลูกไม้หรือเปลือกไม้ ตัดเฉือนเนื้อสัตว์ มีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า เมื่อประมาณ ๖,๕๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว มนุษย์ถ้ำในภาคใต้ประกอบอาหารโดยใช้ความร้อนจากไฟ รู้จักการหุงต้มโดยใช้หม้อดินเผาและมีถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง ภาชนะที่ใช้ประกอบอาหารที่มีใช้โดยทั่วไปคือ หม้อดินเผาก้นกลม และภาชนะแบบหม้อสามขาซึ่งสามารถตั้งคร่อมกองไฟ โดยไม่ต้องใช้เสาหรือก้อนเส้า นอกจากนี้ยังมีภาชนะใส่อาหารเช่น ภาชนะทรงพาน หม้อก้นตื้น หม้อมีสัน ภาชนะประเภททชาม จอก ถ้วย เหยือก แท่นรองหม้อ และแท่นพิงถ้วยสำหรับรองรับถ้วยน้ำดื่มที่อาจทำจากเขาสัตว์ เป็นต้น
            นอกจากนี้ชาวถ้ำยังรู้จักก่อกองไฟให้ความอบอุ่น รู้จักทำเครื่องนุ่งห่มโดยทำจากหนังหรือขนสัตว์ หรือทำจากเปลือกไม้ พบหินทุบเปลือกไม้หลายชิ้น
            ชุมชนเกษตรกรรมเริ่มแรก  เป็นวิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานช่วงที่สองเของเมืองนคร ฯ เริ่มจากชุมชนยุคหินใหม่ที่อาศัยบนที่ราบ ปรากฎชัดขึ้นเมื่อรู้จักใช้เครื่องมือโลหะซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพัฒนาของชุมชนเกษตรกรรม ทำให้สามารถปลูกข้าวได้มากกว่าเดิม เริ่มตั้งถิ่นฐานถาวร มีการเลือกถิ่นฐานในภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ปรากฎชุมชนโบราณตามแนวสันทราย และที่ราบลุ่มแม่น้ำลำคลอง เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ เป็นต้นมา
            โบราณวัตถุของชุมชนสมัยนี้ นอกจากเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีซึ่งน่าจะเกิดจากการขัดแต่งหินจากธรรมชาติที่เคาะแล้วมีเสียงดังกังวาน สันนิษฐานว่า เป็นระนาดหิน มีลักษณะคล้ายขวานหินยาวขัดแต่งจนเรียบร้อย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามยาวมากกว่าด้านกว้าง ๓ - ๖ เท่า ด้วยเหตุที่มีขนาดแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดระดับเสียงแตกต่างกัน ระนาดหินนี้พบที่แหล่งโบราณคดีริมคลองกลาย ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา
            นอกจากระนาดหินแล้วยังพบกลองมโหระทึกสำริดในภาคใต้ และเมืองนคร ฯ ๑๒ ใบ  แสดงพัฒนาการทางด้านโลหะกรรม และการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ กลองมโหระทึกเป็นวัตถุที่นำมาจากชุมชนภายนอก อาจมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนโพ้นทะเลจากจีน หรือเวียดนามตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๓ เป็นต้นมา
            ชุมชนเมืองท่าและสถานีการค้า  นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ เป็นต้นมา ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ และชาวโรมัน ได้เดินเรือมาถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกไกลแล้ว คาบสมุทรมลายูจึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทางเดินเรือ จากฝ่ายตะวันตกอันได้แก่ อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และโรมัน กับฝ่ายตะวันออกได้แก่ จีน  เวียดนาม จามปา และเจนละ  เรือสินค้ามักต้องแวะเวียนพักเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือหาเสบียงอาหาร ระยะแรกของการเดินเรือนั้นต้องอาศัยการเดินเรือเลียบชายฝั่ง ต่อมาได้อาศัยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ดังนั้นาคาบสมุทรมลายู จึงเป็นจุดเหมาะสมสำหรับเป็นสถานีแวะพัก รวมทั้งรอมรสุมสำหรับเดินทางต่อไป โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนคือ
                -  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน นักเดินเรืออาศัยเดินทางจากตะวันตกไปตะวันออก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม นักเดินเรือก็อาศัยเดินทางกลับจากตะวันออกไปตะวันตก
                -  จากจุดนี้เรือสินค้าจากตะวันตกเข้าเทียบทางบริเวณฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู ในแนวเส้นรุ้ง ๗ องศาเหนือ และไม่เกินเส้นรุ้ง ๘ องศาเหนือ บริเวณดังกล่าวอยู่ระห่างจังหวัดตรังไปถึงจังหวัดพังงา จากบริเวณนี้สามารถเดินทางบกข้ามคาบสมุทรมลายูไปทางฝั่งตะวันออกที่พัทลุง เมืองนคร ฯ และบ้านดอน โดยเส้นทางตรัง - พัทลุง หรือเมืองนคร ฯ และตะกั่งป่า - ไชยา - บ้านดอน ซึ่งบริเวณเมืองท่าฝั่งตะวันออก ก็เป็นจุดที่เรือสินค้าจากจีน และจากตะวันออกมาเทียบได้พอดี
                -  ช่วงเวลาที่รอมรสุมก็อาจเป็นเวลาซ่อมแซมเรือจัดหาเสบียง เมื่อเตรียมการเสร็จก็เป็นเวลาพอดีกับลมมรสุมเริ่มพัดผ่าน ทำให้เดินทางกลับได้พอดี
            มีหลักฐานสำคัญได้แก่ โบราณวัตถุอันเป็นสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินสี เครื่องประดับ เครื่องแก้ว เศษเครื่องถ้วยชามตลอดจนประติมากรรม รูปเคารพทางศาสนาที่ติดมากับเรือเดินทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา เกิดชุมชนอย่างถาวรบริเวณเมืองท่าชายฝั่งทะเลได้แก่  ตะกั่วป่า พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๒ ส่วนชายฝั่งตะวันออกพบหลักฐานจากศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย อักษรปัลลวะ ภาษาสันสฤกต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๒ แสดงถึงชุมชนของกลุ่มผู้นับถือไศวนิกายในเมืองนคร
            นอกจากกลุ่มพ่อค้าและนักแสวงโชคแล้วกลุ่มนักบวชพราหมณ์ และพระภิกษุในพุทธศาสนาคงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแถบนี้ในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะพบประติมากรรมรูปเคารพในศาสนา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ซึ่งเป็นของที่นำเข้าจากอินเดียโดยตรง และมีประติมากรรมท้องถิ่นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา แสดงถึงการรับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากอินเดีย เช่น พระพุทธรูปศิลปะอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ ปาละ เนะ เทวรูปอิทธิพลปัลลวะ และโจฬะจากอินเดียใต้ เป็นต้น
            ชุมชนเมืองและนครรัฐ  การเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อชุมชนในภูมิภาคนี้ ในระยะเริ่มแรกศาสนาพราหมณ์ ดูจะเด่นว่าศาสนาพุทธอยู่เล็กน้อย พราหมณ์จึงเป็นบุคคลที่พึงปรารถนาของชนชั้นปกครอง เพราะเป็นผู้สร้างและรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของเทวราชา ชนชั้นปกครองจึงยกตนให้เหนือกว่าระดับหัวหน้าชุมชนเป็นเทวราชา โดยผ่านแนวความคิดของศาสนาพราหมณ์ชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองหรือนคร
            เอกสารจีนตั้งแต่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๘ ได้กล่าวถึงรัฐต่าง ๆ ในเอเซียตะวันอกเฉียงใต้ เช่น ฟูนัน ลินยี่ พงศาวดารราชวงศ์เหลียงในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กล่าวถึงอาณาจักรชื่อ ลังกาซุน นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าคือรัฐลังกาสุกะ อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี มีหลักฐานคือ ซากโบราณสถาน ในเขตอำเภอยะรัง อีกรัฐหนึ่งคือรัฐตันมาลิง จากบันทึกของเฉาจูกัวและหวังด้าหยวน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ ซึ่งก็คือรัฐตามพรลิงค์ หรือเมืองนคร ฯ นั่นเอง
            เมืองนคร ฯ เป็นรัฐที่มีพื้นฐานทางการเกษตร สินค้าพื้นเมืองได้แก่ ข้าว การบูร ไม้หอม (ไม้กฤษณา) ไม้ฝาง ไม้จันทน์ ขี้ผึ้ง งาช้าง เขาสัตว์ หนังสัตว์ และดีบุก เป็นเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ พ.ศ.๑๗๗๓ ตามพรลิงคึ์ได้ประกาศตัวเป็นอิสระ จากหลักฐานจารึกหลักที่ ๒๔ ของพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช แสดงว่า เมืองนคร ฯ ได้ดำรงตนเป็นรัฐอิสระ มีความรุ่งเรืองในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นรัฐเอกราช ในระยะเวลาเดียวกันกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ แห่งกรุงสุโขทัย เป็นรัฐที่มั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์ทรงพระนาม พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นอาณาจักรที่มีอิทธิพลครอบคลุมทั้งแหลมมลายู บรรดาบ้านเมืองในอาณาบริเวณนี้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรนครศรีธรรมราช โดยเรียกเมืองหลวงนั้นว่า เมืองสิบสองนักษัตร เมืองนคร ฯ เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดประมาณร้อยปีเศษ ก่อนจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
สมัยก่อนประวัติศาสตร์


            ยุคหิน  ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์เก่าที่สุดที่พบในภาคใต้ และเก่าที่สุดในประเทศไทย ตรงกับสมัยทางธรณีวิทยา เรียกว่า ไพลสโตซีน ตอนปลาย
            จาการขุดค้นได้พบหลักฐานสมัยแรก ๆ เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณภาคใต้ในพื้นที่ป่าเขาก่อนพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล
            แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบว่าบริเวณนี้มีการใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะสองแหล่งคือ ที่ถ้ำดาหมื่นยบและถ้ำเขาหลัก
                -  ถ้ำตาหมื่นยม  ตั้งอยู่ที่บ้านวังเหรียง ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง พบเครื่องมือหินกะเทาะคุมรอบปลายแหลม ด้านบนมีรอยโดนตัดคล้ายกับขวานสั้น ที่เคบพบที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และเศษภาชนะดินเผาสีดำ ลายเชือกทาบ
                -  ถ้ำเขาหลัก  อยู่ในเขตตำบลสิชล พบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสองหน้า ลักษณะเป็นขวานสั้น มีรอยกะเทาะหยาบ ๆ ทำจากหินควอร์ตไซด์ จำนวนหนึ่งชิ้น พบภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลมหนึ่งชิ้น หม้อก้นแบนสามชิ้น รวมกับกระดูกสัตว์ประเภทลิงสองชิ้น
                -  จากโบราณวัตถุที่พบสันนิษฐานว่า ถ้ำทั้งสองแห่งนี้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาพักอาศัย แต่ไม่สามารถกำหนดอายุของแหล่งได้ชัดเจน จากการเปรียบเทียบกับแหล่งอื่นพอกำหนดอายุได้ประมาณ ๖,๕๐๐ - ๔,๒๐๐ ปี
            ยุคหินใหม่  ได้พบแหล่งโบราณคดีเป็นจำนวนมาก พบโบราณวัตถุมากชนิดได้แก่ ขวานหินขัด และภาชนะดินเผา ประเภทหม้อสามขา ซึ่งส่วนใหญ่ได้พบตามแหล่งที่เป็นถ้ำหรือเผิงผา ได้แก่
                -  ถ้ำช้าง  อยู่ที่เขาสำโรง ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ มีทั้งผิวเรียบ แบบลายเชือกทาบ แบบลายกดทับ และเศษหม้อสามขา
                -  ถ้ำเขาโพรงเสือ  อยู่ในเขตตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี พบเศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบ มีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนหม้อสามขาและขวานหินขัด
                -  ถ้ำเทวดางวงช้าง  อยู่ในเขตตำบลลานสกา อำเภอลานสกา พบภาชนะดินเผา เศษภาชนะดินเผา ขัดผิวด้านนอกเรียบมัน เนื้อค่อนข้างบาง ได้แก่ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบรูปทรงคล้ายขันน้ำ และขวานหินขัดแบบจงอยปากนก
                -  เขาปูน  อยู่ที่วัดเขาปูน ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี พบเสษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบตกแต่งผิวด้วยลายกดทับ ลายเชือกทาบ เป็นชิ้นส่วนของภาชนะ ประเภทหม้อสามขา พบบริเวณยอดเขา
                -  ถ้าเขาหินตก  อยู่ในเขตตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ พบลูกปัดเปลือกหอย ลูกปัดทำจากกระดูก เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ หม้อสามขา ขวานหินขัด หินทุบ
                -  หุบเขาลานสกาใน  อยู่ในเขตตำบลลานสกา อำเภอลานสกา พบขวานหินขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขวานหินขัดมีบ่า
                -  เขาต่อ  อยู่ที่บ้านเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบขวานหินขัดหรือระนาดหิน ขนาดหนา ขัดเรียบ
                -  เขาพรง  อยู่ในเขตตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล พบขวานหินขัดไม่มีบ่า รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
                -  ถ้ำพรรณรา  อยู่ในเขตตำบลพรรณรา กิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา พบเศษภาชนะดินเผาสีดำแดง ลายเชือกทาบ ขวานหินขัด ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์
                -  ถ้ำเขาแดง  อยู่ในเขตตำบลนพพิตำ กิ่งอำเภอนพพิตำ พบหม้อสามขา สภาพเกือบสมบูรณ์
            สำหรับแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ใช้แหล่งถ้ำหรือเพิงผา ได้แก่
                -  คลองเขาแก้ว  อยู่ที่หน้าวัดชายเขา ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบขวานหินขัดขนาดใหญ่ โครงร่างห้าเหลี่ยม คมแบบจงอยปากนก
                -  บ้านในแหนบ  อยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา พบโกลนโครงร่างละเอียดของขวานหินขัด แต่งพอสมควร
                -  ห้วยครกเบือ  อยู่ในเขตตำบลนาดี อำเภอลานสกา พบขวานหินขัด
                -  ตลองคลาย  อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา พบขวานหินยาว หรือระนาดหินจำนวนหกชิ้น เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
                -  เชิงเขาคา  ตั้งอยู่ที่เชิงเขาคาด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
                -  สิชล  อยู่ในเขตอำเภอสิชล พบมีดทำจากหินทรายสีเทา มีลักษณะเป็นมีดด้ามงอรูปมนรี ส่วนที่เป็นด้ามตอนปลายโค้งขนานกับส่วนคม ซึ่งคอดเล็กกว่าด้าม สีสันร่องแบ่งระหว่างส่วนคมและส่วนด้ามชัดเจน เหมือนมีดมีด้าม
                -  ชุมชนใกล้วัดพระเพรง  อยู่ในเขตตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม พบขวานหินขัดขนาดกลาง รูปสี่เหลี่ยมคางหมมู ไม่มีบ่า
                -  คลองท่าเรือ  อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง พบขวานหินขัดและกำไลหิน
                -  วัดหัวมีนา (ร้าง)  อยู่ในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ พบโกลนขวานหินขัด และสะเก็ดหิน
            จากโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ แสดงถึงการกระจายตัวของการตั้งชุมชนมายังบริเวณนี้ พื้นที่ราบเชิงเขา ที่ราบริมน้ำและที่ราบแนวสันทราย โดยมีแม่น้ำลำคลองอันเกิดจากภูเขาทางตอนกลาง ไหลลงสู่ที่ราบทั้งทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตก เป็นเส้นทางการเชื่อมโยงการเคลื่อนย้าย และการกระจายตัวของกลุ่มชนกสิกรรม ต่อเนื่องจนเข้าสู่สมัยเริ่มประวัติศาสตร์ ได้กำหนดอายุชุมชนโบราณยุคหินใหม่ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่ามีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว

            ยุคโลหะ  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๓ เป็นช่วงที่ได้รับวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก โดยเริ่มติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเลเช่น จีน อินเดีย และอาหรับ ทำให้ชุมชนพื้นเมืองเดิมเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนในลักษณะใหม่ มีการตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมือง หลักฐานทางโบราณคดีสมัยนี้ที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ โบราณวัตถุที่ทำจากโลหะ ทั้งที่เป็นสำริดและเหล็ก ได้แก่กลองมโหระทึกกับเครื่องมือสำริดและเหล็ก
                -  กลองมโหระทึก  เป็นกลองสำริด พบแหล่งผลิตครั้งแรกที่เมืองธันหัว ประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๐ - ๓๐๐  กลองมโหระทึกที่พบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน สี่ใบคือ
                    ใบที่หนึ่ง พบที่บ้านเกียกกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ ส่วนกลางและฐานหายไป เหลือความสูงเพียง ๓๘ เซนติเมตร ส่วนหน้ามีสภาพสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๐.๕ เซนติเมตร ตรงกลางมีลวดลายเป็นดวงอาทิตย์สาดแสง จำนวนสิบสองแฉก ระหว่างแฉกมีลวดลายรูปสามเหลี่ยม ฐานโค้งซ้อนกัน ถัดมาเป็นลวดลายคล้าย z แล้วจึงเป็นลายขีดและวงกลมสลับกันไป กลางกลองเป็นรูปนกปากยาวและหางยาวจำนวนหกตัว บินทวนเข็มนาฬิกา แล้วเป็นลวดลายขีดและวงกลมสลับกับไหบริเวณรอบนอกสุด มีประติมากรรมลอยตัวรูปกบ จำนวนสี่ตัว หันหน้าไปทางทิศทวนเข็มนาฬิกา กลองใบนี้มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว
                    ใบที่สอง  พบที่คลองคุดด้วน ในเขตอำเภอฉวาง เป็นส่วนของหน้ากลอง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๒.๓ เซนติเมตร พบเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒
                    ใบที่สาม  พบที่บ้านนากะชะ ตำบลนากะชะ อำเภอฉวาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗
                    ใบที่สี่  พบที่คลองท่าทูน (บ้านยวนเท่า) ตำบลเทพราช อำเภอสิชล เป็นส่วนของหน้ากลอง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๒ เซนติเมตร ตรงกลางมีลวดลายเป็นดวงอาทิตย์สาดแสงสีสบแฉก ถัดไปเป็นลายขีดและวงกลมสลับกัน แล้วเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีน ที่เชื่อมต่อเนื่องกันไปโดยรอบ บริเวณกลางหน้ากลอง เป็นรูปนกปากและหางยาว
            กลองมโหระทึกในภาคใต้ ที่พบจนถึงปัจจุบันมีอยู่เก้าใบ พบที่จังหวัดชุมพรสามใบ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีห้าใบ และจังหวัดสงขลาหนึ่งใบ กลองมโหระทึกส่วนใหญ่ในภาคใต้ พบในแหล่งโบราณคดีริมทะเลฝั่งอ่าวไทย แสดงว่าภาคใต้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมยุคโลหะ กับชุมชนโพ้นทะเลจากจีน และเวียดนาม
            แหล่งโบราณคดียุคโลหะในภาคใต้ยังไม่มีแหล่งใดที่สามารถแบ่งยุคของสำริด และเหล็กออกจากกันได้เด็ดขาด เนื่องจากมีกพบร่วมกัน
            แหล่งโบราณคดีสำคัญที่มีหลักฐานว่า เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ แหล่งโบราณคดีกลุ่มคลองท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ ซึ่งประกอบด้วย
                -  แหล่งโบราณคดีบ้านเกียกกาย  ตำบลท่าเรือ พบเครื่องมือสำริดขนาดเล็ก ขวานเหล็กมีป้องที่สัน คล้ายกับที่พบในแหล่งโบราณคดียุคโลหะที่จังหวัดกาญจนบุรี พบร่วมกับโบราณวัตถุอื่นเช่น ภาชนะดินเผาแบบไหก้นกลม เนื้อหยาบและบางมาก ชายปากบาน ก้นตัด หม้อขนาดเล็กก้นกลม ขวานหินขัด เครื่องประดับต่างหูทองคำ เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินเผา เผาด้วยอุณหภูมิต่ำเป็นจำนวนมาก ชั้นดินทางโบราณคดี แสดงกิจกรรมการอยู่อาศัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปี หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑
                -  แหล่งโบราณคดีบ้านพังสิงห์  ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง ฯ พบเครื่องมือเหล็กรูปเคียว และปะหญ้า ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคมด้านหนึ่งคล้ายจอบ เมื่อใช้งานด้ามจะอยู่ในแนวตั้ง ส่วนคมอยู่แนวนอน ด้ามเป็นแท่งเหล็กเรียงคล้ายคางหมู สำหรับเสียบเข้าด้ามไม้ บางท้องถิ่นเรียก ป้ายหญ้าและไตร
 

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์